| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
การตั้งถิ่นฐาน

            คนอีสานได้อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุกว่าหนึ่งหมื่นปี มีหลักฐานยืนยันว่า คนอีสานโดยเฉพาะที่อยู่ในเขตแอ่งสกลนคร เริ่มอยู่รวมกันเป็นชุมชน โดยเลือกชัยภูมิที่เป็นเนินดิน น้ำท่วมไม่ถึง มีลำน้ำไหลผ่าน หรือมีแอ่งน้ำอยู่ไม่ไกลนัก และมีพื้นที่ราบโดยรอบพอสมควร เพื่อประโยชน์ในการเพราะปลูก
            ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของดินแดนอีสาน ได้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่อยู่ในบริเวณแอ่งสกลนคร อันได้แก่ จังหวัดสกลนคร หนองคาย อุดร ฯ หนองบัวลำภู นครพนม และจังหวัดเลย กับส่วนที่อยู่บริเววณแอ่งโคราช ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ยโสธร ศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา โดยมีเทือกเขาภูพาน เป็นสันกั้นระหว่างสองแอ่งนี้
            การขยายตัวของชุมชนโบราณของทั้งสองแอ่ง ได้ดำเนินสืบเนื่องมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มาจนถึงยุคต้นประวัติศาสตร์ บริเวณแอ่งโคราช มีการขยายตัวทางวัฒนธรรม และการเมืองเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดนครรัฐที่มีวัฒนธรรมอินเดีย เช่น พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน อักษรปัลลวะหรืออักษรคฤนท์ อันเป็นอัการอินเดียตอนใต้ เราสามารถสรุปยุคสมัยในดินแดนอีสานตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมได้ดังนี้คือ
               สมัยที่ ๑  อยู่ระหว่างยุคหินกลางถึงยุคหินใหม่ มนุษย์อาศัยอยู่ตามที่สูงเช่น เพิงผา หน้าถ้ำและตามริมฝั่งแม่น้ำ รู้จักการเพาะปลูกตามสมควร ดำรงชีพแบบล่าสัตว์เป็นหลัก
               สมัยที่ ๒  ตอนปลายยุคหินใหม่ถึงยุคสำริด เป็นระยะเวลาที่เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำการเพราะปลูกในที่ลุ่ม มีหลักแหล่งค่อนข้างถาวร รู้จักปลูกข้าว ปลูกฝ้าย ทอผ้า หล่อสำริด และปั้นเครื่องปั้นดินเผา มีลวดลายเขียนสี ใช่ในพิธีฝังศพ
               สมัยที่ ๓  เป็นยุคเหล็ก รู้จักถลุงเหล็ก ทำสำริดให้เป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้ รู้จักหล่อแก้ว รู้จักติดต่อกับชุมชนถิ่นอื่นอย่างกว้างขวาง เกิดชุมชนใหญ่ ๆ อยู่ตามที่ราบ แม่น้ำ หนองน้ำ และบางแห่งคงสร้างเมืองขึ้นแล้ว เกิดหมู่บ้านเล็กหมู่บ้านน้อย มีการรับวัฒนธรรม และแพร่วัฒนธรรมไปยังดินแดนอื่นด้วย เป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยกับวัฒนธรรมดองซอนในประเทศญวน ซึ่งแพร่หลายไปทั่วภูมิภาคเอเซียอาคเนย์
               สมัยที่ ๔  เป็นสมัยตอนต้นประวัติศาสตร์ อาจเรียกได้ว่าเป็นสมัยฟูนัน เริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นต้นมา มีการรับวัฒนธรรมอินเดียอย่างแพร่หลาย เกิดเป็นแคว้นที่มีกษัตริย์ปกครอง มาสิ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒
                สมัยที่ ๕  เริ่มพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ เป็นสมัยที่มีหลักฐานทางโบราณวัตถุ ที่แสดงให้เห็นตความสัมพันธ์ของบ้านเมืองในภาคอีสาน กับแคว้นเจนสะในลุ่มแม่น้ำโขง และแค้วนทวารวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
                สมัยที่ ๖  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๙ วัฒนธรรมขอมสมัยพระนคร ได้แพร่หลายเข้ามายังบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล และลุ่มแม่น้ำโขงตอนเหนือ จนถึงการสลายของวัฒนธรรมในดินแดนอีสาน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐
            ดินแดนเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ในอดีตมีร่องรอยอารยธรรมของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์
            ยุคก่อนประวัติศาสตร  ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถแบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิตเป็นสองกลุ่มคือ
               สังคมล่าสัตว์  สิ่งที่แสดงวถึงการใช้ชีวิต ในกลุ่มสังคมล่าสัตว์คือเครื่องมือหินกระเทาะ และหลักฐานเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและสัตว์ที่ปรากฎในศิลปะ ถ้ำซึ่งพบมากในอีสาน สำหรับจังหวัดกาฬสินธุ์มีหลักฐานในสมัยหินกลาง เช่น เครื่องมือหินกรเทาะที่พบกระจัดกระจายตามแถบเทือกเขาภูพาน นอกจากนั้นยังพบภาพเขียนสีที่ถ้ำลายมือภูผาผึ้ง และถ้ำเชียงเมี่ยง เขตภูหัววนา ใกล้บ้านห้วยม่วง ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์

                สังคมกสิกรรม  อยู่ในยุคหินใหม่และยุคโลหะ พบเครื่องมือขวานหินขัด ที่โนนบ้านฮ้าง อำเภอกุฉินารายณ์ พบแหล่งโบราณคดีที่วัดโนนมะขาม บ้านห้วยม่วง และบ้านโนนฮ้างปลาฝา อำเภอกุฉินารายณ์พบเศษภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมากก ทั้งที่เป็นลายเชือกทาบ ผิวสีน้ำตาล ผิวสีขาว ชนิดที่เคลือบด้วยสีแดง และไม่เคลือบ ชาวบ้านเรียกว่า ไหเท้าช้าง หรือไหขอม และยังพบลูกปัดแก้วสีเขียว สีส้มรวมกับกระดูกสัตว์และมนุษย์ ลูกกระพวรสำริด สำหรับผูกคอสัตว์เลี้ยงและดินเผาเป็นต้น
                หลักฐานที่พบในหลุมฝังศพของเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย เช่นเครื่องสังเวยในหลุมฝังศพ แต่ละหลุมจะมีคุณค่าแตกต่างกันไป แสดงให้เห็นถึงฐานะและระบบสังคม ความเชื่อ
                การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ของสังคมกสิกรรมในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เริ่มมาเป็นเวลาเ กือบสามพันปี  หลักฐานเกี่ยวกับการปลูกข้าว การขุดพบภาชนะดินเผา ที่ใช้แกลบผสมดินเหนียว และทรายผสมอยู่ ที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนฮ้าง และวัดโนนมะขาม
            ยุคสังคมเมือง  ประวัติศาสตร์อีสานหลายฉบับให้หลักฐานตรงกันว่า ดินแดนในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นดินแดนของกลุ่มชนละว้า ซึ่งไม่ทราบว่าอพยพมาจากที่ใด มีการนับถือผี และเทวดาประจำท้องถิ่น จนกระทั่งพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ แพร่เข้ามาในพื้นที่นี้ จากพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ไปแล้ว พวกละว้าจึงหันมานับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์แทน
            ในประวัติศาสตร์ไทยลาวได้กล่าวถึงชนชาติละว้า เป็นกลุ่มที่มีความเจริญมาก่อนขอม และจัมปา ละว้าแบ่งการปกครองออกเป็นสามอาณาจักร คือ
                อาณาจักรทวารวดี  มีเมืองสำคัญอยู่สามเมืองคือเมืองนครปฐม เป็นราชธานี เมืองละโว้ (เปลี่ยนเป็นลพบุรี เมื่อขอมเข้าครอง) และเมืองสยาม (เปลี่ยนเป็นสุโขทัย เมื่อไทยเข้าครอง)
                อาณาจักรยางหรือโยนก  อยู่ในดินแดนทางภาคเหนือ มีเมืองยางเป็นราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงเหนือเชียงแสน แม่น้ำสาย เดิมชื่อแม่น้ำละว้า
                อาณาจักรโคตรบูรณ์ หรือพนมหรือฟูนัน  อยู่บริเวณภาคอีสานของไทยในปัจจุบัน มีเมืองนครพนมเป็นราชธานี มีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าทุกอาณาจักร
            ดินแดนจังหวัดกาฬสินธุ์ มีกลุ่มชนละว้าอาศัยอยู่หลายกลุ่มไปมาหาสู่กันในดินแดนของอาณาจักรทั้งสาม เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นชุมชนโบราณของชาวละว้ากลุ่มหนึ่ง ตามประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงเมืองกาฬสินธุ์ไว้ว่า รกรากเดิมเป็นถิ่นของชาวละว้า ตามยตำนานสมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองกาฬสินธุ์เดิมชื่อเมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองที่สวยงามมากเมืองหนึ่ง

            เราสามารถแบ่งสมัยเพื่อความสะดวกในการศึกษา โดยแบ่งตามร่องรอยการสืบเนื่องทางวัฒนธรรมจนมาถึงสมัยไทยลาว แบ่งเป็นสามกลุ่มได้ดังนี้
                ยุคร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดี หรือกลุ่มวัฒนธรรมมอญได้เจริญรุ่งเรืองในภาคอีสาน โดยเริ่มเป็นปึกแผ่นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ กลุ่มชนชาติมอญได้รับอารยธรรมอินเดียเช่นศาสนา การปกครอง และขนบธรรมเนียมประเพณี เข้ามาเผยแพร่ในภาคอีสานสองทางคือจากภาคกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาทางช่องเขาในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น และพนมดงรัก ลงมาสู่ลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ และอีกทางหนึ่งแพร่มาจากอาณาจักรเจนละ ทางปากน้ำโขงกับทางภาคตะวันออกของกัมพูชา ขึ้นมาตามแม่น้ำโขง เข้าสู่ที่ราบลุ่มบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล ลุ่มแม่น้ำชี และแม่น้ำโขง ของภาคอีสาน

                อารยธรรมทางศาสนาที่แพร่มาทางภาคกลางเป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เมื่อกลุ่มชนชาติมอญเข้ามาทำให้เกิดเมืองขึ้นมากมาย ตามเส้นทางคมนาคมหลายแห่ง ที่หนาแน่นคือบริเวณลุ่มแม่น้ำชี ตั้งแต่เขตจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบล ฯ มีเมืองขนาดใหญ่ที่มีคูน้ำล้อมรอบหลายเมือง มีการค้นพบซากโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมาย ที่เกี่ยวเนื่องทางพระพุทธศาสนา เช่นเสมาหิน โบสถ์ วิหาร พระสถูปเจดีย์ ตลอดจนซากปรักหักพังอื่น ๆ อีกมาก
                กลุ่มวัฒนธรรมมอญที่เข้ามามีอิทธิพลในเขตจังหวัดกาฬสิทธุ์นั้น น่าจะเข้ามาในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ และน่าจะเข้ามาทางภาคเหนือ ในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ์ แถบเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์และสุโขทัย จากนั้นได้แพร่ขยายเข้าสู่ที่ราบลุ่มโคราช จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ พื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำชี ปรากฎร่องรอยของวัฒนธรรมมอญอย่างเต็มรูปแบบ เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองหนึ่งที่เกิดขึ้น บริเวณลุ่มแม่น้ำชีและเป็นเมืองเดียวที่ใหญ่โตที่สุดในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ มีความเจริญรุ่นราวคราวเดียวกันนกับเมืองคอนสวรรค์ ในเขตจังหวัดชัยภูมิ เมืองจำปาศรี ในเขตอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองจัมปาขัณฑ์ ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และเมืองโบราณที่บ้านตาดทอง เมืองเตย เมืองมังกร ในเขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
                เมืองโบราณยุคทวารวดี ที่พบในเขตจังหวัดกาฬสิทธุ์ ที่มีขนาดเล็กยังพบที่บริเวณบ้านส้มป่อย ตำบลสระพังงทอง อำเภอเขาวง บริเวณบ้านโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ บริเวณวัดกู่ดาวพุทธนิมิต บ้านโสกทราย อำเภอสหัสขันธ์ บริเวณวัดโนนมะขาม บ้านห้วยม่วง อำเภอกุฉินารายณ์ มีการขุดพบหลักฐานต่าง ๆ เช่น จารึกใบเสมาหิน เครื่องมือเครื่องใช้และเศษภาชนะดินเผาจำนวนมาก บอกถึงยุคร่วมวัฒนธรรมมอญ ซึ่งพอจะแยกกลุ่ม ได้ดังนี้

                    เมืองฟ้าแดดสงยาง  คนพื้นเมืองเรียกเมืองฟ้าแดดสูงยาง แต่ตามวรรณกรรมท้องถิ่นเรียกฟ้าแดดสงยาง ตามชื่อบ้านเรียกบ้านก้อม ตามประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าฟ้างุ้มแห่งกรุงเวียงจันทน์ เรียกโพนผึ่งแดด ปัจจุบันเมืองนี้ตั้งอยู่ที่บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย ผังเมืองเป็นรูปวงรี คล้ายใบเสมา มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ ผังเมืองยาวประมาณ  ๒,๐๐๐ เมตร กว้างประมาณ ๑,๓๕๐ เมตร ได้มีการขุดแต่งและปรับปรุงมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐
                    จากการขุดแต่งครั้งแรก พบร่องรอยศาสนสถานจำนวน ๑๔ แห่ง สร้างขึ้นตามอุดมคติทางพระพุทธศาสนา มีลักษณะศิลปกรรมแบบทวารวดี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖  โบราณวัตถุที่พบมีพระพิมพ์ดินเผามีลักษณะงดงามมาก ใบเสมาหินทรายสลักภาพพุทธประวัติ ภาพทศชาติที่พบมีพระเตมีย์ พระมหาชนก สุวรรณสาม พระภูริทัต พระจันทกุมาร และพระเวสสันดร  และใบเสมาที่เล่าเรื่องไม่ใช่ทศชาติ เช่น มหาหงส์ มหาปิชาดก ฉันทชาดก และสรภังชาดก  มีใบเสมาเป็นจำนวนมาก ที่ไม่มีภาพเล่าเรื่องต่าง ๆ มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบมีจำนวนกว่า ๑๐๐ แผ่น
                    จารึกที่ขุดพบมีทั้งที่เป็นลักษณะใบเสมา และจารึกหลังพระพิมพ์ดินเผา จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ  จากหลักฐานที่ใบเสมาหินและจารึกได้สรุปว่า เมืองฟ้าแดดสงยางเคยมีความสำคัญมาแล้วสองสมัย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ เป็นยุคร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวาราวดีที่พบในภาคกลาง และสมัยที่สองคือสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                    ชุมชนที่เมืองฟ้าแดด ฯ มีการขยายตัวตลอดเวลา มีร่องรอยการผลิตเกลือหลายแห่ง รู้จักทำเครื่องสำริด และเครื่องมือเหล็ก แปลงนามีผังเป็นตารางหมากรุกมีขนาด และรูปร่างเป็นแบบเดียวกันตลอด
                    จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงการล่มสลายของเมืองฟ้าแดด ฯ ว่าเกิดจากกษัตริย์พม่าคือพระเจ้าอโนธรามังช่อ ซึ่งครองราชย์อาณาจักรพม่าเมื่อปี พ.ศ.๑๕๕๓ ได้ทำการปราบปรามมอญตลอดบริเวณอ่าวเบงกอล และรุกอาณาจักรขอมทางเหนือคือ เมืองหริภุญไชย (ลำพูน) รุกมาทางใต้ จนถึงเมืองฟ้าแดดสงยางโคตรบูรณ์ และเมืองในสมัยเมืองฟ้าแดด ฯ อีกสามเมืองคือ เมืองเชียงโสม เมืองเชียงสาและเมืองเชียงสร้อย  จากนั้นเมืองฟ้าแดด ฯ ก็กลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาพวกขอมที่หลงเหลืออยู่กับพวกข่า ได้เข้ามาอาศัยจนถึงประมาณปี พ.ศ.๑๙๐๐ พระเจ้าฟ้างุ้มแห่งอาณาจักรล้านช้าง ได้ขยายอาณาเขตเข้ามาในดินแดนภาคอีสาน ยึดได้เมืองร้อยเอ็ดจากพวกขอม แล้วเลยไปตีเมืองพระสาด เมืองพระสระเขียน เมืองพระนารายณ์ เมืองพระนาเทียมและเมืองโพนผึ่งแดด (เมืองฟ้าแดด ฯ) ไปอยู่ในอำนาจของล้านช้าง
                   หลักฐานที่พบบริเวณเมืองฟ้าแดด ฯ มีดังนี้

                    - ซากเมืองโบราณที่เป็นคูน้ำคันดินที่เป็นลักษณะถนนจากทิศใต้ของตัวเมือง ผ่านเข้าบริเวณชุมชนในตัวเมือง
                    - ใบเสมาขนาดต่าง ๆ มีจำนวนนับร้อยใบ บางใบมีภาพเล่าเรื่องในพระพุทธศาสนา
                    - จารึกอักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ
                    - พระพิมพ์ดินเผาที่เหมือนกับพระพิมพ์ดินเผาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และที่ภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                    - สถูปเจดีย์ต่าง ๆ กว่าสิบองค์ องค์ใหญ่ที่สำคัญคือ พระธาตุยาคู
                    - เครื่องใช้ประเภทกระเบื้องมีทั้งสมัยทวาราวดี ลพบุรี อยุธยา รัตนโกสินทร์ และจากจีนในสมัยราชวงศ์ซุ่ง ราชวงศ์หยวน และราชวงศ์เหม็ง
                    - เครื่องใช้ประเภทสำริด เช่น ลูกกระพรวนสำริด
                    - เครื่องประดับประเภทแก้ว เช่น ลูกปัดแก้ว
                    - สระน้ำโบราณหลายสระ เช่น สระหนองตระพัง
                    - ร่องรอยการผลิตเกลือ ลักษณะเป็นเนินดิน พบทั่วไปบริเวณนอกตัวเมือง
                    - เครื่องปั้นดินเผาขนาดเล็กชนิดปากบาน แบบมีลายเขียนสีและไม่มีลายเขียนสี เคลือบด้วยน้ำโคลน
                    - ลูกกระสุนดินเผา
                    - โครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูกสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย หมู หมา

                    กลุ่มศิลปะร่วมสมัยทวาราวดีที่พบในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์  พอประมวลได้ดังนี้
                        - จารึกวัดบ้านมะค่า พบที่บ้านมะค่า อำเภอท่าคันโท เป็นจารึกหินทรายทรงสี่เหลี่ยม จารึกด้วยอักษรสมัยหลังปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔
                        - จารึกฐานพระพุทธรูป พบที่บ้านโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จารึกด้วยอักษรสมัยหลังปัลลวะ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔
                        - จารึกสถาปนาสีมา ที่วัดโนนมะขาม บ้านห้วยม่วง อำเภอกุฉินารายณ์ เป็นจารึกทรงกลมประเภทหินทรายสีเทา จารึกด้วยอักษรหลังปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔
                        - จารึกบ้านส้มป่อย  พบที่วัดบ้านส้มป่อย อำเภอเขาวง เป็นจารึกหลังใบเสมา จารึกด้วยอักษรหลังปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔
                        - จารึกภูค่าว  พบบริเวณภูค่าว ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ เป็นภาษามอญโบราณ มีอายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔
                        - จารึกบ้านสว่าง  พบที่บ้านสว่าง ตำบลหนองแบน อำเภอกมลาไสย
                        - กลุ่มใบเสมาหินแผ่นเรียบ พบที่วัดภูค่าวพุทธนิมิตร บ้านโสกทราย อำเภอสหัสขันธ์ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖
                        - ใบเสมาหินแผ่นเรียบ  จำนวน ๖ หลัก ปักอยู่บริเวณเนินดิน บ้านโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์

                        - ใบเสมาหิน  บ้านหนองห้าง  ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ เป็นภาพเรื่องวิฑูรชาดก
                        - ใบเสมา  บ้านนางาม  ตำบลบ่อแก้ว อำเภอเขาวง เป็นแบบแผ่นเรียบ มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖
                        - ใบเสมาหินบ้านสังคมพัฒนา  ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน
                        - ใบเสมาหินบ้านหนองห้าง  ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ เป็นแท่งหินสี่เหลี่ยมยอดกลมแหลม
                        - ใบเสมาวัดบ้านทรัพย์  อำเภอท่าคันโท เป็นใบเสมาแผ่นเรียบยอดแหลม
                        - ใบเสมาวัดบ้านนาบง  ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี เป็นรูปสี่เหลี่ยมปลายแหลม
                        - พระพุทธไสยาสน์ภูปอ  อยู่บริเวณเนินเขาบ้านบ๋านกขาบ ตำบลภูปอ อำเภอเมือง ฯ  จำนวนสององค์ อยู่ในสมัยทวาราวดี

                        - พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว  อยู่ที่บ้านโสกทราย อำเภอสหัสขันธ์ อยู่ในสมัยทวารวดี
                        - โกลนพระพุทธรูปสมัยทวารวดี  ที่บริเวณศาลาเล็ก บนเทือกเขาภูค่าว ตำบลสหัสขันธ์
                        - สิมโบราณบ้านท่างาม  ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด อยู่ในสมัยทวารวดี
                        - ใบเสมาสมัยทวารวดี  ที่วัดบ้านดงสว่าง ตำบลสงเปือย อำเภอนามน
                        - ใบเสมานานายสมใจ บ้านสงเปือย ตำบลสงเปือย อำเภอนามน
                        - ไหดินเผา ศิลปกรรมสมัยทวารวดี ที่บ้านหนองบัวนอก ตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน
                        - ใบเสมาศาลเจ้าปู่เจ้าท่า วัดบ้านท่ากลาง ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย
                        - ภาชนะดินเผา ศิลปกรรมสมัยทวารวดี ที่วัดสามโคก บ้านสวนโคก ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย
                        - ซากคูเมืองและกำแพงเมืองโบราณสมัยทวารวดี ที่บ้านกุดฆ้อง กิ่งอำเภอฆ้องชัย
                        - ใบเสมาวัดกลางกุสิมคุ้มเก่า ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                        - ใบเสมาสมัยทวารวดี ที่วัดบ้านหนองแสง ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                        - ใบเสมาและพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ที่บ้านโนนพระเจ้าคอกุด บ้านส้มป่อย ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                        - ใบเสมาที่บ้านดอนแคน บ้านดอนนาแก ตำบลหลุบ อำเภอเมือง ฯ
                        - ใบเสมาที่บ้านดอนน้อย บ้านดอนนาแก ตำบลหลุบ อำเภอเมือง ฯ
                        - หม้อไหคนโท ศิลปกรรมทวารวดี ที่บ้านช้างอียอ ตำบลหลุบ อำเภอเมือง ฯ
                        - ภาชนะดินเผาและพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดี ที่วัดสว่างอารมณ์ บ้านอุ้มเม่า อำเภอยางตลาด
                        - ใบเสมาหินสมัยทวารวดี ที่วัดบ้านขมิ้น ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง ฯ
                        - ใบเสมาหินสมัยทวารวดี ที่วัดสว่างชัยศรี บ้านปอแดง ตำบลอุ้มเม่า อำเภอยางตลาด
                        - ใบเสมาหินวัดดอนย่านาง บ้านดอนย่านาง อำเภอยางตลาด
                        - ใบเสมาหินวัดโนนศิลาเลิง บ้านโนนศิลาเลิง อำเภอกมลาไสย
                        - ใบเสมาหินที่โรงเรียนโนนศิลาสว่างวิทย์ บ้านโนนศิลาเลิง อำเภอกมลาไสย
                        - ใบเสมาหินที่วัดบ้านโพนนาดี ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                        - ใบเสมาหินที่วัดเหนือ บ้านบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์
                        - ใบเสมาหินที่บ้านกกตาล ตำบลหูลิง อำเภอกุฉินารายณ์
                        - ใบเสมาหินที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อำเภอเมือง ฯ
                        - ใบเสมาหินที่พิพิธภัณฑ์วัดกลาง อำเภอเมือง ฯ
                        - ใบเสมาหินที่วัดสว่างคงคา อำเภอเมือง ฯ
                        - ใบเสมาหินที่วัดเหนือ อำเภอเมือง ฯ
                        - ใบเสมาหินที่วัดสิมนาโก ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์
                - ยุคร่วมสมัยวัฒนธรรมขอม (ศิลปะลพบุรี)  ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ ดินแดนอีสานได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมอย่างเต็มรูปแบบจากอาณาจักรขอม มรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาเป็นผลมาจากความเชื่อทางศาสนาฮินด ูและพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ได้แก่ ปรางค์ หรือปราสาท หรือกู่ และรูปเคารพต่าง ๆ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ เรียกศิลปะเขมรโบราณ หรือศิลปกรรมสมัยขอมว่า ศิลปะลพบุรี  มีความหนาแน่นอยู่ในภาคอีสานตอนล่าง
                ขอมเข้ามามีอิทธิพลทางวัฒนธรรม และการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งแม่น้ำมูล ได้ถูกรวบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกัมพูชา เช่น สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ ยโสธรและนครราชสีมา
                     กลุ่มศิลปะลพบุรีที่พบในจังหวัดกาฬสินธุ์  จากการสำรวจระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๙ - ๒๕๓๕ มีดังนี้
                        - ภาชนะดินเผาชนิดเคลือบ ศิลปะลพบุรี ที่บ้านโคกใหญ่ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี
                        - เศษถ้วยกระเบื้อง ศิลปะลพบุรี ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย
                        - จารึกขอมโบราณ ที่บ้านหนองห้าง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์
                        - โกลนพระพุทธรูปสมัยลพบุรี ที่วัดภูค่าวพุทธนิมิตร บ้านโคกทราย อำเภอสหัสขันธ์
                        - ซากศาสนสถานคล้ายปรางค์ ศิลปะลพบุรี ที่บ้านโนนเก่า ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด
                        - พระพุทธรูปนาคปรก ที่บ้านเชียงสา ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด
                        - ภาชนะดินเผาและซากศิลาแลง ศิลปกรรมลพบุรี ที่วัดร้าง บ้านยาวเนียม ตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก
                        - พระพุทธรูปนาคปรกและซากศาสนสถานสมัยลพบุรี ที่บ้านโนนฮ้าง บ้านนาสีนวล ตำบลปึงนาเรียว อำเภอห้วยเม็ก
                        - ภาชนะดินเผาและเครื่องประดับอาคารสมัยลพบุรี ที่บ้านโนนสอาด ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ
                        - พระพุทธรูปและศาสนสถานสมัยลพบุรี ที่วัดกลางกุดสิม คุ้มเก่า ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                        - พระพุทธรูปหินศิลปะลพบุรี ที่วัดป่าสักกะวัน บ้านโนนศิลา ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์
                        - ฐานศิวลึงค์ ที่โนนพระเจ้าคอกุด บ้านส้มป่อย ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                        - ภาชนะดินเผาศิลปะลพบุรีที่วัดหนองแสง ตำบลสงเปือย อำเภอเขาวง
                        - ภาชนะดินเผาสมัยลพบุรี ที่วัดสิมนาโก บ้านนาโก ตำบลนาโก อำเภอกุฉินารายณ์
                        - ฐานเจดีย์จตุรมุข มีพระพุทธรูปสี่มุข ที่โนนพระเจ้า ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย
                    - ยุคร่วมสมัยไทยลาว  บรรพบุรุษชาวไทยอีสานส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือ ชาวลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ซึ่งได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบสูงโคราช
                        ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยลาว  ชนชาติไทยลาวเดิมก็เป็นชนชาติเดียวกันกับคนไทยในภาคกลางปัจจุบัน เป็นชนชาติที่เก่าแก่ชนชาติหนึ่ง เคยตั้งหลักแหล่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน อยู่ระหว่างแม่น้ำเหลือง และแม่น้ำแยงซีเกียง เมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ ปีก่อนพุทธกาล มีเมืองใหญ่ ๆ อยู่สองเมืองคือ เมืองลุง ตั้งอยู่ทางตอนต้นของแม่น้ำเหลือง และเมืองปา อยู่ทางตอนเหนือของมณฑลเสฉวน แล้วได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ใต้ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ตั้งเมืองชื่อเมืองเงี้ยว สมัยนี้จะเรียกตัวเองว่า อ้ายลาว หรือมุง แปลว่าคนใหญ่คนโต ทั้งสามเมืองรวมกันเรียกอาณาจักรไทยมุง
                        เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปีก่อน พ.ศ.  ชนชาติจีนอยู่บริเวณทะเลสาบแคสเปียน กลางทวีปเอเซีย ต่อมาได้อพยพมาใกล้อาณาจักรไทยมุง เรียกไทยว่า ไต๋ หรือ ไท แปลว่าใหญ่หรืออิสระ  จีนเริ่มปะปนกับคนไท ไทยสู้จีนไม่ได้จึงอพยพมารวมกันที่เมืองเงี้ยว
                        เมื่อประมาณปี พ.ศ.๓๑๘ จีนตึเมืองเงี้ยวแตก ไทยจึงอพยพมาตั้งอาณาจักรไทยใหม่ เรียกว่า อาณาจักรอ้ายลาว มีเมืองหลวงชื่อเพงาย มีกษัตริย์ชื่อขุนเมือง
                        ประมาณปี พ.ศ.๓๖๑๒ เกิดสงครามกับจีนและเสียอาณาจักรอ้ายลาวแก่จีน
                        ประมาณปี พ.ศ.๙๐๐ ไทยแตกออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งอพยพลงทางใต้ อีกพวกหนึ่งอยู่สู้จนถึงปี พ.ศ.๑๑๙๒ ขุนหลวงฟ้า หรือสินุโล ได้รวบรวมคนไทยบุกหัวเมืองตั้งอาณาจักรน่านเจ้า แปลว่า เจ้าฝ่ายทิศใต้ อยู่มาจนถึงปี พ.ศ.๑๔๔๗ ก็สิ้นสุดราชวงศ์น่านเจ้า เพราะถูกจีนกลืนชาติพันธุ์
                        ประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๐ กุบไลข่าน หัวหน้าชาวมงโกลยกทัพมาตีจีนได้และตั้งตัวเป็นกษัตริย์จีน ชนชาติไทยจึงอพยพเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ แบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ
                    - กลุ่มไทยใหญ่  อพยพไปทางตะวันตกสู่แม่น้ำสาละวิน มาตั้งอาณาจักรสิบเก้าเจ้าฟ้า ในตอนกลางแม่น้ำสาละวิน พวกหนึ่งอพยพไปทางอินเดียในแคว้นอัสสัม เรียกว่า ไทยอาหม  พวกที่อยู่ทางตะวันตกของพม่าบริเวณรัฐฉาน เรียกว่า ฉาน หรือเงี้ยว
                    - กลุ่มญวน  พวกนี้อพยพไปทางตะวันออกตามแม่น้ำแดง ไปสู่แคว้นตังเกี๋ย
                    - กลุ่มไทยน้อย  อพยพลงทางใต้ตามลำแม่น้ำโขง มาตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของไทย มีแคว้นสำคัญคือ สิบสองจุไท หรือสิบสองเจ้าไทย อยู่เหนือหลวงพระบาง หัวพันทั้งห้าทั้งหกล้านนา และล้านช้าง เป็นบรรพบุรุษของไทยและลาว ไทยน้อยได้แยกออกเป็นสองพวก ที่อพยพมาตามลำน้ำโขง เรียกว่า ลาว  พวกที่แยกมาสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า ไทย
                การตั้งชุมชนกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาวในภาคอีสาน  ปรากฏชัดในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัย เพราะมีการกล่าวถึง ชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงตอนเหนือ ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ และจากพงศาวดารล้านช้างที่กล่าวว่า อาณาจักรล้านช้างได้ครอบคลุมไปถึงบริเวณที่ราบสูงโคราชด้วย ส่วนพงศาวดารไทยได้กล่าวถึงเมืองสำคัญ ๆ ของล้านช้างในสมัยอยุธยา
                การขยายวัฒนธรรมไทยลาวเข้าสู่ดินแดนแอ่งโคราช  ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า พื้นที่เขตมณฑลลาว เมื่อปี พ.ศ.๒๑๘๑ เป็นทำเลป่าดง เป็นที่อาศัยของคนเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า พวกข่า ส่วย กวย โดยเฉพาะบริเวณเมืองจำปาศักดิ์นั้นเป็นชุมชนค่อนข้างใหญ่ เป็นเอกราชก่อนกลุ่มไทยลาว เคลื่อนย้ายเข้าไป เขตแดนเมืองจำปาศักดิ์ทิศเหนือตั้งแต่ยางสามต้น อันสามขวย หลักทอดยอดยาว  ทิศตะวันออกติดเขาบรรทัดต่อแดนญวน ทิศใต้ไม่ปรากฏ ทิศตะวันตกต่อเขตแขวงเมืองพิมายฟากลำน้ำกยุง
                กลุ่มวัฒนธรรมไทยลาวที่อพยพเขัามาตั้งชุมชนในเมืองกาฬสินธุ์ ก็ด้วยสาเหตุความวุ่นวาย และปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้นำการปกครอง ของอาณาจักรเวียงจันทน์ เช่นเดียวกับกลุ่มอื่น ๆ กลุ่มดังกล่าวคือ กลุ่มเจ้าผ้าขาวลาวเวียง หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มเจ้าผ้าขาวโสมพระมิต  เจ้าโสมพะมิตเป็นพวกเดียวกับพระวอพระตา เดิมอยู่ที่บ้านผ้าขาว แขวงเมืองเวียงจันทน์
 
| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |