| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๙ ตุลาคม ๒๑๙๙
            สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปราบดาภิเษก เสวยราชสมบัติ

๒๒ สิงหาคม ๒๒๐๕
            สังฆราชแห่งเบริตกับบาทหลวงอีก ๒ คน ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา นับเป็นชาวฝรั่งเศสพวกแรกที่เดินทางมายังประเทศไทย

๒๔ ธันวาคม ๒๒๒๓
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดคณะราชทูตไทยคณะแรก นำพระราชสาส์นไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส และสันตปาปา ณ กรุงโรม คือ ออกญาพิพัฒน์ราชไมตรี กับผู้ช่วยอีก ๒ คน คือ หลวงศรีวิสารสุนทร กับ ขุนนางวิชัย และคณะอีกกว่า ๒๐ คน โดยมีบาดหลวงเกยเมอเป็นล่าม และเป็นผู้นำทางการเดินทางครั้งนี้ ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา และได้สูญหายไประหว่างทาง ไปไม่ถึงประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากเรือถูกพายุ อัปปางบริเวณเกาะมาดามัสกัส

พ.ศ.๒๒๒๖
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดคณะทูตเดินทางไปฝรั่งเศส แต่มิได้จัดเป็นทางการ เพราะมุ่งหมายให้ไปสืบสาวดูทูตคณะแรกเท่านั้น

๒๖ กันยายน ๒๒๒๗
            ราชทูตไทยชุดที่ ๒ ได้เข้าเฝ้า พระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอังกฤษ นับเป็นทูตคณะแรกที่ไปขอเจริญสัมพันธไมตรี กับราชสำนักอังกฤษ

๒๕ มกราคม ๒๒๒๗
            คณะทูตไทยคณะที่ ๒ ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังประเทศฝรั่งเศส (คณะแรกสูญหายในระหว่างเดินทาง)

พ.ศ.๒๒๒๘
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต พระวิสูตรสุนทร เป็นอุปทูต หลวงกัลยาณไมตรี เป็นเลขานุการเอก ขุนศรีวิศาลวาจา เป็นนายเวร เดินทางไปฝรั่งเศส นำพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔

๒๓ กันยายน ๒๒๒๘
            คณะราชทูตฝรั่งเศส ประกอบด้วย เชวาเลีย เดอโชมองต์ ราชทูตและบาทหลวงฟรังซัวส์ ดิโมเลออง เดอชัวสี อุปทูต เดินทางมาถึงไทยโดยทางเรือ ๒ ลำ เชิญพระราชสาส์นกับเครื่องราชบรรณาการ จากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มาเจริญทางพระราชไมตรียังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พยายามชักชวนให้พระองค์เปลี่ยนศาสนา แต่ไม่สำเร็จ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ตกลงกันได้ด้วยดี

๑๘ ตุลาคม ๒๒๒๘
            เชอวาเลียร์ เดอโชมองต์ ถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี

๒๒ ธันวาคม ๒๒๒๘
            ราชทูตไทย ชุดที่ ๓ มีออกพระวิสูตรสุนทร คือโกษาปานเป็นราชทูต ออกเดินทางไปฝรั่งเศสได้เฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อ ๑ กันยายน ๒๒๒๙ เดินทางกลับถึงปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐

๒๘ มิถุนายน ๒๒๒๙
            ออกพระวิสูตรสุนทร ได้เป็นราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส เดินทางถึงเมืองเบรสต์ นำเด็กไทยไปด้วย ๑๒ คน

๑๔ สิงหาคม ๒๒๒๙
            วันที่คณะทูตไทยถวายพระราชสาส์น แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวซายส์

๑ กันยายน ๒๒๒๙
            คณะทูตไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ มีออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะ เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการ แด่พระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ อย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ นับเป็นคณะทูตไทยชุดที่ ๓ ที่เดินทางไปฝรั่งเศส

๑ มีนาคม ๒๒๓๐
            ออกพระวิสูตรสุนทร ได้เป็น ราชทูตออกไปเมืองฝรั่งเศส เดินทางกลับถึงประเทศไทย ฝรั่งเศสได้ส่งกองทหาร ๖๓๖ คน ในบังคับนายพลเดฟาร์ช มาประจำที่ป้อมเมืองมะริด ตามคำร้องขอของฟอลคอน และมีหัวหน้าทูตเข้ามา ๒ คน คือ เดอลาลูแบ และ คลอดเซเบแต้ดูบูลเย

๑๑ สิงหาคม ๒๒๓๐
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงประกาศสงครามกับบริษัทอินเดียของอังกฤษ

๒๗ กันยายน ๒๒๓๐
            คณะราชทูตไทยมีออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยคณะราชทูตฝรั่งเศส ชุดที่สองมี เดอลาลูแบร์ เป็นหัวหน้า มาถึงประเทศไทย

๑๑ กรกฎาคม ๒๒๓๑
            สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต ที่ลพบุรี พระราชสมภพ พ.ศ. ๒๑๗๕ เปิดอนุสาวรีย์ที่ลพบุรี ๒๕๐๙ พระองค์เป็นโอรสพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์อยู่ ๓๑ ปี ๙ เดือน ๒ วัน

๒๓ ธันวาคม ๒๒๓๑
            ราชทูตไทยชุดที่ ๔ ได้เข้าเฝ้า สันตะปาปา อินโดเนเซนต์ที่ ๑๑ ณ กรุงโรม

พ.ศ.๒๒๓๔
            เขมรได้ส่งทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามาถวาย เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร

พ.ศ.๒๒๓๘
            พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ให้ราชทูตนำพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอกองทัพไทย ไปช่วยต้านทานการรุกรานของกองทัพจากหลวงพระบาง พระองค์โปรดให้จัดทัพไปช่วย แต่ไม่ได้มีการรบ เพียงแต่ช่วยไกล่เกลี่ยจนทั้งสองเมืองเป็นมิตรกัน

พ.ศ.๒๒๔๕
            เกิดความวุ่นวายภายในเขมร เจ้าเมืองละแวก ขอมาอยู่ในพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระจึงให้ส่งกองทัพไปถึงเมืองอุดรมีชัย ราชธานีเขมร ทำให้เขมรมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยตามเดิม

๖ ตุลาคม ๒๒๔๖
            พระเพทราชา เสด็จสวรรคต

๑๗ เมษายน ๒๒๗๗
            วันพระราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (เปิดอนุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ ๒๔๙๗ ) ทรงกู้เอกราชได้หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าไปเพียง ๗ เดือน และได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ได้ทรงดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การศึกษา การศาสนา และศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นอันมาก

๒๐ มีนาคม ๒๒๗๙
            วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระราชสมภพ ณ ที่ปัจจุบันคือ วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

๘ กันยายน ๒๒๘๖
            วันประสูติ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑ ครั้งสงคราม ๙ ทัพ ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นจอมทัพไปตั้งรับพม่า ที่ตำบลลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี จนพม่าแตกกลับไป ทรงดำรงอิสริยศนี้ นาน ๒๑ ปี ระหว่าง ๒๓๒๕ - ๒๓๔๖ (สวรรคต ๓ พฤศจิกายน ๒๓๔๖) เปิดดอนุสาวรีย์ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๒

พ.ศ.๒๒๙๖
            พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ทราบว่า พระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมาก จึงส่งทูตมาขอพะมหาเถระและคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมไประยะหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ จึงโปรดให้ส่งคณะทูตไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชาอุปสมบทให้กับชาวลังกาและได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกาและเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓

๑ มิถุนายน ๒๓๐๑
            เจ้าฟ้าอุทุมพร (กรมขุนพรพินิต) กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๒ เสวยราชย์ได้ ๒ เดือนเศษ ได้ถวายราชสมบัติให้กับเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักขมนตรี) พระเชษฐา ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลา ๙ ปี ทั้งสองพระองค์เป็นโอรสพระเจ้าบรมโกศ กษัตริย์อยุธยาองค์ที่ ๓๑ ก่อนเสด็จสวรรคตได้ทรงตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพรเป็น รัชทายาท ไม่ตั้งเจ้าฟ้าเอกทัศน์ผู้พี่ ซึ่งทรงเห็นว่าโฉดเขลา จะรักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้

พ.ศ.๒๓๐๓
            พม่าส่งกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา

พ.ศ.๒๓๐๗
            พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ยกกองทัพเข้ามาทางเมืองทะวาย และตีหัวเมืองรายทางมาตามลำดับ แล้วเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา

๒๐ มิถุนายน ๒๓๐๙
            วันค่ายบางระจันแตก

๓ มกราคม ๒๓๐๙
            สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ นำกำลัง ๕๐๐ คน ตีฝ่ากองทหารพม่า ออกจากกรุงศรีอยุธยาไปทางทิศตะวันออก

๔ มกราคม ๒๓๐๙
            วันวีรกรรมบ้านพรานนกของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ขณะทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ทรงสู้รบกับทหารม้าของพม่าที่บ้านพรานนก (อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม
 


๗ เมษายน ๒๓๑๐
            กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ครั้งที่ ๒ ในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ หลังจากพม่าล้อมกรุงอยู่ ๑ ปี ๒ เดือน

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |