| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๖ เมษายน ๒๓๒๕
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ตามคำกราบบังคมทูลอันเชิญของบรรดาราษฎร และข้าราชชั้นผู้ใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้จัดให้มีพระราชพิธีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ และประกาศให้เป็นวันที่ระลึกมหาจักรี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

๒๑ เมษายน ๒๓๒๕
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพิธียกเสาหลักเมืองพระนครขึ้น และได้พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา ซึ่งเรียกกันต่อมาในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร

๑๓ มิถุนายน ๒๓๒๕
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงกระทำพิธีปราบดาภิเษกขึ้น เป็นกษัตริย์พระบรมราชจักรีวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

๑๗ มิถุนายน ๒๓๒๕
            ตรากฎหมายลงโทษข้าราชการที่กินเหล้า เล่นเบี้ย โดยใช้เฆี่ยนหลัง ๓ ยก (๙๐ ที)

พ.ศ.๒๓๒๗
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรากฎหมาย เพื่อให้ไพร่ทุกข์ยากได้มีเวลาประกอบอาชีพเลี้ยงตน โดยผ่อนผันให้ทำราชการให้แก่หลวง ๑ เดือน ทำงานให้เจ้า ๑ เดือน และประกอบอาชีพของตน ๑ เดือน

๘ เมษายน ๒๓๒๗
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้างเสาชิงช้า ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม

๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๓๒๗
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) จากพระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี ข้ามฟากลำน้ำเจ้าพระยา นำไปประดิษฐานไว้บนบุษบกทองคำ ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

พ.ศ.๒๓๒๘
            พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่ายกทัพมาตีกรุงเทพ ฯ จัดเป็นสงครามเก้าทัพ มีกำลัง ๑๔๔,๐๐๐ คน แยกย้ายกันเข้ามาถึงสี่ทาง

๑๕ กันยายน ๒๓๒๘
            เป็นวันตั้งชื่อ "กรุงเทพมหานคร"

๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๓๒๘
            สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ ๑ ได้โปรดให้ยกพลเข้าตีค่ายพม่าพร้อมกันทุกด้านในสงครามเก้าทัพ ที่ตำบลลาดหญ้า กาญจนบุรี

๒๔ มีนาคม ๒๓๒๘
            พม่าถอยทัพออกจากเมืองถลาง หลังจากที่ล้อมอยู่เดือนเศษ แต่ตีเมืองถลางไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก คุณหญิงจันท์ ภรรยาพระยาเจ้าเมืองถลาง กับคุณหญิงมุก น้องสาว ช่วยกันป้องกันเมืองไว้ วีรกรรมครั้งนี้ รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาคุณหญิง จันท์ เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณหญิงมุก เป็นท้าวศรีสุนทร

๒๔ มีนาคม ๒๓๒๘
            วันที่พม่าถอยทัพออกจากถลาง (เปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐)

พ.ศ.๒๓๒๙
            โปรตุเกตุได้ส่งเรือสลุปพร้อมด้วย Autonio Vicente ราชทูตโปรตุเกส เข้ามากรุงเทพ ฯ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |