| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |


พ.ศ.๒๓๒๙
            สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาท ได้ปืนพญาตานี จากเมืองปัตตานี นำมาทูลถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อเดือนตุลาคม

๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙
            วันสุนทรภู่ ท่านเกิด พ.ศ.๒๓๒๙ ถึงแก่อนิจกรรม พ.ศ.๒๓๙๘ อนุสาวรีย์ประดิษฐานที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๓๒๙
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ยกทัพหลวง ตีค่ายพม่าที่ท่าดินแดง ส่วนทัพหน้าของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เข้าตีค่ายพม่าที่ตำบลสามสบ รบอยู่ ๓ วัน ไทยได้รับชัยชนะ

พ.ศ.๒๓๓๐
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สร้างเมืองปากลัดพร้อมทั้งสร้างป้อมศิลปาคม ซึ่งนับว่าเป็นป้อมสำหรับป้องกันศึกทางทะเล เป็นป้อมแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

๘ มีนาคม ๒๓๓๐
            เจ้าพระยามหาเสนาและเจ้าพระยารัตนาพิพิธ ยกทัพเข้าตีเมืองกะลิอ่อง ของพม่าได้สำเร็จ

๓๑ มีนาคม ๒๓๓๐
            วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ทรงเป็นราชโอรสองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อนขึ้นครองราชย์ได้ทรงรับราชการหลายหน้าที่ด้วยกันคือ กำกับราชการกรมท่าและกรมตำรวจ ทรงว่าราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ เป็นแม่กองกำกับลูกขุน ณ ศาลหลวงและตุลาการทุกศาล ทรงค้าขายทางสำเภาจีน นำเงินรายได้เข้าท้องพระคลังเป็นจำนวนมาก เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนา รวบรวมสรรพตำราวิทยาการต่าง ๆ พัฒนาการเศรษฐกิจไทยหลาย ๆ ด้าน ทำให้รัฐมั่งคั่งเป็นอันมาก

พ.ศ.๒๓๓๑
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎก

๑๗ เมษายน ๒๓๓๑
            วันสมภพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ที่บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ อยุธยา บวชเป็นสามเณรแล้วมาอยู่วัดระฆัง จนได้เป็นเจ้าอาวาส มรณะภาพเมื่ออายุได้ ๘๕ ปี

๒๓ ธันวาคม ๒๓๓๑
            ราชทูตไทย ชุดที่ ๔ ได้เข้าเฝ้าสันตะปาปา อินโนเชนต์ ที่ ๑๑ ณ กรุงโรม

๗ กันยายน ๒๓๓๓
            ชาวเมืองยอง ๕๘๕ ครัวเรือน ในแคว้นไทยใหญ่อพยพมาอยู่เมืองน่าน

๑๑ ธันวาคม ๒๓๓๓
            วันประสูติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (สวรรคต เมื่อ ๙ ธันวาคม ๒๓๙๖) เป็นพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ ๗

๒๒ กันยายน ๒๓๓๔
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าราชบุตรพระตา เป็นพระยาพิชัยราชสุริยวงศ์ขัตติยราช เมืองจำปาศักดิ์ ขึ้นกรุงเทพ ฯ นครจำปาศักดิ์ เคยเป็นพระราชอาณาเขต ต้องเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖ เพื่อให้ฝรั่งเศสคืนจังหวัดจันทบุรี ให้ไทย ซึ่งได้เคยยึดไว้แต่เมื่อ กรณี ร.ศ.๑๑๒

๑๐ มีนาคม ๒๓๓๔
            เมืองทะวาย กลับมาอยู่ในอิทธิพลของไทย หลังจากตกไปเป็นของพม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๒

พ.ศ.๒๓๓๕
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงออกกฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดกักตุนข้าว และกำหนดอัตราซื้อขายข้าวในอัตราที่เหมาะสม พร้อมทั้งกำหนดโทษผู้ละเมิดถึงขั้นประหารชีวิต ผู้รู้เห็นเป็นใจให้ลงโทษเฆี่ยนคนละสามยก จากนั้นให้นำตัวไปแห่ประจานทางบกสามวัน ทางเรือสามวัน แล้วส่งตัวไปตะพุ่นหญ้าช้าง

๑๖ มกราคม ๒๓๓๖
            ไทยเสียเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี ให้แก่พม่า

๑๐ กรกฎาคม ๒๓๔๕
            กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ทรงบวชเป็นพระภิกษุ

๑๓ มีนาคม ๒๓๔๕
            กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากเชียงใหม่มากรุงเทพ ฯมกราคม ๒๔๑๗ แล้วอินก็ตายตามไป

๑๑ เมษายน ๒๓๔๖
            วันเกิดแฝดสยาม อิน – จัน ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่แม่กลอง จันถึงแก่กรรมเดือน มกราคม ๒๔๑๗ แล้วอินก็ตายตามไป

๒๗ กันยายน ๒๓๔๖
            ราชทูตไทยไปเมืองญวน นำเครื่องยศกษัตริย์ ๑๘ อย่าง ไปพระราชทานให้พระเจ้าเวียดนาม ยาลอง (องเชียงสือ) พระเจ้าเวียดนามรับของ ๑๗ อย่าง เว้นแต่พระมาลาเบี่ยงถวายคืน ไม่กล้ารับพระราชทาน อ้างว่าเป็นของสูง สมัยก่อนญวนเป็นเขตอิทธิพลของกรุงรัตนโกสินทร์ ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง

๓ พฤศจิกายน ๒๓๔๖
            สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระนามเดิม บุญมา เป็นพระอนุชาธิราชของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ สิ้นพระชนม์ด้วยโรคนิ่ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์ได้ทรงทำศึกสงครามกับพม่าหลายครั้ง จนเป็นที่ครั่นคร้ามแก่อริราชศัตรู สงครามครั้งที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ คือสงครามเก้าทัพ ณ ตำบลลาดหญ้า แขวงกาญจนบุรี พระองค์ทรงสามารถยับยั้งข้าศึกไว้ได้จนได้รับชัยชนะ โดยใช้ทหารเพียงสามหมื่นคนสกัดกั้น กำลังของข้าศึกที่มีถึงเก้าหมื่นคน

๑๒ มิถุนายน ๒๓๔๗
            กองทัพเมืองเชียงใหม่ ของพระเจ้ากาวิลละ ยึดเมืองเชียงแสนได้ในวันนี้ เมืองเชียงแสนอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงราย ริมแม่น้ำโขง ขณะนั้นยังอยู่ในอิทธิพลพม่า

๑๖ กันยายน ๒๓๔๗
            เจ้าฟ้าเชียงตุง ลงมากรุงเทพ ฯ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ขณะนั้นเชียงตุง เป็นขัณฑสีมา อยู่ชั่วระยะหนึ่ง

๑๘ ตุลาคม ๒๓๔๗
            วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระนามเดิมสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ทรงเป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาอยู่ ๒๗ ปี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ วันที่ ๒ เมษายน ๒๓๙๔ ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงรับวิทยาการของชาติตะวันตกเข้ามาใช้ในไทยเป็นอันมาก พระองค์ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงความรอบรู้ ความเป็นไปทางวิชาการ ทั้งทางโลกและทางพุทธศาสตร์ ทรงรอบรู้ทั้งในทางการเมือง ศาสนาวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ทรงเชี่ยวชาญทั้ง ภาษาอังกฤษ ภาษามคธ และบาลี

๑๕ มีนาคม ๒๓๔๙
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชผู้รับรัชทายาท

๔ กันยายน ๒๓๕๑
            วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมเจ้าฟ้าน้อย ทรงเป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี เช่นเดียวกับรัชกาลที่ ๔ ทรงพระปรีชาสามารถในงานต่าง ๆ ทั้งทางทหารและการช่าง ทรงหล่อปืนใหญ่ไว้ใช้ในราชการ เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ ชำนาญในด้านการต่อเรือกลไฟใช้เป็นเรือรบและเรือพาหนะ ได้รับแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๓ ยกทัพไปปราบญวนที่เมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน) เมื่อรัชกาลที่ ๔ ขึ้นครองราชย์ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบวรเจ้า (วังหน้า) จัดพิธีอุปภิเศกมีพระเกียรติยศเสมอพระเจ้าอยู่หัว

๘ พฤษภาคม ๒๓๕๒
            อัญเชิญพระศรีศากยมุนี จากแพขึ้นประตูท่าช้าง รัชกาลที่ ๑ ทรงประชวร เสด็จ ฯ ด้วยพระบาทเปล่า ชักลากขึ้นบทแท่น ต่อมาอีก ๔ เดือน ก็เสด็จสวรรคต

๗ กันยายน ๒๓๕๒
            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อพระชนมายุ ๗๔ พรรษา ครองราชย์ ๒๗ ปี เศษ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |