| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๑ ตุลาคม ๒๔๑๑
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสวยราชสมบัติ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ ขณะพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา เนื่องจากทรงพระเยาว์ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

๓ ตุลาคม ๒๔๑๑
            ไทยโดยพระสยาม ฯ ลงนามในสัญญาทางพระราชไมตรี ระหว่างไทย กับ อิตาลี

๒๐ มกราคม ๒๔๑๑
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอดพระปฐมเจดีย์ ณ จังหวัดนครปฐม ถือกันว่าพระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่ และสูงที่สุดในประเทศไทย เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ภายใน

พ.ศ.๒๔๑๒
            เริ่มงานการโทรเลข โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดให้ชาวอังกฤษสองนายประกอบการขึ้น แต่ไม่สำเร็จ ทางราชการกระทรวงกลาโหม จึงได้รับช่วงมาทำเอง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๘ โทรเลขสายแรกคือสายระหว่างกรุงเทพ ฯ – สมุทรปราการ และยังมีสายใต้น้ำที่วางต่อไปจนถึงประภาคาร ที่ปากน้ำเจ้าพระยาสำหรับบอกเรือเข้าออก

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๑๒
            ไทยได้ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับออสเตรีย ในระดุบกงสุล ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ กับจักรพรรดิ์ ฟรานซ์ โจเซฟ แห่งออสเตรีย

๒๗ มิถุนายน ๒๔๑๒
            ประกาศตั้ง สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการต่างประเทศ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นสมุหพระกลาโหม ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ยังทรงพระเยาว์

พ.ศ.๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง แสง-ชูโต) คัดเลือกบรรดาบุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่เป็นมหาดเล็ก จัดตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทำหน้าที่รักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด

พ.ศ.๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้นครั้งแรก ในกรมทหารมหาดเล็กหลวง

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ เจ้าอินทรวิชยานนท์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สืบต่อมา

๑๓ สิงหาคม ๒๔๑๓
            เริ่มใช้คำบอกแถวทหาร เป็นภาษามคธ แทนคำบอกภาษาอังกฤษ เช่น วันทยาวุธ วันทยาหัตถ์

๒๑ ธันวาคม ๒๔๑๓
            เรือรบอิตาลีประเภทเรือคอร์เวตได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย พร้อมด้วยราชทูตอิตาลี เพื่อมาเจรจา ทำสัญญาทางพระราชไมตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒๑ มกราคม ๒๔๑๓
            วันเกิดพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบล อุปสมบทเมื่อ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๓๖ ที่วัดสีทอง

๖ มีนาคม ๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จ ฯ สิงคโปร์ ชวา โดยเรือพิทยัมรณยุทธ ออกจากกรุงเทพ ฯ วันนี้

๙ มีนาคม ๒๔๑๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสน์เมืองสิงคโปร์ ปัตตาเวีย และเกาะชวา โดยเรือพระที่นั่งพิทยัมรณยุทธ เพื่อทอดพระเนตรกิจการบ้านเมือง ตลอดจนขนมธรรมเนียม และประเพณีของต่างชาติ เป็นเวลา ๔๗ วัน และเสด็จกลับเมื่อ ๑๕ เมษายน ๒๔๑๔

พ.ศ.๒๔๑๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสอินเดียและพม่า

๑๘ มีนาคม ๒๔๑๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสอินเดียเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งบางกอก มีเรือรบตามเสด็จ ๒ ลำ

๑๕ เมษายน ๒๔๑๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จนิวัติประเทศไทย หลังจากเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรกคือ สิงค์โปร์และชวา ระหว่าง ๙ มีนาคม ๒๔๑๓ ถึง ๑๕ เมษายน ๒๔๑๔ หลังจากเสด็จประพาสได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการแก้ไขวัฒนธรรมการแต่งกาย โดยประยุกต์ของเดิมและของใหม่เข้าด้วยกัน

๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕
            วันมรณะภาพสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เวลา ๒๔.๐๐ น. บนศาลาใหญ่ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม (เกิด ๑๗ เมษายน ๒๓๓๑)

๒๓ กรกฎาคม ๒๔๑๕
            เรือรบสหรัฐ ฯ เดินทางถึงกรุงเทพ ฯ นำสาส์นของประธานาธิบดี แอนดรูว์ จอห์นสัน ถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ

๓๐ สิงหาคม ๒๔๑๕
            จีนแห่จ้าวมาจากสำเพ็ง มายังวัดมหรรณพ์ ตั้งศาลจ้าวใหม่ คือ ศาลเจ้าพ่อเสือ

๕ กันยายน ๒๔๑๕
            ตั้งห้างแรมเซเวกฟิลด์ ที่ตึกกรมประชาสัมพันธ์หลังเก่า ต่อมาเป็นห้างแบดแมน เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรก

๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ขึ้นเถลิงราชย์สมบัติ ขณะพระชนม์ ๑๕ พรรษา มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก แต่เนื่องจากพระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงรับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จนกว่าพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ

๓๐ มีนาคม ๒๔๑๕
            ไทยเสียรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิส แก่อังกฤษ

พ.ศ.๒๔๑๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้นายทหารกรมมหาดเล็ก มีตำแหน่งเป็นนายทหารราชองค์รักษ์พิเศษ

๒๑ มิถุนายน ๒๔๑๖
            เกิดอหิวาตกโรคในพระนคร ระบาดอยู่ ๓๐ วัน คนตายมาก

๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนธรรมเนียมหมอบคลานเข้าเฝ้าเป็น ยืนเฝ้า

๒๖ กันยายน ๒๔๑๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงผนวช นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก ในพระราชวงศ์จักรี ที่ทรงผนวชเมื่อเสวยราชย์

๙ ตุลาคม ๒๔๑๖
            วันทรงลาผนวช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงผนวช เมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๔๑๖

๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๑๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงจัดให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้ง เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว และทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เป็นเวลา ๒ สัปดาห์ นับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาด ในการบริหารราชการแผ่นดิน

๘ พฤษภาคม ๒๔๑๗
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดแรกของไทยขึ้นบริหารประเทศ เรียกการบริหารงานของรัฐมนตรีชุดนี้ว่า สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) ต่อมาในเดือนมิถุนายน ก็ได้ทรงแต่ตั้ง สภาที่ปรึกษาในพระองค์ ( Privy Council ) ขึ้นตามแบบอย่างประเทศในอังกฤษ มีหน้าที่ให้คำแนะนำพระมหากษัตริย์ อังกฤษ ทรงแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๑๒ กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงท่า กระทรวงวัง กระทรวงเมือง กระทรวงนา กระทรวงพระคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวง.....ธิการ

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๑๗
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา (พ.ศ.๒๔๑๗) ซึ่งเคยพิมพ์ครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พ.ศ.๒๔๐๑

๑๒ กรกฎาคม ๒๔๑๗
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชปรารภในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เรื่องการเลิกทาส ซึ่งเป็นต้นกำเนิดในการตากฎหมายและการดำเนินการต่าง ๆ ในการเลิกทาส การเลิกทาสนี้ใช้เวลานานถึง ๓๐ ปี

๑๕ สิงหาคม ๒๔๑๗
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

๑๖ สิงหาคม ๒๔๑๗
            ประกาศตราตระกูลสำหรับพระราชวงศ์ คือ ตราจุลจอมเกล้า มี ๓๕๑ ดวง

๑๔ เมษายน ๒๔๑๘
            ตั้งกระทรวงการต่างประเทศ โดยแยกออกมาจากกระทรวงพระคลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ

๖ กรกฎาคม ๒๔๑๘
            ประกาศให้เปิดโรงเรียนทั่วราชอาณาจักร ตามวัดทั่วประเทศ มีพระและคฤหัสถ์เป็นครูอย่างน้อย ๕ คน เงินเดือน ๆ ละ ๖ บาท สมัยนั้นไม่ทราบจำนวนวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ มี ๑๓,๐๖๕ วัด พ.ศ. ๒๔๘๐ มี ๑๗,๖๕๐ วัด พ.ศ. ๒๕๒๔ มี ๓๑,๑๘๗ วัด พ.ศ. ๒๕๒๗ มีโรงเรียนประถม ๓๐,๗๒๔ โรงเรียน
เมืองไทยเริ่มการศึกษาทั่วประเทศหลังญี่ปุ่น ๓ ปีเท่านั้น ญี่ปุ่นจัดการศึกษาทั่วประเทศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕

๑๗ พฤษภาคม ๒๔๑๙
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จก่อพระฤกษ์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

๕ กันยายน ๒๔๑๙
            ตั้งหอมิวเซี่ยม (พิพิธภัณฑ์) ที่ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง ให้ทหารมหาดเล็กรับผิดชอบ

๗ พฤศจิกายน ๒๔๑๙
            วันประสูติ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช โอรสรัชกาลที่ ๕ ได้ไปศึกษาชั้นต้นที่อังกฤษ และศึกษาวิชาการทหารที่เดนมาร์ก ได้ทรงวางรากฐานในกิจการทหารและกองทัพบกมาก เช่น ตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ลักษณะจัดทหาร วิธีฝึกทหาร เป็นต้น

พ.ศ.๒๔๒๐
            ได้มีการตรา พระราชบัญญัติ ข้อบังคับ สำหรับกรมทหารมหาดเล็กขึ้นเพื่อจัดหน่วยให้เป็นไปอย่างมีระเบียบและมีประสิทธิภาพ

๑๙ เมษายน ๒๔๒๑
            เริ่มปักเสาโทรเลขต้นแรก ในจำนวน ๗๒๑ ต้น ระยะทาง ๔๕ กม. เป็นการสร้างสายโทรเลขจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการ เป็นสายแรก

๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑
            พระศรีวิชัย (ครูบาศรีวิไชย) พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงแห่งลานนาไทย เกิดที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นพระภิกษุนักบุญ ผู้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ เมืองเชียงใหม่ โดยแรงศรัทธา ใช้เวลาเพียง ๕ เดือน พระศรีวิไชย มรณะภาพ เมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๑

๙ กันยายน ๒๔๒๑
            กำหนดมาตราฐานการตวงข้าว ๑ เกวียนเท่ากับ ๑๐๐ ถัง แต่ก่อนถือ ๒๒ หาบ เป็น ๑ เกวียน

๘ กรกฎาคม ๒๔๒๒
            สมโภชพระที่นั่งวโรภาสพิมาน ที่บางปะอิน พระราชวังบางปะอิน เริ่มสร้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ เคยเป็นที่รับรองแกรนด์ดุ๊ก ซาร์วิตส์ แห่งรัสเซีย เมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๔๓๓ เป็นเวลา ๔ วัน

๑ พฤษภาคม ๒๔๒๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เปลี่ยนธรรมเนียมออพฟิศใหม่ใช้ยืนและนั่งเก้าอี้แบบฝรั่ง เป็นการเปลี่ยนธรรมเนียมให้คล้อยตามอารยะประเทศ

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๒๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ธนบัตรสยาม เป็นครั้งแรก เรียกว่า อัฐกระดาษ

๑๙ ธันวาคม ๒๔๒๓
            วันประสูติ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (สิ้นพระชนม์เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖)

๑ มกราคม ๒๔๒๓
            วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ พระองค์ได้รับสมัญญานามว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"

๑๖ มีนาคม ๒๔๒๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พรราชทานเพลิงศพ สมเด็จรพระนางเจ้าสุนันทากุมานีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม)

พ.ศ.๒๔๒๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ที่ตำหนักสวนกุหลาบ เพื่อฝึกและผลิตนายร้อยและนายสิบให้แก่กรมทหารมหาดเล็ก

พ.ศ.๒๔๒๔
            ราชทูตไทยคนแรก ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ไปประจำประเทศในยุโรป คือพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (เวลานั้นทรงเป็นหม่อมเจ้า) ทรงทำหน้าที่ราชทูตไทยประจำกว่า ๑๐ ประเทศในยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกาด้วย โดยมีสำนักงานอยู่ที่สถานทูตในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

๔ สิงหาคม ๒๔๒๔
            ดวงตราไปรษณียากร ได้นำออกจำหน่ายครั้งแรก มีอยู่ ๕ ชนิด ตั้งแต่ราคา ๑ โสฬส จนถึง 1 สลึง และยังมีไปรษณียบัตร ราคา ๑ อัฐ อีกด้วย

พ.ศ.๒๔๒๕
            ได้มีการตรา พระราบัญญัติทหาร หลายฉบับ ให้มีการรับสมัครทหาร

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |