| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๗ กรกฎาคม ๒๔๐๒
            สร้างพระนครคีรีบนเขาวัง ที่เมืองเพชรบุรี ปัจจุบันเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

๒ สิงหาคม ๒๔๐๒
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสหัวเมืองตะวันตกโดยทางเรือกลไฟ

๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๐๒
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์น ถึงพระราชาธิบดีเดนมาร์ค มีใจความว่า ขอเจริญทางพระราชไมตรี มายังสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริก ที่ ๗ และเรื่องการค้าขาย

๑๑ มกราคม ๒๔๐๒
            วันประสูติ จอมพล เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ มากมาย รัชกาลที่ ๖ ทรงสรรเสริญว่าทรงเป็นพระหลักเมืองแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี

๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๒
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จ ฯ ทรงเปิดเดินเครื่องจักรโรงกษาปณ์สิทธิการ

๑๔ กันยายน ๒๔๐๓
            ประเทศไทยเริ่มใช้เหรียญบาทเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๔

๑๗ กันยายน ๒๔๐๓
            ประกาศใช้เงินเหรียญบาท และเงินแป (๑ สลึง ๒ สลึง เงินเฟื้อง) กำหนดออกใช้ใน

๑๙ กันยายน ๒๔๐๓
            สร้างพระปฐมเจดีย์

๑๕ มิถุนายน ๒๔๐๔
            หมอบรัดเลย์ ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราชลอนดอน ของหม่อมราโชทัยและจัดพิมพ์ขายเป็นครั้งแรก นับเป็นการเริ่มต้นการซื้อขายลิขสิทธิ์ และการพิมพ์หนังสือเป็นเล่มออกจำหน่ายในประเทศไทย

๑๙ กรกฎาคม ๒๔๐๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ครั้งยังไม่ขึ้นครองราชย์ ทรงบรรพชาเป็นสามเณร

๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๐๔
            วันประสูติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระราชโอรสใน รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นราชสกุล วรวรรณ ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียน และนักกวีผู้ยิ่งใหญ่ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ เมื่อ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๕

๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างถนนได้แก่ ถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชย ไปจนจรดแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนตก รวมความยาวทั้งสิ้น ๘,๕๗๕ กิโลเมตร ส่วนความกว้างไม่เท่ากันตลอดทั้งสาย บางตอนกว้างถึง ๑๒.๗๕ เมตร บางตอนกว้างเพียง ๗ เมตร เป็นถนนเทคอนกรีต และลาดยางตลอดสาย และ ถนนบำรุงเมืองถนนเฟื่องนคร ถนนสีลม และโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษมคลองมหาสวัสดิ์คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพง

๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศรัสเซีย

๑๒ มีนาคม ๒๔๐๔
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมท์ปฎิทิน ทรงคำนวนขึ้นเป็นครั้งแรก

๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕
            วันดำรงราชานุภาพ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติ ๒๔๐๕ สิ้นพระชนม์ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ ได้รับพระนามว่า พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์

๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๕
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระราชาธิบดี เยอรมัน มีใจความว่า ขอเจริญทางพระราชไมตรีมายัง สมเด็จพระเจ้ากรุงปรุสเซีย และเรื่องการทำสัญญาทางพระราชไมตรีและทางค้าขาย

๑๐ กันยายน ๒๔๐๕
            วันประสูติ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาชัยยิกาเจ้า ทรงเป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๖๐ ในรัชกาลที่ ๔ สิ้นพระชนม์เมื่อ ธันวาคม ๒๔๙๙ พระชนมายุ ๙๓ พรรษา นับเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีพระชันษายืนยาวพระองค์หนึ่งของราชวงศ์จักรี

พ.ศ.๒๔๐๖
            พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ โปรดให้ต่อเรือยงยศอโยชฌิยา ซึ่งขึ้นระวางเป็นเรือรบของวังหน้า เครื่องจักรท้ายมีระวางขับน้ำ ๓๐๐ ตัน ตัวเรือทำด้วยไม้ มีปืนใหญ่ ๖ กระบอก พลประจำเรือ ๘๐ คน ปลดระวาง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑

๒๘ เมษายน ๒๔๐๖
            วันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ราชโอรสรัชกาลที่ ๔ ทรงดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย ทั้งด้านทหารและพลเรือน ทรงมีความสามารถด้านศิลปอย่างสูง เห็นได้จากการออกแบบสร้างวัดเบญจมบพิตร ฯ เป็นต้นมา

๑๙ มิถุนายน ๒๔๐๖
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระราชสาส์นถึงพระราชาธิบดี ฮอลันดา มีใจความว่าขอเจริญทางพระราชไมตรีมายังสมเด็จพระเจ้าวิเลียมที่สาม พระเจ้าแผ่นดินกรุงนิเทอร์แลนด์ ทรงย้ำถึงทางพระราชไมตรีของสองพระนครที่จะยั่งยืนสืบไปนาน และคนของทั้งสองฝ่ายจะค้าขายต่อกันโดยสุขสวัสดิ์

๑๑ สิงหาคม ๒๔๐๖
            เขมรตกเป็นของฝรั่งเศส

๑๘ กันยายน ๒๔๐๖
            เริ่มใช้ เงินตราอย่างใหม่ที่เรียกว่า อัฐ และโสฬส ทำด้วยดีบุกผสม เป็นเงินตราแทน หอยเบี้ย ในสมัยรัชกาลที่ ๔

๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๐๗
            วันสถาปนาวัดราชประดิษฐ์ ฯ เป็นวัดธรรมยุตินิกาย

๒๙ มกราคม ๒๔๐๗
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดให้หลวงเดชกับคณะ ไปจัดการเรื่องพรมแดนไทยกับพม่า ตลอดแนวเทือกเขาตะนาวศรี

พ.ศ.๒๔๐๘
            กองทัพกรุงศรีอยุธยา ยกขึ้นไปตีเมืองลำปาง และได้สถาปนาพระอาทิตย์วงศ์ ราชโอรสสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เป็นพระบรมราชา ตำแหน่งสมเด็จหน่อพุทธางกูร ให้ครองหัวเมืองเหนือ อยู่ ณ เมืองพิษณุโลก

๑๔ พฤษภาคม ๒๔๐๘
            วันก่อพระฤกษ์พระเจดีย์ภูเขาทอง ในรัชกาลที่ ๔

๒๒ สิงหาคม ๒๔๐๘
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการ ประกาศเลิกการห้ามส่งข้าว ออกนอกพระราชอาณาจักร

๕ กันยายน ๒๔๐
            เรือปืนฝรั่งเศส ชื่อ Mitraille เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ เพื่อรับ M. Aubaret ซึ่งเข้ามาเจรจาทำสัญญาเรื่องดินแดน ให้ไทยยอมรับสิทธิอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือดินแดนเขมร แต่ไม่สำเร็จ

๗ มกราคม ๒๔๐๘
            พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เสด็จสวรรคตที่วังหน้า พระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา หลังจากทรงประชวรมา ๕ ปี

๘ มกราคม ๒๔๐๘
            วันประสูติกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ) ทิวงคต ๒๘ สิงหาคม ๒๔๒๘

๒๕ ตุลาคม ๒๔๐๙
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือจนถึงเมืองพิษณุโลก โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช เพื่อประกอบพิธีสมโภชพระพุทธชินราช

๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๙
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชทานเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓ มิถุนายน ๒๔๑๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง เซอร์ ยอน เบาริง เป็นราชทูตวิสามัญ และอัคราชทูตผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายไทยประจำยุโรป และได้ตั้งให้เป็น พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ เมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๔๑๐

๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐
            ไทยเสียแคว้นเขมร และเกาะใกล้เคียงแก่ฝรั่งเศส ด้วยเห็นว่าการดำเนินนโยบายประนีประนอมกับฝรั่งเศส เป็นหนทางที่จะรักษาเอกราชของชาติไว้ได้

๓๑ กรกฎาคม ๒๔๑๐
            วันถึงแก่กรรม หม่องราโชทัย (กระต่าย อิศรางกูล ณ อยุธยา) กวีผู้แต่งนิราศลอนดอน

๓๐ สิงหาคม ๒๔๑๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ Sir John Bowring เป็นพระยาสยามานุกูลกิจ อันเป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดที่ราชทูตไทยได้รับ นับเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยา

๓๐ กันยายน ๒๔๑๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งเซอร์ยอน บาวริ่ง เป็นอัคราชทูตพิเศษไทย ประจำกรุงลอนดอน

๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๑๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้เรือพระที่นั่งอรรคเรศรัตนอาสน์ ออกไปรับผู้ว่าราชการเมืองมาเก๊า ซึ่งได้เชิญพระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการของกษัตริย์โปรตุเกสมาถวาย จากสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพ ฯ

๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๑๐
            วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โอรสองค์ที่ ๔๒ ในรัชกาลที่ ๔ ต้นราชสกุลเทวกุล ทรงคิดทำปฏิทินไทยตามสุริยคติ ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย รัชกาลที่ ๕ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้เป็นประเพณี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๒ เป็นต้นมา ทรงริเริ่มงานสำคัญ ๒ เรื่องคือ ให้ตั้งทูตไทยประจำประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕ ทำให้นานาชาติเริ่มยกย่องให้เกียรติประเทศไทย ด้วยการตั้งราชทูตมาประจำประเทศไทยเป็นการตอบแทน ทรงริเริ่มที่จะทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อจัดตั้งศาลต่างประเทศขึ้นที่เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ อันเป็นการนำคนในบังคับต่างประเทศมาอยู่ในอำนาจศาลไทย พ.ศ.๒๔๒๘ ขณะพระชนมายยุ ๒๗ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศและทรงเป็นอยู่ ๓๘ ปี เมื่อรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ฯ ตั้งเสนาบดี ๑๒ ตำแหน่งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ ก็ได้ทรงเป็นหัวหน้าเสนาบดีในที่ประชุมเสนาบดี ทรงได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์นายก อันเป็นยศสูงสุดของข้าราชการพลเรือน สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ ๖๕ พรรษา

๑๘ มกราคม ๒๔๑๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ส่งราชทูตไปประจำ ณ กรุงปารีส

๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๑๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จำลองปราสาทนครวัด ไว้ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์

๑๕ มีนาคม ๒๔๑๐
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ขึ้นเป็นกรมขุนพินิตประชานารถ

พ.ศ.๒๔๑๑
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ จัดตั้งทหารสองโหลขึ้น โดยรวบรวมมหาดเล็กที่หลวงเดิม มารับการฝึกทหารจากกรมเล็ก ครูฝึกจากกรมทหารหน้าและให้เข้าขบวนตามเสด็จ ณ สถานที่ต่าง ๆ ด้วย

๑๘ พฤษภาคม ๒๔๑๑
            ไทยโดย พระสยาม ฯ ลงนามในสัญญาทางพระราชไมตรี ระหว่างไทย กับ สวีเดน นอร์เวย์

๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑
            ตั้งแต่ ๑๐.๔๕ - ๑๑.๓๐ เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ตั้งแต่เมืองปราจีนไปจนถึงเมืองชุมพร สามารถเห็นชัดเจน ณ บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จทอดพระเนตรและทรงคำนวนวันเวลาที่เกิดได้ถูกต้อง พระองค์ทรงได้รับเชื้อมาลาเรีย เป็นเหตุให้เสด็จสวรรคต เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ และต่อมาวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๓๕ คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติ พระองค์ว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

๒๙ สิงหาคม ๒๔๑๑
            ไทยโดยพระสยาม ฯ ลงนามในสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างไทยกับเบลเยี่ยม

๑ กันยายน ๒๔๑๑
            ออกหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของไทย โดยพิมพ์ที่โรงพยาบาลหมอสมิท ชื่อ Siam Daily Advertiser

๑ ตุลาคม ๒๔๑๑
            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เสด็จสวรรคต ด้วยพระโรคไข้จับสั่น หลังจากเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ พระชนมายุ ๖๔ พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ๑๘ ปี ครองราชย์ได้ ๑๙ ปี

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |