| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๒๘ มีนาคม ๒๔๓๑
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลิกใช้จุลศักราช (จ.ศ.) และให้ใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน โดยถือเอาปีตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นปีที่ ๑ (ร.ศ.๑)

๒๖ เมษายน ๒๔๓๑
            วันเปิดโรงพยาบาลศิริราช

๒๘ มิถุนายน ๒๔๓๑
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ยกเลิกการใช้จุลศักราช เปลี่ยนมาใช้รัตนโกสินทร์ศก แทน เริ่ม ร.ศ.๑ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕

๖ สิงหาคม ๒๔๓๑
            วันก่อตั้งกรมยุทธศึกษาทหารบก (ยศ.ทบ.) ซึ่งถือกำเนิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ

๑๐ สิงหาคม ๒๔๓๑
            ให้ทหารเลิกจัดสายตรวจรักษาการตามถนนในพระนคร โดยมอบหน้าที่ให้ตำรวจ

๒๒ กันยายน ๒๔๓๑
            รถรางได้ออกรับผู้โดยสารเป็นครั้งแรกในไทย และในทวีปอาเซีย

๒๔ กันยายน ๒๔๓๑
            วันนี้ทหารบกได้ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เป็นครั้งแรก ที่กรมยุทธนาธิการ (กระทรวงกลาโหม) เพลงนี้เดิมมีแต่ทำนอง เพิ่งมาแต่งเนื้อร้องเป็นครั้งแรก โดยสมเด็จ ฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ผู้บัญชาการกองทัพบกในขณะนั้นทรงนิพนธ์

๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑
            ไทยเสียแคว้นสิบสองจุไทย ให้แก่ฝรั่งเศส พื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร โดยฝรั่งเศส ส่งกำลังทหารเข้ายึดไว้ อ้างว่าเอาไว้คอยปราบฮ่อ

๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๑
            กองทัพไทยกับฝรั่งเศส ได้ทำสนธิสัญญาว่าต่างจะไม่ล่วงเข้าไปในเขตแดนของกันละกัน และจะช่วยกันปราบฮ่อที่เป็นโจร

๒๓ มกราคม ๒๔๓๑
            นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้เดินทางออกจากหลวงพระบางกลับกรุงเทพ ฯ หลังจากที่ได้จัดระเบียบการปกครองดินแดนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว

๒๑ มิถุนายน ๒๔๓๒
            ทหารสามารถกวาดต้อนพวกอั้งยี่ในกรุงเทพ ฯ ที่เกิดวิวาทกันเองแล้วยกกำลังเข้าต่อสู้กันที่โรงสีปล่องเหลี่ยม บางรัก มีการตั้งสนามเพลาะเพื่อสู้รบกันบนถนนเจริญกรุง กระทรวงนครบาลไม่สามารถปราบปรามได้ จึงต้องใช้กำลังทหารบก และทหารเรือเข้าปราบ

๑๙ กันยายน ๒๔๓๒
            กองทัพเมืองเชียงใหม่ ยกไปปราบพระยาปราบสงคราม ที่เมืองฝาง

๑ พฤศจิกายน ๒๔๓๒
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลคนเสียจริต ขึ้นที่ปากคลองสาน เป็นโรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วยทางจิตแห่งแรกของประเทศไทย รับผู้ป่วยไว้รักษา ครั้งแรก ๓๐ คน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๓๒
            วันเกิด พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) บรรพชาเป็นสามเณร ๕ ปี อุปสมบทต่ออีก ๑๐ ปี ลาสิกขาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์ กรมตำรา กระทรวงกลาโหม แล้วโอนมาอยู่กรมตำรา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้โอนมาอยู่กรมพระอาลักษณ์ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น ปรมาจารย์คือ อาจารย์ของอาจารย์แห่งอักษรศาสตร์

พ.ศ.๒๔๓๓
            เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง–ชูโต) ได้ริเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อให้แสงสว่าง ต่อมาได้โอนกิจการให้บริษัทอเมริกันชื่อ แบงค๊อค อีเลคตริคซิตี้ ซินดิเดท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐

๑ เมษายน ๒๔๓๓
            มีการตราพระราชบัญญัติทหาร โดยรวบรวมทหารบกและทหารเรือเข้าด้วยกัน และยกฐานะกรมยุทธนาธิการเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ และตั้งกองบัญชาการอยู่ในโรงทหารหน้า จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นศาลายุทธนาธิการ

๕ กันยายน ๒๔๓๓
            เปิดสอนโรงเรียนแพทย์เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่มีชื่อทางการ เรียกกันว่า ศิริราชแพทยากร ถือเป็นวันสถาปนาโรงเรียนแพทย์

๙ มกราคม ๒๔๓๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดอู่หลวง ณ กรมอู่ทหารเรือ เนื่องจากในเวลาดังกล่าวนั้นมีจำนวนเรือหลวงเพิ่มมากขึ้น อู่หลวงนี้สร้างขึ้นที่โรงหล่อซึ่งหมายถึงที่ว่าการกรมทหารเรือ อู่หลวงดังกล่าวเป็นแบบอู่ไม้ ต่อมาได้ขยายเป็นอู่คอนกรีตเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ ค่าก่อสร้าง ๕๐๐,๐๐๐บาท

๑ มีนาคม ๒๔๓๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมา เป็นทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย

๙ มีนาคม ๒๔๓๓
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองแขวงเมืองปทุมธานี ไปออกแม่น้ำนครนายกคือ คลองรังสิตประยูรศักดิ์ หรือที่เรียกว่า คลองรังสิต และคลองนี้เองที่เป็นการเริ่มต้นกิจการด้านการชลประทาน และเป็นผลดีแก่เกษตรกรในจังหวัดใกล้เคียงเป็นอันมาก

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๓๔
            เรือปืนรัสเซีย เดินทางมาถึงกรุงเทพ ฯ กัปตันเรืออัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของรัสเซียชื่อ เชนต์ แอนดรูว์ จากพระเจ้านิโคลัสที่ ๑ แห่งรัสเซีย เข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

๑๖ กรกฎาคม ๒๔๓๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงขุดดินวางฤกษ์สร้างทางรถไฟสายปากน้ำทางรถไฟสายแรกของเมืองไทย ซึ่งเป็นของเอกชน มีสัญญาสัมปทาน ๕๐ ปี เปิดเดินรถเมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๓๔๖ หมดสัญญา เมื่อ ๑๓ กันยายน ๒๔๗๙ เป็นของรัฐบาล และเลิกเดินรถ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๐๓

๖ สิงหาคม ๒๔๓๔
            วันก่อตั้งกรมยุทธศึกษาทหารบก (ยศ.ทบ.) ซึ่งถือกำเนิดในรัชสมัย รัชกาลบที่ ๕

๒๐ สิงหาคม ๒๔๓
            เปิดประภาคารที่เกาะสีชัง

๒๒ กันยายน ๒๔๓๔
            โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าหน้าบุตรพระตา เป็นพระยาพิชัยราชสุริยวงศ์ขัตติยราช เมืองจำปาศักดิ์ ขึ้นกรุงเทพ ฯ นครจำปาศักดิ์ เคยเป็นพระราชอาณาเขต ต้องเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อ ๑๒กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖เพื่อให้ฝรั่งเศสคืนจังหวัดจันทบุรีให้ไทยซึ่งได้ยึดไว้แต่เมื่อกรณี ร.ศ.๑๑๒

๑๖ ตุลาคม ๒๔๓๔
            วันถึงแก่กรรมของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) นักปราชญ์คนหนึ่งของไทย เป็นผู้ที่มีบทบาทในการวางรากฐานการศึกษาของชาติ ได้แต่งแบบเรียนขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วย หนังสือมูลบทบรรพกิจ ๑ แบบเรียนประถม ก กา ใช้สอนในโรงเรียนหลวง ที่พระตำหนรักสวนกุหลาบ

๑๒ ธันวาคม ๒๔๓๔
            ทำสัญญากับบริษัทอังกฤษ สร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ ฯ – นครราชสีมา

๑ มกราคม ๒๔๓๔
            วันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสใน รัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับถวายพระราชสมัญญาภิไธยว่า พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

๙ มีนาคม ๒๔๓๔
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ) ประกอบพิธีกระทำพระฤกษ์ เส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ ฯ นครราชสีมา

๒๕ มีนาคม ๒๔๓๔
            วันสถาปนากระทรวงยุติธรรม

พ.ศ.๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยปรับปรุงองค์การบริหารส่วนกลางออกเป็นกระทรวงต่าง ๆ ๑๒ กระทรวง

พ.ศ.๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมอย่างทันสมัยขึ้นที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า สร้างเสร็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ อาวุธประจำป้อมคือ ปืนใหญ่อาร์มสตรอง ขนาด ๖ นิ้ว ๗ กระบอก

พ.ศ.๒๔๓๕
            รัฐบาลไทยได้ว่าจ้าง นายโรลังค์ ยัคมินส์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคนแรก ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาอภัยราชา

๑ เมษายน ๒๔๓๕
            ได้มีการกำหนดหน้าที่กระทรวงกลาโหมเป็นกระทรวงราชการทหาร ตามตำราโบราณจึงได้ย้ายที่ว่าการกระทรวงกลาโหมจากศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง มาอยู่ที่ตึกหลังกลางด้านหน้าของศาลายุทธนาธิการ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหม

๑ เมษายน ๒๔๓๕
            มีประกาศพระบรมราชโองการให้ตำแหน่งเจ้ากระทรวง เป็นเสนาบดีเสมอกันหมด พร้อมกับยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีสองตำแหน่งที่มีมาแต่เดิม

๑ เมษายน ๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพระคลัง กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงมุรธาธร สำหรับกระทรวงกลาโหมนั้น ได้กำหนดหน้าที่เป็นกระทรวงราชการทหาร ให้มีหน้าที่บังคับบัญชาทั้งทหารบก และทหารเรือ ซึ่งก่อนหน้านั้น กระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ เหมือนกับกระทรวงมหาดไทยที่มีหน้าที่ปกครองฝ่ายเหนือ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การบังคับบัญชาทหารแต่อย่างใด ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ ส่วนราชการต่าง ๆ ได้จัดเฉลิมฉลองในโอกาศครบรอบ ๑๐๐ ปี ของกระทรวง หลายส่วนราชการได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๔ มิถุนายน ๒๔๓๕
            คณะรัฐมนตรีมีมติให้ กองทัพเรือสนับสนุนกรมป่าไม้ เพื่อจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเล ด้านป่าชายเลน และป้องกันควบคุมการบุกรุกทำลายป่าชายเลน ตลอดแนวน่านน้ำไทย

๙ มิถุนายน ๒๔๓๕
            เรือกลไฟเริ่มเดินในลำแม่น้ำมูลระหว่างเมืองอุบลท่าช้าง เป็นเที่ยวแรก

๒๑ กันยายน ๒๔๓๕
            หนังสือยุทธโกษ ฉบับแรกออกจำหน่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำเพื่อเป็นจดหมายเหตุ สำหรับกิจการทหารบกของพระเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์ในขั้นปรับปรุงที่ใช้มาจนถึงปัจจุบันว่า “เป็นนิธิและโอษฐ์ของทหารบกในประเทศสยาม”

๒๔ กันยายน ๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จเปิดอาคารโรงเรียนนายร้อยที่วังสราญรมย์ คือ อาคารกรมแผนที่ในปัจจุบัน และในวันนี้ เริ่มมีธงไชยเฉลิมพลเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระองค์ได้พระราชทานแก่กองทหาร เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา หน่วยทหารที่ได้รับพระราชทาน มี ๖ หน่วย คือ กองทหารม้าใน (ม้าหลวง) กองทหารปืนใหญ่ (ปืนใหญ่หลวง) กองทหารราบใน (มหาดเล็ก) กองทหารราบนอกรักษาพระองค์ กองทหารนอกล้อมวัง และกองทหารราบนอกฝีพาย

๒๘ กันยายน ๒๔๓๕
            กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๘ สิ้นพระชนม์ (ประสูติ ๑๔ กันยายน ๒๓๕๒) พระนามเดิม พระองค์เจ้าฤกษ์ ดำรงตำแหน่งพระสังฆราชนานที่สุด

๑๒ ตุลาคม ๒๔๓๕
            วันเปิดทำการสอนของโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตึกสายสวลีสัณฐาคาร วัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้กุลบุตรกุลธิดา ได้รับความรู้มีการศึกษา โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้พัฒนามาโดยลำดับ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครูพระนคร ในวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานนามให้วิทยาลัยครูพระนครใหม่ว่า สถาบันราชภัฎ ในปี ๒๕๓๕ เป็นวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการจัดตั้งสถาบัน

๑ มกราคม ๒๔๓๕
            หมอยอร์ช บี. แมคฟาร์แลน (อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม) เริ่มกิจการโรงเรียนแพทย์ศิริราช ท่านยังมีเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย สมิทพรีเมี่ยร์ อันเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก และมีพจนานุกรม (ดิคชั่นนารี) อีก ๒ เล่มคือ ฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และยังเขียนตำราแพทย์ให้นักเรียนใช้อีกด้วย

๘ มกราคม ๒๔๓๕
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จ ฯ เปิดกรมอู่ทหารเรือ

๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๕
            ไทยเริ่มเดินรถรางเป็นครั้งแรก ต่อมาได้กีดขวางการจราจร จึงได้เลิก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑

๑ เมษายน ๒๔๓๖
            วันสถาปนา กรมอัยการ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นนักกฎหมายของพระมหากษัตริย์ ต่อมาในปี ๒๔๖๕ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ มีประกาศพระบรมราชโองการ ให้โอนกรมนี้ไปขึ้นกระทรวงมหาดไทย ในปี ๒๕๓๔

๑๑ เมษายน ๒๔๓๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรง เปิดการเดินรถไฟสายแรกของไทย คือสายกรุงเทพ ฯ – สมุทรปราการ (ปากน้ำ) ระยะทาง ๒๑ กม. เลิกกิจการ เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๐๓

๒๐ พฤษภาคม ๒๔๓๖
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งสภาอนุโลมแดงแห่งชาติสยาม ซึ่งต่อมาคือ สภากาชาดไทย งานสำคัญของสภาอนุโลมแดงคือ จัดส่งเครื่องยา อาหาร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปช่วยบำรุงทหารในสนามรบ เมื่อครั้งเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ต่อมาจึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย พ.ศ. ๒๔๖๑ จัดตั้งสภาการกุศลอาสาสงเคราะห์ เพื่อช่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้และบาดเจ็บในเวลาสงคราม และในยามสงบ กับทั้งบรรเทาทุกข์ในเหตุการณ์สาธารณภัยพินาศ โดยไม่เลือกชาติ ชนชั้น ลัทธิ ศาสนา หรืออุดมคติทางการเมืองของผู้ประสบภัย โดยยึดหลักมนุษยธรรมเป็นที่ตั้ง และได้มีการประชุมสภากาชาดของไทยเป็นครั้งแรกโดยมี พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระวรราชเทวี เป็นสภานายิกา

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |