บทที่สิบสอง
การดนตรี และการกรีฑา
๑. ชาวสยามไม่มีศิลปในการขับร้องเลย
วิชาดนตรีไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจในเมืองสยาม อย่างเช่นวิชาเรขาคณิต และวิชาดาราศาสตร์
เขาสร้างบทเพลงขึ้นด้วยปัญญาอันเฉียบแหลม แต่ไม่รู้จักวิธีสร้างโน๊ตเก็บเสียง
ตามมาตราเพลงไว้ ไม่มีจังหวะจะโคนไม่มีเสียงลงลูกคอ แต่บางครั้งก็ร้องเอื้อนโดยไม่มีเนื้อเพลงเหมือนอย่างเราอยู่บ้างเหมือนกัน
เพลงร้องของชาวสยามไม่มีที่มีเสียงทุ้มมาก ๆ ล้วนแต่มีเสียงค่อนข้างสูง
๒. ไม่มีการแยกเล่นแต่ลำพังในวงดนตรี
ชาวสยามเช่นเดียวกับชาวจีน คือไม่รู้จักแยกเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ในวงและไม่รู้จักการขับร้องประสานเสียง
ซึ่งแต่ร้องไปพร้อม ๆ กันเท่านั้น
๓. เครื่องดนตรี ซอสามสาย ปี่ ฆ้อง
ชาวสยามมีเครื่องดนตรีฝีมือหยาบ ๆ เหมือนไวโอลินสามสาย เรียกว่า ซอ
กับเครื่องเป่าเสียงแหลม เรียกว่า ปี่ เล่นควบไปกับฆ้อง ทำด้วยทองแดง มีผู้เล่นคนหนึ่งใช้ไม้สั้น
ๆ ตีไปตามจังหวะ ฆ้องนี้ผูกเชือกแขวนไว้ แต่ละใบมีคานสอดพาดอยู่บนขาตั้งสองด้าน
ใบหนึ่งเรียกว่า โฉ่ง ฉ่าง อีกใบหนึ่งบางหว่า กว้างกว่า เสียงทุ้มกว่า เรียกว่า
ฆ้อง
๔. ตะลุงปุงปัง
ในวงดนตรีมีกลองอีกสองชนิด คือ ตะลุงปุงปัง และตะโพน ไม้ที่ทำตะลุงปุงปัง
มีขนาดกลองรำมะนา แต่ขึงหนังทั้งสองหน้สเหมือนกลองจริง ๆ และสองข้างตัวไม้มีลูกตุ้มตะกั่วผูกเชือกติดอยู่
มีคานไม้เสียบเป็นคันถือ คนเล่นหมุนคันไม้กลับไปมา ลูกตุ้มก็จะแกว่งไปกระทบ
หน้ากลองทั้งสองด้าน
๕. ตะโพน
รูปร่างเหมือนถังไม้ (ที่ใช้หมักเหล้า) มีเชือกผูกโยงแขวนคอไพล่มาไว้ข้างหน้าผู้เล่น
แล้วใช้กำปั้นทุบหน้ากลองทั้งสองหน้า
๖. เครื่องดนตรีประกอบด้วย ลูกฆ้อง
เรียกว่า พาทย์ฆ้อง ลูกฆ้องผูกไว้ต่อๆ กันกับไม้สั้น ๆ ติดตั้งในทางราบ อยู่บนขอบไม้รูปครึ่งวงกลม
ผู้เล่นนั่งขัดสมาธิอยู่ตรงกลาง แล้วตีลูกฆ้องด้วยไม้สองอันด้วยมือทั้งสอง
ดูเหมือนว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้มีเพียงห้าเสียง ระดับเสียงเป็นคู่กันไป
๗. เครื่องประโคมโดยเสด็จ ฯ
เพลงเดินที่ใช้ประโคมเมื่อคณะฑูต (ฝรั่งเศส) เข้าไปในพระราชวังนั้น
เป็นเสียงของเครื่องดนตรีดังกล่าว บรรเลงขึ้นพร้อมกัน แม้แปลกหูแต่น่าฟัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงที่ก้องไปในแม่น้ำ
๘. การร้องขับประกอบดนตรี
บางทีก็ใช้ไม้สองชิ้นสั้น ๆ เรียกว่า กรับ
ขยับให้กระทบกันไปพร้อม ๆ กับขับร้องเพลง ผู้ร้องเพลงเรียกว่า ช่างขับ
พวกราษฎรพอใจขับร้องเล่นในตอนเย็น ตามลานบ้าน พร้อมด้วยกลองชนิดหนึ่งเรียกว่า
โทน เขาถือโทนไว้ในมือซ้าย
แล้วใช้กำปั้นขวาทุบหน้ากลองเป็นระยะ ๆ โทนนั้นทำด้วยดิน (เผา) รูปร่างเหมือนขวด
แต่ไม่มีก้น แต่หุ้มหนังแทน มีเชือกผูกรัดกระชัยไว้กับคอ (ขวด) นั้น
๙. แตร และกลอง
ชาวสยามชอบแตรของเราเป็นที่สุด แตราของเขานั้นมีขนาดเล็ก และเสียงแหลม เรียกว่า
แตร นอกจากนี้ยังมีกลองแท้ ๆ อีกเรียกว่า กลอง กลองของเขาจะมีขนาดย่อมกว่าของเรา
แต่ก็มิได้ใช้คล้องไหล่ หากเอาหน้ากลองด้านหนึ่งตั้งลงกับพื้น แล้วตีอีกหน้าหนึ่ง
คนตีนั่งขัดสมาธิอยู่หน้ากลอง เขาใช้กลองนี้ตีควบไปกับการร้องด้วย และจะทำเฉพาะในการฟ้อนรำเท่านั้น
๑๐. ชาวสยามมีเครื่องประโคมเทียมเข้าในขบวนแห่
ในวันที่คณะฑูต (ฝรั่งเศส) เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสยาม เป็นครั้งแรก ในลานพระราชมณเฑียรชั้นใน
เห็นคนตั้งร้อยหมอบอยู่เป็นแถว บางคนถือแตรเล็่กฝีมือหยาบ ๆ ไว้เพื่ออวดโดยไม่ได้เป่าเลย
บางคนมีกลองใบยอ่ม ๆ วางไว้ตรงหน้า แต่ไม่เห็นได้ตี
๑๑. การกรีฑา
ชาวสยามมิได้ฝึกฝนการกรีฑา หรือการกีฬาบริหารร่างกาย ยิ่งไปกว่าการบริหารจิตใจเลย
เขาไม่รู้จักวิชาขี่ม้า สาตราวุธก็ไม่มี พระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานให้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น
มีทุนทรัพย์พอที่จะซื้อหามาได้เท่านั้น และจะฝึกท่าการใช้สาตราวุธ ก็แต่โดยพระราชบัญชาสถานเดียว
ชาวสยามไม่ยืนยิงปืนเล็กยาวเลย จะยิงปืนก็ต้องคุกเข่าข้างหนึ่งลงกับพื้นดิน
มักจะเป็นท่านั่งทับส้นไว้ข้างหนึ่ง ขาอีกข้างหนึ่งเหยียดไปข้างหน้า ไม่ได้ย่อเข่า
เดินแถวก็ไม่ค่อยจะเป็น ไม่รู้จักที่จะวางเท้าอย่างไร ให้สง่าผ่าเผย
เพราะติดนิสัยยอบย่อตัวจนเคยชิน ครูทหารชาวฝรั่งเศสเป็นผู้สอนให้ชาวสยามยืนตรงถืออาวุธ
และก่อนหน้าที่เรือกำปั่นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะมาถึงประเทศสยามนั้น แม้แต่ทหารยามก็ยังนั่งกับพื้นดินอยู่
ไม่เพียงแต่จะมิได้ฝึกวิ่งเท่านั้น แม้แต่การเดินก็มิได้ฝึกกัน การชกมวยปล้ำ
และมวยหมัดกับศอก เป็นอาชีพหากินของพวกนักมวยเท่านั้น
การแข่งเรือดูเหมือนจะเป็นกีฬาอย่างเดียวของชาวสยาม การพายเรือกับการแจวเรือยึดกันเป็นอาชีพ
ได้ตั้งแต่อายุได้ ๔ - ๕ ขวบ ดังนั้น เขาจึงแจวเรือได้สามวันสามคืน
โดยไม่ต้องหยุดพักผ่อน
บทที่สิบสาม
ฝีมือในการช่าง
๑. ชาวสยามเป็นช่างที่เลว เพราะเหตุใด
ในกรุงสยามไม่มีบริษัทหรือองค์การรวมช่างฝีมือให้เป็นปึกแผ่น และวิชาช่างก็ไม่เจริญในหมู่ชาวสยาม
มิใช่เนื่องจากความเกียจคร้านของพวกเขาอย่างเดียว หากเนื่องจากรัฐบาลของเราด้วย
โดยเหตุที่ทรัพย์สินของประชาชนไม่อยู่ในฐานะที่ปลอดภัย นอกจากซ่อนเร้นปิดบังไว้อย่างมิดชิดเท่านั้น
ทุกคนจึงมีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ วิชาช่างทุกสาขาจึงไม่สู้มีความจำเป็นแก่พวกเขาเท่าใดนัก
และช่างก็ไม่รู้มูลค่าของงานที่เขาต้องลงทุนลงแรงไป ยิ่งไปกว่านั้นชายฉกรรจ์ต้องไปทำงานหลวงเสียปีละหกเดือน
ไม่มีใครกล้าแสดงตนว่า เป็นช่างผู้ชำนาญในวิชาใดวิชาหนึ่ง ด้วยเกรงว่าจะถูกใช้งานไปชั่วนาตาปี
โดยมิได้รับค่าตอบแทนแต่ประการใด และโดยเหตุที่บรรดาลูกทั้งหลานถูกจ่ายให้ไปทำงานจิปาถะ
ทุกคนจึงต้องขวนขวายฝึกตนให้รู้จักทำงานเป็นอย่างละนิดอย่างละหน่อย พอให้หลังพ้นหวายเท่านั้น
ชาวสยามจึงไม่รู้งานและไม่ประสงค์จะรู้งานอย่างอื่น นอกจากงานที่ตนถูกใช้ให้ทำจำเจอยู่เท่านั้น
เขาไม่เดือดร้อนอะไร แม้จะใช้ลูกมือสัก ๕๐๐ คน ระดมทำงานอยู่หลายเดือน โดยที่ชาวยุโรปเพียงไม่กี่คนซึ่งได้รับค่าแรงดี
อาจทำเสร็จในเวลาไม่กี่วัน ถ้ามีชาวต่างประเทศไปฝึกสอน หรือแนะนำให้ใช้เครื่องจักรยนตร์กลไก
เขาก็จะลืมวิธีใช้เสียทันทีที่พระเจ้าอยู่หัวทรงลืมไปแล้ว
๓. กระจกหน้าต่างแก้วเจียระไนของจีน
ประกอบด้วยเส้นกระจกใหญ่ขนาดเส้นฟางข้าว เรียงขนานไปในทางเดียวกัน ใช้กระดาษกาวเชื่อมหัวต่อเช่นเดียวกับที่เราเชื่อมอัดแผ่นกระจกเข้ากับกรอบหน้าต่างของเรา
บางทีก็เขียนรูปภาพทับลงบนกระจกเหล่านี้ มักใช้ทำฉากลับแล หลังฉากจะจุดโคมไฟตั้งทิ้งไว้
๔. ชาวสยามใช้โลหะธาตุอย่างไร
ชาวสยามรู้จักใช้และนำไปหล่อรูปต่าง ๆ โดยหุ่นพิมพิ์แล้วหุ้มองค์พระปฏิมากร
ซึ่งสร้างด้วยอิฐและปูนขนาดใหญ่ โดยเขาแผ่ออกได้บางมาก เครื่องราชูปโภคบางชิ้นของพระเจ้ากรุงสยาม
และฝักดาบที่ทำด้วยเหล็กกับด้ามกฤช ที่พระราชทานให้แก่ขุนนาง และแก่ชาวต่างประเทศบางคนก็หุ้มด้วยแผ่นทองคำหรือแผ่นเงิน
ส่วนงานช่างทองรูปพรรณก็พอเป็นกันบ้าง แต่ไม่รู้จักขัดเพชรพลอย และเจียระไนแต่ประการใด
๕. ชาวสยามเขียนอักษรบนแผ่นทองคำอย่างไร
ชาวสยามเป็นช่างกาไหล่ทองชั้นดี และรู้จักวิธีตีแผ่ทองคำเป็นแผ่นบางได้ดีพอใช้
ทุกครั้งที่พระเจ้ากรุงสยามจะทรงมีพระราชอักษรสารไปยังกษัตริย์องค์อื่น พระองค์จะโปรดให้จารึกข้อความศุภอักษรในสุพรรณบัฏ
อันบางราวกับแผ่นกระดาษ ตัวอักษรที่จารึกลงนั้นกระทำโดยวิธีกดลากปลายเหล็กจารไปทื่อๆ
เช่นกับที่เราเขียนคำจารึกในแผ่นศิลา
๖. ชาวสยามเป็นช่างตีเหล็กที่ไม่ดีและไม่รู้จักวิธีฟอกหนัง
เขาใช้เหล็กที่หล่อแต่เพียงครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น เพราะชาวสยามเป็นช่างตีเหล็กที่ไม่ดีเลย
ม้าของเขาก็มิได้ใส่เกือก มีแต่โกลนทำด้วยเส้นเชือกและบังเหียนอย่างหยาบ ๆ
เท่านั้น ไม่มีเครื่องอานที่ดีกว่านี้ค่าที่ไม่รู้จักวิธีฟอกหนังและวิชาช่างหนังแต่ประการใดในกรุงสยามเลย
๗. ชาวสยามทอผ้าด้วยด้ายเส้นหยาบบ้าง ไม่มีการทอผ้าด้ายเส้นละเอียดเลย
ด้ายที่ปั่นใช้กันมีแต่เส้นใหญ่ ๆ แถมแต้มสีเป็นลวดลายให้เลอะเทอะไม่น่าดู
และทอเฉพาะแต่ในพระนครเท่านั้น ไม่เห็นมีการทอด้วยหลอดไหม ส่วนขนแกะหรือพรมกันเลย
ขนแกะก็หายาก ชาวสยามเข้าใจการปักกรองและภาพฝีมือนั้นก็ดูงามตาดี
๘. ภาพจิตรกรรมของชาวสยามและชาวจีน
ได้เห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามในโบสถ์หลังหนึ่ง สีจัดมาก ไม่มีส่วนสัดเหมาะสมกับรูปคน
รูปบ้าน รูปต้นไม้จริง ๆ
ชาวสยามกับชาวจีน ไม่รู้จักวาดภาพสีน้ำมัน และเป็นช่างเขียนฝีมือเลว
ชาวสยามได้เสริมสิ่งที่วิจิตรพิสดารลงในภาพวาด เขาคิดเขียนต้นไม้ ดอกไม้ นก
และสัตว์อื่น ๆ ซึ่งไม่มีตัวตนในโลก
บทที่สิบสี่
การค้าขายของชาวสยาม
๑. การหาปลากับค้าขายเป็นอาชีพสองอย่างที่ชาวสยามทำอยู่แทบทุกคน
แต่การค้าขายภายนอก พระเจ้ากรุงสยามทรงผูกขาดไว้แทบทั้งสิ้น การค้าขายภายในเป็นสิ่งเล็กน้อยมาก
ไม่ทำให้ผุ้ใดสร้างสมบัติไว้มากมาย ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ ทำให้ชาวสยามมิได้ขวนขวายประกอบงานช่างส่วนใหญ่ให้เป็นลำเป็นสัน
เป็นเหตุให้ชาวสยามไม่ขวนขวายในการขายสินค้าอันจำเป็นแก่ชาวยุโรป
๒. ชาวสยามเขียนหนังสือสัญญาเงินกู้อย่างไร
ในการกู้ยืม มีบุคคลที่สามเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญา และเพียงเท่านี้ก็พอที่จะพิจารณากันในศาลได้
ด้วยศาลจะสันนิษฐานไว้ก่อนเป็นการตรงกันข้ามกับคำที่ลูกหนี้ปฏิเสธ โดยอาศัยองค์พยานสองประการ
จากตัวหนังสือสัญญา และผู้เขียนหนังสือสัญญา
๓. อะไรเป็นลายมือชื่อของชาวสยาม
ชาวสยามมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือใด ๆ และไม่มีการประทับตราในหนังสือส่วนบุคคล
จะมีแต่ตุลาการเท่านั้น ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้เป็นตราประจำตำแหน่ง
ส่วนเอกชนก็ทำเป็นแกงไดไว้เท่านั้น เป็นการลงนามย่อที่นิยมใช้ และแต่ละคนจำแกงไดที่ตนขีดไว้ได้
๔. ไม่มีเจ้าพนักงานทำหนังสือบริคณห์
ชาวสยามมิค่อยได้ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กัน จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีหนังสือสัญญาในระยะยาว
และไม่มีความจำเป็นต้องมีเจ้าหนักงานเพื่อการนี้
๕. การค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ
ชาวสยามไว้ใจกันมาก ถึงขนาดที่ตลาดปสานผู้ขายไม่ได้นับเงินของผู้ซื้อ และผู้ซื้อก็ไม่จู้จี้เลือกสินค้า
๖. ชาวสยามไม่ใช้ไม้หลาวัดผ้า
ตลาดเริ่มติดตั้งแต่ห้าโมงเย็นไปถึงสอง - สามทุ่ม เขาซื้อผ้าฝ้ายและผ้าป่านกันทั้งม้วน
และถือว่าอนาถามากถ้าจะซื้อผ้ากันคราวละแขน อันหมายถึงศอกกับศอก
๗. ชาวสยามมีไม้วาสำหรับวัดอะไรต่าง ๆ โดยเฉพาะใช้วัดถนน
ไม้วายาวเท่ากับหนึ่งตัวซ์ (มาตราวัดโบราณ ยาว ๑.๙๔๙ เมตร) เขาใช้ไม้วานี้วัดในการก่อสร้าง
การรังวัดที่ดิน และอาจใช้วัดอย่างอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะถนนหนทางหรือแม่น้ำลำคลอง
จากกรุงสยาม (อยุธยา) ถึงเมืองละโว้ ทุก ๆ ลี้จึงมีไม้หลักปักหมายไว้ มีป้ายตอกบอกจำนวนลี้ไว้
๘. ชาวสยามใช้ทะนานตวงข้าวและเหล้า
ชาวสยามใช้กะโหลกมะพร้าว หรือทะนานเป็นเครื่องตวงเมล็ดพันธ์
และเครื่องดื่ม เขาสอบความจุของทะนานด้วยเบี้ยขนาดย่อม
ซึ่งใช้เป็นเงินย่อยในเมืองสยาม ทะนานหนึ่งจุได้พันเบี้ย บางทะนานห้าร้อยเบี้ย
การตวงข้าวใช้กระบุงเรียกว่าสัด
ทำด้วยไม้ไผ่สาน
การตวงเหล้าใช้ครุ
เรียกว่า คะนาน
หนึ่งในสี่คะนานเรียกว่า แล่ง
และสี่สิบสัดเท่ากับหนึ่งบั้น
สี่สิบบั้นเป็นหนึ่งเกวียน
กล่าวว่าข้าวหนึ่งบั้นหนักร้อยชั่ง ตกประมาณ ๒๒๕ ปอนด์ ข้าวหนัก ๑ ปอนด์ พอกินได้ในหนึ่งวัน
และมีราคาเพียงสิอาร์ด
๙. ชาวสยามใช้เงินตราเป็นเครื่องชั่งน้ำหนัก
เงินตราของเขามีลักษณะไม่น่าดูเลย น้ำหนักที่ชั่งได้เท่ากับจำนวนเงินตรา ที่นำไปใช้เป็นลูกชั่ง
จึงใช้ชื่อ ๆ เดียวกัน
๑๐. เงินตราสยาม
เหรียญกษาปน์เงินนั้นรูปพรรณเหมือนกันหมด และประทับตราอย่างเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน
รูปร่างเป็นแท่งกลมเล็ก ๆ หรือลูกไม่สั้นมาก แล้วพดที่ตรงกลางจนปลายแท่งทั้งสองข้างชนกัน
ส่วนตราจะประทับไว้ใกล้ ๆ กันที่ตรงกลาง หนึ่งบาท
มีน้ำหนักประมาณครึ่งเอกิว ไม่มีเหรียญกษาปน์ทองคำหรือทองแดง ทองคำเป็นสินค้าชนิดหนึ่งมีค่า
๑๒ เท่าของเงิน
๑๑. เงินตราจีน
เมืองอื่นไม่ได้ใช้ทองคำ หรือเงินทำเป็นกษาปน์ แต่ใช้วิธีตัดแท่งโลหะเหล่านั้นเป็นท่อน
ๆ ไม่เป็นรูปทรงอะไรทั้งนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ตาเต็ง (ใช้ชั่งทอง) และหินฝนทอง
๑๒. กูปัง คือ เหรียญกษาปน์ทองคำของญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่นมีเหรียญกษาปน์ทองคำเป็นเงินตรา รูปร่างเกือบเป็นรูปไข่ ตีตราด้วยเหล็กแม่พิมพ์
๑๓. ใช้เบี้ยเป็นเงินย่อยราคาต่ำที่สุดในสยาม
เบี้ยเป็นเปลือกหอยเล็ก ๆ เปลือกหอยชนิดนี้งมกันได้มากที่เกาะมาลดีฟ
บางทีก็มีมาจากเมืองฟิลิปปินส์
แต่เป็นจำนวนน้อย
๑๔. การใช้เบี้ยแพร่ไปถึงไหนบ้าง
เห็นมีใช้กันมากในอินเดีย และมีใช้เกือบทั่วตามชายฝั่งอัฟริกา เมื่อใดมีเรือกำปั่นบรรทุกเบี้ยเข้ามาก
ๆ ราคาเบี้ยก็ตกลง เบี้ยนั้นนับว่าเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง ในเมืองสยาม หนึ่งเฟื้องหรือหนึ่งในแปดของบาทเป็น
๘๐๐ เบี้ย
บทที่สิบห้า
อุปนิสัยของชาวสยาม
๑. ชาวสยามเป็นคนดี
ชาวสยามอยู่ดีกินดี เข้าของราคาถูก ใช้ชีวิตสันโดษ มีเวลาว่างมาก เขาจะไม่ทำบาป
เพื่อความสนุกเพลิดเพลินหรือด้วยมีใจสูง ชาวสยามมีฐานะสูงกว่าสามัญเล็กน้อย
จะไม่นิยมความมึนเมา ถือว่าการดื่มเหล้าเป็นสิ่งน่าละอายอย่างยิ่ง
๒. การลอบทำชู้ไม่ค่อยมีในสยาม
หญิงสาวสยามไม่เล่นการพนัน ไม่ต้อนรับผู้ชายพายเรือ การมหรสพก็มีห่างมากในกรุงสยาม
๓. ชายสยามหึงหวงภรรยานัก
หญิงราษฎรสามัญ ซึ่งต้องทำมาค้าขาย มีอิสระที่จะไปไหนมาไหนได้เต็มที่ ส่วนภรรยาพวกขุนนางผู้ใหญ่
จะไม่ค่อยได้สูสีกับใครนักและไม่ค่อยได้ออกไปนอกบ้าน นอกจากไปเยี่ยมญาติและไปวัดบ้างเป็นบางคราว
๔. เกียรติภูมิของสตรีชาวชมพูทวีป
สตรีที่ทรงคุณธรรม ขณะเกิดสงครามย่อมสมัครใจที่จะให้สามีฆ่าตนเสียยิ่งกว่ายอมตกไปอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก
แต่ก็มีบางคนลักลอบเล่นกามกรีทาอย่างลับ ๆ โดยยอมเสี่ยงกับการสูญเสียศักดิ์ศรีของตน
มีผู้เล่าว่าในหมู่บาทบริจาริกของพระเจ้ากรุงสยาม แม้จะอยู่ในที่แวดล้อมที่กวดขันมั่นคงก็ตาม
บางคนก็ยังสบโอกาสมีชู้ชายจนได้ วิธีการที่พระเจ้าอยู่หัวองค์นี้ทรงลงอาญาแก่หญิงจำพวกนี้คือ
ในชั้นแรกก็ให้ม้าปรันเสีย แล้วจึงให้ประหารชีวิต เมื่อไม่กี่ปีมานี้ก็ทรงส่งให้เสือขบเสียคนหนึ่ง
๕. ชาวสยามหวงลูกสาว
ขุนนางสยามหวงลูกสาวเท่ากับหวงภรรยา ถ้าลูกสาวคนใดทำชั่ว ผู้เป็นพ่อก็จะขายลูกสาวให้แก่ชายผู้หนึ่ง
ซึ่งมีความชอบธรรมที่จะเกณฑ์ให้ผู้หญิงที่ตนซื้อมาเป็นหญิงแพศยา หาเงินได้โดยชายผู้นั้นต้องเสียภาษีถวายพระเจ้าแผ่นดิน
กล่าวกันว่าชายผู้นี้มีหญิงโสเภณีอยู่ในปกครองถึง ๖๐๐ คน ล้วนเป็นลูกขุนนาง
นอกจากนั้นชายผู้นี้ยังรับซื้อภรรยาที่สามีขายมาเป็นทาสีด้วยโทษคบชู้สู่ชาย
๖. ชาวสยามเคารพผู้สูงอายุ
๗. ชาวสยามพูดปดเก่ง
การพูดเท็จต่อผู้ใหญ่ ขุนนางผู้ใหญ่ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ลงอาญาเองตามควรแก่โทษ
และพระเจ้ากรุงสยามยิ่งลงพระอาญา ยิ่งกว่าขุนนางผู้ใหญ่คนใดหมด
๘. ครอบครัวสยามสนิทสนมกลมเกลียวกันดีมาก
๙. การขอทานไม่ค่อยมีและถือว่าเป็นข้อน่าอับอาย
สังเกตเห็นว่า คนขอทานมีอยู่เพียงสามจำพวกเท่านั้นคือ คนแก่ คนพิการ และคนไม่มีญาติ
ญาติพี่น้องจะไม่ยอมให้ญาติของตนออกขอทานเป็นอันขาด เขาจะเลี้ยงญาติที่ขัดสนและไม่สามารถทำมาหากินได้
๑๐. ชาวสยามเป็นขโมย
การขโมยเป็นเรื่องที่น่าอับอายยิ่งกว่าการขอทาน บ้านเรือนชาวสยามไม่มั่นคงแข็งแรงพอป้องกันขโมยได้
เท่ากับตู้นิรภัยชั้นเลวของเรา ชาวสยามจะไม่ปฏิเสธการลักขโมยเลยเมื่อมีโอกาส
ชาวสยามเห็นว่าเป็นสิ่งยุติธรรม ที่ไม่เก็บข้าวของของใครที่ตกหาย ด้วยเห็นว่าเป็นการฉวยโอกาสโดยได้มาง่ายเงินไป
๑๑. ตัวอย่างของการลักทรัพย์บางราย
เมื่อครั้งพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทรงจัดให้คณะทูตสยามเดินทางไปมณฑลฟรานเดอร์
ขุนนางสยามผู้หนึ่ง ได้ฉกฉวยเอาเบี้ยในบ้านคณะทูต ที่ได้รับเชิญไปในงานเลี้ยงอาหารค่ำ
ไปประมาณ ๒๐ อัน
๑๒. ตัวอย่างอีกรายหนึ่ง
เจ้าพนักงานพระคลังหลวงของพระเจ้ากรุงสยามผู้หนึ่งได้ลักพระราชทรัพย์ไป พระเจ้ากรุงสยามจึงทรงให้ประหารชีวิตผู้นั้น
โดยกรอกน้ำเงินที่หลอมละลายหนัก ๓ - ๔ ออนซ์ ลงไปในลำคอ ต่อมาผู้ที่ทำหน้าที่ล้วงคอผู้ตายเพื่อนำเนื้อเงินดังกล่าวส่งคืนพระคลังหลวงได้ยักยอกเอาเนื้อเงินไปเสียส่วนหนึ่ง
เมื่อความทราบถึงพระเจ้ากรุงสยามพระองค์จึงทรงให้ประหารชีวิตผู้นั้นเสีย โดยทำนองเดียวกันเจ้าพนักงานคนที่สามที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันก็ยังยักยอกเนื้อเงินไปส่วนหนึ่งจนได้
จนในที่สุดพระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานอภัยโทษให้โดยมีพระราชดำรัสว่า "พอกันทีเถิด
มิฉะนั้นข้าคงต้องสั่งให้ประหารชีวิตราษฎรของข้าให้ตายกันไปหมดบ้านหมดเมืองเป็นแน่"
๑๓. โจรในป่าสยามและในเมืองจีนไม่ค่อยฆ่าเจ้าทรัพย์
ชาวสยามที่หลบหนีไปอยู่ในป่าเพื่อให้พ้นจากการเกณฑ์งานหลวงนั้นมักจะปล้นคนเดินทางโดยเกือบจะไม่ได้ฆ่าเจ้าทรัพย์เลยสักรายเดียว
ในป่าเมืองจีนก็เต็มไปด้วยโจรพวกนี้
๑๔. ชาวสยามเป็นพ่อค้าที่ซื่อตรง
การขูดรีดดอกเบี้ยโดยไม่มีขอบเขตและความโลภ กฎหมายสยามไม่ได้จำกัดอัตราดอกเบี้ยไว้
๑๕. ชาวสยามมีความพยาบาทรุนแรง
เพราะเหตุใด ชาวสยามเกือบไม่มีถ้อยร้อยความถึงโรงศาล จะมีที่เป็นความแพ่งเพียงเล็กน้อย
เป็นความอาญาส่วนมาก ส่วนมากเป็นการใส่ร้ายกัน เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บแค้นพยาบาท
ปกติชาวสยามรังเกียจการเลือดตกยางออก แต่เมื่อเกลียดชังใครอย่างหมายเอาชีวิตแล้วก็จะฆ่าหรือวางยาพิษให้ตาย
๑๖. คุณลักษณะอย่างอื่นของชาวสยาม
อาหารการกินของชาวสยามประกอบด้วยน้ำ ๆ ยิ่งกว่าชาวอินเดียน ชาวสยามเป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยน
มีสัมมาคารวะ ใจเย็น และไม่ค่อยมีโทสะรุนแรงนัก คุมสติไว้ได้นานมาก แต่เมื่อความโกรธลุกโพลงขึ้นมา
แล้วดูเหมือนจะมีความยับยั้งชั่งใจน้อยกว่าพวกเรา ความขี้อาย ความโลภ ความสะกดอดกลั้น
ความเงียบขรึม และแนวโน้มในการกล่าวเท็จจะทวีขึ้นในกมลสันดาน ชาวสยามมีความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี เท่า ๆ กับความเกียจคร้าน และความเคารพต่อบรรพชน ชาวสยามไม่อยากรู้อยากเห็น
หรือนิยมชมชื่นอะไรทั้งนั้น ถ้าใครประพฤติต่อเขาอย่างมีสัมมาคารวะ ก็จะทะนงกำเริบเย่อหยิ่งใหญ่
แต่กลับยอมตนเองแก่บุคคล ที่ใช้อำนาจเอาแก่ตน เป็นคนเจ้าเล่ห์และกลับกลอกอยู่เสมอ
๑๗. มิตรภาพของชาวสยามไว้ใจไม่ได้
วิธีทำสัตย์ว่าจะเป็นมิตรต่อกันตลอดปี ทำด้วยการดื่มเหล้าโรงในจอกเดียวกัน
แต่ถ้าจะให้หนักแน่นก็จะต้องดื่มเลือดซึ่งกันและกัน แต่กระนั้นก็ยังไม่วายที่จะพยศกัน
๑๘. ชาวสยามมีความอดกลั้นมากกว่าเรา เพราะเกียจคร้านกว่า
เขาจะยอมเคลื่อนไหวลงมือทำการงานก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ ชาวสยามเคราะห์ดีที่เกิดมาเป็นคนเจ้าปัญหา
|