๒. ศาสนาอิสลามในไทย
            ๑. ศาสนาอิสลามถือว่า ชาวอิสลามทุกคนมีสภาพเป็นนักบวชตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกคนต้องเรียนศาสนาใครไม่เรียนถือว่าบาป และในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ยังสอนบิดเบือนอีกว่า การเรียนอย่างอื่นถือว่าเป็นบาป แต่ความจริงในอัลกุรอ่านมิได้ห้ามเรียนวิชาอื่น
            ๒. คนมุสลิมรังเกียจศาสนาอื่น โดยเฉพาะคนไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะถือว่า การคบค้ากับผู้ถือศาสนาอื่นเป็นบาป จะเปลี่ยนศาสนาไม่ได้ หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม บางข้อ ขัดกับบทบัญญัติทางกฎหมาย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าถูกกีดกัน กดขี่ บีบบังคับ
            ๓. สถาบันที่ทรงอิทธิพลคือ ปอเนาะ ซึ่งเป็น รร.สอนศาสนาอิสลาม ตามแบบที่รับมาจากอียิปต์และแพร่เข้าสู่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๕๐ ทุกหมู่บ้านจะมีปอเนาะ เพื่อให้การศึกษาในด้านศาสนาโดยเฉพาะแก่เยาวชน โดยมีโต๊ะครู เป็นเจ้าของ และเป็นผู้สอน หลักสูตรที่เรียนไม่จำกัดระยะเวลา โต๊ะครูอาศัยแรงงานของลูกศิษย์มาช่วยงานธุรกิจของตน ปอเนาะไหนมีลูกศิษย์ (โต๊ะปาเก) มากก็จะมีอิทธิพลมาก ทุกหมู่บ้านจะมีปอเนาะ (ตั้งขึ้นอย่างเสรีรัฐ ไม่ได้ควบคุมมาก่อน เริ่มคุมเมื่อ มิ.ย.๐๙ โดยให้จดทะเบียนแล้วแปรสภาพเป็น รร.ราษฎร ห้ามตั้งปอเนาะใหม่)
            ๔. ผู้นำทางศาสนามักได้รับการแต่งตั้งโดยไม่คำนึงถืงพื้นฐานการศึกษา และศาสนาทำให้ไม่รู้ซึ้งถึงแก่นแท้ของศาสนาอิสลาม ทุกอย่างดูเป็นเรื่องของศาสนาไปทั้งสิ้น
            ๕. มุสลิมนับถือศานาเคร่งครัด เคารพบูชาผู้นำ และผู้มีความรู้ทางศาสนาอย่างยิ่ง ชี้ชวนอย่างไรก็ทำตาม ผู้ที่ประชาชนนับถือมากที่สุดคือ โต๊ะครู ที่ตั้งปอเนาะ ใครไม่นับถือโต๊ะครูถือว่าบาป
            ๖. ผู้นำศาสนาฉวยโอกาสเรื่องภาษา หาประโยชน์เข้าตน สอนประชาชนให้เกลียดภาษาไทยอ้างว่าเป็นภาษาพุทธศาสนา มุสลิมต้องพูดภาษามลายูเท่านั้น ผู้นำศาสนาบิดเบือนหลักศาสนาเพื่อประโยชน์ตน
            ๗. สภาพโดยทั่วไปของไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถ้าแยกเอาวัฒนธรรมบางเรื่องออกจากศาสนา แล้วลักษณะโดยทั่วไปของครอบครัว อันเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ ได้ถือแบบอย่างครอบครัวชาวไทยภาคใต้ทั้งสิ้น
            ๘. หลักศาสานาอิสลามคือ คัมภีร์ กุรอ่าน เขียนไว้เป็นภาษาอาหรับ  ปัจจุบันมีผู้แปลเป็นไทยแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และชาวไทยอิสลาม ทางจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เลื่อมใส ชาวไทยอิสลามส่วนใหญ่ จึงไม่ทราบรายละเอียดในคัมภีร์ ผู้รู้ศาสนาจึงเป็นบุคคลสำคัญ ต้องเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นที่เชื่อถือและกลายเป็นบุคคลสำคัญ
            ๙. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้มีการแปลคัมภีร์กุรอ่าน เป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่ และมอบให้ประชาชนไทยอิสลาม และองค์การอิสลามต่าง ๆ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อสมทบทุนสร้างมัสยิดในจังหวัดต่าง ๆ หลายแห่ง
            ๑๐. ผู้นำศาสนาได้แก่ โต๊ะครู โต๊ะอิหม่ามบางคน  ทำการปลุกระดมชี้นำชาวไทยอิสลาม ในลักษณะที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น ให้เกลียดเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกลียดคนไทยที่นับถือศาสนาอื่น ผลักดันคนไทยพุทธให้ออกจากพื้นที่ด้วยวิธีต่าง ๆ
            ๑๑. การปฎิบัติของดาวะห์ ได้ขยายตัวกว้างออกไปยิ่งขึ้นก่อให้เกิดผลเสียหายทาง เศรษฐกิจเพราะสมาชิกไม่ประกอบอาชีพใด ๆ ทั้งสิ้น หลีกเลี่ยงไม่เคารพกฎหมาย ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ของชาติ
            ๑๒. จุฬาราชมนตรี  เป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายศาสนาอิสลามในไทย มีมาแต่สมัยอยุธยาคือ พระยาเฉกฮาหมัดรัตนเศรษฐี (คนแรก)  ต่อมาก็มีบรรดาศักดิ์เรื่อยมาจนถึงคนที่ ๕ ประมาณปี ๒๔๗๙  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๘  มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม จุฬา ฯ มีฐานะเป็นข้าราชการประจำ ในมาตรา๓ ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๑  กำหนดฐานะ จุฬาฯ ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬา ฯ เพื่อให้คำปรึกษาแก่กรมการศาสนา กับเกี่ยวกับศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม และมีเงินอุดหนุนฐานะตามสมควร
            ๑๓. คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย  ตามพระราชกฤษฎีกาปี พ.ศ.๒๔๘๘ มาตรา ๕  มีว่ารัฐบาลจัดให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกาาธิการ ในกิจการเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ในมาตรา ๖ ระบุว่าคณะกรรมการ ฯ ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสลาม จำนวนไม่ค่ำกว่า ๕ นาย แต่งตั้งถอดกถอน โดยพระบรมราชโองการ ตามคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จุฬา ฯ เป็นประธานโดยตำแหน่ง มีกรรมการกลาง ๓๓ คน
            ๑๔. ศาสนาอิสลามแพร่เข้ามาในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘  โดยมีพ่อค้าชาวอาหรับ และอินเดียนำาเผยแพร่ เจริญรุ่งเรืองตามชายทะเลของเกาะสุมาตราก่อน แล้วขยายเข้ามาในแหลมมลายู และอินโดเนเซียแพร่เข้าไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย
            ๑๕. ปอเนาะ  แปลว่า กระท่อม เป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลาม ก่อนในอียิปต์ก่อน ต่อมาได้แพร่ขยายเข้ามาในมาเลเซีย แล้วแข้ามาสู่ไทยแพร่ไปทุก จังหวัดที่มีมุสลิมอยู่ ปอเนาะที่เก่าแก่ที่สุดของไทยเริ่มปี ๒๔๔๒ ปอเนาะประกอบด้วย บ้านโต๊ะครู และกระท่อมเล็ก ๆ ซึ่งนักเรียนสร้างอาศัยอยู่ ผู้จัดการปอเนาะต้องเป็นคนมุสลิมเท่านั้น ผู้เป็นโต๊ะครูต้องเป็นหะยี มีอำนาจบารมีสูงเหนือจิตใจไทยอิสลามในสังคมนั้น
            ๑๖. ภาษามลายู  ใช้สอนศาสนาอิสลามในปอเนาะ มีคัมภีร์กุรอ่านเพียงเล่มเดียวที่ใช้ภาษาอาหรับ ทำให้ภาษามลายูท้องถิ่น (ภาษายาวี) มีอิทธิพลเหนือภาษาไทย
            ๑๗. ตำราเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม  เป็นภาษามลายูทั้งสิ้น ตำราที่พิมพ์เป็นภาษาไทยมีอยู่น้อยมาก มักไม่สมบูรณ์ไม่เป็นที่นิยม
            ๑๘. ปี พ.ศ.๒๕๓๘  มีมัสยิดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ๒,๘๐๐ แห่ง  กรรมการ ๓๐,๐๐๐  คน  มีจังหวัดที่จัดตั้งคณะกรรมการประจำ จังหวัดอยู่ ๑๘ จังหวัด  มีกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ๔๐๐ คน (จังหวัดละ ๑๕ คน)  กรุงเทพมหานครมี ๓๐ คน
            ๑๙. ในมาเลเซียไม่มีปอเนาะ  การสอนศาสนา และภาษาอาหรับในมาเลเซีย ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียน โดยตรงปอเนาะมีเฉพาะในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเท่านั้น
            ๒๐. วัฒนธรรมอิสลามมาจากอาหรับ ประเพณีต่าง ๆ ของอิสลามถูกนำมาใช้ในงานพิธีต่าง ๆ มีแทรกอยู่ในศิลปะ และวรรณคดีของชาติด้วย
            ๒๑. ศาสนาอิสลามบัญญัติว่า  เจ้าทั้งหลายอย่าก่อความเสียหายขึ้นในแผ่นดิน การรักชาติกำเนิด รับใช้ปฐพีที่เกิด ส่วนหนึ่งของศรัทธา ขบวนการโจรก่อการร้ายไปบิดเบือนว่า การรักชาติกำเนิด เป็นส่วนหนึ่งของศรัทธา
            ๒๒. ขบวนการโจรก่อการร้าย  ซึ่งนิยมใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา มีการเผยแพร่ใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นัดประชุมโดยอ้างพิธีทางศาสนาบังหน้า กล่าวโจมตีรัฐบาล ประชาชนใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยทั่วไปนับถือนิกายสุหนี่ เช่นเดียวกับมาเลเซีย และโลกมุสลิมส่วนใหญ่
            ๒๓. จุดแข็งของขบวนการโจรก่อการร้ายอาศัยศาสนาอิสลาม โดยอ้างว่าขบวนการของตนต่อสู้เพื่อศาสนา