๓. เรื่องเกี่ยวกับคนไทยอิสลาม
            ๑. ไทยอิสลาม เป็นคำที่ทางราชการบัญญัติขึ้น  เพื่อใช้เรียกคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม
            ๒. ชาวไทยอิสลามใน จังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มที่จะแยกตัวไปอยู่กับมาเลเซีย เนื่องจากเห็นว่ามีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมเดียวกัน และเมื่อมีการปลุกระดมทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี ทำให้ความรู้สึกดังกล่าวรุนแรงฮึกเฮิมยิ่งขึ้น มีความรู้สึกว่าตนไม่ใช่คนไทย เป็นคนมลายู จึงไม่ควรขึ้นอยู่กับประเทศที่ต่างศาสนา และไม่ยอมพูดและเรียนภาษาไทยถือว่าเป็นบาป
            ๓. ได้รับการสอนจากผู้นำศาสนาว่า ชาวอิสลามทุกคนต้องศึกษาภาษาอิสลาม เพื่อให้เข้าใจศาสนาของตน เด็กส่วนใหญ่ถูกบังคับไม่ให้พูดภาษาไทย
            ๔. คนไทยอิสลามไม่นิยมเรียน และพูดภาษาไทย เมื่อรัฐบาลพยายามส่งเสริมให้เรียนภาษาไทยและพูดภาษาไทย จึงเกิดความรู้สึกว่าถูกบีบบังคับ ไม่ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอิสลาม
            ๕. จังหวัดสตูล มีสภาพผิดไปจากจังหวัดชายแดนภาคใต้อื่น ๆ ที่คนพื้นเมือง เพียง  ๒ - ๓ ตำบล เท่านั้นที่ไม่นิยมพูดภาษาไทย ส่วนสงขลาไม่มีปัญหาเรื่องภาษาเลย
            ๖. มุสลิมทุกคนนับถือศาสนาเป็นสรณะแห่งชีวิต และปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด ภายใต้การสั่งสอน และกำกับดูแลของผู้นำศาสนาที่ประชาชนเชื่อถือ ผู้นำศาสนาจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจของประชาชน
            ๗. ไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสำนึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของตนอย่างสูง โดยเฉพาะเกี่ยวกับอารยธรรม หรือความยิ่งใหญ่ของปัตตานี เห็นว่าเจ้าเมืองปัตตานีนับถือศาสนาอิสลามมาโดยตลอด เมืองปัตตานีเป็นของมลายูมาก่อนไทยยึดครองภายหลัง
            ๘. ชาวไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ดั้งเดิม มิได้อพยพหรือมีเชื่อสายอินเดีย ปากีสถานหรือมาเลย์ จึงรังเกียจ ถ้ามีผู้มาเรียกว่า แขก
            ๙. ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับประชากรในกลันตัน ตรังกานูและเปรัค ของมาเลเซีย
            ๑๐. คนไทยอิสลามภูมิใจในศาสนาของตน ถือว่าศาสนาอิสลามดีกว่าศาสนาอื่น ดูถูกและรังเกียจคนต่างศาสนา ไม่ต้องการคบหาสมาคมด้วย การที่คนต่างศาสนา โดยเฉพาะข้าราชการจะไปแนะนำ ชี้ชวนเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จึงทำได้ยากบางครั้งเจตนาดีกลับเสียได้
            ๑๑. ชาวไทยอิสลามในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้  มีความเป็นอยู่ง่าย ๆ รักสงบ ว่านอนสอนง่าย อ่อนน้อม เคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ ผู้ที่สามารถทำให้เขาเชื่อถือได้ จะได้รับการยกย่อง และปฎิบัติตามข้าราการ ได้รับการยกย่องเป็นทุนเดิมอยู่มาก คำพูดที่ใช้กับข้าราชการมักนำเอาศัพท์สูง ๆ ที่ใช้กับจ้าวมาใช้ ผู้ที่ผ่านงานปกครองภูมิภาคต่าง ๆ มาแล้วกล่าวว่า การปกครองคนไทยอิสลามสี่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ง่ายกว่าภาคอื่นทั้งหมด
            ๑๒. โดยทั่วไปประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะชาวไทยอิสลามส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่อง และไม่ใส่ใจเรื่องการเมืองมากนัก มุ่งทำมาหากินด้วยความสงบ
            ๑๓. การปฎิบัติประจำวันของไทยอิสลามใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีแหล่งที่มา ๒ ทางคือ จากบทบัญญัติทางศาสนาโดยตรง และจากจารีตประเพณี และการปฎิบัติตั้งแต่เดิม ซึ่งสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ทั้งสองแหล่งกลมกลืนกันอย่างแนบแน่นชาวบ้านธรรมดาแยกไม่ออก ส่วนมากเชื่อว่าการฝ่าฝืน หรือบ่ายเบี่ยง จะเป็นบาป
            ๑๔. นิกายในศาสนาอิสลามมี ๔ นิกายคือ ซาฟีย์อี  ฮานาฟี  ฮำบาลี  และมาลิกี  ชาวไทยอิสลามใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้นับถือนิกายซาฟีย์อี
            ๑๕. คนไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่รู้ถึงความเป็นพลเมืองของตนเอง และพูดว่าเราเป็นคนแขก อยู่ในปกครองของพระยาเมืองไทย แต่เดิมสมัยพ่อและสมัยปู่นั้น พระยาเมืองเป็นแขกเหมือนกัน พระยาเมืองไทยเพิ่งมาภายหลัง คนที่พูดภาษาไทย และนับถือพุทธศาสนา เท่านั้นที่เป็นคนไทย
            ๑๖. อิทธิพลของศาสนาอิสลามที่ด้อยการศึกษา ถูกชักจูงเสี้ยมสอน และปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดไปในทางแบ่งแยก ว่า คนไทยอิสลามกับคนไทยพุทธ ไม่ใช่คนชาติเดียวกัน ผลักดันคนไทยอิสลามให้มีใจออกห่างจากความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ ให้เกลียดชังคนต่างศาสนา โดยเฉพาะคนไทยพุทธ
            ๑๗. วิชาที่เรียนในปอเนาะ เป็นวิชาเกี่ยวกับศาสนาทั้งสิ้นมี ๗ ประการ นอกจากนี้ยังมีการเรียนภาษามลายูท้องถิ่น (ยาวี) คณิตศาสตร์ ภาษาไทย เป็นต้น
            ๑๘. โต๊ะครู จะยึด กีตาบ (หนังสือสอนศาสนา)  เป็นหลักในการสอนแล้วอธิบายตามเนื้อหา โดยที่นักศึกษาก็มีกีตาบอยู่ในมือคนละเล่ม เมื่อสอนเล่มใดเล่มหนึ่งจบ ก็จะเริ่มสอนเล่มอื่นต่อ หรือไม่ก็สอนซ้ำ กีตาบมีทั้งเป็นภาษามลายู และภาษาอาหรับ ซึ่งสั่งซื้อจากต่างประเทศ
            ๑๙.  การสอนของโต๊ะครูบางคนก็ชักจูงให้เกิดความเชื่อมั่นในสิ่งที่ผิด ๆ ไปได้ง่าย เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ เช่น การสอนว่า การพูดการเรียนภาษาไทยเป็นบาป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
            ๒๐. ความไม่พอใจของชาวไทยอิสลามมีหลายประการ เช่น ปี พ.ศ.๒๔๗๗ รัฐบาลได้ออกใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เกี่ยวกับกฎหมายครอบครัว ซึ่งขัดกับความเชื่อของอิสลาม (ต่อมาได้มีการยกเว้นการใช้ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
            ๒๑. กระทรวงยุติธรรมได้ตั้ง คณะกรรมการแปลกฎหมายเป็นภาษาไทย เพื่อใช้ในกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๙