๔. ปัจจัยจากภายนอก
           
            ๔.๑  แผนการจัดตั้งรัฐบาลมลายู ปัตตานี เป็นรัฐอิสระ ไม่ขึ้นกับไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๐ มีการโฆษณา ตั้งหน่วยกู้ชาติ จัดหาทุนและอาวุธ การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยให้คนมลายูปัตตานีทุกคนหาที่ดินไว้ เพื่อกีดกันคนไทยพุทธเข้ามาอยู่
            ๔.๒  ในห้วงเวลานั้น ปัตตานีมีสมาชิก ๗,๐๐๐ คน ยะลา ๕,๐๐๐ คน ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่างประเทศ หากโครงการของนายเจ๊ะอับดุลลาร ฯ สำเร็จจะสถาปนาเป็นรัฐสาธารณรัฐมาลายูเหนือ (Republic Malayu Utara) มีอาณาเขตตั้งแต่คอคอดกระ ไปถึงสุไหงโกลก เมื่อแยกได้แล้ว จะได้เข้าร่วมจัดตั้งสหภาพมาเลเซีย ซึ่งมีพรรคคอมมิวนิสต์มาเลเซียสากล พรรคฝ่ายค้านของประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประเทศมุสลิมได้กำหนดโครงการไว้ จะรวมอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นสหภาพมาเลเซีย
            ๔.๓  หลัง ๓๐ ส.ค.๒๕๐๐ เมื่อประเทศเพื่อนบ้าน ได้รับเอกราชมีนักการเมืองบางกลุ่ม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มแสดงบทบาทชักจูงชาวไทยอิสลาม ให้แบ่งแยกดินแดน
            ๔.๔  ขบวนการโจรก่อการร้าย ใช้ดินแดนประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะรัฐที่อยู่ติดกัยไทย เป็นฐานปฏิบัติการ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในรัฐนี้ ทำการชักจูงนักการเมือง และเยาวชนไทยอิสลาม เข้าไปศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน ปลูกฝังลัทธิชาตินิยมประเทศเพื่อนบ้าน พยายามเลือกทายาทเจ้าเมืองเดิม ในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นตัวเชิด  ขบวนการโจรก่อการร้ายได้ตั้งองค์กรของตนขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓
            ๔.๕  ปี ๐๔  มีการจัดตั้งองค์การบังหน้าต่าง ๆ เช่น พรรคนิยมภาคใต้ ดำเนินการคำบงการขององค์การกู้ชาติมลายูเหนือ ได้รับความนิยมจากไทยอิสลาม อย่างกว้างขวาง ทำการเกลี้ยกล่อมสมาชิก ยุยงชาวไทยอิสลามให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ใช่คนไทย
            ๔.๖  สมัยประธานาธิบดีผู้หนึ่งของประเทศเพื่อนบ้าน ที่อยู่ถัดออกไปต้องการรวมประเทศ ประเทศอิสลามทั้งสอง และจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเข้าด้วยกัน ได้ใช้ฐานปฏิบัติการในไทย ชักจูงคนไทยอิสลาม และชาวประเทศเพื่อนบ้านไปฝึกอาวุธในประเทศเพื่อนบ้าน
            ๔.๗  นักการเมืองบางกลุ่มในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับอิทธิพลจากคนบางกลุ่มในประเทศเพื่อนบ้าน มีพฤติกรรมที่เป็นปฎิปักษ์ต่อรัฐบาลไทย และต่างประเทศ
            ๔.๘  รัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน แถลงเป็นทางการอยู่เสมอว่า ไม่มีส่วนรู้เห็นในการแบ่งแยกดินแดน แต่ก็ไม่สามารถทำการรุนแรงได้ ในขณะที่พรรคฝ่ายค้านทั้งสองพรรค ได้สนับสนุนขบวนการนี้อย่างลับ ๆ มานานแล้ว คือ พรรคฝ่ายค้านพรรคหนึ่ง มีนโยบายชาตินิยม อาศัยศาสนาอิสลามเป็นเครื่องมือปลุกปั่น มีเสียงข้างมาก และได้ปกครองที่อยู่ติดกับไทย พรรคฝ่ายค้านทั้งสอง เรียกร้องให้ประเทศเพื่อนบ้าน ผนวกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
            ๔.๙  พรรคฝ่ายค้านของประเทศเพื่อนบ้าน ใช้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเครื่องมือหาเสียง โดยทำเป็นนโยบายของพรรคว่าจะผนวกสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
            ๔.๑๐  วิธีการแทรกซึม โดยส่งคนเข้ามาเป็นครูสอนศาสนาตามปอเนาะ ปลุกปั่นเยาวชนให้ตื่นตัวรักชาติ ศาสนา พิมพ์หนังสือแจกตามปอเนาะ มีข้อความโน้มน้าวใจเยาวชนไปในทางการเมือง มีความรู้สึกขัดต่อความสงบเรียบร้อย ขอให้ขยายการเรียนภาษามลายูในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และใกล้เคียง ให้สร้างปอเนาะเพิ่ม สนับสนุนเยาวชนไทยอิสลาม ไปศึกษาต่างประเทศ ให้ตั้งหน่วยกู้ชาติ เพื่อเป็นตัวแทนดำเนินงานตามแผนการณ์ออกไปทุกอำเภอ ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เว้นจังหวัดสตูล ซึ่งมอบให้เจ๊ะอับดุลลาร หวังปูเต๊ะ ดำเนินการเป็นอิสระ นัดประชุมกล่าวคำปราศรัยตามสุเหร่า และปอเนาะ ในวันทำพิธีทางศาสนา บางครั้งมีคนสำคัญของประเทศเพื่อนบ้าน มาพูดชักชวนยุยงปลุกปั่นให้แยกดินแดนโดยเอาศาสนาบังหน้า สร้างหลักฐานสำหรับตัวบุคคลให้ถือสองสัญชาติ คือ ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน สนับสนุนไทยอิสลามทุกคนให้รักษากรรมสิทธิ์ที่ดินของตนไว้
            ๔.๑๑  ตนกูอับดุลเราะห์มาน  เคยกล่าวว่า "ถ้าเขาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ตราบใด รับประกันได้ว่าเรื่องพรรค์นี้ (การแบ่งแยกดินแดน) จะไม่มีเด็ดขาด แต่ถ้าคนอื่นมาเป็น ตนไม่รับรอง"
            ๔.๑๒  ประเทศอิสลามในอัฟริกาประเทศหนึ่ง ใช้อุดมการณ์มุสลิม เมื่อ ๑๑ ก.ย.๑๒ ถือว่าศาสนาอิสลามเป็นมรดกตกทอดของชาวประเทศนั้น ส่งเสริมให้จัดตั้งองค์การทางศาสนา เรียกว่า สมาคมเพื่อการเผยแพร่ศาสนาอิสลามทั่วโลก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ สนับสนุนเงินสร้างโรงเรียนอิสลาม สุเหร่า และศูนย์กลางมุสลิมประจำถิ่น สนับสนุนชนกลุ่มน้อยในประเทศต่าง ๆ ให้มีอำนาจในรัฐบาล หรือสนับสนุนการแยกดินแดน การก่อการร้ายระหว่างประเทศปี พ.ศ.๒๕๒๗ ประเทศดังกล่าวช่วยขบวนการโจรก่อการร้ายในประเทศไทย ๑๕ ล้านบาท
            ๔.๑๓  ประเทศในอัฟริกาประเทศหนึ่ง สนับสนุนเงินสร้างโรงเรียนอิสลาม สุเหร่า และศูนย์กลางมุสลิมประจำถิ่น ปี ๑๗ ประเทสดังกล่าวช่วยขบวนการโจรก่อการร้าย ๑๕ ล้านบาท
            ๔.๑๔  รัฐมนตรีที่ดิน และศาสนาของประเทศของประเทศเพื่อนบ้าน ได้จัดสรรที่ดินชิดแดนไทย ให้ชาวไทยอิสลามในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าไปอยู่นับพันครอบครับครัว แล้วโอนสัญชาติออกบัตรประชาชนให้เป็นคนของตน ออกทุนให้ขบวนการโจรก่อการ้าย บังคับซื้อที่ดินราคาถูกจากชาวไทยพุทธ มาเป็นกรรมสิทธิ์
            ๔.๑๕  บุคคลสำคัญในรัฐบาลกลางของ  ประเทศเพื่อนบ้าน และรัฐบาลแห่งรัฐให้การสนับสนุน ขบวนการโจรก่อการร้ายทางลับ รัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ไม่เคยช่วยไทยปราบ ขบวนการโจรก่อการร้าย โดยอ้างว่าชาวประเทศเพื่อนบ้าน จะไม่พอใจรัฐาล ได้แต่เพียงระงับมิให้ขบวนการโจรก่อการร้าย นำปัญหาชาวมุสลิม เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมระดับ รัฐมนตรีต่างประเทศ ของกลุ่มประเทศอิสลามเท่านั้น
            ๔.๑๖  ประเทศเพื่อนบ้าน ให้การสนับสนุนขบวนการโจรก่อการร้ายลับ ๆ มานานเพื่อให้ขบวนการโจรก่อการร้าย เป็นส่วนหนึ่งในการสกัดกั้น โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา และประกาศรับสมัครเด็กหนุ่มไปเป็นทหารรับจ้าง ซึ่งที่จริงจ้างให้เข้าร่วมขบวนการโจรก่อการร้าย
            ๔.๑๗  ปี ๒๗ ประเทศมุสลิมกว่า ๔๐ ประเทศ ผนึกตัวกันเป็นสันนิบาตมุสลิมโลก ประเทศที่สนับสนุนขบวนการโจรก่อการร้ายที่สำคัญคือ ประเทศมุสลิมเป็นส่วนใหญ่
            ๔.๑๘  การส่งหน่วยออกปฎิวัติอิสลามภาคใต้ โดยการสนับสนุนของกลุ่มประเทศมุสลิม ผ่านคนไทยอิสลาม ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ดำเนินงาน โดยมีเป้าหมาย และมีการดำเนินงานอย่างมีขั้นตอน ในระยะแรกทางราชการไม่อาจดำเนินการได้อย่างเฉียบขาด เนื่องจากการเคลื่อนไหวแฝงไว้ในเรื่องศาสนา มีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
            ๔.๑๙  ปัญหาคนสองสัญชาติ  พรรคฝ่ายค้านพรรคหนึ่ง ของประเทศเพื่อนบ้าน แสวงหาประโยชน์จากคนเหล่านี้ในการออกเสียงเลือกตั้ง ในปี ๒๓ ประเทศเพื่อนบ้านเจรจากับไทย และเห็นพ้องที่จะแก้ปัญหานี้ ปี ๒๔  ออกมาตรการแก้ไขโดยไม่ออกบัตร ประชาชนให้กับ ประชาชนของอีกประเทศหนึ่ง และให้มีการข้ามพรมแดนเฉพาะจุดที่ได้รับอนุญาต ให้แต่ละฝ่ายทำสมุดรายชื่อบุคคลที่สงสัยว่า จะมีสองสัญชาติ และแลกเปลี่ยนกัน แต่การดำเนินการไม่คืบหน้า แรงงานไทยเข้าไปทำงานในรัฐ ที่อยู่ติดเขตแดนไทยสองรัฐ ประมาณ ๓๖,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานเกษตรและประมง
            ๔.๒๐  บางประเทศในตะวันออกกลาง เคยสนับสนุน ขบวนการโจรก่อการร้าย อย่างจริงจังระหว่าง ปี ๒๒ - ๒๕  หลังจากโคไมนีปฎิวัติ และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เป็นสาธารณรัฐอิสลาม ปี ๒๗ ประเทศดังกล่าวเปลี่ยนท่าทีจากการสนับสนุน ขบวนการโจรก่อการร้ายอย่างเปิดเผย มาเป็นการเผยแพร่ความคิดการปฎิวัติอิสลามแทน และส่งออกแนวคิดนี้ เพื่อเผยแพร่นิกายชีอะห์ เพื่อปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่จากผู้ปกครอง และจัดรูปการปกครองเป็นรัฐอิสลาม ไทยมีแนวโน้มที่จะถูกใช้เป็นฐานในการเผยแพร่ สำหรับภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมีท่าทีประนีประนอมกว่ารัฐอิสลาม
            ๔.๒๑  บางประเทศในตะวันออกกลาง เคลื่อนไหวต่อเนื่อง ชี้นำทางความคิดให้มีการเรียกร้อง การปฎิบัติตนของชาวไทยอิสลาม ความเคร่งครัดในศาสนา มีไทยอิสลามบางส่วนที่เดิมเป็นสุหนี่ อันเป็นนิกายที่ไทยอิสลามทั้งหมดนับถือ หันไปนับถือชีอะห์แบบประเทศดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งในสังคมมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
            ๔.๒๒  ประเทศเพื่อนบ้านเคยมีปัญหา โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ไทยได้ร่วมมือปราบปรามจนยุติการต่อสู้ ขณะที่ทางไทยมีปัญหา ขบวนการโจรก่อการร้าย ได้เจรจาขอให้ประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมมือปราบปราม แต่ประเทศเพื่อนบ้านยังสงวนท่าที
            ๔.๒๓  ในการประชุมประเทศ OIC หลายครั้ง ขบวนการโจรก่อการร้าย พยายามนำปัญหาชายแดนภาคใต้ เข้าสู่ที่ประชุมแต่ถูกยับยั้งจากประเทศเพื่อนบ้านคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และมิตรประเทศได้แก่ ปากีสถาน ตุรกี และอียิปต์
            ๔.๒๔  OIC  เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล และสันนิบาตมุสลิมโลก ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน ได้รับการสนับสนุนจากประเทศมุสลิมสายกลาง โดยเฉพาะบางประเทศในตะวันออกกลาง มีบทบาทในการเผยแพร่ศาสนา และช่วยเหลือสังคมไทยอิสลาม ในทางสร้างสรร
            ๔.๒๕  การช่วยเหลือของประเทศเพื่อนบ้าน  ได้แก่การให้พื้นที่ชายแดนบริเวณรัฐที่อยู่ติดเขตแดนไทยบางรัฐ สร้างค่ายพักฝึกอาวุธ โดยอาศัยทหารตามแนวชายแดน ใช้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นที่ตั้ง สำนักงานของขบวนการต่าง ๆ ตำรวจประเทศเพื่อนบ้านสนับสนุน ขบวนการโจรก่อการร้ายในการคัดเลือกคนเข้าเป็นสมาชิกพรรค  ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ชนะการเลือกตั้งในรัฐที่ติดเขตแดนไทยบางรัฐเป็นส่วนใหญ่ สนับสนุนขบวนการโจรก่อการร้าย อาศัย ฃขบวนการโจรก่อการร้ายเป็นฐานเสียงทางการเมือง ใช้ขบวนการโจรก่อการร้ายเป็นกันชนกับ โจรจีนมอมมิวนิสต์มลายา
            ๔.๒๖  กลุ่มประเทศอาหรับให้การช่วยเหลือ โดยเปิดเผยในรูปการให้เงินมาส่งเสริมการศึกษา และศาสนามีตัวแทนศาสนาอิสลามของกลุ่มประเทศอาหรับ เข้ามาสังเกตการณ์ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
            ๔.๒๗  ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๑ เป็นต้นมา การก่อความไม่สงบได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศมากขึ้น
            ๔.๒๘  ช่วงปี ๑๗ - ๑๘ สถานการณ์การก่อการ้ายการร้าย มีความรุนแรงอย่างมาก ปี ๓๓ - ๓๔ ความรุนแรงลดลงเนื่องจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ได้ยุติบทบาท คงเหลือโจรก่อการร้ายเพียงกลุ่มเดียว แต่ความรุนแรงได้ลดลงจนถึงระดับที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ฯ ปัจจุบัน (ปี ๔๒) ขบวนการโจรก่อการร้าย เป็นปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย มิใช่เป็นปัญหาความมั่นคง จึงใช้กฎหมายอาญาเป็นหลัก ประกอบกับมหาดไทยได้ขอยกเลิก พรบ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อ เม.ย.๔๒
            ๔.๒๙  ตั้งแต่ ต.ค.๑๙ ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มจัดทำบัตร ประชาชนให้กับคนไทยอิสลามที่อยู่ตาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนชาวไทยในภาคใต้บางส่วน มีความเข้าใจว่า การมีบัตรประชาชนทั้งของไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดความได้เปรียบ มีสิทธิประโยชน์มากขึ้น จากการเป็นบุคคล ๒ สัญชาติ
            ๔.๓๐  เม.ย.๒๔ ชายไทยอิสลาม ๑.๒๐๐ คน ได้อพยพข้ามเขตไทยเข้าไปในรัฐเปรัคและเคดาห์ เข้าสู่กลันตันเป็นครั้งแรก เพราะได้รับความเดือดร้อนจาก กฎหมายประเทศเพื่อนบ้าน และทหารไทย ผู้อพยพดังกล่าวไปจากกลุ่มพูโล รัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านได้จัดศูนย์อพยพจากอำเภอเบตง ขึ้นที่อำเภอบาสิงค์ รัฐเคดาห์ จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้วันละ ๑๐ เหรียญประเทศเพื่อนบ้าน และให้ที่ดิน ๒๕ ไร่/คน เจ้าหน้าที่ไทยจากเบตง ขอเข้าพบ แต่ทางประเทศเพื่อนบ้านไม่ยอม แล้วได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ไปยังองค์การมุสลิมโลก และกาชาดสากล ขอความช่วยเหลือ
            ๔.๓๑  ปี ๓๐  OIC  ยอมรับผุ้แทน BIPP  เข้าร่วมประชุมใหญ่ขององค์การในฐานะผู้สังเกตการณ์
            ๔.๓๒  ๗ มี.ค.๓๔  ผู้แทนจาก ๔ องค์การร่วมต่อสู้ ประชุมที่กลันตัน มอบหมายให้นาย กุสตาด  อับดุล วาฮับ ยะลา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการดาวะห์
            ๔.๓๓  ๑ ต.ค.๔๑ ที่ประชุม  ที่นิวยอค์ มีมติรับไทยเข้าเป็นผู้สังเกตุการณ์ ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไทยได้ทำหนังสือถึงเลขา และรัฐมนตรีต่างประเทศสมาชิก ๕๓ ประเทศ แจ้งความประสงค์ และขอรับการสนับสนุนการสมัครเข้าร่วมของไทยใน OIC