๗. ข้อมูลทั่วไป
            ๑.  จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับบริเวณตอนเหนือของรัฐปะลิส  เคดาห์ (ไทรบุรี)  เปรัค และกลันตัน คนไทยอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเดินทางผ่านไปมาและเข้าออกมาเลเซียอยู่เสมอ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสังคมมาเลเซียมากกว่าสังคมไทย คิดอยู่เสมอว่าตนเองไม่ใช่คนไทย
            ๒.  ไทยมีแนวพรมแดนติดต่อกับมาเลเซีย ๖๔๗ กิโลเมตร เป็นเขตทางบก ๕๕๒  กิโลเมตร ทางน้ำ ๙๕ กิโลเมตร พรมแดนไทมาเลเซีย มีช่องทางผ่านเข้าออก ๒๙ ช่องทาง เป็นช่องที่ถูกกฎหมาย ๖ ช่องทาง (ด่าน) อยู่ในสตูล ๑ ช่องทาง (ด่านเบตง) นราธิวาส ๒ ช่องทาง (ด่านตาบา และด่านสุไหงโกลก)
            ๓.  จังหวัดนราธิวาสทางทิศใต้ มีอำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโกลก และอำเภอแว้ง ติดต่อกับรัฐกลันตันและเปรัคของมาเลเซีย  โดยมีแม่น้ำโกลกเป็นเส้นกั้นเขตแดน มีทางรถไฟข้ามแดนไทย - มาเลเซีย ที่สุไหงโกลก
            จังหวัดยะลา  ติดต่อกับรัฐเคดาห์ และเปรัคของมาเลเซีย ทางด้านอำเภอเบตง บันนังสตา และอำเภอยะหา โดยมีภูเขาสันปันน้ำเป็นแนวเขตแดน มีทางรถยนต์เชื่อมต่อไทย - มาเลเซีย ที่ อำเภอเบตง
            จังหวัดสตูล  ติดต่อกับรัฐปะลิสของมาเลเซีย การคมนาคมติดต่อไทย - มาเลเซีย ใช้ทางทะเล
            ๔.  จังหวัดสตูล มีเปอร์เซนต์ของคนไทยอิสลามสูงกว่าอีกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่มีบรรยากาศเป็นทางไทยอยู่มาก การทำพิธีทางศาสนาอิสลามบางอย่าง มักจะมีพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาปนอยู่ด้วย เช่น การเข้าสุหนัดก่อนเริ่มพิธีจะมีพิธีทางพุทธศาสนาก่อนแล้ว จึงทำพิธีทางอิสลาม
            ๕.  ชาวมลายูได้เปลี่ยนศาสนาไปนับถืออิสลาม เมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๔ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙)  เมื่อรัฐมะละกาถูกปกครองโดยผู้นับถืออิสลาม
            ๖.  พ.ศ.๒๔๕๑   อังกฤษได้ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส จากไทย
            ๗.  พ.ศ.๒๔๘๘ จัดตั้งสหพันธรัฐมลายู (Federation of Malaya)  พ.ศ.๒๕๐๖ สิงคโปร์ ซาบาห์และซาราวัค ได้เข้ามารวมและก่อตั้งเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย  สิงคโปร์แยกตัวออกไป เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
            ๘.  มาเลเซียเป็นสังคมหลายเชื้อชาติ หลายภาษา ประกอบด้วย ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ มาเลย์ จีน และอินเดีย ในอัตราร้อยละ ๔๕ , ๓๖ และ ๙  อีกร้อยละ ๑๐ เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม  มาเลเซียมีปัญหาเรื่องเชื้อชาติร้ายแรงมาก ไม่มีค่านิยมร่วมกันอยู่เลย ขาดปัจจัยยึดเหนี่ยว ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างชาวจีนกับชาวมาเลย์ ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ยุบสภา ให้สภาปฏิบัติการแห่งชาติบริหารประเทศแทน
            ๙.  สงครามปากีสถานตะวันออก - ตะวันตก เป็นผลผลิตของสงครามทางศาสนา ตั้งเป็นประเทศบังคลาเทศได้ เพราะความสามัคคีของชาวปากีสถาน ที่นับถืออิสลาม การต่อสู้แบ่งแยกดินแดน
            ๑๐.  ชาวสวนยาง สามจังหวัดชายแดนภาคใต้  ส่วนใหญ่มีสวนยางขนาดเล็ก ประมาณครอบครัวละ ๑๕ ไร่หรือน้อยกว่า ปัตตานี และนราธิวาส มีสวนยางขนาดเล็กที่สุดในภาคใต้ ในระยะยาวจะมีขนาดเล็กไปกว่านี้ตามลำดับ ร้อยละ ๗๖ ของกรรมกรชนบทเป็นกรรมกรกรีดยาง ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่สุดของชนชั้นกรรมาชีพ  อาชีพรองลงมาคือชาวนา มีที่ดินทำนาน้อยมาก เฉลี่ยครอบครัวละ ๖ ไร่ ผลผลิตต่ำ
            ๑๑.  ภาษามลายูท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ไม่มีคำแปลความหมายเฉพาะว่าสัญชาติ คงใช้คำว่ามายอ ซึ่งแปลได้ทั้งสัญชาติและภาษารวมกัน คำว่ามายอมลายู จึงแปลว่าสัญชาติมลายูไปในตัว
            ๑๒.  ไทยคุ้นเคยและรู้จักศาสนาอิสลามและชาวมุสลิมมานาน ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๒ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘)
            ๑๓.  จังหวัดชายแดนภาคใต้  มีพื้นที่ ๒๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากร ๒.๙๕ ล้านคน เป็นคนอิสลาม ร้อยละ ๖๗ นราธิวาส ร้อยละ ๘๒  รายได้เฉลี่ย ๓๐,๐๐๐ บาทต่อปี (ปี ๓๙)
            ๑๔.  มลายูรับเอาศาสนา และวัฒนธรรมอาหรับมาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิต ความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนไปจากคนไทยมาก จนเกือบเป็นคนละเชื้อชาติไปเลย
            ๑๕.  ชาวมลายู มีขนบประเพณีคล้ายคลึงกับชาวชวา หรือเอเซียมาก สันนิษฐานว่า อพยพมาจากชวา การแต่งกายเอาส่วนหนึ่งของศาสนา มาเป็นวัฒนธรรมด้วย
            ๑๖.  ในที่ซึ่งมีคนจำนวนตั้งแต่ ๔๐ คนขึ้นไปมักจะมีมัสยิด หรือสุเหร่าหนึ่งแห่ง จุคนได้ ๒๐๐ - ๓๐๐ คนเป็นอย่างมาก
ทำให้คนมีโอกาสได้พบกัน มีความสามัคคีกันอยู่เฉพาะในกลุ่มของตน แต่กับกลุ่มอื่นมักมีเรื่องขัดแย้งกันอยู่เสมอ
            ๑๗.  ในกลันตัน มีคนสัญชาติไทยนับถือพุทธศาสนาจำนวนมาก อาศัยอยู่แต่ทางมาเลเซีย ยังไม่อนุมัติให้ถือสัญชาติมาเลเซีย ทำให้ขาดสิทธิในด้านต่าง ๆ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
            ๑๘.  พลเมืองมาเลเซีย เชื้อชาติจีนมีจำนวนเกือบใกล้เคียงกับคนมลายู และมีแนวโน้มจะมากกว่าในอนาคต แต่ละเชื้อชาติแยกกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ไม่ปะปนกัน
            ๑๙.  อาณาจักรนครศรีธรรมราช มีเมืองขึ้นตั้งแต่กระบุรีไปสุดแหลมมลายู มี ๑๒ หัวเมืองใหญ่ (เมือง ๑๒ นักษัตร)
ได้แก่สายบุรี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี ยะรัง พัทลุง ตรัง ชุมพร บันไทเสมอ สมุเลา ตะกั่วป่า และกระบุรี
            ๒๐.  ศาสนสถานใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้  มี ๒,๔๐๖ แห่ง  เป็นมัสยิด - สุเหร่า ๑,๕๙๐  แห่ง
            ๒๑.  มัสยิดเป็นแบบของกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรมอิสลาม นอกจากจะทำพิธีทางศาสนา แล้วปัจจุบันมัสยิดหลายแห่งได้จัดสอนวิชาศาสนาแก่ยุวชนมุสลิม โดยสร้างเป็นอาคารอยู่ใกล้เคียงมัสยิด เรียกว่า โรงเรียนตาดีกา บางแห่งเรียกโรงเรียนพัรดูอีน