๘. ปรากฎการณ์
            ๘.๑  พ.ค.๐๕  ไทยอิสลาม ๒,๐๐๐ คนเศษ จากไทยและมาเลเซีย ไปแสวงบุญที่เมกกะ ได้ร่วมประชุมที่เมกกะ ผลการประชุมให้มีการจัดตั้งสมาคมขึ่น ๒ สมาคม คือ สมาคมอาดูน (สมาคมนักศึกษาหนุ่ม) และสมาคมชาวปัตตานี ร่วมกับสมาคมซาอุ ฯ ดำเนินการเพื่อแบ่งแยกดินแดนสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งตัวเป็นอิสระ หรือรวมกับมาเลเซีย ที่ประชุมได้ยกปฎิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ มาพิจารณาลงมติให้ดำเนินการโดยสันติวิธี คือ ให้คนไทยอิสลามในไทย เป็นผู้ร้องเรียนต่อสหประชาชาติ
            ๘.๒  ปี พ.ศ.๒๕๑๒  เกิดโจรก๊กต่าง ๆ มากมาย แทบทั่วภาคใต้ ยกเว้นจังหวัดสตูล
            ๘.๓  ปี พ.ศ.๒๕๑๕ - ๒๕๑๖  มีการจับครูที่สอนอยู่ในพื้นที่ห่างไกลไปเรียกค่าไถ่หลายราย คนไทยอิสลามไม่ค่อยถูกจับไปเรียกค่าไถ่<
            ๘.๔  ความสัมพันธ์ของ ขบวนการโจรก่อการร้าย, โจรคอมมิวนิสต์มลายา และผู้ก่อการ้าย พบว่า ผกค. ได้พยายามขยายมวลชนเข้าสู่ชาวไทยอิสลาม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอเวลา หลัง ต.ค.๑๖ นิสิต นักศึกษา นักเรียน ได้หลบหนีเข้าป่า ร่วมกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ใน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา พวกนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นไทยอิสลาม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) โดยผู้ก่อการร้ายฉวยโอกาส รวบรวมคนเหล่านี้ ตั้งเป็นกองกำลังติดอาวุธ ได้ดึงขบวนการโจรก่อการร้าย และโจรคอมมิวนิสต์มลายาบางส่วน เข้าร่วมให้ชื่อว่า กองทัพปลดแอกมุสลิมไทย ที่ค่ายเขต ๒ บนเทือกเขาโต๊ะเจ๊ะเด๊ะ บ้านมาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เมื่อ ส.ค.๒๑ ต่อมา เมื่อ ต.ค.๒๑ ขบวนการ BRN และ PULO ได้ประกาศถอนตัว เนื่องจากระดับหัวหน้าของ BRN ถูกสังหาร
            ๘.๕  ตั้งแต่ ต.ค.๑๙ มาเลเซียเริ่มจัดทำบัตรประชาชน ให้กับคนไทยอิสลามที่อยู่ตามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนชาวไทยในภาคใต้บางส่วนมีความเข้าใจว่า การมีบัตรประชาชนทั้งของไทยและมาเลเซีย ทำให้เกิดความได้เปรียบมีสิทธิประโยชน์มากขึ้น จากการเป็นบุคคล ๒ สัญชาติ
            ๘.๖  ไทยกับมาเลเซีย ตกลงร่วมกันปราบโจรคอมมิวนิสต์มลายาตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย ปรากฎว่าการปฏิบัติการทุกครั้งอยู่ในไทย มาเลเซียมีการติดต่อกับ ขบวนการโจรก่อการร้ายในพื้นที่ปฏิบัติการ เพื่องานข่าวกรองจากหลักฐานที่ยึดได้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ ที่อำเภอบายอ จังหวัดปัตตานี ระบุว่า มีการติดต่อประสานงานกัน ระหว่างสำนักงานขบวนการโจรก่อการร้ายในกลันตัน กับทางการมาเลเซีย
            ๘.๗  พ.ย.๒๓ กลุ่มนักศึกษามุสลิม จัดงาน ๑๕ ศตวรรษมุสลิม ที่ธรรมศาสตร์ มีการจัดโปสเตอร์ให้คำขวัญ มีการอภิปราย มีการแสดงละคร  อาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬา ฯ ผู้หนึ่งที่นับถือศาสนาอิสลามสนับสนุนโคไมนี ว่าทำถูกต้อง ให้ชาวมุสลิมยึดถือปฏิบัติ และศึกษาแบบอย่าง
            ๘.๘  พื้นที่การเคลื่อนไหวในปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีทุกอำเภอในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี พ.ศ.๒๕๔๕ ลดลงเหลือ ๙ ตำบลใน ๔ อำเภอของจังหวัดนราธิวาส
            ๘.๙  ปี พ.ศ.๒๕๒๗ - ๒๕๒๙ การก่อการร้ายลดลงมาก ครั้งแรก ปี พ.ศ.๒๕๓๑ มีเหตุการณ์รุนแรง ๒๐ ครั้ง
            ๘.๑๐  การมอบตัวของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย มีขบวนการโจรก่อการร้ายเพียงส่วนน้อย
            ๘.๑๑  ปี พ.ศ.๒๕๓๐ อุดมการณ์ ขบวนการโจรก่อการรร้ายเสื่อมคลายลง ไม่มีการปฏิบัติการทางทหาร ขบวนการโจรก่อการร้ายระดับหัวหน้า ซ่อนตัวในมาเลเซีย ประชุมกันชี้นำสมาชิกในไทย เคลื่อนไหวขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ลักลอบส่งสมาชิกที่ฝึกแล้วมาปฏิบัติงานในไทย โจรคอมมิวนิสต์มลายาเคลื่อนไหวลดลงมาก เนื่องจากโจรคอมมิวนิสต์มลายากลุ่มใหญ่ (กรม.๘ เขต ๒) ได้ออกมามอบตัว
            ๘.๑๒  แนวโน้มมีของขบวนการโจรก่อการร้าย (ปี พ.ศ.๒๕๓๒) ได้ขยายตัวเข้าไปในพื้นที่ของโจรคอมมิวนิสต์มลายา (ที่เข้ามอบตัว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒)
            ๘.๑๓  ความสนใจเรื่องการศึกษาทางศาสนาดูจะทวีขึ้นในระยะหลังนี้ ครูสอนศาสนาย้ำเรื่องความสำคัญและจำเป็นของการเรียนรู้เรื่องศาสนาแก่ชาวบ้าน โดยผ่านทางอิหม่าม และนักเรียนของตน
            ๘.๑๔  ผู้นำมุสลิมเปลี่ยนรูปตนเองไปตามยุคสมัย แบ่งออกเป็น ๔ ช่วง
                (๑)  พ.ศ.๒๔๔๔ - ๒๔๗๕  ผู้นำส่วนใหญ่เป็นพวกเจ้าเมืองผู้เสียอำนาจ กษัตริย์มุ่งเน้นความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และประวัติศาสตร์
                (๒)  พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๔๘๘  ผู้นำเก่าหันไปพึ่งมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษเรียกร้องสิทธิปกครองตนเอง
ผู้นำศาสนาเริ่มมีบทบาทเข้ามาในฐานะผู้นำทางการเมือง มีหะยีสุหรง เป็นต้น
                (๓)  พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๕๑๖  ผู้มีบทบาทสำคัญคือ ผู้นำศาสนา มีอายุลดลงเป็นคนหนุ่มมากขึ้น
                (๔)  พ.ศ.๒๕๑๖ - ๒๕๒๔  สังคมไทยเปลี่ยนตัวเร็ว มีความรุนแรง ตื่นตัวทางการเมือง