แนวทางและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
(ตามแนวคิดของคณะกรรมการอิสลาม)
ตอนที่ ๔
๑. เมื่อวันที่
๑๖ ก.พ.๔๗ พล.อ.ชัยสิทธิ์
ชินวัตร ผบ.ทบ.ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
และตัวแทนคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดต่าง ๆ ในจังหวัด ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม
ฯ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกัน
ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า จะเข้าร่วมแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น
โดยทำหน้าที่ประสานงานกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเจ้าของพื้นที่ ทุกระยะ
เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสาร และนำข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ มาเผยแพร่ให้พี่น้องชาวมุสลิมทั่วประเทศได้รับทราบ
เพื่อความเป็นเอกภาพของข้อมูลข่าวสาร
นอกจากนี้ ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยระบุว่ามีปัญหาหลัก ๘ ประการคือ
๑) ปัญหาด้านสังคมวิทยา
๒) ปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย
๓) ปัญหาอิทธิพลท้องถิ่น
๔) ปัญหาทางการเมือง
๕) ปัญหาการศึกษา
๖) ปัญหาความยากจน
๗) ปัญหายาเสพติด และ
๘) ปัญหากลไกรัฐ ในการเลือกสรร โยกย้าย และบรรจุ แต่งตั้งข้าราชการ
ไม่เป็นไปตามนโยบาย รวมทั้งข้าราชการขาดความเข้าใจที่แท้จริงในหลักการ และวิธีปฏิบัติของศาสนาอิสลาม
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลาง ฯ ยังได้ร่วมกับสมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม ๑๔ จังหวัดภาคใต้
มีมติที่ประชุม เสนอนายกรัฐมนตรี ๗ ข้อคือ
๑) ขอให้รัฐบาลเร่งรัดจับกุมผู้กระทำผิดโดยเร็ว
๒) เร่งแก้ปัญหาความหวาดระแวงระหว่างทางเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน พร้อมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือกัน
๓) ให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยมีความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อมุสลิม
และวัฒนธรรมประเพณีของมุสลิม
๔) ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาระบบปอเนาะ ให้เป็นสถาบันการศึกษาอิสลาม
๕) เร่งรัดการศึกษาระดับสูงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
๖) พัฒนาความมั่นคงชายแดนภาคใต้ในเชิงบูรณาการ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
และ
๗) ให้คณะกรรมการกลาง ฯ และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นองค์การกลางของมุสลิม
ในการประสานความร่วมมือกับรัฐบาล ในการแก้ปัญหาและพัฒนา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
(เดลินิวส์ ๑๗ ก.พ.๔๗)
๒. คณะกรรมการอิสลาม ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในนามศูนย์ประสานงานสำนักงานคณะกรรมการอิสลาม
ประจำจังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส เดินทางไปยื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๗ ก.พ.๔๗ จำนวน ๔ ข้อคือ
๑) ต้องบูรณาการแผนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้อยู่บนพื้นฐานของศาสนาและวัฒนธรรม
๒) ต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในทุกศาสนา
๓) ควรให้นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการ
ฯ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
และ
๔) การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นจุดแข็ง
และเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างถาวร (เดลินิวส์ ๑๗ ก.พ.๔๗)
แนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
(นานาทัศนะผ่านสื่อมวลชน)
๑. การปราบปรามเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การแก้ปัญหาที่ถาวร ต้องสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่มีต่ออำนาจรัฐ
และให้มีความรู้สึกว่า มีความจริงใจในทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
การศึกษา (นายมุข สุไลมาน
นสพ.มติชน ๒๕ ม.ค.๔๕)
๒. เราต้องการความจริงใจในการแก้ปัญหา เมื่อมีการระบุชัดเจนว่าเป็นฝีมือของคนมีสีก็ขอให้รัฐบาลจัดการเสียที
เวลานี้มีความชัดเจนในคำพูด แต่ไม่ชัดเจนในแง่ปฏิบัติ (นายมันโซร์สา
ผู้จัดการรายวัน ๒๙ มี.ค.๔๕)
๓. ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ไม่ใช่ปัญหาเด็กติดยา
เด็กเกเร รัฐบาลต้องยอมรับว่า
ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีอยู่จริง
และระยะหลัง เมื่อมีการก่อการร้ายสากลเกิดขึ้น เหตุการณ์จึงพัฒนาไป ถ้ารัฐบาลยอมรับว่ามีปัญหานี้
รัฐบาลต้องแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศให้ได้ (นายชำนิ
ศักดิเศรษฐ
นสพ.ไทยโพสต์ ๔ พ.ย.๔๕)
๔. หลักธรรมคำสอนทางศาสนา จะต้องนำมาใช้ในมิติของการแก้ปัญหา บนพื้นฐานของหลักศรัทธา
ความเชื่อ ภูมิปัญญา วิถีชีวิตชุมชน และให้ประชาชนมุสลิมได้ใช้โอกาสอย่างเสมอภาค
ทุกคนจะต้องรวมตัวกันและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ("กลุ่มผู้นำศาสนาและผู้ประสานงานนักเรียน
ฯ มติชนรายวัน ๒๑ พ.ย.๔๕)
๕. - หากมีการจับคนร้าย ต้องนำเข้ากระบวนการยุติธรรม
- พยายามสร้างแนวร่วม เพื่อให้กลุ่มคนร้ายเข้าสู่กระบวนการในการร่วมพัฒนาประเทศ
- ให้การศึกษาภาษาไทยกับราษฎรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการสื่อความหมาย
และความเข้าใจ
- เร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้สำเร็จโดยเร็ว
(นายถาวร เสนเนียม
ผู้จัดการรายวัน ๒๕ พ.ย.๔๕)
๖. การแก้ปัญหาภาคใต้
ต้องแยกกลุ่มประชาชนผู้บริสุทธิ์ออกจากปัญหากลุ่มโจรก่อการร้าย
และความขัดแย้งของบุคคลากรของรัฐให้ชัดเจน แล้วแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม ๆ อย่างต่อเนื่อง
(นายเจะอามิง โต๊ะตาหยง
มติชนรายวัน ๓ เม.ย.๔๕)
๗. ผู้ว่าราชการขจังหวัดได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง ไม่รู้ปัญหา ไม่สามารถตัดสินใจเองได้
ดังนั้นจึงควรให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และควรแก้ปัญหาแบบเดียวกับมาเลเซีย (นายมนตรี
สมันตรัฐ มติชนรายวัน ๓ พ.ย.๔๕)
๘. แนวทางที่จะทำให้เกิดความสงบสุขในภาคใต้ คือ การสร้างความเข้าใจให้เกิดความไว้วางใจ
ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนมุสลิมที่อยู่ภาคใต้ (นายชัยยิด
สุไลมาน ฮูชัยนี สยามรัฐรายวัน ๒๐ ม.ค.๔๗)
๙. การแก้ปัญหาไม่สามารถยุติได้ด้วยการใช้กำลัง และอำนาจรัฐเข้าไปปราบปรามเท่านั้น
เพราะยิ่งปราบบจะยิ่งสร้างแรงต่อต้าน ต้องยอมรับความจริงว่า
มุสลิมในภาคใต้มีความเป็นเจ้าของชุมชน
และอดีต รวมถึงวัฒนธรรมความเชื่อทางศาสนา อันเป็นเฉพาะของตนเอง
รัฐไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนโลกทรรศใหม่ว่า การสร้างและรักษารัฐไทยต่อไป
จะต้องให้สิทธิและเสรีภาพอันสมบูรณ์แก่ชาวมุสลิม
ในการจัดการ ปกครองชีวิต และชุมชนของตนเองให้มาก และเป็นจริงที่สุด (นายธเนศ
อาภรณ์สุวรรณ มติชนรายวัน ๒๑ ม.ค.๔๗)
๑๐. - รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธี
- รัฐต้องแสดงความจริงใจและยอมรับความจริง
- การเสนอข่าวของสื่อมวลชนต้องไม่ใช่คำว่า "ผู้ก่อการร้ายมุสลิม"
- ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
- พัฒนาศักยภาพขององค์กรประชาชน
- ระมัดระวังในการค้นปอเนาะ
- แก้ปัญหาพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและความยากจน
- ให้คนในพื้นที่เข้าทำงานเป็นข้าราชการให้มากที่สุด
ข้อเสนอของคณะกรรมการอิสลาม ๓ จังหวัดภาคใต้ นสพ.สยามรัฐรายวัน ๒๐ ม.ค.๔๗
๑๑. กระจายอำนาจการพัฒนา โดยเอาวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง สร้างความเป็นเอกภาพในระบบของรัฐ
(นพ.ประเวศ วะสี มติชนรายวัน
๒๐ ก.พ.๔๗)
๑๒. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ หยุดสาดเบนซินใส่ไฟ ต้องใช้วจีสุจริต
ใช้ยุทธศาสตร์แบบคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๖/๒๕๒๓ การดับไฟต้องทำด้วยความปราณีต
ดับไม่ได้ด้วยด้วยความอหังการ และให้คนไทยมุสลิมนั่นแหละช่วยดับ (นพ.ประเวศ
วะสี มติชนรายวัน ๒๖ ม.ค.๔๗)
๑๓. ควรแก้ปัญหาโดยวิถีศาสนธรรม ธรรมทุกศาสนาเพื่อสันติ มุ่งมั่นในสิ่งที่ดีงาม
อยู่ร่วมกันฉันมิตร
การแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วม
เพื่อมิให้เป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดี (นายชลวิทย์
เจียรจิตต์
มติชนรายวัน ๕ ก.พ.๔๗)
๑๔. บูรณภาพเหนือดินแดนมิอาจมั่นคงยั่งยืนได้ หากปราศจากบูรณาการทางสังคมรองรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมอาจเป็นจุดอ่อนเปราะ
แต่หากมองจากสายตามวลชนในพื้นที่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม กลับเป็นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์
และจุดแข็งของสังคมชายแดนภาคใต้ สังคมหลากหลายวัฒนธรรมได้ค่อย ๆ พัฒนาวัฒนธรรมสันติภาพขึ้นมาเอง
(นายเกษียร เตชะพีระ
มติชนรายวัน ๓๐ ม.ค.๔๗)
Sans
๑๕. - ต้องมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อฝ่ายราชการ
- ต้องปราบปรามผู้ถืออาวุธ
Sans
- งานด้านข่าวกรองต้องมีประสิทธิภาพกว่านี้
(นายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรค
มติชนรายวัน ๒๙ ม.ค.๔๗)
๑๖. การยืนยันอำนาจรัฐด้วยวิธีการ "เชิงรุกอย่างเด็ดขาด" นั้น อาจทำให้ความไว้วางใจระหว่างรัฐและประชาชน
ซึ่งเปราะบางอยู่แล้ว ยิ่งลดต่ำลงไปอีกก็ได้ ตรงข้ามวิธีการ "เชิงรับอย่างเด็ดขาด"
ต่างหากที่จะรักษาอำนาจรัฐได้อย่างชัดเจนกว่า และเพิ่มความไว้วางใจระหว่างกันได้มากกว่า
(นายนิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชนรายวัน ๒ ก.พ.๔๗)
๑๗. - กระทรวงศึกษาธิการ
ต้องเข้าไปดูแลปอเนาะ
ทำอย่างไรให้เขาเรียนรู้ภาษาไทยควบคู่ไปด้วย
- ต้องส่งเสริมให้คนไทยมุสลิมปกครองกันเองให้มาก ให้ได้ประมาณ ๗๕
- การแก้ไขปัญหา รัฐบาลต้องลงไปแก้ด้วยความสุขุม รอบคอบ
- ต้องส่งเสริมการศึกษาให้ชาวไทยมุสลิมสามารถประกอบอาชีพได้ทุกสาขา ให้ทุนเรียนฟรี
ให้สอบแข่งขันกันเอง
(พล.อ.หาญ ลีนานนท์มติชนรายวัน ๑ ก.พ.๔๗)
๑๘. การแก้ไขปัญหาภาคใต้
ต้องมองอย่างรอบด้าน
อย่ามองเพียงปัญหาความไม่สงบ ควรมองไปถึงปัญหาความยากจน การทุจริตความไม่เป็นธรรมด้วย
(นายชัยวัฒน์ สภาอานันท์
มติชนรายวัน ๒๑ ม.ค.๔๗)
๑๙. ครั้งนี้ ผมเป็นห่วงว่าจะจับแพะกันอีก การเรียกโต๊ะอิหม่ามไปสวบสวนก็ไม่ว่ากัน
แต่อยากให้สืบให้ชัดเจนก่อน เพราะสงสัยคนนั้นคนนี้แล้วเรียกมาสอบหมดเลย ทำให้เกิดความสงสัยกับประชาชน
ไม่ว่าระดับโต๊ะอิหม่ามหรือโต๊ะครู (นายเด่น
โต๊ะมีนา มติชนรายวัน ๒๑ ม.ค.๔๗)
๒๐. การกระทำบางอย่างของเจ้าหน้าที่ในการติดตามสอบสวนหาความจริง การตรวจค้นตามบ้าน
ต้องพิจารณาศึกษาวัฒนธรรมของคนที่นั่น มิฉะนั้นอาจสร้างความไม่พอใจ และทำให้เกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่ได้
เช่น การนำสุนัขเข้าตรวจค้น เป็นต้น (ดร.จรัญ
มะลุลิม สยามรัฐรายวัน ๒๗ ม.ค.๔๗)
๒๑. ลำพังผู้ว่าราชการจังหวัดคนเดียวและผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเดียวคงไม่ไหว
การตอบโต้ของเจ้าหน้าที่ จะต้องกระทำด้วยการรวมทรัพยากรของทุกหน่วย ในภาคใต้ตอนล่างเข้าด้วยกัน
โดยไม่คำนึงถึงเขตจังหวัด ถือเอาเอกภาพในการตอบโต้เป็นสำคัญ แม้ว่าจะต้องรื้อฟื้น
ศอ.บต.ขึ้นมาอีกก็ควรทำ หากเห็นว่ามีประโยชน์และจำเป็น
(พล.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร
มติชนรายวัน ๒๐ ม.ค.๔๗)
๒๒. รัฐต้องไม่ปล่อยให้ความไม่พอใจของผู้นำศาสนายืดเยื้อ หลักใหญ่ขณะนี้คือ
การประนีประนอมลูกเดียว
(นายบรรหาร ศิลปอาชา
มติชนรายวัน ๑๖ ก.พ.๔๗)
๒๓. รัฐต้องปรับสภาพแวดล้อม สร้างขวัญกำลังใจ เวลานี้ชาวบ้านกลัวโจรจนไม่กล้าพูดอะไร
ไม่มีใครสนับสนุนรัฐบาล ต้องใช้การเมืองนำการทหาร เวลานี้ต้องแย่งชิงประชาชนกลับมา
ไม่ใช่ปล่อยให้ล่าช้ามาไม่รู้กี่เดือนแล้ว (พล.อ.กิตติ
รัตนฉายา มติชนรายวัน ๑๖ ก.พ.๔๗)
๒๔. การแก้ปัญหาในภาคใต้ต้องใช้ความแตกต่างให้เป็นพลัง
นโยบายที่ต้องการให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างศาสนาของคนในพื้นที่ นับว่าเป็นนโยบายที่ตรงกับปัญหาของพื้นที่
การมอบอำนาจหน้าที่สิทธิให้ตามวิถีทางประชาธิปไตย สร้างระบบเศรษฐกิจให้สามารถเลี้ยงตนเองได้
ผลักดันให้เกิดโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามที่สอนแบบบูรณาการสอดแทรก เรื่องของวิชาชีพแก่ระบบการศึกษา
อนุมัติโครงการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ฯลฯ หากโครงการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
และครบถ้วนสมบูรณ์ความรุนแรงในพื้นที่จะค่อย ๆ ลดน้อยไปเอง (นายบัณฑิตย์
สะมะอูน มติชนรายวัน ๑๒ ก.พ.๔๗)
๒๕. การใช้ความรุนแรง การก้าวร้าว เหมือนอาจช่วยขจัดปัญหาได้ แต่กลับจะยิ่งทำให้กลุ่มจรยุทธ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น
(ดาโต๊ะอับดุลลาห์อาหมัดบาดาวี
สยามรัฐรายวัน ๑๗ ม.ค.๔๗)
ผู้ปฎิบัติการก่อความไม่สงบ
๑. ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.)
ประกอบด้วย
- BERSATU
- BRN (Barisan Revolusi Nasional) ปฎิบัติการใน จ.นราธิวาส
- PULO ใหม่ ปฎิบัติการในพื้นที่ จ.ยะลา เน้น อ.เบตง ธารโต และบันนังสตา
- GMIP (Gerakan Mujahidin Islam Patani) ปฎิบัติการใน จ.ปัตตานี
๒. แนวร่วมของ ขจก.
ตามข้อ ๑ ส่วนใหญ่เป็นพวกวัยรุ่นไม่มีงานทำ พวกติดยาเสพติด พวกหัวรุนแรง
ที่ถูกปลูกฝังมาจากสถาบันการศึกษาบางแห่ง เช่น ปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
และผู้ที่ได้รับการปลูกฝังแนวคิดแบ่งแยกดินแดนจากต่างประเทศ
๓. ข้อบัญญัติของผู้ปฎิบัติงาน (แปลจากเอกสารที่ยึดได้จากสมาชิก BRN. ที่ถูกจับกุม
เมื่อวันที่ ๒๗ ก.พ.๔๗) มีดังนี้
๑) ทำความดีต่อองค์อัลเลาะห์
ห่างไกลอบายมุข และสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง
๒) ห้ามเปิดเผยความลับให้ศัตรู ถึงแม้ชีวิตจะหาไม่ (พินาศ)
๓) เคารพ และยึดมั่นต่อขบวนการ
๔) ความสำคัญของการรบ ต้องอยู่เหนือเรื่องส่วนตัว
๕) ต้องยอมรับประชุม (ชุมนุม) เมื่อถูกเรียก
๖) มั่นคงในคำพูด และคำสัญญา
๗) เสียสละชีวิต และทรัพย์สินเมื่อมีความต้องการ
๘) รับและให้แบบจริงใจ และบริสุทธิ์
๙) ไม่กระทำในสิ่งที่เป็นการขาดทุน
(เสียเปรียบ) และ
๑๐) ต้องทำงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย ของแต่ละบุคคล
เป้าหมาย
๑. เป้าหมายสถานที่
- สถานที่ราชการ เช่น โรงเรียน สถานีอนามัย สถานีตำรวจตำบล (สภ.ต.) ป้อมตำรวจ
จุดตรวจตำรวจ ศาลาที่พักผู้โดยสาร สถานที่ประกอบการธุรกิจของคนไทยพุทธ สถานีรถไฟ
รางรถไฟ วัด
- แหล่งอาวุธ เช่น หน่วยทหาร สภ.ต. หน่วยอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.)/ตัว
อส. อุทยานแห่งชาติ
๒. เป้าหมายบุคคล
- คนไทยพุทธ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ครู ประชาชน พระภิกษุ สามเณร
- คนไทยมุสลิมที่ร่วมมือกับทางราชการ เช่น สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
อาสาสมัคร (อส.) สายข่าวของเจ้าหน้าที่ อดีต ขจก. กลับใจ
ยุทธวิธี/วิธีการ
๑. วิธีการ
: ข่มขู่ / เรียกค่าคุ้มครอง เผาสถานที่ราชการ เผารถจักรกล ปล้นอาวุธ
ทำร้ายร่างกาย ฆ่า
๒. การแต่งกาย
: แต่งกายธรรมดา ชุดดาวะห์ หรือชุดพรางแบบทหาร
๓. ยานพาหนะ
: ส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์ คนหนึ่งขับรถ อีกคนปฎิบัติการ
๔. อาวุธที่ใช้
: วางระเบิด (แสวงเครื่อง) ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง เผาอาคารสถานที่
ปืนสงคราม M.๑๖ AK ปืนพกสั้นขนาด ๑๑ มม. ขนาด .๓๘ มม. ใช้มีดฟัน
๕. ผู้ปฎิบัติ
ได้แก่ สมาชิก ขจก. และแนวร่วม ขจก. โดยสมาชิกขบวนการจะสั่งการไปยังแนวร่วมในหมู่บ้าน/ตำบลต่าง
ๆ ให้เคลื่อนไหวก่อกวน (ตามข้อ ๑) ในกรณีที่ต้องการให้ฆ่า หรือทำร้ายเป้าหมายบุคคล
ขจก. ได้ตั้งอัตราค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนไว้คือ สำหรับบุคคลธรรมดาจะได้ค่าจ้าง
๑๐,๐๐๐ บาท/คน ข้าราชการ ๕๐,๐๐๐ บาท/คน นายตำรวจยศ ร.ต.ต. ๗๐,๐๐๐ คน
นายตำรวจยศ พ.ต.ต. ขึ้นไปรายละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ผู้สนับสนุนการก่อความไม่สงบ และวัตถุประสงค์
การสนับสนุนจากภายในประเทศ
๑. ขบวนการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งมีฐานหรือปฎิบัติการอยู่ในต่างประเทศ เช่น มาเลเชีย
ตะวันออกกลาง อาศัยขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) ภายในประเทศเป็นผู้ปฎิบัติ
เช่น ขบวนการ BRN. PULO (เก่า) GMIP. เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ขั้นสุดท้ายคือ
จัดตั้งรัฐอิสระขึ้น
การเคลื่อนไหว ทำให้สถานการณ์ในภาคใต้รุนแรงขึ้น
เพื่อจะได้อ้าง และขอสนับสนุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศอิสลามในตะวันออกกลาง
และองค์กรสิทธิมนุษยชน
๒. นักการเมืองทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
(สว. สส. อบจ. สจ. สท. อบต.) บางคน
เพราะนักการเมืองเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัย ขจก. ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ในการหาเสียงเลือกตั้ง
แกนนำของพรรคการเมือง / หัวคะแนนของนักการเมืองจำเป็นต้องอาศัยคนในพื้นที่
จึงจะสามารถชนะการเลือกตั้งได้
ความจริงแล้ว ปัญหาภาคใต้ ต้องเข้าใจวิเคราะห์ในรายละเอียดว่า เกิดขึ้นเพราะมีการจัดตั้งกำลัง
เพื่อล้มล้างรัฐบาล จึงต้องหามาตรการแก้ไข
๓. กลุ่มผู้มีอิทธิพล ในพื้นที่
Sans
๔. กลุ่มข้าราชการที่ประพฤติมิชอบ
การสนับสนุนจากต่างประเทศ
๕. ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกกับไทย - ขจก. ส่วนหนึ่งมีฐานหรือซ่องสุมกำลังหรือหลบซ่อนอยู่ในรัฐที่อยู่ติดกับไทย
ในฐานะบุคคล ๒ สัญชาติ หรือหลบหนีไปอยู่กับญาติ เห็นได้จากกลุ่ม ขจก. ส่วนใหญ่ใช้ชื่อภาษาประเทศเพื่อนบ้าน
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม BERSATU, BRN., GMIP สมาชิกขบวนการแบ่งแยกดินแดน โดยเฉพาะเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า
(กู = Tengku, ต่วน = Tuan , นิ = Nik , และ แว = Wan) มีญาติอาศัยอยู่ในรัฐดังกล่าว
เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังให้การสนับสนุน ขจก. ในฐานะเป็นคนมุสลิมด้วยกัน
๖. ประเทศอิสลามทั่วไป
อาจให้การสนับสนุน ขจก. ในฐานะเป็นคนมุสลิมด้วยกัน
นอกจากนั้นประเทศอิสลามทั่วไป ซึ่งต่อต้านสหรัฐ อาจต่อต้านไทย ในฐานะพันธมิตรของสหรัฐ
ในการก่อการร้ายสากล โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอิสลามในตะวันออกกลาง
๗. กลุ่มก่อการร้ายเจไอ
(Jemaah Islamiyah) ที่มีนโยบายจะสถาปนารัฐอิสลามขึ้นในภูมิภาค โดยรวมเอาภาคใต้ของไทยเข้ากับมาเลเชีย
สิงคโปร์ อินโดนิเชีย และภาคใต้ ของฟิลิปปินส์ เข้าด้วยกัน กลุ่มก่อการร้าย
เจ ไอ. มีความไม่พอใจไทยกรณีไทยจับกุม นายฮัมบาลี แกนนำของ เจ ไอ. ที่เชื่อมโยงกับ
al - Qaede ของ นายโอซามา บินลาดิน ส่งให้สหรัฐ เมื่อปี ๒๕๔๖
๘. อินโดนิเชีย
: กรณีกลุ่มนักค้าอาวุธในไทย ลักลอบส่งอาวุธไปจำหน่ายให้กับกลุ่มกบฎอาเจะห์
ในสุมาตราเหนืออาจทำให้ไทยมีปัญหากับอินโดนิเชียได้
สื่อต่างประเทศที่ประโคมข่าวสถานการณ์ในภาคใต้
๙. สื่อมวลชนที่ประโคมข่าวสถานการณ์ในภาคใต้ เผยแพร่บทบาทและวัตถุประสงค์ของ
ขจก.ให้นานาประเทศทราบถึงปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งไม่เป็นผลดีกับไทย อาทิ
- นิตยสาร Economic Review
- นิตยสาร เยอรมัน
- มูลนิธิเอเชียศึกษา ในกรุงวอชิงตัน ดีซี
- นสพ. ในมาเลเชีย
ซึ่งมักจะลงข่าวความไม่สงบในภาคใต้ ในทำนองเห็นใจคนไทยมุสลิม ว่าถูกกดขี่ข่มเหงจากฝ่ายข้าราชการซึ่งเป็นคนไทยพุทธ
ทำให้ต่างชาติไม่แน่ใจในความปลอดภัยในการลงทุน และเพื่อปรามประชาชนของตน ไม่ให้เดินทางมาท่องเที่ยวในไทย
โดยเฉพาะที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ จ.ภูเก็ต
- นสพ. ในสิงคโปร์
กระจายข่าวความไม่สงบในภาคใต้ เพื่อให้นักลงทุนต่างประเทศเห็นความไม่ปลอดภัย
ในการลงทุนในไทย และไม่ต้องการให้พลเมืองของตนเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย
ภาคใต้สมรภูมิสงคราม
นิตยารฟาร์อิสเทิร์น ฯ ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับความมั่นคงในภูมิภาค
เรื่อง "พื้นที่สงครามของไทย (Thailand 'S WarZone) โดยผู้สื่อข่าวรายงานจาก
จังหวัดนราธิวาส ว่า การประกาศกฎอัยการศึก เป็นการใช้อำนาจเพื่อปราบปรามเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ของไทย
ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐระบุว่า เป็นฝีมือของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งหากเป็นจริงแล้ว
ทางรัฐบาลสหรัฐอาจต้องเผชิญกับสมรภูมิใหม่ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
มูลเหตุของสถานการณ์ความไม่สงบ เกิดจากการลอบโจมตี เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗
มีคนร้ายบุกเผาโรงเรียน ๒๐ แห่ง และปล้นปืน ๓๐๐ กระบอก จากค่ายทหาร มีทหารถูกฆ่าตายไป
๔ ศพ ตั้งแต่นั้นมา พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีแต่เหตุการณ์วุ่นวาย
มีการสังหารเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทหาร ตำรวจ ครู หรือแม้แต่พระสงฆ์ รวมแล้วกว่า
๔๕ ศพ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นประจำแทบทุกวัน
นายทหารระดับสูงของกองทัพเชื่อว่า การที่เหตุการณ์รุนแรงกลับมาเกิดขึ้นอีก
ในภาคใต้นั้นแสดงให้เห็นว่า การต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนกลับฟื้นคืนชีพมาอีกครั้ง
โดยการต่อสู้ดังกล่าวนั้น
ได้รับการสนับสนุนทั้งด้านกำลังเงิน
และปฎิบัติการจากกลุ่มก่อการร้ายสากล
(เดลินิวส์รายวัน
๗ มี.ค.๔๗)
สหรัฐกับการร่วมมือด้านการข่าวกับไทย
ไทยกับสหรัฐ ถือเป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นที่สุด ในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวกรองกลางแห่งรัฐบาลสหรัฐ
(ซีไอเอ) ประสานงานอย่างใกล้ชิด กับเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของไทย ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงจัดตั้ง
"ศูนย์ข่าวกรองต่อต้านการก่อการร้าย
(ซีทีไอซี) ก่อนเกิดเหตุการณ์ ๑๑ ก.ย.๒๕๔๔ แต่ส่วนใหญ่แล้ว การดำเนินการเป็นไปในลักษณะรวบรวมข้อมูล
ข่าวกรองเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย ส่วนเหตุการณ์ทางภาคใต้นั้น หน่วยงานนี้ สังเกตการณ์ไปที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน
และตรวจสอบว่าใครเป็นใคร แม้ว่าฝ่ายไทยไม่ได้ขอร้องให้สหรัฐช่วยเหลือในเรื่องนี้
แต่คนท้องถิ่นทางภาคใต้เชื่อว่า ซีไอเอ. สหรัฐเข้ามามีบทบาทในเหตุการณ์ภาคใต้ด้วย
เหตุการณ์ตำรวจจับผู้นำชุมชน และศาสนาใน จ.นราธิวาส เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๔๖
โดยตั้งข้อหาวางแผนก่อการร้าย วางระเบิดสถานฑูต ๕ แห่ง และแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย
ก่อนหน้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปพบปะประธานาธิบดี จอร์จ
ดับเบิลยู บูธ แห่งสหรัฐที่ กรุงวอชิงตัน ดีซี. เหตุการณ์ดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า
เป็นการจับผิดตัวแต่ต้องทำเพื่อเอาใจสหรัฐ (เดลินิวส์รายวัน ๑๑ มี.ค.๔๗)
แนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ของรัฐบาล
(พ..ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
การประเมินสถานการณ์
๑. ในการประชุม ครม. เมื่อ ๑๐ ก.พ.๔๗
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสาเหตุความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ว่า เกิดจากบุคคลเพียงกลุ่มเดียว
ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องทั้งหมด เป็นกลุ่มที่สูญเสียประโยชน์ จากการที่รัฐบาลเข้าไปแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยเป็นมาเฟียที่มีอำนาจในพื้นที่หากินกับผลประโยชน์ บริเวณชายแดน และเอาเงินไปสนับสนุนให้กลุ่มโจรออกมาเคลื่อนไหว
เพราะไม่ต้องการเสียผลประโยชน์ คนกลุ่มนี้ทั้งหมดเป็นข้าราชการ ถ้าจัดการได้
ปัญหาภาคใต้ก็จะสงบ (มติชนรายวัน ๑๑ ก.พ๔๗)
๒. นายกรัฐมนตรีสรุปว่า
ปัญหาภาคใต้ที่แท้จริงเกิดจากผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ เป็นปัญหานำเรื่องความมั่นคง
ไม่ใช่ปัญหาความมั่นคงนำเศรษฐกิจ หากสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ ปัญหาความไม่สงบ
และเหตุการณ์ร้ายก็จะหมดไปเอง (มติชนรายวัน ๑๑ ก.พ.๔๗)
๓. นายกรัฐมนตรีประกาศว่า
ต่อไปนี้จะไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างโจร จะต้องขึ้นมาอยู่เป็นเบี้ยบนภายในเวลาที่รวดเร็วที่สุด
หากได้อยู่เบี้ยบนเมื่อไร จะไล่ให้จนตัวให้หมด (มติชนรายวัน ๑๙
ก.พ.๔๗)
๔. นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์
เมื่อ ๒๐ ก.พ.๔๗ ว่า สถานการณ์ความรุนแรงใน ๓ จังหวัดภาคใต้ มีคนไม่ปรารถนาดี
๒ กลุ่ม ที่ควรระวังคือ คนที่ต้องการสร้างแนวร่วม และกลุ่มที่ต้องการบิดเบือนการสอบสวนคดีปล้นปืน
(มติชนรายวัน ๒๑ ก.พ.๔๗)
๕. ความไม่สงบในภาคใต้ เมื่อวันที่ ๔ ม.ค.๔๗ เป้าหมายที่แท้จริงคือ
"ต้องการปืน" ซึ่งต้องโยงใยจากภายนอก รวมทั้งกลุ่ม "อาเจะห์" เรื่องนี่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยแน่นอน (มติชนรายวัน ๒๓ ก.พ.๔๗)
๖. การที่นายกรัฐมนตรี มองปัญหาภาคใต้ ว่าเป็นปัญหาการเมืองไม่ใช่ปัญหาหลัก
ย่อมไม่ให้ความสำคัญการแก้ปัญหาที่ถือเอาความแตกต่างของศาสนา ความเชื่อ มาเป็นแนวทางแก้ไข
ทั้ง ๆ ที่การเมืองน่าจะเป็นปัญหาหลักในการแก้ใข นั้นคือ การเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการนับถือศาสนา
และการปฏิบัติพิธีกรรม ลดเงื่อนไขการดูถูกเหยียดหยาม และการประพฤติที่ไม่เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ต่อชาวบ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม (มติชนรายวัน ๑๘ ก.พ.๔๗)
๗. การมองว่า ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้เกิดจากบุคคลกลุ่มเดียว
คือ กลุ่มที่สูญเสียประโยชน์ และอยู่เบื้องหลัง เอาเงินไปสนับสนุนให้กลุ่มโจร
ออกมาเคลื่อนไหว และอ้างว่าทั้งหมดเป็นข้าราชการ ถ้าจัดการได้ปัญหาภาคใต้จะสงบ
(มติชนรายวัน ๑๑ ก.พ.๔๗)
๘. ถ้ามองปัญหาแบบนี้ แสดงว่าปัญหาความไม่สงบในภาคใต้เป็นปัญหาง่าย
ๆ ไม่สลับซับซ้อนอะไรนัก เพราะกลุ่มคนร้ายไม่มีอุดมการณ์ เพียงรับจ้างกลุ่มมาเฟียมาสร้างสถานการณ์
ไม่เกี่ยวกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน ไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรม และไม่ใช่เรื่องข้าราชการรังแกประชาชน
ดังมีผู้กล่าวอ้าง (มติชนรายวัน ๑๓ ก.พ.๔๗)
๙. "ผมคิดว่า เป็นคนใช้เมตตาธรรมสุดสุด แต่พวกคนเลวก็ต้องเหี้ยมสุดสุดเหมือนกัน" นายก ฯ ประกาศ เมื่อประกาศตาต่อตาฟันต่อฟันเช่นนี้ ด้านหนึ่งคงทำให้ฝ่ายปราบปรามได้กำลังใจ
ฮึกเหิมห้าวหาญมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งพวกก่อการร้ายคงไม่ยอมตกเป็นเป้านิ่ง
ให้ถูกล้อมปราบอย่างง่ายดายเป็นแน่ ไม่รู้ว่าทิศทางแบบนี้ จะทำให้สถานการณ์ชายแดนภาคใต้
พัฒนาไปสู่ความคลี่คลายหรือจะบานปลาย กลายเป็นสงครามที่ใหญ่โตขึ้น (มติชนรายวัน
๑๙ ก.พ.๔๗)
๑๐. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
กล่าวว่า ทางรัฐบาลมีข้อมูลการจัดขบวน อยู่ที่ใด ฝึกกำลังอย่างไร ใครเป็นหัวหน้า
แต่ไม่ใช่ว่าจะมีฤทธิ์อะไรมาก แต่เมื่อรวมตัวกับขบวนการในพื้นที่ ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการที่ประพฤติมิชอบ
ผู้มีอิทธิพล ผู้ค้าของเถื่อน ยาเสพติด รวมถึงขบวนการทางด้านการเมือง เมื่อสามกลุ่มมารวมตัวกัน
ทำให้เป็นกลุ่มขบวนการที่มีความเข้มแข็งมาก ในพื้นที่ภาคใต้ เพราะฝังตัวอยู่นาน
และเป็นพื้นที่ที่มีผลประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย (มติชนรายวัน ๒๗ ก.พ.๔๗)
มาตรการการแก้ปัญหา
Sans
๑. เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเชื่อว่า
ปัญหาภาคใต้เกิดจากผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ นำเรื่องความมั่นคง ไม่ใช่ปัญหาความมั่นคงนำเศรษฐกิจ
หากแก้ปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ ปัญหาความไม่สงบและเหตุการณ์ร้ายจะหมดไปเอง
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
จึงเรียกประชุมกำหนดยุทธศาสตร์ เสริมความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่
๑๑ ก.พ.๔๗ ซึ่งผลการประชุมได้ข้อยุติ ๒ ส่วน คือ
๑.๑ การประเมินสถานการณ์อันเป็นเหตุของปัญหา
แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ
- ระดับที่ ๑ ระดับผิวหน้าหรือปรากฎการณ์ ได้แก่ การใช้ความรุนแรง และการก่อกวนทุกรูปแบบของโจรก่อการร้าย
- ระดับที่ ๒ ระดับโครงสร้าง คือ การประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐบาล
ส่วนที่ยังแสวงอำนาจ อิทธิพล ผลประโยชน์
ร่วมกับผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มโจร
ปัยหาโจรก่อการร้ายที่พลิกฟื้นกองกำลัง แนวร่วม การเคลื่อนไหว และปัญหาการแทรกแซงเผยแพร่แนวความคิดรุนแรงในหมู่เยาวชน
- ระดับที่ ๓ ระดับวัฒนธรรมหรือจิตใจ คือประชาชนอยู่ระหว่างสถานการณ์ความรุนแรง
อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ กับอำนาจของกลุ่มโจรหรือกลุ่มอิทธิพล ทำให้ประชาชนวางเฉย
ไม่สมารถร่วมมือกับทางราชการ
1>เป็นเหตุให้งานมวลชนและงานข่าวไม่ได้ผลเท่าที่ควร
จำเป็นต้องสร้างความไว้วางใจ ความเข้าใจและลดความหวาดระแวง
ของประชาชนต่อทางราชการ
อย่างจริงจัง โดยเร็ว
๑.๒ ยุทธศาสตร์เสริมความมั่นคง
มี ๕ ข้อ คือ
- ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความสงบสุขในพื้นที่
เน้นด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย งานมวลชน การใช้ระบบการข่าว และการสื่อสาร
เชื่อมโยงกับประชาชน และทำลายวงจรความเชื่อมโยง ระหว่างผู้มีอิทธิพล และกลุ่มโจรในพื้นที่
- ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความมั่นคงบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างข้าราชการ กับผู้นำศาสนา และองค์กรศาสนาอิสลาม
โดยนำเข้ามาเป็นที่ปรึกษาหน่วยราชการ จัดเวทีแสดงความคิดเห็น และประชาสัมพันธ์
โดยใช้ภาษาท้องถิ่น
- ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน และสังคม
โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของคน และชุมชนให้พึ่งตนเองได้
พัฒนาระบบการศึกษา และกิจกรรมเยาวชนให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
จัดโควต้าพิเศษให้เยาวชน ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา จัดตั้งสถาบันอิสลามศึกษาในภูมิภาค
และรองรับผู้จบการศึกษาทางศาสนาอิสลามจากประเทศมุสลิม พัฒนาและดูแลโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
และปอเนาะ ให้เป็นมาตรฐานโดยไม่กระทบต่อความรู้สึกของชุมชน และจัดระเบียบสังคมอย่างจริงจัง
- ยุทธศาสตร์พัฒนาความร่วมมือชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
โดยดำเนินการทางกฎหมายอย่างจริงจัง ร่วมมือด้านการข่าว การลาดตระเวน และใช้วิธีการทางการทูตในการแก้ปัญหา
โดยพยายามลดบทบาทของประเทศเพื่อนบ้านที่มีผลต่อกระบวนการก่อการร้ายในรูปแบบต่าง
ๆ โดยเร็ว
- ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ ให้ผู้ว่า ฯ CEO
เป็นหลักในการบริหารและแก้ปัญหา ทั้งด้านความมั่นคง
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปรับปรุงทัศนคติและพฤติกรรมของข้าราชการที่สร้างเงื่อนไขต่อประชาชน
อย่างจริงจัง มีระบบคัดเลือกข้าราชการ ที่เหมาะสมเป็นธรรม ระบบขวัญกำลังใจในพื้นที่เสี่ยงภัย
มีการกำหนดพื้นที่ตามระดับความรุนแรงของปัญหา
๒. ในการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ ๑๗ ก.พ.๔๗ ที่ทำเนียบรัฐบาล ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางภาพรวม
ในการแก้ไขปัญหาภาคใต้คือ ๒
๑) มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรมใน ๓ จังหวัดชายแดน หากเอกชนไม่ให้ความร่วมมือ
ทางรัฐบาลก็จะสร้างเอง
๒) จะสอบถามข้าราชการในพื้นที่ทั้งหมดว่า ใครอยากย้ายหรืออยากอยู่ต่อ หากใครอยู่ต่อในช่วง
๓ ปีต่อจากนี้ จะได้รับการพิจารณาความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ เพราะถือเป็นผู้เสียสละในการปฏิบัติหน้าที่
๓) จะสร้างรั้วตามแนวชายแดน เพื่อให้ยากต่อการเดินทางไปมาระหว่างไทยกับมาเลเซีย
และจะดำเนินการกับบุคคล๒ สัญชาติ โดยต่อไปในอนาคต จะให้เลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งเท่านั้น
๔) จะจัดระเบียบโรงเรียนปอเนาะให้เหมือนมาเลเซีย คือต่อไปชาวมุสลิมจะอ้างสิทธิพิเศษที่เกี่ยวกับศาสนาไม่ได้บางอย่างต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม การจัดระเบียบดังกล่าวจะมีกรรมการกลางมุสลิมเข้าร่วมจัดระเบียบด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก
๑ นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๑๒ ก.พ.๔๗
๒ นสพ.เดลินิวส์รายวัน ฉบับวันที่ ๑๗ ก.พ.๔๗
|