ปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้
ตอนที่ ๕
สมมุติฐาน : ความไม่สงบในภาคใต้จะดำรงอยู่ต่อไป หากไม่แก้ไขปัญหาให้เบาบางลง
สาเหตุของความไม่สงบเกิดจาก
๑. การดำเนินการของเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า (Teng ,Tuan, Nik, Wan) บางคนที่สูญเสียอำนาจ
ที่ต้องการให้มีสิทธิศักดิ์ศรี เหมือนใน Kelantan โดยได้รับการสนับสนุนด้านที่พัก
และขวัญกำลังใจ จากญาติที่มีอยู่ใน Kelatan
๒. ยังมีนักการเมืองหัวรุนแรงในรัฐบาลกลาง และรัฐบาลรัฐ บางคนไม่ต้องการให้
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (เดิม ๕จังหวัดชายแดนภาคใต้) สงบสุข เพื่อใช้แสวงหาประโยชน์ทางด้านการเมืองในฐานะรัฐกันชน
(Buffer State) และถ้าสถานการณ์เหมือนใน East Timor หรือ Mindanao
หรืออาเจะห์ มาเลเชียสามารถแสวงหาประโยชน์ได้มากในฐานะรัฐอิสลามด้วยกัน
จะทำให้คนไทยมุสลิมนิยมมาเลย์มากกว่าไทยนอกจากนั้นในด้านการข่าวลับ (Clandestine
Opn.) มาเลเชียสามารถแสวงประโยชน์จากคนมุสลิมได้เป็นอย่างดี
๓. แนวความคิดด้านศาสนนิยมของคนมุสลิมสูงมาก
แม้ว่านิกายซุนหนี่ และชีอะห์ จะขัดแย้งกันอยู่บ้างก็ตามแต่เมื่อมีปัญหาขัดแย้งกับบุคคลอื่น
หรือกุล่มบุคคลอื่นต่างศาสนา ทั้งสองนิกายนี้จะรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น ดังจะเห็นได้จากประเทศอิสลามหรือขบวนการมุสลิมมีความขัดแย้ง
กับประเทสที่นับถือศาสนาอื่น ประเทศอิสลามจะรวมตัวกันต่อต้านประเทศเหล่านั้น
โดยอ้างหลักศาสนาทำสงครามจิฮัจ
(Holy War) ขอการสนับสนุน หรือปลุกระดมคนมุสลิมทั่วโลก
๔. ความเชื่อทางศาสนาของชาวไทยมุสลิม ที่ยึดมั่นในหลัก ๕ ประการของอิสลาม
คือ การประกาศตนเป็นมุสลิม การทำละหมาด การถือศีลอด การให้ทาน และการเดินทางไปทำพิธีฮัจญ์
ซึ่งถือว่ามุสลิมทุกคนต้องทำให้ได้ จึงถือว่าเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์
๕. การให้ทานของอิสลามิกชน
ที่บัญญัติไว้ในหลักศาสนามี ๗ ประการ
ซึ่งอิสลามิกชนถือเป็นหน้าที่ และที่สำคัญประการหนึ่งที่สำคัญคือ
การช่วยเหลือ "นักรบ" มุสลิม ดังนั้น จึงไม่แปลกที่คนไทยมุสลิมบางคนให้การสนับสนุนกลุ่มโจร
หากเขาเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า บุคคลเหล่านั้นทำเพื่อศาสนาอิสลาม หรือชาวมุสลิม
๖. การเมืองภายในประเทศ ดังเช่นชาวไทยมุสลิมในจังหวัดภาคใต้ ตั้งกลุ่มวาดะห์
ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของคนมุสลิม และขอการสนับสนุนจากคนไทยมุสลิมโดยตรง
ผลการดำเนินการดังกล่าว ปรากฎว่าได้รับการสนับสุนจากคนไทยมุสลิมอย่างดี ดูได้จากผลการเลือกตั้งในพื้นที่
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมา
๗. การเมืองภายใน ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใด ใช้หลักการแทรกซึกเข้าไปมีอิทธิพล
(penetrate) หรือชักชวน (recruit ) แกนนำของกลุ่มชน มาให้การสนับสนุนพรรค
โดยเฉพาะใน ๓ จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีประชากรเป็นคนไทยมุสลิมถึง ๘๐% และมีองค์กรมวลชนต่าง
ๆ มากมาย ทั้งนี้รวมถึงกลุ่มอิทธิพล กลุ่มนอกกฎหมายสถาบันต่าง ๆ ซึ่งพรรคการเมืองได้แสวงหาประโยชน์ตลอดมา
๘. การเข้าไปแสวงหาประโยชน์จากลุ่มอิทธิพล หรือกลุ่มนอกกฎหมาย เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้พรรคการเมืองเข้าไปพัวพันกับสิ่งผิดกฎหมาย
และจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองในลักษณะ พึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกันดังนั้นการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
มีอุปสรรคอันหนึ่ง คือ การลูบหน้าปะจมูก
๙. เนื่องจากภาคใต้เป็นจังหวัดชายแดน อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ประชาชนยากจนและการศึกษายังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ทำให้ข้าราชการบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไทยพุทธ) ทำตัวเป็นศักดินา เจ้าคนนายคนแสวงหาประโยชน์โดยวิธีการต่าง
ๆ รวมทั้งการเรียกรับสินบน การรีดไถ การให้การคุ้มครองผู้ค้าของเถื่อน หรือผู้มีอิทธิพลจนทำให้สุจิรตชนขาดที่พึ่ง
ไม่ไว้วางใจ และไม่ให้ความร่วมมือ
๑๐. เมื่อพฤติกรรมของข้าราชการ (ชนชั้นปกครอง) บางคน ทำตัวให้เป็นที่พึ่งของประชาชน
(สุจริต) ไม่ได้บางคนกลับถูกรีดไถ กดขี่ข่มเหง ประชาชนจึงหันไปพึ่งบุคคล /
กลุ่มบุคคล ที่ตนเองเห็นว่าสามารถให้ความคุ้มครอง / ให้ความเป็นธรรมตนเองได้
แม้กระทั่งโจร หากเขาเห็นว่า ให้ความร่วมมือกับโจรดีกว่าเจ้าหน้าที่
๑๒. ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล ๒ ศาสนา เดิมคือ คนไทยมุสลิมถือว่า
คนไทยพุทธเป็นผู้อพยพเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่ มิใช่เจ้าของพื้นที่เดิม และเป็นผู้รุกราน
ทั้งนี้โดยอาศัยความเชื่อทางประวัติศาสตร์ของรัฐอิสลามบางส่วนที่ถูกบุคคลตามข้อ
๑ หรือกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนายกขึ้นมาอ้าง แสวงหาความสนับสนุน
๑๓. ตามสภาพทั่วไประหว่างคนไทยพุทธกับคนไทยมุสลิม คนไทยพุทธอยู่ในฐานะที่เหนือกว่า
ทั้งด้านเศรษฐกิจ ความรู้สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากกว่า
อันเนื่องมาจากอุปสรรคด้านภาษา ความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวไทยมุสลิมรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ
หาว่าทางภาครัฐไม่เหลียวแลจึงทำให้มีความรู้สึกน้อยใจอยู่ลึก ๆ เมื่อมีสถานการณ์มากระทบ
หรือถูกยุยงก็จะเกิดการต่อต้านขึ้นมาทันที
๑๔. กรณีที่ข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีคนไทยมุสลิมอยู่น้อย สาเหตุสำคัญคือ
มาตรฐานการศึกษาของคนไทยมุสลิมส่วนใหญ่ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ จึงสอบเข้าตามเกณฑ์ของกระทรวง
ทบวงกรม ไม่ได้ประกอบกับรัฐขยายการศึกษาในพื้นที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้คนไทยมุสลิมส่งบุตรหลาน
ไปเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม (ปอเนาะ) แทน ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้โต๊ะครู
(Ustaz) (ซึ่งไม่มีความรู้ด้านสามัญ หรือวิชาชีพ) สามารถเปิดสอนได้
แนวทางในการแก้ปัญหา
๑. สร้างความเป็นธรรมในสังคม
โดยเฉพาะข้าราชการจะต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้ประชาชนทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม
ให้ความไว้วางใจ เป็นคนดี มีความเมตตากรุณาต่อประชาชนเท่าเทียมกัน
๒. ข้าราชการจะต้องไม่เป็นตัวเงื่อนไขในสังคม
ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ประพฤติกดขี่ข่มเหงประชาชนหรือดูถูกเหยียดหยามประชาชน
ไม่เอาตำแหน่งหน้าที่ ข้อกฎหมายระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ส่วนตนทำตนให้เป็นพี่เลี้ยง
ที่ปรึกษาที่ดีของประชาชน ให้ประชาชนศรัทธาไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งของสังคม
๓. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
โดยเฉพาะคนไทยมุสลิมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการเร่งพัฒนาทางเศรษฐกิจ
การคมนาคม การศึกษา และให้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
๔. นักการเมืองซึ่งเป็นผู้นำชุมชน ตัวแทนชุมชน ควรมีจิตสำนึกในหน้าที่ ใช้อำนาจหน้าที่ตามที่มีอยู่
โดยเฉพาะไม่เข้าไปเป็นผู้แสวงหาประโยชน์เสียเอง หรือบีบข้าราชการเพื่อประโยชน์ตน
และพวกพ้อง ไม่เข้าไปคุ้มครองผู้มีอิทธิพล หรือผู้ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย อันจะนำไปสู่ความปั่นป่วนในสังคม
๕. นักการเมืองไทยมุสลิม จะต้องไม่สร้างภาวะแตกต่างทางสังคมระหว่างไทยพุทธ
และไทยมุสลิม โดยหวังเพียงเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากคนไทยมุสลิม
โดยมิได้คำนึงถึงปัญหาความมั่นคงที่จะตามมา
๖. รัฐบาล โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงจะต้องทราบความเคลื่อนไหวในต่างประเทศ อันจะนำมาสู่แนวคิดแบ่งแยกดินแดน
ลัทธิเอาอย่าง
หรือการสนับสนุนการก่อการร้าย อันจะนำไปสู่ความไม่สงบในพื้นที่อย่างเช่น
กรณี ติมอร์ ตะวันออก อาเจะห์ในอินโดนิเซีย
หรือกลุ่มกบฎโมโร ในฟิลิปปินส์
|