| หน้าแรก | เล่าแจ้งแถลงไข | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
ตอบสมุดเยี่ยมชม
๑๕๐. คุณพรศักดิ์ เทพสิริ (Ponsak Thepsiri)
: ชื่นชมที่มีเว็บไซต์ที่ดี แลเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวสยาม
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ
๑๔๙. คุณพีรยุทธ จรูญวิทยาการ
: ขอแสดงความยินดีกับเว็บไซต์ "หอมรดกไทย" ที่ได้รับพระราชทานรางวัล ประกาศเกียรติคุณจาก สมเด็จพระเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ศกนี้ครับ
ขอให้เว็บไซต์นี้ มีส่วนในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ของความเป็นชาติไทยต่อไป
ขอขอบพระคุณ http:// www.anurakthai.com
ผู้จัดทำ : ขอบคุณมากครับ และในโอกาสนี้ คณะผู้จัดทำเว็บไซต์หอมรดกไทย
ขอแสดงความชื่นชมยินดี กับเว็บไซต์อนุรักษ์ไทยดอทคอม ที่ได้รับพระราชทานรางวัล ประกาศเกียรติคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม
๒๕๔๕ และขอให้เพิ่มพูนผลงานต่อไป เพื่อประโยชน์ของชาติไทย และชนชาวไทยเป็นส่วนรวม
นะครับ
๑๔๘. คุณ twat
: ผมชอบรูปแบบการลำดับเนื้อหา อยากให้มีเรื่องปุจฉา วิสัชนา เรื่องพระพุทธศาสนา
ในหลวงของเรากับพระเกจิอาจารย์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจทั่วไป และอยากให้มีเพลงที่ให้คติ
ความรักชาติ ความสามัคคี ในส่วนของชาติด้วย เพราะผมหาฟังไม่มี และไม่มีเทปขายด้วย
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับที่ให้ความเห็นมา
เรื่องปุจฉา วิสัชนา เรื่องพระพุทธศาสนา มีอยู่แล้วในเรื่องประชุมพระราชปุจฉา
ในกลุ่มเรื่องพระมหากษิตริย์ ซึ่งมีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เท่าที่ประมวลไว้แล้วมีอยู่ถึง ๗๖ พระราชปุจฉา
สำหรับเพลงที่ให้คติ ความรักชาติก็มีอยู่แล้วในเรื่องเพลงไทยให้สาระ ในกลุ่มของชาติ เพลงไทยให้สาระยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๖ กลุ่ม กลุ่มให้คติมีอยู่ ๔ เพลง กลุ่มให้รักชาติมีอยู่ ๑๙ เพลง และกำลังเพิ่มเติมต่อไปเรื่อย ๆ ครับ
๑๔๗. คุณเสรีภาพสัณจร
: ขอขอบคุณกับ web ดี ๆ อย่างนี้
ผู้จัดทำ : ขอบคุณเช่นกันที่ชมมา
๑๔๖. คุณสุพาพร
: กำลังค้นหาประวัติเมืองพิษณุโลก ได้ความรู้มากมายที่ต้องการ อ่านแล้วมีความสุขมาก
อยากได้เส้นทางของแม่น้ำประกอบเรื่อง ชื่อเมืองสองแควด้วย แต่ยังไม่ทราบว่าจะไปค้นจากตรงไหน
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับประวัติศาสตร์ไทย
ผู้จัดทำ : เรื่องเมืองพิษณุโลกยังไม่ได้นำลงครับ
แต่ก็จะต้องนำลงแน่นอนในอนาคต เพราะอยู่ในฐานะที่เป็นเมืองเก่าของไทย
๑๔๕. คุณ wsc
: ดีมากครับ อยากให้มีแบบนี้เยอะ ๆ ครับ
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ ก็ต้องช่วยกันครับ
๑๔๔. คุณณธีร์
: เป็นแหล่งองค์รวมความรู้ของชาติไทยที่น่าทึ่งมากครับ ขออนุโมทนา และยินดีช่วยสนับสนุนเผยแพร่ครับ
ผู้จัดทำ : ขอขอบคุณมากครับที่ช่วยกันเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติไทยเรา
๑๔๓. คุณฉัตรชัย จันทรประทีป
: ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความเป็นมาของความเป็นคนไทย เป็นสิ่งที่ "เรา" ชาวไทย พึงรับรู้ รับทราบ และ ควรทราบ ในความเป็นไทย ขอขอบคุณ ที่ท่านได้อำนวยสาระอันเป็นคุณมหาศาล ต่อหมู่มวลชนได้รับทราบ อย่างสมบูรณ์สาระ ครับ
ผู้จัดทำ : เป็นความรู้สึกที่ตรงกันครับ จึงได้เกิดงานนี้ขึ้นมา และยินดีมากที่เห็นประโยชน์
๑๔๒. คุณ จำลอง เปรมประสพโชค
: เนื้อหาดีครับ การนำเสนอเยี่ยม ผมกำลังทำรายงาน เรื่องวิถีชีวิตของประชาชนในสมัยอยุธยา ได้เนื้อหาเยอะเลยครับ หลากหลายมุมมองด้วย ขอบคุณที่สร้างเว็บไซต์ดี ๆ อย่างนี้ให้เป็นความรู้แก่ทุกคนครับ ขอบคุณมาก
ผู้จัดทำ : ยินดีมากครับที่เห็นประโยชน์ ขอให้นำไปใชัประโยชน์ให้สมประโยชน์เต็มที่นะครับ
๑๔๑. คุณนายฮ้อย
: ขอบคุณมากครับผมสำหรับเว็บดีๆ มีความรู้อย่างนี้ครับผม
ผู้จัดทำ : ก็ขอขอบคุณเช่นกันครับ
๑๔๐. คุณ Sureerut
: : เนื้อหาสาระดีมาก เหมาะสำหรับเด็กในวัยเรียนได้ค้นคว้า และเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจ ขอชื่นชม และให้กำลังใจค่ะ
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ ขอให้นำไปใชัประโยชน์ต่อไป
๑๓๙. คุณ VRRONG
: ยินดีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นกับทุกๆท่าน
ผู้จัดทำ : ยินดีครับ
๑๓๘. คุณพงษ์สิทธิ์
: ดีมากเลยครับ ได้ประโยชน์ ขอชมด้วยความจริงใจ เป็นสิ่งที่หาอ่านได้ยากครับ ขอให้กำลังใจครับ
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ ขอให้ใชัประโยชน์ต่อไป นะครับ
๑๓๗. รัญชรินทร์
: ชอบมากเลยคะ รัน เข้ามาในเว็บนี้เพื่อทำรายงาน เยี่ยม มาก เลย คะ ชอบคุณนะคะ........
ผู้จัดทำ : ยินดีครับ ขอให้ใชัประโยชน์ต่อไป นะครับ
๑๓๖. พ่อของลูกวัยเรียน
: ขอบคุณครับสำหรับเว็บฯดีๆทรงคุณค่านี้ ลูกๆของผมกำลังเรียนและได้อาศัยเป็นแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับพุทธศาสนา ขอขอบคุณอีกครั้งครับ
ผู้จัดทำ : ยินดีครับ ขอให้พิจารณาใชัประโยชน์ ให้สมประโยชน์เต็มที่นะครับ
๑๓๕. โปโป๑๖(popo_16)
: ขอบคูณค่ะที่ทำให้เด็กไทยได้เข้าถึงความเป็นไทยได้มากขึ้นแม้ในสื่ออินเตอร์เนต ไม่มีทรัพย์สินเงินทองมอบให้เป็นรางวัล แต่ขอเป็นกำลังใจ สนับสนุนเสมอค่ะ
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ ที่ให้กำลังใจ เป็นสิ่งที่มีค่ากว่า รางวัลอื่นใดมากครับ
๑๓๔. อนุโมทนา
: ไม่ได้ดูอะไรมากนอกจากส่วนของศาสนา ครับ ต้องขอบอกว่า ทำได้ดีมาก ไม่เคยคิดว่าหน่วยงานราชการ จะทำอะไรได้ดี เพราะ หัวเก่า ล้าสมัย โลว์เทค อืดอาด ไม่ทันกิน แต่ตอนนี้ เริ่มเปลี่ยนความคิดแล้ว ขออนุโมทนากับทุกท่าน สพพพุทธา นุภาเวน สพพธมมา นุภาเวน สพพสงฆา นุภาเวน สทา โสตถี ภวันตุ เต
ผู้จัดทำ : สาธุ ขอบคุณครับ
๑๓๓. คุณเพชรี
: ต้องการทราบคำขวัญวันเด็กปี 2544 กรุณาตอบด้วย ขอบคุณคะ
ผู้จัดทำ : คำขวัญวันเด็ก ไม่มีในหอมรดกไทยครับ
๑๓๒. คุณอาช (arch)
: เป็นพระคุณอย่างยิ่งที่มีผู้ที่สร้าง web นี้ขึ้นมา เหมือนจะช่วยชีวิตก็ว่าได้ เนื่องจากต้องทำรายงานส่งอาจารย์ ก็สามารถหาข้อมูลบางส่วนได้จากที่นี่ แต่ถ้าจะกรุณาอีกสักครั้ง ก็ช่วยลงข้อมูล เกี่ยวกับ วัด ในด้านสถาปัตยกรรมไทยก็ดีนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าคะ
ผู้จัดทำ : คุณอาช ลองเข้าไปดู ในเรื่องเมืองเก่าของไทย ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาติ ในหัวข้อ มรดกทางพระพุทธศาสนา จะมีเรื่องวัดในด้านสถาปัตยกรรมอยู่ไม่น้อยเลยครับ
๑๓๑. คุณสิธินี (Zitinee)
: เป็น web site ที่มีประโยชน์มาก
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ
๑๓๐. คุณครูหมูอ้วน
: ใช้เว็บของมรดกไทยเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับนักเรียนมาเป็นเวลาแรมปี แต่ไม่เคย เข้ามาเขียนสมุดเยี่ยม ทำ links ของหอมรดกไทยไว้ที่ www.thai.net/bunga/ นานแล้ว ครูสอนภาษาไทยที่ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ให้นักเรียนเข้ามาสืบค้นข้อมูลอยู่เสมอ ๆ กำลังรอการลงวรรณคดีเรื่องต่อ ๆ ไปค่ะ
ผู้จัดทำ : ได้เข้าชมเว็บไซท์ดังกล่าวแล้ว มีความหลากหลายดี และมีสาระประโยชน์ ดีใจที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ สำหรับเรื่องวรรณคดีนั้น ไม่ทราบว่าจะให้ลงเรื่องอะไรบ้างครับ
๑๒๙. คุณสุภาณี อรรถจินดา (Supanee Artachinda)
: ข้อมูลน่าสนใจมากค่ะ จะได้แนะนำเพื่อน ๆ ที่อยู่ต่างประเทศเข้ามาดู จะทำให้เกิดภูมิใจในบ้านเมืองของเรามากขึ้น และเป็นแหล่งความรู้ที่อาจจะถูกลืมไปบ้างแล้วให้รู้ขึ้นมาอีกที ขอขอบคุณผู้จัดทำมาก ๆ เลยค่ะ
ผู้จัดทำ : ก็ต้องขอขอบคุณคุณสุภาณีด้วย ที่มีใจเป็นกุศล ช่วยเผยแพร่มรดกชาวไทยออกไปให้กว้างขวาง เพื่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มพูลยิ่งๆขึ้นไป ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมของชาติไทยเรา
๑๒๘. คุณสมศักดิ์ ว (somsak)
: อยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับวันปิยมหาราช ขอความกรุณาช่วยล่างรายละเอียดให้ด้วย
ผู้จัดทำ : คุณลองเปิดดูเครื่อข่ายกาญจนาภิเษก
(http:// kanchanapisck.or.th/) แล้วไปดูที่โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ในหน้าแรกจะมีภาพสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกับหัวเรื่องว่า รำลึก
๒๓ ตุลาคม ปิยมหาราช จะมีเรื่องของพระองค์ท่าน พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์ อยู่เป็นจำนวนพอสมควร
๑๒๗. คุณพิษณุ (phitsanu)
: ขออนุญาตดาวน์โหลดรูปภาพเก่า ๆ ไปใช้ในงานเขียนเว็บ laemchabangcity.com
ด้วย มีภาพกองทัพไทยสมัย ร.๕ และพระราชวัง และภาพเมืองเก่าอีกสองสาม
ผู้จัดทำ : ได้เปิดดูเว็บ laemchabangcity.com
ดูแล้ว พบแต่หน้าแรก ไม่สามารถเข้าไปดูรายการตามที่ปรากฏอยู่ในดัชนีเรื่องทั้ง
๑๕ เรื่องได้เลย
๑๒๖. คุณเอื้อมพร โชคช่วยอำนวย : ข้อมูลแนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยและข้อขัดแย้งสัก ๕ แนวคิด
ผู้จัดทำ : เท่าที่ประมวลเอาไว้ ๔ แนวคิดก็ไม่น้อยแล้วนะครับ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีแนวคิดอื่นที่น่าเชื่อถือได้ ก็จะนำมาลงเพิ่มเติมให้ครับ ว่าแต่คุณเอื้อมพรพอจะมีแนวทางอื่น ๆ นอกจาก ๔ แนวดังกล่าวที่เห็นว่าน่าจะมีเหตุผล และน่าเชื่อถือก็ขอผมบ้างนะครับ
๑๒๕. คุณพิง ๗๒ (Ping ๗๒) : อยากขอข้อมูลบางส่วนไปทำโครงงานเว็บไซต์
ผู้จัดทำ : ยังไม่ทราบว่าคุณพิงต้องการข้อมูลส่วนใดไปทำโครงงานเว็บไซต์ และทำเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ขอรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยครับ
๑๒๔. คุณยศธน เหลืองเรืองโรจน์ : ถ้าจะนำเรื่องและรูปพระราชพิธี ๑๒ เดือน ไปจัดทำเป็นปฎิทินได้หรือไม่ และไม่ทราบว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วยหรือเปล่า
ผู้จัดทำ : ข้อมูลดังกล่าวเป็นสมบัติของคนไทยทั้งชาติ ผู้จัดทำโครงการนี้ เพียงแต่แสวงหาและนำเสนอข้อมูลดังกล่าว มาเผยแพร่มรดกไทยให้ทราบทั่วกัน ไม่มีสิทธิที่จะทำอะไรมากไปกว่านั้นครับ คุณลองไปขออนุญาตกรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รักษาสมบัติของชาติ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าครับ
๑๒๓. คุณศักดิ์ดา (Sakda) : อยากให้ผู้ทำเรื่องอาณาจักรเสียม เสียมหลอ หรือศรีโพธิ และเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยที่อำเภอไชยา หรือเมืองปาเล็มบัง รวมถึงความเป็นมาของอาณาจักรทะเลจีนใต้ที่อยู่บริเวณแหลมมลายู ซึ่งอาจรวมจังหวัดทางภาคใต้ของไทยมาลงด้วย
ผู้จัดทำ : เป็นเรื่องที่น่าสนใจ คิดว่าถ้าสามารถรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้สมบูรณ์มากพอ ก็จะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไป ตอนนี้มีเพียงภาพเสียมกุก หรือภาพกองทัพไทยที่สลักไว้ที่นครวัดที่ไปถ่ายมาเมื่อครั้งไปชมนครวัด ส่วนภาพอื่น ๆ คงจะหายากพอสมควร ถ้าคุณศักดิ์ดามีข้อมูลก็ส่งมาสนับสนุนด้วยนะครับ
๑๒๒. คุณชำนาญ ชื่นโชติกิตติ
: น่าจะมีเรื่องเกี่ยวกับสงคราม ๙ ทัพ อย่างละเอียด ผมติดตามตลอด ดีมากเลย เรื่องแบบนี้หาข้อมูลยาก อีกอย่างน่าจะมียุทธวิธีในการรบ การจัดทัพ การเตรียมเสบียงอย่างละเอียด และมีรูปประกอบด้วย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่คนรุ่นหลัง
ผู้จัดทำ : อยู่ในแผนที่จะจัดทำเร็ว ๆ นี้ กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่ อาจจะไม่ได้ครบถ้วนตามที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องรูป คอยดูต่อไปก็แล้วกันนะครับ
๑๒๑. คุณยุทธ (Yut)
: ติดตามบ่อย ๆ ครับ เว็บนี้ดีมีสาระ ผมชอบ
ผู้จัดทำ : ขอขอบคุณครับ ขอให้ติดตามต่อไปครับ
๑๒๐. คุณสมสกุล (Somsakul)
: ขอทราบเรื่องไพ่ไทย
ผู้จัดทำ : ไพ่เป็นอบายมุขชนิดหนึ่ง มีประโยชน์น้อย มีโทษมาก คงจะไม่แสวงหามาลง ณ ที่นี้
๑๑๙. คุณรัชพล สูงสิริ
: รูปภาพในเว็บสวยหลายรูป แต่ผมเสียดายที่ไม่สามารถ ที่จะขยายภาพให้รูปใหญ่ขึ้นได้ ผมจึงเขียนมาเพื่อให้ทาง
เว็บมาสเตอร์ ช่วยแก้ไขส่วนนี้ด้วย เพื่อที่จะนำรูปภาพไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากหลาย เหตุเพราะรูปภาพหลายรูปหาได้ยาก และน่าที่จะเผยแพร่
ช่วยทำให้รูปภาพขายใหญ่ได้ด้วยการคลิกที่รูปภาพ
ผู้จัดทำ : เนื่องจากภาพต้นฉบับมีจำนวนมาก แตกต่างกันทั้งขนาด รูปร่าง ความคมชัด และใช้พื้นที่ในการเก็บมาก การนำเสนอในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีความมุ่งหมายเพื่อให้เห็นภาพประกอบ พอเป็นสังเขปเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วในการนำเสนอ และประหยัดเนื้อที่ในการเก็บ
๑๑๘. คุณปลา
: ชอบเว็บที่ทำได้ดีอย่างนี้ ได้ความรู้มาก อยากให้มีเว็บบอร์ดสนทนากันเรื่องอุทยานประวัติศาสตร์
ผู้จัดทำ : กำลังพิจารณาอยู่ครับ
ไม่เฉพาะแต่อุทยานประวัติศาสตร์เท่านั้น
๑๑๗. พระมหาอภิศักดิ์
: เป็นเว็บที่ดีมาก ขออนุญาตนำไปลิ้งก์กับเว็บของวัด เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เจริญพรทุกท่านที่มีส่วนร่วม
ผู้จัดทำ : นมัสการพระคุณเจ้า ยินดีครับเพื่อให้เกิดประโยชน์กว้างไกลขึ้นไป
นมัสการมาด้วยความเคารพ
๑๑๖. คุณอาทิตย์ ประสาทแก้ว
: ขอขอบคุณและชมเชยทีมงานที่ใช้ความพยายาม เพื่ออนุรักษ์มรดกไทย ให้ลูกหลานได้ทราบความเป็นไทย
น่าเสียดายที่ยกเลิกการเรียนประวัติศาสตร์ไทย อยากให้นำเอาเรื่องสงครามเอเซียบูรพาที่ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน
และกวาดต้อนผู้คนเป็นเชลยจนเกิดเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ จำนวนมากยังไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริง
ผู้จัดทำ : สงครามมหาเอเซียบูรพาที่นำเสนอเป็นข้อมูลที่ควรทราบโดยทั่วไป
ไม่ได้เน้นไปที่จุดหนึ่งจุดใดโดยเฉพาะ ขอขอบคุณที่ให้ข้อเสนอแนะมา ถ้ามีโอกาสอาจจะนำเสนอต่อไปครับ
๑๑๕. คุณนภัสพร ผสมทรัพย์
: เป็นเว็บที่ดีมาก ทำได้ม่าสนใจ ทำให้ได้รับความรุ้มาก เกี่ยวกับวัฒนธรรมต่าง
ๆ ของไทย ดีแล้วที่มีเว็บนี้มิฉะนั้นเด็กไทยรุ่นใหม่ ๆ คงไม่มีโอกาสได้รับความรู้แบบนี้
ขออนุญาตเอาข้อมูลที่มีในเว็บใช้งาน
ผู้จัดทำ : ยินดีและสมประโยชน์ที่ได้จักทำแล้วครับ
๑๑๔. คุณวราภรณ์ บุญท้วม
: พอดีเข้ามาหารายงาน ตั้งใจเข้ามาหาเว็บนี้ รู้สึกเว็บดีมาก ลึกดี
ภาพสวย สวยมาก เหมาะสมจริง ๆ และหลากหลายมาก
ผู้จัดทำ : ดีใจที่ได้ใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการ
๑๑๓. คุณโกมล นพรัตน
: ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ที่มอบให้
ผู้จัดทำ : ขอบคุณเช่นกันครับ
ที่ได้ทำให้เกิดประโยชน์
๑๑๒. คุณรุ่งนภา สินธุรักษ์
:
รู้สึกดีใจที่คนไทยมีเว็บไซต์ดีดี เพื่อให้เด็กไทยได้ศึกษาและนำไปเผยแพร่แก่รุ่นลูก
ๆ หลาน ๆ ต่อไป
ผู้จัดทำ : สมประโยชน์ที่ได้จักทำแล้วครับ
๑๑๑. คุณ Jonny
: เยี่ยมมากเลยครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยครับ
ผู้จัดทำ : สมประโยชน์ที่ได้จัดทำแล้วครับ
๑๑๐. คุณ Mean
: น่าสนใจ ขออนุญาต Link จาก Http : // Khonnarak. Hyperinart.net/
ผู้จัดทำ : เชิญเลยครับ
๑๐๙. คุณติสรณ ปุระมาศ
: เนื้อหาสาระครบครัน ไม่ต้องเสียเวลาไปหาที่อื่น ทุกอย่างดีหมด
ผู้จัดทำ
: สมประโยชน์ที่ได้จัดทำงานนี้ ขอให้ติดตามต่อไปครับ
๑๐๘. คุณสุธิดา ฯ (Suthida Chairaj)
: ขอปรบมือให้คณะผู้จัดทำ เป็นเว็บที่มีเนื้อหาสาระของประเทศไทย
และให้ความสำคัญต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
ซึ่งบรรพบุรุษได้ใช้เลือดเนื้อ และชีวิตแลกกับการคงอยู่ของผืนแผ่นดินนี้
ให้ลูกหลานไทยได้อาศัยจนทุกวันนี้ ขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไปครับ
ผู้จัดทำ : สมประโยชน์ที่ได้จัดทำงานนี้อย่างเต็มเปี่ยม
การเพิ่มเติมเนื้อหาสาระจะได้ดำเนินการไปตามลำดับต่อไปครับ
๑๐๗. คุณวศรุต
: ครบครันดีแต่ยังขาดความสมบูรณ์ เช่น กรณี ๔๗๔ หัวเมือง ให้ไปดูจากกฎหมายตราสามดวง
หมวดพระธรรมนูญ ว่าด้วยขอบเขตการปกครอง ซึ่งสมุหกลาโหมที่ครองได้ ๑๗ หัวเมือง
และเจ้าพระยาโกษาธิบดีที่ครองได้ ๘ หัวเมือง และบรรดาเมืองที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในสมัย
รัชกาลที่ ๒ - ๓ หัวเมืองล้านนา ๕๗ หัวเมือง เมืองลาวที่แบ่งออกเป็น
๔ ส่วน เมืองแขกปัตตานี ๗ หัวเมือง เมืองไทร (สตูล ปลิส เกาะหมาก
ปัตเตอร์เวิร์ธ และเคดาร์) กลันตัน ตรังกานู เป็นต้น
ผู้จัดทำ : ได้ไปดูกฎหมายตราสามดวงแล้วพบว่า
ในหมวดกฎมณเฑียรบาล มีเมืองที่ถวายดอกไม้ทองเงินอยู่ ๒๐ เมือง
เป็นเมืองฝ่ายเหนือ ๑๖ เมือง กับเมืองฝ่ายใต้ ๔ เมือง นอกจากนั้นยังมีเมืองพญามหานคร
แต่ถือน้ำพระพัท (น้ำพิพัฒน์สัตยา) อีก ๘ เมือง ส่วนเมืองที่ปรากฏอยู่ในหมวดพระธรรมนูญนั้น
หัวเมืองที่ขึ้นแก่เจ้าพญาจักรี ผู้ใช้ตราพระราชสีห์ ได้แก่หัวเมืองบรรดาขึ้นแก่มหาดไทย
มีอยู่ ๓๑ หัวเมือง (ไม่ใช่ ๓๗ หัวเมือง ตามที่คุณวศรุตบอกมา) หัวเมืองบรรดาขึ้นแก่กรมพระกระลาโหม
ผู้ใช้ตราพระคชสีห์ มี ๑๗ หัวเมือง หัวเมืองขึ้นแก่โกษาธิบดี
เจ้าพญาธรรมราชา ฯ ผู้ใช้ตราบัวแก้ว มี ๘ หัวเมือง
บันดาหัวเมืองทั้งหมดเหล่านี้มีอยู่หมดแล้วในทำเนียบหัวเมืองของไทย
๔๗๔ หัวเมือง จากจารึกวัดพระเชตุพน
เพียงแต่ว่าจารึกดังกล่าวลบเลือนไป ยังเหลืออยู่เพียง
๑๙๔ หัวเมือง จึงได้นำเสนอแต่เพียงนั้น
เพราะทำเนียบหัวเมืองจะมีข้อมูลว่า เมืองนั้นอยู่ที่ไหนเป็นเมืองชั้นใด
(เอก โท ตรี จัตวา) เจ้าเมืองชื่ออะไร (ตำแหน่งตามบันดาศักดิ์)
ถือศักดินาเท่าใด และขึ้นกับเมืองใด หรือหน่วยงานใด (กรมมหาดไทย กรมพระกระลาโหม
กรมท่า) ขอบคุณ คุณวศรุต ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมมาที่เป็นประโยชน์เพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
๑๐๖. คุณปิยวัฒน์ ฯ (Piyawat)
: ไม่นึกเลยว่าจะครบครันเช่นนี้ ไม่เสียเวลานั่งดูจริง ๆ ได้สาระมากมายและถูกใจจริง
ๆ
ผู้จัดทำ
: สมประโยชน์ที่ได้ทำงานชิ้นนี้แล้วครับ
๑๐๕. คุณ IQO
: ยอดเยี่ยมมาก ได้ประโยชน์มากจริง ๆ
ผู้จัดทำ
: สมประโยชน์ที่ได้จัดทำแล้วครับ
๑๐๔. คุณเสาวนีย์ เพชรทรัพย์
: ขอบคุณในเนื้อหาสาระที่มีมากมาย เป็นเว็บที่มีคุณภาพจริง ๆ
ผู้จัดทำ
: สมประโยชน์ที่ได้จัดทำแล้วครับ
๑๐๓. คุณ One
: ขอบคุณมากสำหรับเนื้อหาดี ๆ
ผู้จัดทำ
: ขอบคุณครับ
๑๐๒. คุณสุมน ฯ (Sumun)
: ขอบพระคุณอย่างสูง และอยากได้เป็นภาษาอังกฤษด้วย
ผู้จัดทำ
: กำลังแสวงหาอยู่ครับ มีผู้เสนออาสาอยู่บ้างต้องคอยไปอีกครับ
๑๐๑. คุณสำรวย ภักดีศิริวงษ์
: ได้ความรู้หลายสิ่งหลายอย่าง หลายมุมหลายด้าน ชอบพิเศษด้านวรรณคดี
ผู้จัดทำ
: สมประโยชน์ที่ได้จัดทำงานนี้แล้วครับ
| หน้าแรก | เล่าแจ้งแถลงไข | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |