อสิตดาบสเข้าเฝ้าเยี่ยม
|
-
เมื่อพระราชกุมารประสูติใหม่
ๆ อสิตดาบส
หรือ เรียกอีกนามหนึ่งว่า กาฬเทวิลดาบส
ซึ่งเป็นที่คุ้นเคย และนับถือของราชสกุล ได้ทราบว่าพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติ
จึงเข้าไปเยี่ยม พระเจ้าสุทโธทนะทรงอุ้มพระราชโอรส ออกมาเพื่อให้นมัสการพระดาบส
แต่ด้วยอภินิหารแห่งกุศลสมภารที่พระบรมโพธิสัตว์ ได้สั่งสมอบรมมาจนถึงพระชาติสุดท้าย
บันดาลให้พระบาททั้งสองของพระราชกุมาร ไปปรากฏเหนือเศียรแห่งดาบสเป็นอัศจรรย์
พระราชบิดาและพระดาบสจึงได้ยกหัตถ์ทั้งสองขึ้นประนตนมัสการ แด่พระราชกุมารบรมโพธิสัตว์
อันธรรมดานิยมว่า พระบรมโพธิสัตว์พุทธางกูร เมื่อถึงพระชาติสุดท้ายที่จะได้ตรัสรู้
พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้บำเพ็ญบารมีมาเต็มบริบูรณ์ เป็นเอกอัครมหาบุรุษรัตน์
อันบุญฤทธิ์กฤษดาภินิหาร หากให้เป็นไป จึงไม่ปรากฎว่าถวายนมัสการผู้หนึ่งผู้ใดเลย
|
โกณทัญญพราหมณ์ถวายคำพยากรณ์เจ้าชายสิทธัตถะ
|
-
เมื่อพราหมณ์
8 คน เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะ ณ พระราชนิเวศน์ กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อถวายพยากรณ์พระศิริลักษณ์
พระสิทธัตถะราชกุมาร ซึ่งเพิ่งประสูติใหม่
-
ในพราหมณ์ทั้ง
8 คนนั้น มีจำนวน 7 คน ที่เจริญด้วยวัยวุฒิ ได้ถวายพยากรณ์รวมกันเป็น 2 คติว่า
พระกุมารนี้ ถ้าอยู่ครองราชสมบัติ จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์มหาราชาธิราช
ถ้าออกทรงผนวช จะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นศาสดาเอกในโลก โดยยกนิ้วมือ 2 นิ้วยืนยันพยากรณ์ดังในภาพ
ส่วนพราหมณ์โกณทัญญะยังหนุ่ม
(พราหมณ์ผู้นั่งหลังและมีผมดำ) แต่สูงด้วยวิทยาคุณ ได้ถวายพยากรณ์เป็นคติเดียว
โดยยกนิ้วมือนิ้วเดียวยืนยันว่า พระราชกุมารพระองค์นี้ จะไม่อยู่ในราชสมบัติ
จะเสด็จออกทรงผนวช และตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน
ไม่เปลี่ยนแปลง |
พระฉายของเจ้าชายสิทธัตถะไม่เอนเอียงไป
|
-
ในสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารยังทรงพระเยา
มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ครั้นเมื่อนักขัตฤกษ์วัปปะมงคลพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
อันเป็นขัตติยะประเพณีนิยมมาถึง พระเจ้าสุทโธทนะจึงโปรดให้เชิญพระราชโอรสเสด็จไปในพระราชพิธีนั้นด้วย
เมื่อเสด็จถึง จึงตรัสสั่งให้ข้าราชบริพาร ประดิษฐ์พระราชอาสน์ เป็นที่ประทับสำหรับพระราชโอรส
ณ บริเวณต้นหว้าใหญ่
ส่วนพระราชบิดาก็เสด็จไปทรงประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญ
-
พระกุมารประทับอยู่โดยลำพัง
จึงทรงประทับนั่งขัดสมาธิบัลลังก์ ดำรงพระสติ กำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก เจริญพระอานาปานสติกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมญาณ
เป็นสัมโพธินิมิตเป็นที่อัศจรรย์ แม้ดวงอาทิตย์จะบ่ายคล้อยลงไป แต่เงาของต้นหว้า
ยังตั้งตรงดำรงอยู่ประดุจเวลาเที่ยง มิได้เอนเอียงไปตามแสงอาทิตย์ ครั้นพระพี่เลี้ยงกลับมา
เห็นความอัศจรรย์ดังกล่าว จึงรีบกลับไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะให้ทรงทราบ เมื่อพระองค์เสด็จมาทอดพระเนตรเห็นปรากฎการณ์นั้น
จึงได้ถวายบังคมพระราชโอรส โดยนิยมกำหนดในบุญญาภินิหารบารมี
|
ทรงแข่งธนูแผลงศร
|
-
เป็นขัตติยประเพณี
พระศากยกุมารจะต้องศึกษาวิชายุทธศิลป์ อย่างชำนิชำนาญให้สมกับพระนามว่าขัตติยะ
ซึ่งแปลว่านักรบ เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงศึกษายุทธศิลป์มาโดยช่ำชอง
จนพระกิติศัพท์เลื่องลือไปทั่วทุกแว่นแคว้นในชมพูทวีป
ก่อนที่พระองค์จะทรงอภิเษกสมรส พระองค์ได้ทรงแข่งขันการยิงธนู แผลงศร ซึ่งเป็นยุทธศิลป์ชั้นสูงในสมัยนั้น
ปรากฎว่า ทรงชนะเลิศในการแข่งขันอย่างง่ายดายแม้เจ้าชายเทวทัตคู่แข่งสำคัญที่มีฝีมือก็ไม่สามารถสู้ได้
แสดงถึงความเป็นเลิศของพระองค์ แม้ทางโลกียวิสัย สมพระวาจาที่ทรงเปล่งเมื่อตรัสรู้แล้วว่า
เราเป็นผู้เลิศในโลก |
เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษก
|
-
เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรสกับ
เจ้าหญิงยโสธราพิมพา
ที่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา
-
ในภาพ ฝ่ายเจ้าหญิงอยู่ด้านซ้าย
เจ้าชายอยู่ด้านขวา ทั้งสองพระองค์ประทับบนพระแท่นพิธี มีพระภูษาลาดเป็นพระราชอาศน์เป็นเครื่องหมาย
บรรดาผู้ที่นั่งบนแท่นต่ำลงไป ถัดไปทางเบื้องปฤษฎางค์เจ้าชายและเจ้าหญิง
เป็นเพื่อนฝ่ายเจ้าบ่าว และฝ่ายเจ้าสาว มีบายศรีประดิษฐานอยู่ท่ามกลางระหว่างทั้งสองฝ่าย
ภายในพระพิธีมณฑล
-
ชั้นล่างมีคณะพราหมณ์กำลังเบิกแว่นเวียนเทียน
นั่งอยู่ทางกลุ่มด้านขวา ส่วนกลุ่มด้านซ้ายเป็นพวกหญิงพนักงานและข้าเฝ้า
|
เจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับราชรถชมบริเวณพระราชวัง
-
เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จประพาสอุทยาน
สี่วาระ โดยลำดับกัน ทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง
สี่คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ อันเทวดาแสร้งเนรมิตไว้ในระหว่างทาง
ทรงสังเวชพระหฤทัยเพราะเหตุได้ทรงเห็น เทวทูตทั้ง สี่ข้างต้น อันพระองค์ยังไม่เคยทรงพบมาเลยในกาลก่อน
และทรงพอพระทัยในบรรพชา เพราะได้เห็นสมณะเทวทูต วาระที่สี่ เป็นเหตุให้พระองค์
เสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์บำเพ็ญบารมีธรรม จนได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
เจ้าชายสิทธัตถะทรงสละราชโอรสและพระชายา
|
-
เมื่อกาลเวลาผ่านไป
ความจริงค่อยปรากฎชัดแก่เจ้าชายสิทธัตถะ ธรรมชาติแห่งความคิดนึกตรึกตรอง และพระมหากรุณาของพระองค์
ไม่ยอมให้พระองค์เสวยความเพลิดเพลินในราชสำนักต่อไป พระองค์ไม่รู้จักความทุกข์เลย
แต่รู้สึกสงสารมนุษยชาติผู้มีความทุกข์ ทรงเบื่อหน่ายต่อความสุขอย่างชาวโลก
จึงได้เสด็จหนีจากวังในเวลาดึกเพื่อออกบรรพชา ด้วยทรงเห็นสาวสนมนางใน
และพวกเล่นดนตรีทั้งหลาย นอนกลิ้งเกลือกอยู่ ไม่เป็นที่น่ายินดี
ทรงเห็นสภาพเหล่านี้ ประกอบกับความสงสารในหมู่ประชา จึงทรงตัดสินพระทัย
ทิ้งพระชายาและพระโอรสผู้บรรทมอยู่บนพระแท่น ในราตรีกาลนั้น
|