| หน้าแรก | หน้าต่อไป | ชาติไทย | ศาสนา | พระมหากษัตริย์ | |
พุทธศาสนพิธี
พุทธศาสนพิธี คือแบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่พึงปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา
เหตุที่เกิดมีพุทธศาสนพิธี ก็เนื่องมาจากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า
โอวาทปาติโมกข์
พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักการสำคัญไว้สามประการ คือ
ในคำสอนของพระพุทธศาสนา
ด้วยหลักการทั้งสามประการนี้ พุทธศาสนิกชนต้องพยายามเลิกละความประพฤติชั่วทุกอย่าง
จนเต็มความสามารถ พยายามสร้างกุศลสำหรับตนให้พร้อมเท่าที่จะสามารถทำได้ และพยายามชำระจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ
ทั้งหมดเป็นการพยายามทำดีที่เรียกว่า ทำบุญ
การทำบุญนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุคือ ที่ตั้งอันเป็นทางไว้โดยหลักย่อ ๆ
สามประการเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ
อันประกอบด้วย
สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง
สพฺพปาปสฺส อกรณํ
สอนให้อบรมกุศลให้ถึงพร้อม
กุศลสูป สมฺปทา
สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องแผ้ว
สจิตต ปริโยทปนํ
ทาน
การบริจาคของ ของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
ศีล
การรักษา กาย และ วาจาให้สงบเรียบร้อยไม่ล่วงบัญญัติที่ห้ามไว้
ภาวนา
การอบรมจิตใจให้ผ่องใสในทางกุศล
บุญกิริยาวัตถุ เป็นแนวทางให้พุทธศาสนิกชนประพฤติบุญตามหลักการดังกล่าวข้างต้น
และทำให้เกิดพุทธศาสนพิธีต่าง ๆ ขึ้น คือเมื่อพุทธศาสนิกชนทำบุญไม่ว่าจะปรารภเหตุใด
ๆ ก็ให้เข้าหลักบุญกิริยาวัตถุทั้งสามประการนี้ โดยเริ่มต้นมีการรับศีล ต่อไปเป็นภาวนาด้วยการสวดมนต์
จบลงด้วยการบริจาคทาน
เมื่อพิธีกรรมใดเป็นที่นิยม และรับรองปฏิบัติสืบ ๆ มาจนเป็นประเพณี พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนพิธีขึ้น
ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อแยกเป็นหมวด พอจะแบ่งออกได้เป็นสี่หมวดด้วยกัน
คือ
หมวดกุศลวิธี
ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล
หมวดบุญพิธี
ว่าด้วยพิธีทำบุญ
หมวดทานพิธี
ว่าด้วยพิธีถวายทาน
หมวดปกิณกะ
ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด
กุศลพิธี คือพิธีกรรม อันเกี่ยวด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนา ทั้งตัวบุคคลและหมู่คณะ
ได้แก่ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พิธีรักษาอุโบสถ
ส่วนพิธีเข้าพรรษา พิธีถือนิสสัย พิธีทำสามีจิกรรม พิธีทำวัตรสวดมนต์ พิธีกรรมวันธรรมสวนะ
พิธีสังฆอุโบสถ และพิธีออกพรรษา เป็นพิธีกรรมที่พระภิกษุสงฆ์พึงปฏิบัติเพื่อความดีงามในพระวินัย
บุญวิธี
บุญวิธี คือพิธีทำบุญ หรือทำความดีเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัวของพุทธศาสนิชน
เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตของคนทั่วไป แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ทำบุญงานมงคล
และทำบุญงานอวมงคล นอกจากนี้ยังมีงานทำบุญร่วมกันเป็นส่วนรวม ของชุมชนในระดับต่าง
ๆ
งานหลักของการทำบุญ คือการเลี้ยงพระ เรียกว่า การทำบุญเลี้ยงพระ
มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ แล้วถวายภัตตาหารกับถวายทานอย่างอื่นแด่พระภิกษุสงฆ์
เป็นอันเสร็จพิธี
การทำบุญงานมงคล ได้แก่ การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ เพื่อความเป็นศิริมงคล ส่วนการทำบุญงานอวมงคล เป็นการทำบุญเกี่ยวกับการตาย
มีการทำบุญหน้าศพและการทำบุญอัฐิ
พิธีฝ่ายสงฆ์ มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีสวดพระพุทธมนต์ พิธีสวดพระอภิธรรม
พิธีสวดมาติกา พิธีสวดแจง พิธีสวดถวายพรพระ พิธีอนุโมทนาในกรณีต่าง ๆ พิธีพระธรรมเทศนา
และพิธีพิเศษเฉพาะงาน เช่น พิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหนะ เป็นต้น
ทานพิธี คือพิธีถวายทานต่าง ๆ เป็นการถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน ในพระพุทธศาสนาเรียกวัตถุที่ควรให้เป็นทานว่า
ทานวัตถุ
จำแนกได้เป็นสิบประการคือ ภัตตาหาร น้ำ ผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ มาลัย
และดอกไม้เครื่องบูชาต่าง ๆ ของหอม หมายถึงธูปเทียนบูชาพระ เครื่องลูบไล้
เครื่องที่นอนอันควรแก่สมณะ ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป
การถวายทานนิยมทำสองอย่างคือ ถวายเจาะจงเฉพาะภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เรียกว่า
ปาฏิปุคลิกทาน
และถวายไม่เจาะจงภิกษุรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์เรียกว่า สังฆทาน
การถวายทานวัตถุทั้งสิบประการดังกล่าวมีคำถวายแตกต่างกันออกไป แยกออกได้เป็นพวก
ๆ ตามปัจจัยเครื่องอาศัยสี่อย่างของบรรพชิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานเภสัช การถวายทานนิยมถวายเป็นสองแบบคือ ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้น
ๆ เรียกว่า กาลทาน
และถวายไม่เนื่องด้วยกาลอีกแบบหนึ่ง
ในการประกอบพุทธศาสนพิธี พุทธศาสนิกชนจะปฏิบัติตนด้วยความเรียบร้อย สำรวม
ด้วยอาการอันแสดงความเคารพตลอดพิธี มีวิธีการปฏิบัติที่ถือกันเป็นประเพณี
เช่น วิธีแสดงความเคารพพระภิกษุ วิธีประเคนของแด่ภิกษุ วิธีทำหนังสืออาราธนา
และทำใบปวารณาถวายจตุปัจจัย วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม วิธีกรวดน้ำ
วิธีจับด้ายสายสิญจน์ วิธีตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป และพิธีของพระภิกษุสงฆ์ก็มีวิธีบังสุกุลในพิธีทำบุญอายุ
และพิธีศพ วิธีบอกศักราชในการแสดงพระธรรมเทศนา
พุทธศาสนพิธี มีระเบียบพิธีโดยเฉพาะในแต่ละพิธี งานต่าง ๆ ตามประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
งานวันนักขัตฤกษ์ และเทศกาลต่าง ๆ จะมีพุทธศาสนพิธีแทรกอยู่ทั้งสิ้น เช่นงานมงคลสมรส
งานทำบุญฉลองต่าง ๆ งานศพ งานวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ฯลฯ
พระราชพิธีพระราชกุศลและรัฐพิธี
งานพิธีตามประเพณีไทย จะมีพิธีทางพระพุทธศาสนาประกอบอยู่ด้วย พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะ
และเอกอัครศาสนูปถัมภก ดังนั้นในงานพระราชพิธี พระราชกุศล และรัฐพิธีต่าง
ๆ จึงมีพุทธศาสนพิธี ซึ่งเรียกว่า พิธีสงฆ์ เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น
พระราชพิธี
เป็นงานหลวงสำหรับพระมหากษัตริย์ จัดขึ้นประจำตามกำหนดกาล โดยเป็นพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล
ประกาลหนึ่ง และเป็นการพิเศษที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดเป็นงานพระราชพิธีอีกประการหนึ่ง
งานพระราชพิธีประการแรก เป็นงานที่กำหนดเป็นประจำตามกำหนดกาลที่เวียนมาถึงทุกรอบปี
เช่นพระราชสงกรานต์ พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
เป็นต้น
งานพระราชพิธีบางงานมีแต่พิธีสงฆ์อย่างเดียว บางงานก็มีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์ร่วมกัน
และบางทีก็มีพิธีโหรรวมอยู่ด้วย พิธีสงฆ์มีเจริญพระพุทธมนต์ เทศน์ สดับปกรณ์
งานพระราชกุศล
เป็นงานที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล บางงานก็ต่อเนื่องกับงานพระราชพิธี
เช่น พระราชกุศลทักษิณานุปาทาน พระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุรพการี จัดทำต่อเนื่องกับงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
หรือพระราชพิธีฉัตรมงคล งานที่ไม่เกี่ยวกับงานพระราชพิธีก็มี เช่น พระราชกุศลมาฆบูชา
เป็นต้น
รัฐพิธี
เป็นงานพิธีที่รัฐบาล หรือทางราชการ กำหนดขึ้นประจำปีโดยเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการประกอบพิธี เช่น รัฐพิธีที่ระลึกวันจักรี
รัฐพิธีที่ระลึกวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น งานใดจะจัดให้มีพิธีสงฆ์ด้วยหรือไม่นั้น
สุดแต่สำนักพระราชวังจะกำหนด และนำความขึ้นกราบบังคมทูล
| หน้าแรก | หน้าต่อไป
| ชาติไทย | ศาสนา | พระมหากษัตริย์ |
บน |