| หน้าแรก | ชาติไทย | ศาสนา | พระมหากษัตริย์ |
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
ความเห็นของกรรมการพิจารณารายงานของนาย
อาร์.ดี.เครก
เรื่องเทศบาลในกรุงเทพมหานคร
เมื่อ ๓๐ มกราคม ๒๔๗๒
ตามที่โปรดเกล้า ฯ ให้หม่อมเจ้าสกลวรรณากร เจ้าพระยามุขมนตรี..... เป็นกรรมการพิจารณารายงานของ
นาย อาร์.ดี.เครก. เรื่องเทศบาลในกรุงเทพมหานครนั้น..... เห็นต้องกันว่ารายงานของนาย
อาร์.ดี.เครก..... เป็นแต่ส่วนหนึ่งของโครงการใหญ่แห่งเทศบาลเท่านั้น
ส่วนข้อปัญหาในรายงานอันจะฟังหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก็มีเพียง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้
๑. เรื่องการเลือกกรรมการเทศบาลจากผู้เสียจังกอบ.....
กรรมการคณะข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า สำหรับข้อ ก. เรื่องเกรงจีนหรือชนต่างด้าวทั่วไป
จะได้มติเลือกเป็นส่วนใหญ่นั้น ยังมีทางที่จะหาลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์วางไว้สำหรับเลือกกรรมการสภา
เพื่อให้บังเกิดผลอันพึงปรารถนา แก่กิจการของเทศบาลให้บริบูรณ์โดยห้ามมิให้เลือกบุคคล
ผู้ที่ไม่สามารถพูด และอ่านภาษาไทยได้ดี
ผู้ที่ไม่เสียจังกอบ
ฯลฯ
ในชั้นต้นนี้ควรให้มีระเบียบการตั้งและการเลือกด้วยกันทั้ง ๒ อย่าง แต่ต้องจำกัด
ให้จำนวนบุคคลในประเภทที่แต่งตั้งมีมากกว่าจำนวนประเภทที่เลือก ทั้งควรมีเงื่อนไขประกอบไว้ด้วย.....
๒. นาย เดรก มีความเห็นว่า
ก. ควรตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาขึ้นคณะหนึ่ง มีอธิบดีกรมนคราธรเป็นนายก
ข. คณะกรรมการที่ปรึกษานี้ ควรได้แก่บุคคลตั้งขึ้นแทนสภาพานิชยของชาวยุโรป
สภาพานิชของชาวจีน คณแขกฮินดู และไทยผู้เสียจังกอบ
ค. ให้สภานี้ มีหน้าที่แต่ฐานเป็นที่ปรึกษา มิให้มีอำนาจในทางธุระการ
หรือในทางการเงิน
ฆ. ไม่ควรให้ ข้าราชการเป็นกรรมการนอกจากนายก
ง. ไม่ให้มหาชนเข้าไปในชุมนุมสภา
กรรมการคณะข้าพพุทธเจ้ามีความเห็นพ้องด้วยในข้อ ก..... ข้อ ข.นั้น..... เห็นว่ากรรมการเทศบาลควรเป็นผู้แทนผู้มีส่วนได้เสียในการเทศบาล..... หาควรเป็นตัวแทนของชน
ชาติหนึ่งชาติใดไม่..... ข้อ
ค.ที่ดังวงกั้น..... ไม่ชอบด้วยหลักการ..... ถ้าหากว่าสภาไม่ต้องมีความรับผิดชอบเสียเลย.....
จะหวังให้สภาสนใจในกิจการของเทศบาลแท้จริงอย่างไรได้.....
ส่วนข้อ ฆ. ที่ว่า..... ดูกระไรอยู่..... เพราะเหตุว่าข้าราชการย่อมทราบทางดำเนินของราชการได้ดีกว่า.....
ความเห็นในข้อ ง.ที่ว่า..... กรรมการคณข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความเห็นสอดคล้องด้วยเลย
เพราะสภาเป็นตัวแทนบุคคลผู้เสียดำจังกอบ จึงผู้เสียงจังกอบควรมีสิทธิ์มาสดับตรับฟังการปรึกษาหารือได้
แล้วแต่กรณี.....
๓ เรื่องรายได้ของเทศบาล นั้น นาย เดรก เห็นว่า
ก. ควรเก็บจังกอบร้านโรงเรียนในเขตเทศบาล
ข. มีพ่อค้าผู้ชำนาญในคณะกรรมการตีราคาทรัพย์อันต้องจังกอบ
ค. เมื่อเจ้าทุกข์เห็นว่าอัตราจังกอบ ที่ตีราคานั้นสูงมากเกินสมควรที่มีสิทธิ์ที่จะอุทรณ์ได้
ฆ. ควรยกเว้นจังกอบ สำหรับสถานที่ทำการของรัฐบาล โรงพยาบาล ปูชนียสถาน
และสุสาน
ง. ในชั้นแรกควรตั้งอัตรา จังกอบให้ต่ำไว้ก่อน
จ. ควรพิมพ์บัญชี..... เพื่อให้ทราบทั่วกัน
ฉ. ไม่มีความหวังว่ากรุงเทพพระมหานคร จะเลี้ยงตัวเองได้
คณะกรรมการข้าพระพุทธเจ้า มีความเห็นพ้อง..... ในข้อ ก. ว่าควรเก็บจังกอบในกรุงเทพ
ฯ แทนภาษีโรงงาน..... แต่ในข้อ ข. นั้นเห็นว่าไม่จำเป็นจะต้องกำจัดแต่เฉพาะพ่อค้าจำพวกเดียว
ส่วนข้อ ค. ถึง จ. เห็นพ้องด้วย แต่ข้อ ฉ. นั้นเชื่อแน่ว่า..... กรุงเทพ
ฯ พระมหานคร จะเลี้ยงตัวเองได้อย่างบริบูรณ์
๔ เรื่องวัตถุประสงค์นั้น นาย เดรก ระบุไว้เพียงแต่การทำถนน และบำรุงการสุขาภิบาล
ซึ่งเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่ายังไม่เพียงพอ แม้แต่สุขาภิบาลตามหัวเมืองในขณะนี้
ก็ยังมีการบำรุงกว่า ๔ ประเภท.....
พระราชกระแสต่อความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
เมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๗๓
ที่คิดร่างพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้นก็ดีแล้ว หวังว่าจะทำแล้วในเวลาไม่ช้านัก
เมื่อได้อ่านรายงานบันทึกความเห็นของกรรมการที่กระทรวงมหาดไทย ตั้งขึ้นพิจารณาความเห็นของนาย เดรก แล้ว มีความยินดีที่สังเกตว่า กรรมการไม่ใช่แต่เห็นควรมี municipality
ในกรุงเท่านั้น ยังเห็นว่าจะเลี้ยงตัวเองได้ด้วย ความเห็นของกรรมการนั้น
ข้าพเจ้าเห็นด้วยเปนส่วนมาก และถ้าจัดขึ้นได้อย่างนั้นจริง ข้าพเจ้าจะพอใจมาก
ที่จะรอการพิจารณาเรื่องกรุงเทพไว้ก่อน จนกว่าจะทำพระราชบัญญัติสำเหร็จนั้นก็ดีแล้ว
แต่ก็ควรคิดไปพลาง ๆ บ้าง เพราะข้าพเจ้าอยากเห็นกรุงเทพมี municipaliy
และเลี้ยงตัวเองได้
ก่อนข้าพเจ้าสิ้นชีวิต
หนังสือเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ถึงราชเลขาธิการ
เรื่องที่ชุมนุมชนสมุหเทศาภิบาลได้พิจารณารับร่าง
พระราชบัญญัติเทศบาล
เมื่อ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๗๓
ฯลฯ
.....บัดนี้กรรมการร่างพระราชบัญญัติเทศบาล..... ได้นำร่างนี้เสนอชุมนุมสมุหเทศาภิบาล
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศกนี้ ชุมนุมสมุหเทศาภิบาล ได้พิจารณาแต่เฉพาะข้อความที่ได้ทักท้วงขึ้นในที่ประชุม
และแก้ไขเพิ่มเติมบางแห่ง และได้อนุมัติให้เป็นร่างฉะบับสุดท้าย.....
พระราชกระแสต่อร่างพระราชบัญญัติเทศบาล
ฯ เมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๓
แจกเสนาบดีและที่ประชุมภายหลัง ส่งสำเนาประมาณหนึ่งเดือน บอกไปให้เสนาบดีทราบว่าจะประชุมกันเมื่อไรเสียทีเดียวก็ดี
จะได้รับตรวจกัน
หนังสือราชเลขาธิการไปถึง
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เรื่องโครงการและวัตถุประสงค์
แห่งการร่างพระราชบัญญัติเทศบาล เมื่อ ๓ มกราคม ๒๔๗๓
ฯลฯ
โครงการ และวัตถุประสงค์แห่งการร่าง พ.ร.บ. เทศบาลที่เจ้ากระทรวงถวายมาไม่มี
เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจดูเรื่อง ซึ่งจะเป็นการประกอบพระราชดำริ
ได้ความว่าเรื่องนี้ในชั้นเดิมเป็นพระราชประสงค์ที่จะให้จัด Municipality
ขึ้น จึงได้พระราชทานพระราชหัตถเลขา ส่งไปยังสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี
ฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ให้ทรงพระดำริ ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม
พ.ศ. ๒๔๗๖ เสนาบดีกระทรวงการคลัง ฯ กราบบังคมทูลพระราชปฏิบัติถึงเรื่องกระทรวงมหาดไทย.....
ทูลเกล้า ฯ ถวายบันทึกของ เสอรฺ เอ็ด วารฺด ดุ๊ก กับสำเนาหนังสือที่โต้ตอบกับกระทรวงมหาดไทย.....
เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งกรรมการพิจารณาทำโครงการในเรื่อง Municipality
ขึ้นแล้วก็ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ส่งสำเนารายงานของกรรมการมาถวายอีก ๒ คราว..... รายงานของคณะกรรมการฉบับหลังได้นำปรึกษาในเสนาบดีสภา
เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๗๑ ที่ประชุมเห็นว่าเป็นแต่ Preliminary report
จะต้องทดลองต่อไป
ต่อจากนั้นมาจนถึงกลางเดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จึงได้ทูลเกล้า
ฯ ถวายรายงานนาย อารฺดี.ดี.เดรก ประธานกรรมการที่ได้ไปดูการในยุโรป ขึ้นมาว่า
กระทรวงมหาดไทยควรตั้งรูปการขึ้นเป็นพระราชบัญญัติก่อน และได้ตั้งกรรมการร่างพระราชบัญญัติ.....
โปรดเกล้า ฯ ว่าที่คิดร่างพระราชบัญญัตินั้นคงจะแล้วในไม่ช้า เพราะมีพระราชประสงค์จะได้ทรงเห็นกรุงเทพ
ฯ มี Municipality และเลี้ยงตัวเองได้ในรัชกาลของพระองค์ ครั้นเมื่อกลางเดือน
ธันวาคมนี้ เสนาบดีมหาดไทย จึงได้ทูลเกล้า ฯ ถวายร่างพระราชบัญญัติขึ้นมาเรียกว่าพระราชบัญญัติเทศบาล.....
รายงานเสนาบดีสภา
ที่ ๓๓/๒๔๗๓ เมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๔๗๓
ฯลฯ
มีพระราชดำรัสว่า กระทรวงมหาดไทยทูลเกล้า ฯ ถวายพระราชบัญญัตินี้ขึ้นมา.....
ถ้าเสนาบดีต่าง ๆ มีข้อทักท้วงมาก เช่นเรื่อง principle ในร่าง จะส่งคำทักท้วงขึ้นมาก่อนคงจะสะดวกแก่การปรึกษา
เสนาบดีต่างประเทศกราบบังคมทูลว่า มีคัดค้าน principle บางแห่ง
สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ กราบบังคมทูลว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องแก่ราษฎรมาก
น่าจะโปรดเกล้าฯ ให้กรรมการองคมนตรี ปรึกษาและพิจารณาเรื่องนี้ก่อน
เพราะมีผู้รับราชการทุกหน้าที่ในคณะกรรมการองคมนตรีอยู่แล้ว
เสนาบดีต่างประเทศกับเสนาบดียุติธรรม กราบบังคมทูลว่า เห็นชอบด้วยกับพระดำริของ
สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ
โปรดเกล้า ฯ ให้กรรมการองคมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้
ฯลฯ
ร่างหนังสือ
เจ้าพระยามหิธร ถึงพระยาจินดาภิรมย์ เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๔๗๓
ฯลฯ
บัดนี้ทรงพระดำริว่า ถ้าหากปรากฎขึ้นภายหลังว่า หลักการที่วางไว้ในร่างไม่เหมาะ
จะต้องแก้วางหลักใหม่แล้ว ก็จะทำให้ต้องทบทวนชักช้าไป ทรงพระราชดำริเห็นควรให้กรมร่างกฎหมาย
พิจารณาเทียงเคียงหลักการกับประเทศที่เป็นอิศร เช่น ฝรั่งเศส ยี้ปุ่นดูก่อน
ว่าหลักการของเขาเป็นอย่างไร เหมาะสมกับฐานแห่งประเทศสยามหรือไม่
การโหวตและตั้งเทศมนตรีก็เป็นการสำคัญมาก แต่มีข้อควรคำนึงถึงพวกเสียภาษี
เพราะคงมีประเทศที่เป็นเจ้าของห้างร้านต้องเสียมาก ถ้าฉนี้ก็ควรให้เป็นรัฐบาลเลือกตั้งอย่างที่ชะวา
โปรดเกล้า ฯ ให้กรมร่างกฎหมาย พิจารณาตรวจทำบรรทึกความเห็นในส่วนหลักการทูลเกล้า
ฯ ถวายขึ้นมาก่อน
.....
รายงานเสนาบดีสภาที่
๓๔/๒๔๗๓ เมื่อ ๒๖ มกราคม ๒๔๗๓
ฯลฯ
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมกราบทูลว่า ได้รับกระแสพระบรมราชโองการให้กรม ร่างกฎหมายพิจารณา.....
ถ้าได้คำแปลเป็นภาษาอังกฤษ จากกระทรวงมหาดไทยด้วย จะดี
ผู้เป็นประธานตรัสว่า ตามประเพณีที่ใช้มาแต่ก่อน ผู้ได้รับสั่งให้พิจารณากิจการอันใดชื่อว่าเป็นต้นรับสั่ง
ถ้าใคร่จะได้ความรู้เห็นเพื่อประกอบการพิจารณา จากกระทรวงการอันใดสามารถเรียกเองได้
.....
เสนาบดีต่างประเทศกราบทูลว่า จะได้ทำความเห็นทูลเกล้า ฯ ถวายเรื่องหลักการเหมือนกัน
แต่ในชั้นนี้จะกล่าวเพียงสั้น ๆ เพียงเรื่อง qualication for right of vote
ว่าไม่สมควรวางหลักตามร่างกฎหมายเทศบาลนี้เลย เพราะเอา Rosident และ
property right เป็นหลัก ถ้าดังนั้นชาวไทย จะไม่ได้อยู่ใน Municipal
governing bodies เลย เพราะไม่มี qualifications เท่าชาวต่างประเทศ ตอนปลายจะแปลว่า
ชาวต่างประเทศ เช่น จีน และฝรั่ง จะมี political rights มากกว่าไทย
ซึ่งไม่มีในประเทศอื่นเลย เช่นในภูเก็ตเป็นต้น Municipal councillers
คงเป็นจีนทั้งหมด เมื่อชาวต่างประเทศตั้งต้นมี political rights ดังนั้น
ตอนปลายคงกำเริบอยากได้ politica rights มากขึ้นต่อไป ทั้งหลักการนี้เสียเกียรติยศแก่ชาวไทย
ประเทศสยามไม่ใช่ colony จะเอาอย่างสหรัฐมลายูเป็นการไม่สมควร แม้ในกฎหมายเทศบาลของสหรัฐมลายู
เขายังมี Safe guard clauses ดีกว่าเรา เขาจึงมี control ได้
เสนาบดียุตติธรรมกราบทูลว่า ไม่ควรให้ nationals รับสิทธิ์น้อยกว่าชาวต่างประเทศ
...............
หนังสือเสนาบดี
กระทรวงการต่างประเทศ ถึงราชเลขาธิการ
เรื่องความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
ฯ เมื่อ ๓๑ มกราคม ๒๔๗๓
ฯลฯ
ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่จะคัดค้านหลักการบางแห่ง ในร่างพระราชบัญญัติ
มีดังนี้คือ..... ไม่มีบทบังคับ จำกัดสิทธิในการเลือก หรือเป็นเทศมนตรีให้แก่เฉพาะคนพื้นเมือง
ไม่ว่าบุคคลใด สักแต่ว่าได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในกรุงสยามไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี
และมีทรัพย์อันมีค่าที่จะเก็บจังกอบของเทศบาลได้ ฯลฯ ตามความในมาตรา ๑๙ และ
๒๐ แล้วเป็นผู้เลือก และเป็นเทศมนตรีได้ทั้งสิ้น หลักการนี้ประเทศที่เป็นเอกราชย่อมไม่ใช้กันเลย
ทั้งเป็นภัยแก่กรุงสยามโดยฉะเพาะ ด้วยสิทธิทางการเมืองนั้นรัฐบาลย่อมไม่ให้แก่ใคร
นอกจากคนพื้นเมือง ในกรุงสยามตามจังหวัดและเมือง มีบุคคลที่เป็นจีนอยู่จำนวนมาก.....
ผลที่ได้รับก็คืออนุญาตให้คนต่างด้าว ซึ่งมีความสวามิภักดิ์ต่อประเทศอื่น
มามีอำนาจใหญ่ยิ่งในกิจการเทศบาลของกรุงสยาม บางแห่งอาจมีอำนาจควบคุมกิจการเทศบาลอย่างสมบูรณ์
เช่น กับที่มณฑลภูเก็ตเป็นต้น ซึ่งมีคนต่างด้าวตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นอันมาก
ในปรัตยุบันนี้ จีนมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงสยามเป็นจำนวนมาก ทั้งอำนาจทางเศรษฐกิจก็อยู่ในมือเขาเกือบหมดแล้ว
ฉะนั้น ถ้าฝ่ายเราจะออกพระราชบัญญัติตามหลักการที่กล่าวข้างบนนี้ ก็เท่ากับเราให้อำนาจในการเมืองแก่จีนด้วย
เท่ากระทรวงต่างประเทศทราบ ดูเหมือนจะมีน้อยรายที่อนุญาตให้ทั้งคนต่างด้าว
และคนพื้นเมือง มีสิทธิในการเลือก จะมีอยู่ก็แต่เทศบาลของเมืองขึ้น
เช่นกับ ฮ่องกง สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้ และ มะลิลา เป็นต้น แต่ลักษณะของเมืองเหล่านี้
ผิดกับที่เป็นอยู่ในกรุงสยามเป็นอันมาก คนต่างด้าวจะไม่รู้สึกเสียใจในการไม่ได้รับสิทธิทางการเมือง
เหมือนคนพื้นเมือง ฉะนั้น ถ้าจะจำกัดสิทธิอันนี้ไว้ให้แก่เฉพาะคนพื้นเมืองแล้ว
คนต่างด้าวก็คงไม่โกรธเคือง หรือรู้สึกว่าตนได้รับความอยุตติธรรมประการใดเลย
สิทธิในการเมืองนี้ ถ้าปล่อยให้เสียครั้งหนึ่งแล้ว ก็ยากที่จะถอนกลับคืนมาได้
เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า จะเป็นอันตรายมากที่จะทดลองให้สิทธิเช่นกล่าวนี้ แก่คนต่างด้าว
....ยังมีหนทางอื่น ซึ่งจะให้คนต่างด้าวช่วยเหลือในการนี้ได้โดยไม่ต้องเปิดให้คนทั่วไป
มีสิทธิ์เป็นผู้เลือก และเป็นเทศมนตรีได้โดยไม่เลือกสัญชาติ..... ประโยชน์ของไทยก็จะเป็นใหญ่อยู่ในเขตเทศบาล
ของไทยโดยที่ได้ควบคุมกิจการอย่างสมบูรณ์
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระราชบัญญัตินี้ ร่างขึ้นโดยอนุโลมตามแบบกฎหมายของ สเตรตส์
เสตเติลเมนต์ส หรือพิลิปปินส์ แต่เข้าใจว่า เวลานี้ในเมืองขึ้นทั้งสองที่กล่าวแล้ว
ก็ได้มีบทบัญญัติให้ตั้งเทศมนตรีในสภาเทศบาลนอกจากเลือกด้วยแล้วเหมือนกัน
ฯลฯ
พระราชกระแส
ต่อบันทึกที่กรมหมื่น เทววงค์ทูลเกล้า ฯ ถวาย เมื่อ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓
ข้าพเจ้าออกจะเห็นด้วยกับความเห็นนี้ ส่งให้กรมร่างกฎหมาย
ประชาธิปก
รายงานเสนาบดีสภา
ที่ ๓๕/๒๔๗๓ เมื่อ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓
เนื่องจากรายงาน ลงวันที่ ๒๖ มกราคม สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ ฯ กราบบังคมทูลว่า
เรื่องกฎหมายเทศบาลนี้ได้พยายามให้มี guarantee ไว้บ้างแล้ว สำหรับ right
of vote และ candidacy แต่เป็นอันเข้าใจว่า กระทรวงมหาดไทยยินดีที่จะฟังความเห็นของกระทรวงต่าง ๆ เสมอ
เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศกราบบังคมทูลว่า ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายความเห็นขึ้นมาแล้ว
เรื่องไม่ควรให้ political rights แก่ชาวต่างประเทศดังในร่างกฎหมายเทศบาลนี้
แต่ในบันทึกมีความดำริซึ่งนับว่าเป็น compromise ได้
เสนาบดียุติธรรมกราบบังคมทูลว่า คำแปลกฎหมายญี่ปุ่นสำหรับพิจารณาเรื่อง principle
นั้นยังหาไม่ได้
เสนาบดีต่างประเทศกราบบังคมทูลว่า กฎหมายญี่ปุ่นมักออกเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่จะลองค้นดูว่ามีคำแปลหรือไม่
เสนาบดียุติธรรมกราบบังคมทูลว่า ถ้าไม่มีคำแปลและกระทรวงต่างประเทศจะอนุเคราะห์ให้แปล
กรมร่างกฎหมายยินดีจะจ่ายเงินค่าแปลให้แก่กระทรวงต่างประเทศ
เสนาบดีมหาดไทยกราบทูลว่า คำแปลของร่างกฎหมายเทศบาลเป็นภาษาอังกฤษมีอยู่แล้วที่กระทรวงมหาดไทย
มีพระราชดำรัสว่าเรื่องนี้ได้ให้กรรมการองคมนตรีพิจารณา และให้กรมร่างกฎหมาย
พิจารณาร่าง Principles ในร่างนั้นด้วย.....
หนังสือราชเลขาธิการมีไปถึง
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ขอทราบว่ากรมร่างกฎหมายได้ดำเนินการ
เรื่องร่างพระราชบัญญัติเทศบาลได้เพียงใด
เมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๔
ฯลฯ
เนื่องจากหนังสือข้าพเจ้า ที่ ๑๖๐/๖๕๑๓ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๗๓ ดำเนินกระแสพระบรมราชโองการโปรดเกล้า
ฯ ให้กรมร่างกฎหมาย พิจารณาตรวจทำบันทึกความเห็นในส่วนหลักการแห่ง พระราชบัญญัติเทศบาลขึ้นมานั้น
บัดนี้ขอทราบว่าได้ดำเนินการไป เพียงใด
หนังสือเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ถึง ราชเลขาธิการ แจ้งให้ทราบว่า กรรมการกำลังตรวจ
พิจารณาเรื่องเทียบเคียงกับกฎหมายของประเทศอื่น
ๆ เมื่อ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๗๔
ฯลฯ
เรื่องนี้กรมร่างกฎหมายได้รับร่างพระราชบัญญัติเทศบาล ฉะบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากกระทรวงมหาดไทย
เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๗๔ และได้นำเสนอกรรมการร่างกฎหมายแล้ว ตั้งแต่ ๒๔
เมษายน ๒๔๗๔ เวลานี้กรรมการกำลังตรวจพิจารณาเรื่อง เทียบเคียงกับกฎหมายประเทศอื่น
ๆ
อนึ่งเนื่องแต่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้กรมร่างกฎหมายเทียบเคียงหลักการเรื่องนี้กับกฎหมายประเทศที่เป็นอิสระ
เช่นฝรั่งเศส และญี่ปุ่นด้วย กระทรวงยุติธรรมจึงได้ขอให้กระทรวงการต่างประเทศ
ช่วยหาบทกฎหมายญี่ปุ่นเพื่อประกอบการพิจารณา กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งมา
หนังสือที่ ก.๑๖/๖๙๕๖ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ กฎหมายในเรื่องนี้มีแต่เป็นภาษาญี่ปุ่น
ถ้าจะจัดการแปลออกเป็นภาษาต่างประเทศ จะกินเวลาประมาณ ๔ เดือน ข้าพเจ้าได้ตอบตกลงไปในเรื่องคำแปลนี้แล้ว
ฯลฯ
หนังสือราชเลขาธิการ
ถึงเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เมื่อ ๒๒ มีนาคม ๒๔๗๔
ฯลฯ
ตามหนังสือท่านที่ ๖๐/๑๓๒๘ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๗๔ ว่าการร่างพระราชบัญญัติเทศบาล
ยังขัดอยู่ด้วยยังไม่ได้กฎหมายญี่ปุ่นมานั้น เมื่อมีการพูดถึงกฎหมายเรื่องนี้
เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า กฎหมายนั้นได้มาแล้ว
พระราชบัญญัตินี้มีพระราชประสงค์ให้เสร็จไปโดยเร็ว
จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เรียนถามว่า การได้ดำเนินไปเพียงใด
เจ้าพระยามหิธร
หนังสือเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
ถึงราชเลขาธิการ เมื่อ ๒๕ มีนาคม ๒๔๗๔
ฯลฯ
เรื่องนี้ได้รับรายงานจากกรมร่างกฎหมายว่า กรรมการกรมร่างกฎหมาย ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
และทำการศึกษากฎหมายของประเทศอื่น ๆ เปรียบเทียบไว้บ้างแล้ว แต่ยังมิทันมีโอกาสประชุมปรึกษาหารือกัน
ก็เผอิญต้องตรวจพิจารณา และร่างพระราชบัญญัติหลายฉบับ อันเกี่ยวกับ เรื่องภาษีอากร
ซึ่งต้องทำเป็นการด่วน จำเป็นต้องระงับเรื่องนี้ไว้จนกว่าจะทำร่างพระราชบัญญัติ
ภาษีอากรให้เสร้จเสียก่อน จึงจะดำเนินการต่อไป
ฯลฯ
เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
พระราชกระแส
เมื่อ ๒๖ มีนาคม ๒๔๗๔
ทราบเรื่องนี้รอมานาน จนคนบางคนว่าเรา "เอาเข้าลิ้นชัก"เสียแล้ว
คำกราบบังคมทูล
ของเสนาบดี กระทรวงบูรธาธร (กรมราชเลขาธิการ) เมื่อ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๗๔
ฯลฯ
ตามที่หนังสือพิมพ์บางกอกการเมือง ประจำวันที่ ๒๖ เดือนนี้ ลงข่าวเรื่องพระราชบัญญัติเทศบาลว่า
กรมร่างกฎหมายได้ตรวจร่างเทศบาลเรียบร้อย และได้ส่งกลับคืนไปยังกระทรวงบูรธาธรสักเดือนได้แล้ว
ต่อจากนั้นจะไปอยู่ที่ใดข่าวยังเงียบอยู่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาศ
กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ข่าวนี้ไม่จริง โดยยังไม่ได้รับร่างจากกรมร่างกฎหมาย
เมื่อวานนี้ยังได้เตือนเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศถึงเรื่องนี้อยู่
ฯลฯ
ทราบเห็นจะทำไม่รู้เสียได้
ปปร.
ข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกการเมือง
เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕
ฯลฯ
เกี่ยวด้วยเศรษฐกิจตกต่ำ
และกำลังพลเมืองที่จะเสียภาษี
.....ผู้แทนของเราได้เรียนถามพระยาราชนกุล ฯ ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย
และได้คำจากเลขานุการของพระยาราชนกุล ฯ ว่า ร่างบัญญัติเทศบาล กระทรวงมหาดไทยได้ส่งไปยังกรมราชเลขาธิการทูลเกล้า
ฯ ถวาย เพื่อทรงพระวินิจฉัยต่อไปนานแล้ว..... รุ่งขึ้นก็ได้รับจดหมายว่า ความนั้นคลาดเคลื่อน
คือเลขานุการพระยาราชนกุล ฯ มิได้บอกยืดยาวเช่นนั้น บอกเพียงว่าได้ส่งพ้นกระทรวงมหาดไทยไปแล้วนั้น
เรามีความยินดีที่จะยืนยันข่าวเรื่องนี้ของเราอีกครั้งหนึ่งว่า ร่างพระราชบัญญัติเทศบาลนี้
กระทรวงมหาดไทยได้ส่งไปยังกรมราชเลขาธิการ (ซึ่งได้เปลี่ยนฐานะนามเป็นกระทรวงมุรธาธรแล้ว)
เป็นเวลานานหนักหนาแล้ว และกรมราชเลขาธิการได้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย เพื่อทรงพระราชวินิจฉัยแล้ว
ต่อมาโปรดเกล้า ฯ ให้ส่งร่างไปยังกรมร่างกฎหมาย เพื่อพิจารณาเทียบเคียงหลักกฎหมายชนิดนี้
ซึ่งมีอยู่ ณ นานาประเทศชั้นหนึ่งก่อน
เราทราบว่า กรมร่างกฎหมายได้ตรวจร่างเทศบาลเรียบร้อย และได้ส่งกลับคืนไปยังกระทรวงมุรธาธรประมาณสัก
๑ เดือนได้แล้ว แต่ต่อจากนั้น จะไปอยู่ที่ใดข่าวยังเงียบอยู่
อย่างไรก็ดี มีข่าวลือกันหนาหูเต็มทีว่า อย่างไรเสียพระราชบัญญัติเทศบาล
จะออกใช้ไม่ได้เป็นเด็ดขาด ในระหว่างความยุ่งยากทางเศรษฐกิจนี้ เพราะรายได้จากผู้เสียภาษีแก่เทศบาล
จะกระทบกระเทือนไปถึงรัฐบาล อย่างน่าวิตกทีเดียว
ร่างหนังสือเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
ถึงเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เมื่อ มิถุนายน ๒๔๗๕
ฯลฯ
ตามหนังสือของข้าพเจ้า ที่ ๒๒๗/๗๓๐๖ ลงวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ เชิญพระราชกระแสโปรดเกล้า
ฯ ในเรื่องร่างพระราชบัญญัติ เรื่องเทศบาลบอกว่า เรื่องนี้ได้รอกันมานาน
ถึงกับมีเสียงจากบางคนว่าเรา"เอาเข้าลิ้นชัก" เสียแล้วนั้น บัดนี้การทำร่างพระราชบัญญัติภาษีอากรต่าง
ๆ ก็ได้เสร็จและซาไปแล้ว จึงขอเรียนเตือนมาตามนัยแห่งพระราชกระแสข้างต้นนี้
ฯลฯ
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |
| หน้าแรก | ชาติไทย | ศาสนา | พระมหากษัตริย์ |