ตอนที่
๕๖ หัสไชยตีด่านเมืองลังกา
กล่าวถึงเสวคนธ์กับสุดสาคร คอยฟังข่าวของสองท้าวไทอยู่ พอเรือใช้กลับมาทูลเรื่องฝรั่งลังกายกทัพมาเผาบ้านเมือง
เอาเพชรแก้วเก็จไป พร้อมไพร่พลหญิงชายกลับไปสิงหล พระภูวนาถราษฎรได้รับความเดือดร้อนทุกตำบล
องค์เสาวคนธ์ได้ทราบก็คั่งแค้นฝรั่งยิ่งนัก สุดสาครก็บอกอย่ารอช้าให้เกณฑ์ไพร่พลวาหุโลม
เข้ามาสมทบยกไปรบเมืองลังกา แล้วจัดแจงแต่งหนังสือ ให้ทูตถือไปยังวาโหมเจ้าเมืองวาหุโลม
ค
เจ้าวาโหมโสมนัสจบหัตถ์รับ |
เป็นคำนับนับถือพระฤาษี |
แล้วให้อ่านสารว่าพระอัคคี |
พบพระพี่มาแถลงให้แจ้งการ |
ฯลฯ
ว่าฝรั่งลังกาบังอาจมารบถึงเมืองการะเวก พระบิดาพระมารดาทั้งวงศ์วาน เดือดร้อนรำคาญไปหมด
จะสึกออกบอกโยมวาโหมด้วย |
ยกไปช่วยปราบปรามตามวิสัย |
ทั้งสองเมืองเบื้องหน้าได้มาไป |
เป็นมิตรไมตรีกันไม่ฉันทา
ฯ |
ค
ฝ่ายวาโหมโสมนัสตรัสประภาษ |
สั่งอำมาตย์มูลนายทั้งซ้ายขวา |
พระอัคคีนี่เราคิดเหมือนบิดา |
จะอาสาซื่อตรงต่อทรงธรรม์ |
ฯลฯ
แล้วให้จัดพหลพลโยธาได้ห้าหมื่น กับเรือใช้ใหญ่น้อยได้ร้อยเศษไปปราบประเทศลังกา
แล้วยกทัพตัดทางไปยังด่านชานสมุทร องค์เสาวคนธ์ต้องแข็งใจ แต่งองค์เป็นอย่างพราหมณ์
ออกไปยังพลับพลาไชยพร้อมพี่ยาสุดสาคร บอกว่าตนต้องลาพรตด้วยจะต้องไปรบฝรั่งเมืองลังกา
แล้วแนะนำสุดสาครแก่วาโหม
พระองค์พี่เราจงเคารพ |
เลิศลบลือฤทธิ์ทุกทิศา |
เป็นแม่ทัพรับสั่งฟังบัญชา |
พึ่งพระเดชเชษฐาข้างหน้าไป
ฯ |
ค
เจ้าวาโหมโสมนัสไม่ขัดข้อง |
ประสานสองหัตถ์ประนมบังคมไหว้ |
หน่อกษัตริย์ตรัสช่วยอำนวยชัย |
แล้วปราศัยสนทนาประสาชาย |
ฯลฯ
แล้ววาโหม ก็รีบออกมาจัดกำลังพลนิกายทั้งซ้ายขวา ให้ลงเรือรบลำละห้าร้อย ให้เจ้าโอรสคุมทหารด่านปากน้ำ
สิบห้าลำ ลำละร้อยเป็นกองหน้านำไป
ฝ่ายพระหน่อสุดสาครกับองค์เสาวคนธ์บอกเรื่องเมืองผลึกว่า ข้าศึกตีเมืองได้แล้วพาองค์พระมเหสีกับพระบุตรีไป
ขังไว้เมืองลังกา ก็แค้นใจนัก
จึงทูลองค์ทรงฤทธิ์ปิตุราช |
ลูกเป็นชาติเชื้อชายคิดอายเขา |
จะนิ่งให้อ้ายศัตรูมันดูเบา |
เหมือนหนึ่งเรารับแพ้ไม่แก้แค้น |
แล้วทูลขอพาทหารไปรบ ถ้าหากเพลี้ยงพล้ำแก่ชาวลังกา ก็ขอให้ตัดศีรษะตน พระจอมวังการะเกดได้ฟัง
พระลูกรักก็ตรัสว่า พระองค์ไม่ห้ามแต่เตือนว่า อย่าเบาความให้คอยรับทัพเมืองผลึกกับเมืองรมจักร
ให้พร้อมกันทั้งสามกองทัพ อย่าประมาทในสงคราม
จงหยุดทัพยับยั้งบอกหนังสือ |
ให้ทูตถือมาแจ้งแถลงไข |
ไว้ธุระบิดาไม่นอนใจ |
จะยกไปไล่ล้างให้วางวาย |
ฯลฯ
องค์หัสไชยได้ฟังแล้ว บังคมลามารีบจัดพหลพลโยธา เป็นเรือห้าร้อยลำคนประจำลำละร้อย
ยกออกจากปากน้ำเมืองการะเกดไป
ค
เข้าแว่นแคว้นแดนลังกาเป็นฝรั่ง |
ตระเวณระวังจังหวัดสะกัดกั้น |
ไม่รอรั้งสั่งให้รุกรบบุกบัน |
ยิงกำปั่นปืนปึงตูมตังตัง |
ฯลฯ
เรือลังกาต่อต้านแต่มีกำลังน้อยกว่าต้องถอยไป กองทัพเมืองการะเกดก็ไล่ยิงจับได้เรือข้าศึก
ได้สองร้อยยี่สิบลำ ก็พอตกพลบค่ำ
ค
พระหน่อนาถฆาตกลองหยุดกองทัพ |
ต่างตีรับเรียกกันเข้าบรรจบ |
ทอดสมอรอรั้งตั้งสมทบ |
ตามขนบนาคราชไม่คลาดคลา |
ฯลฯ
ฝ่ายฝรั่งลังกาต่างหลีกหลบถอยทัพกันสับสน พวกพลบนบกต่างก็ตื่นตกใจ
ประจุปืนยืนรายทุกค่ายตั้ง |
ออกคับคั่งคอยรบจุดคบไสว |
ทุกหมู่หมวดตรวจพลสกลไกร |
ทั้งนายไพร่พรั่งพร้อมป้อมเสมา |
ฯลฯ
ฝ่ายพระมังคลา วลายุดากับทั้งวายุพัฒน์ หัสกัน ต่างรู้ว่าข้าศึกมาฮึกหาญตีเรือด่านแตก
จึงให้คอยปล่อยปืนกะปิตัน
ยิงกำปั่นเชิ้อไฟให้จมไป แล้เกณฑ์กำปั่นกันฝรั่ง
ออกตั้งรับไม่ให้ข้าศึก กองทัพข้าศึกรุกเข้ามาในเวลากลางคืน
ฝ่ายองค์หัสไชยปรึกษาอำมาตย์เอกชื่อ ราชสีห์ ว่าจะรั้งรอไปถึงวันพรุ่งนี้
จึงจะยกเข้าตีเมือง จะมีความเห็นอย่างไร อำมาตย์ทูลว่า เราหักด่านมีชัยในวันนี้
ไพร่พลของเราก็อ่อนกำลัง ถ้าเรายกขึ้นบก ถ้าข้าศึกโอบอ้อมเข้าล้อมหลังจะเสียเรือเหลือกำลัง
จึงควร
จงรออยู่ดูไพรีก่อน |
จะแข็งอ่อนผ่อนปรนเล่ห์กลไฉน |
เห็นชนะได้รุกบุกเข้าไป |
ตีเมืองใหม่ไล่ล้างให้วางวาย
ฯ |
พระหัสไชยได้ฟังก็เห็นชอบด้วย แล้วสั่งให้ไพร่พลผลัดกันอยู่งานตามหน้าที่
ฝ่ายพระมังคลาเห็นกองทัพเมืองการะเวก เรียงรันกันราวกับนาค จึงปรึกษากันว่าศึกครั้งนี้มีความจัดเจน
จะฆ่าฟันกันตายเสียดายเหลือ |
มันเหมือนเกลือแกลบจะรุมแลกพุมเสน |
จะคิดให้ไพร่นายตายระเนน |
แล้วสั่งเกณฑ์กลศึกเหมือนตรึกตรา |
ฯลฯ
ให้วายุพัฒน์ลัดล่องเรือสองร้อยไปคอยชิดทางอยู่ข้างขวา ให้หัสกันนำเรือสองร้อยห้าสิบ
ไปปิดทางข้างซ้าย เรือกลางข้างละร้อย คอยสมทบรบล่อให้ไล่
เห็นจวนใกล้ได้ทีเรือสี่ร้อย |
สองข้างคอยโอบอ้อมออกล้อมหลัง |
ยิงปืนใหญ่ไฟจุดอย่าหยุดยั้ง |
เผาเสียทั้งกองทัพให้ยับเยิน
ฯ |
ทั้งหมดออกไปจัดแจงแต่งทัพตามรับสั่ง พระมังคลากับวลายุดาคอยรักษาฟากฝั่ง
แม้ไพรีหนีตายขึ้นชายหาด |
ยิงปืนสาดซ้ำฆ่าให้อาสัญ |
ฝ่ายกองกลางฟางหญ้าผ้าน้ำมัน |
ตระเตรียมกันครบทั่วทุกตัวคน
ฯ |
พอได้ฤกษ์ดีเรือสองร้อยก็ออกแล่นไป กองเรือของพระหัสไชยแล้วร้องถามตามอุบายทั้งสองฝ่าย
ร้องตอบโต้กัน แล้วกล่าวหมิ่นประมาทพวกการะเวกว่า เคยตกเป็นชะเลยของลังกามาแล้ว
พระหัสไชยได้ฟังก็คั่งแค้น จึงปรึกษากันว่าเรือข้าศึกมาเพียงสองร้อย น้อยกว่าฝ่ายการะเวก
เข้ารุกโรมโหมหักเสียพักนี้ |
ระดมตีเมืองใหม่เอาไฟเผา |
แม้ละไว้อ้ายศัตรูจะดูเบา |
เห็นลมเข้าเราจะได้ด้วยง่ายดาย
ฯ |
ฝ่ายเสนาเห็นว่าเรือข้าศึกมีน้อย จะคอยล่อให้ฝ่ายเราไล่ แล้วจะซุ่มพลรุมรบเอาเป็นกลอุบาย
ขอให้แบ่งกำลังออกสู้ดูกำลัง ขอให้พระหัสไชยกำกับทัพเรือใหญ่ เผื่อพวกข้าศึกจะยกมาวกหลัง
จึงแยกกันรับทัพละร้อย ถ้าฝรั่งไม่ใช้อุบายก็ให้ดูกองหน้า ถ้ายกขึ้นบกได้ก็จะจุดไฟเป็นสำคัญ
แล้วให้พระหัสไชยระดมกำลังเข้าสมทบรุมรบข้าศึกให้ได้ชัยชนะ
ค
พระเห็นชอบตอบว่าปัญญาลึก |
คาดข้าศึกสุดดีจะมีไหน |
ท่านคุมทัพสัประยุทธ์ขึ้นจุดไฟ |
ข้างหลังไว้เป็นธุระจะระวัง
ฯ |
เมื่อเข้ารบกันพวกฝรั่งลังกาแกล้งล่าล่อ หลีกเลี่ยงหลบถอยหลังรับ พอพระหัสไชยยกกองหลวงสามร้อยลำ
เข้าหนุนหลัง ฝรั่งลังกากลับแล่นหลีกชักปีกกา
วายุพัฒน์
หัสกัน นำกำปั่นรบเลี้ยวตลบล้อมรายรอบซ้ายขวา ระดมปืนยิงเป็นสัญญาเข้ารุกรบ
ทิ้งคบเพลิงใส่เรือจนกองทัพการะเวกต้องรีบเข้าฝั่ง ยกพลขึ้นบก พวกพลบนฝรั่งชาวลังกาก็เข้าสะกัดไว้
พระหัสไชยขึ้นตลิ่งพร้อมไพร่พลหลายพัน จนพลบค่ำจึงรวมตัวกันได้ พอตกดึกจึงมาปรึกษากันเห็นว่า
กำลังยังน้อยอยู่จึงหยุดยั้งคิดผ่อนผัน ฝ่ายฝรั่งลังกาคอยป้องกันกองทัพจะจับเป็น
แต่เห็นว่ามืดค่ำมองไม่เห็น จะคอยวันรุ่งขึ้น
แล้วสูบฝิ่นกินเหล้าทั้งบ่าวไพร่ |
ประมาทใจไม่ระวังนอนนั่งเฉย |
สูบกัญชามาระกู่อยู่เหมือนเคย |
ต่างคนเลยหลับนอนผ่อนสำราญ
ฯ |
ค
ฝ่ายกษัตริย์หัสไชยยังใจชื้น |
จนกลางคืนคอยคุมชุมนุมทหาร |
ให้นับได้ไพร่นายเหลือวายปราณ |
มากประมาณสามหมื่นยิ่งชื่นใจ |
ฯลฯ
สังเกตดูผู้คนที่บนฝั่งเห็นเงียบหลับไหลอยู่ จึงปรึกษาเสนาในว่าเราไม่มีเสบียง
จะเลี้ยงไพร่พล จะรบพุ่งกันตอนเช้าฝ่ายข้าศึกมีมาก ฝ่ายเราจะอดอยาก จึงจะเข้าตีข้าศึกเสียแต่ตอนดึก
ขณะที่ข้าศึกหลับอยู่ พวกเสนาก็เห็นด้วย แล้วสั่งให้ไพร่พล เอาผ้าเปียกน้ำโพกหัวทุกตัวคน
จัดกำลังเป็นกองละพันเข้าโจมตีข้าศึก
เที่ยวห้ำหั่นฟันฟาดเสียงฉาดฉับ |
บ้างคอพับหัวกระเด็นกลายเป็นผี |
บ้างทิ่มแทงแกว่งขวานผลาญไพรี |
ลอบฆ่าตีตายดื่นนับหมื่นพัน |
ฯลฯ
ค
ฝ่ายองค์พระมังคลาตรวจหน้าที่ |
เห็นไพรีเรี่ยวแรงเข้มแข็งขัน |
ให้นัดดากับวลายุดานั้น |
ออกช่วยกันไล่ไพร่รบไพรี
ฯ |
กล่าวถึงทัพสุดสาครมาถึงทวีปลังกาเห็นเพลิงไหม้เรือถูกไฟไหม้ล่มอยู่ทั่วไป
พบไพร่พลการะเวกว่ายน้ำอยู่ จึงรับขึ้นเรือถามความรู้ว่า เป็นทัพหัสไชยจึงรีบเข้าฝั่งเมืองลังกา
สุดสาครทรงหลังม้ามังกรขึ้นไปก่อน เห็นพระอนุชาหัสไชยกำลังรบอยู่กับฝรั่ง
ก็เข้าช่วยรบ พวกโยธาการะเวก เห็นหน่อนาถสุดสาครมาช่วย ก็มีกำลังใจเข้ารุกรบข้าศึก
ค
ฝ่ายนงเยาว์เสาวคนธ์วิมลโฉม |
ชวนวาโหมขึ้นบกยกทหาร |
ขับโยธาวาหุโลมโถมทะยาน |
เข้ารุกรานรบฝรั่งเมืองลังกา |
ฯลฯ
ฝ่ายฝรั่งเมืองลังกาสู้ไม่ได้ จึงถอยเข้าไปตั้งมั่นในกำแพงเมืองใหม่
ขึ้นรักษาหน้าที่ทั้งสี่ด้าน |
ป้อมปราการเกณฑ์กันล้วนขันแข็ง |
ทั้งซ้ายขวาสารวัตตรวจจัดแจง |
ตามตำแหน่งนายทัพกำกับพล
ฯ |
ฝ่ายพระหัสไชยตั้งค่ายริมชายฝั่ง เสาวคนธ์และสุดสาครก็ยกกำลังขึ้นตั้งบนฝั่งน้ำ
หัสไชยไปพบพระพี่นางแล้ว เล่าความบ้านเมืองแต่เรื่องหลังให้ทราบ องค์เสาวคนธ์ก็เล่าเรื่องของนางให้ฟัง
ตั้งแต่ต้นจนปลาย
แล้วเสาวคนธ์บ่นว่าแม้ข้าศึก |
พอจะตรึกตรองกำจัดไม่ขัดขวาง |
นี่เหล่ากอหน่อเนื้อเป็นเชื้อยาง |
จะรบล้างลูกหลานรำคาญใจ |
แล้วบอกหัสไชยให้รอไว้คอยท่าสองธานี
เป็นธุระพระบิดาพาราผลึก |
จะปราบศึกบำรุงสามกรุงศรี |
จะทำเองเกรงขาดราชไมตรี |
พ่อควรที่ผ่อนผันตามบัญชา |
ฯลฯ
สุดสาครช่วยผ่อนผันพูดจากับหัสไชย ให้ทำตามคำขององค์เสาวคนธ์แล้วว่า พรุ่งนี้จะไปพบมังคลาเพื่อพูดจากันให้คืนน้อง
สององค์วงศ์กษัตริย์ ถ้าแม้นขัดขืนจึงค่อยฆ่าเสีย เมื่อพระบิดากับพระอา มาถึงก็คงจะมาช่วยรบ
พ่อบอกเหตุเชษฐาให้ข้าเฝ้า |
ไปเมืองเราทูลประณตบทศรี |
ให้ทราบถึงพระชนกชนนี |
พอคลายที่กริ้วโกรธได้โปรดปราน |
ฯลฯ
แล้วบอกความตามที่ได้มารบศึก ให้เมืองผลึกส่งเสบียงมาเลี้ยงทหาร พระหัสไชยก็คำนับรับคำสั่ง
แล้วแต่งหนังสือให้ทูตถือไปตามความประสงค์ พอพลบค่ำต่างก็ไปประจำอยู่ที่ค่ายของตน
ตอนที่
๕๗ สุดสาครปราบมังคลา
ฝ่ายพระมังคลาเห็นศึกสมทบหลายทัพเป็นที่คับขัน จึงปรึกษาขุนนาง แล้วถามคนเก่าว่าเคยรู้เห็นมาแต่ปางก่อนหรือไม่
ขุนนางผู้เฒ่าจึงทูลว่า ผู้ที่ขี่หลังม้ามังกรคือ สุดสาคร ส่วนผู้ที่ขี่สิงห์คือ
เสาวคนธ์ แต่พวกที่เหมือนนกนั้น ไม่เคยมีมาก่อน แล้วเล่าการศึกครั้งก่อนที่มารบที่เมืองใหม่
ให้ทราบ
พระมังคลาว่าทหารลังกาประมาท จึงพลั้งพลาดเพราะหลับไหล และว่า
อันแยบยลกลหนูสู้พยัคฆ์ |
เรารู้จักจึงไม่ได้ดังใจหมาย |
ที่แปลกอย่างต่างหากมีมากมาย |
จะยักย้ายแก้ไขผลาญไพรี |
ฯลฯ
จะให้พวกชาวละหม่านทหารเสือ |
ลอบเผาเรือขึ้นที่ท่าชลาไหล |
ให้พวกพ้องกองทัพลงดับไฟ |
เราล้อมไล่ให้มันลงข้างคงคา |
ฯลฯ
แล้วชิงเอาค่ายชายฝั่งไว้ ให้เกณฑ์ไพร่พลออกไปสักแสน พวกฝรั่งจึงไปจัดโยธาห้าหมื่น
ถือปืนรบอีกห้าหมื่น ถือทวนยาวหลาวแหลน เมื่อเห็นเพลิงไหม้ให้ออกสมทบ เข้ารุมรบพร้อมกันตามสัญญา
ค
ฝ่ายพวกพ้องกองละหม่านทหารยักษ์ |
เกลี้ยกล่อมมาสามิภักดิ์รักอาสา |
ออกหลังป้อมอ้อมลงข้างคงคา |
ต่างประดาน้ำทบดำดั้นไป |
ฯลฯ
ขึ้นเรือรบครบร้อยเห็นพวกกองเรือนอนหลับอยู่ ก็จุดชุดไฟเผาไหม้เชื้อชันน้ำมันยาง
แล้วฆ่าคนบนเรือ ฝ่ายคนบนค่ายเห็นเพลิงไหม้เรือ ก็ลงไปช่วยดับ
ค
ฝ่ายฝรั่งลังกาเห็นข้าศึก |
อึกทึกทุกทัพสิ่งสับสน |
เปิดทวารด้านใต้ต้อนไพร่พล |
ออกเกลื่อนกล่นกลางคืนยิงปืนไฟ |
ฯลฯ
ค
ฝ่ายฝรั่งทั้งหลายชิงค่ายได้ |
ทั้งนายไพร่พร้อมพรักเข้ารักษา |
ฝ่ายนงเยาว์เสาวคนธ์ถอยพลมา |
พบเชษฐากับทั้งพระหัสไชย |
ฯลฯ
ฝ่ายโยธาวาหุโลมนั้น ถึงเสียทีก็มิได้พรั่น ต่างตีฆ้องกลองสำหรับเรียกทัพประชุมไพร่พล
ริมฝั่งน้ำมีกำลังพลเหลือตายอยู่หลายหมื่น ยกขึ้นไปตั้งอยู่หลังถนน ฝ่ายองค์เสาวคนธ์จึงว่า
จะละไว้ให้ช้าไม่ได้ ทหารจะหิวโหยโรยกำลัง จะยกทัพกลับไปตีเมืองใหม่พรุ่งนี้เช้า
แล้วออกอุบายให้ไพร่พลแต่งตัวเป็นฝรั่งได้พันคน
ต่างแอบอ้อมปลอบเข้าไปแต่ในศึก |
กำลังศึกสับสนพลขันธ์ |
เข้าเมืองมั่งบ้างอยู่ค่ายเรียงรายกัน |
ใครไม่ทันเพ่งพิศไม่คิดแคลง
ฯ |
ค
ส่วนนงเยาว์เสาวคนธ์แบ่งพลทัพ |
นายกำกับกองละพันล้วนขันแข็ง |
ห้าสิบสองกองสกัดคัดจัดแจง |
ตามตำแหน่งหนุนกันให้ทันที |
ให้พระเชษฐาพาทหารไปชานเขา คอยจับพระมังคลาที่ล่าหนี กองหน้าให้วาหุโลมเข้าโจมตี
ที่เหลือเข้าไปในเมือง สกัดฆ่าฝรั่งให้สิ้น พอจวนแจ้งแสงทองต่างก็ยกกำลังเนื่องหนุนตามกันไป
พอถึงค่ายรายฝั่งก็ตั้งโห่กึกก้อง แล้วเข้าหักโหมรุกโรมรัน จนรุ่งเช้าพวกฝรั่งลังกาต่างถอยทัพกลับเข้าไปในกำแพง
พวกปลอมแปลงพลก็พลอยปนเข้าไปด้วย แล้วไล่ฆ่าเหล่าเฝ้าประตู จากนั้นก็เปิดประตูรับทัพทั้งปวงของฝ่ายตนเข้าไป
พระมังคลาข้าเฝ้าเหล่าทหาร |
เหลือต้านทานทัพล้อมเข้าพร้อมพรั่ง |
ขึ้นทรงม้าพาสนมกรมวัง |
ออกทางหลังเมืองใหม่พลัดไพร่พล
ฯ |
พระหัสไชยกับองค์เสาวคนธ์ไล่ฆ่าพวกฝรั่ง พอพบน้องสองหลานช่วยกันรบ เลี้ยวหลบหลีกไป
พบสุดสาครขวางทางไว้
ตวาดถามความว่าเหวยฝรั่ง |
ตัวชื่อมังคลาหรือไฉน |
ลงจากม้ามาดีดีอย่าหนีไป |
จึงจะไว้ชีวาไม่ฆ่าฟัน
ฯ |
ฝ่ายพระมังคลาควบม้าหนีไปพร้อมกับนางสุนีย์ พระหน่อไทสุดสาครไล่สกัดทันแล้ว
จับพระมังคลาไว้ พอนางสุนีย์เข้ามาช่วยพ่นเป็นควันออกจากปาก เหมือนเพลิงพรายสายรุ้งพลุ่งพลั่ง
สุดสาครอ่อนกำลังถอยหลังหนีแล้ว นางสุนีย์กับพระมังคลาก็หายไปจากที่นั้น สุดสาครร่ายมนต์เป่าก็หายมึนเมา
แล้วขึ้นนั่งหลังนิลสินธพ ออกติดตามาพบวายุพัฒน์
เห็นเหมือนพี่สีเขียวมีเขี้ยวแฝง |
ทั้งเนตรแดงดูพลางขวางสกัด |
ฝ่ายฝรั่งยั้งหยุดยืนเยียดยัด |
พอเห็นหัสกันมาเหมือนลาลี |
ฯลฯ
จึงร้องถามว่า สองคนนี้เป็นลูกลาลีกับยุพาหรือว่าไร สองพี่น้องดูรู้ว่าเป็นอาและพ่อ
แต่แกล้งกล่าวลวงล่อว่า ขอให้บอกชื่อของตนบ้าง
ค
สุดสาครฟังคำทำหัวร่อ |
กูเป็นพ่อไม่รู้จักมาซักถาม |
แม่ไม่บอกดอกหรือไม่เข้าใจความ |
กูนี้นามชื่อว่า
สุดสาคร |
ฯลฯ
แล้วว่ากล่าววายุพัฒน์กับหัสกันด้วยประการต่าง ๆ บอกว่าจะส่งตัวถวายพระชนกา
ตามจะโปรดโทษที่ดื้อดึงไม่ซื่อตรงต่อวงศา
ค
วายุพัฒน์หัสกันพรั่นพรั่นจิต |
มิได้คิดนบนอบตอบสนอง |
ถึงชั่วดีมีสติต้องตริตรอง |
ไม่ฟังฟ้องฝ่ายโจทก์กล่าวโทษทัณฑ์ |
ฯลฯ
จะมัดผูกลูกเต้าให้เขาอื่น |
ไม่ผิดขืนจะว่าผิดคิดไฉน |
ส่วนพวกพ้องของท่านเข้ากันไป |
ผิดวิสัยธรรมดาในฟ้าดิน |
แม้พ่อแม่แลเห็นลูกเหลนหลาน |
ย่อมสงสารมีจิตคิดถวิล |
แต่ร้ายกาจชาติเชื้อเหลือทมิฬ |
ก็ไม่กินลูกหลานวงศ์ว่านเครือ |
สุดสาครอ่อนใจอาลัยบุตร และสังเวชลูกของเชษฐา แล้วกลับคิดผิดพลั้งแต่หนหลัง
จึงตอบไปว่า
แม้ลูกชั่วหัวดื้อทำซื้อรู้ |
จนพี่ป้าย่าปู่ไม่รู้จัก |
ผลาญพงศ์เผ่าเหล่ากอทรลักษณ |
ชื่อว่า
อกตัญญูดังงูพิษ |
ได้ว่ากล่าวลูกกับหลานอีกหลายประการ แล้วขับม้าถาโถมเข้าโจมจับ วายุพัฒน์กับหัสกันพากันหลบหนีเข้าป่าไป
สุดสาครไล่ตามไปไม่พบ พอตกกลางคืนจึงกลับม้าพาไพร่พลกับมาเมืองใหม่ ฝ่ายเมืองการะเวกจับฝรั่งลังกาได้กว่าหมื่น
ส่วนชาวการะเวกที่ถูกจับมาก่อนหน้านั้น สามพันคนให้ส่งคืนกลับไปเมืองการะเวก
ฝ่ายพวกฝรั่งลังกาก็หนีดั้นด้นกลับมายังเมืองป่าตาล วายุพัฒน์กับหัสกันหนีดั้นด้นไปยังด่านกลาง
ฝ่ายพระมังคลานั้น สุนีบาตอุ้มหลบหนีไปจนค่ำ ถึงธารน้ำมีภูเขาขวางอยู่ พอตกดึกจึงค่อยฟื้นองค์
เห็นแต่หน้านางสุนีแต่ผู้เดียว รู้ว่านางได้ช่วยชีวิตตนไว้ จึงคิดขอบใจนาง
ค
แล้วเอนองค์ลงบรรทมพนมมาศ |
สุนีบาตนั้นอุตส่าห์หาบุปผา |
มาโรยรายถวายพระมังคลา |
แล้วอุตส่าห์นวดฟั้นให้บรรทม |
ฯลฯ
นางสุนีบาตเห็นพระมังคลาทุกข์ร้อนนอนไม่หลับ จึงร้องขับกล่อมบรรยายความธรรมชาติได้ไพเราะ
พระมังคลาได้ฟังก็ชอบใจ จึงค่อยเล้าโลมนาง แต่นางได้ตอบคำว่าตนนั้นไม่สมควร
และเมื่อเสร็จธุระแล้ว ก็จะขอลาไป พระมังคลาได้ฟังก็สงสัยจึงถาม นางตอบว่า
องค์พระมหาสุราลัยบัญชาให้ตน ลงมาเป็นทารกเพื่อช่วยธุระของพระมังคลา
ช่วยธุระพระองค์ให้คงชีพ |
แล้วกลับรีบไปรักษาพลาหก |
แม้มีผัวชั่วช้าอุลามก |
จะต้องตกอยู่แผ่นดินสุดสิ้นฤทธิ์ |
ฯลฯ
จะได้เดินเชิญพระองค์ไปส่งด่าน |
เป็นทหารแล้วจึงจะเป็นสนม |
พลางแอบองค์ทรงธรรม์ให้บรรทม |
เคลิ้มหลับในไพรพนมใต้ร่มรัง
ฯ |
พอเช้าวันรุ่งขึ้น นางสุนีบาตก็พาพระมังคลาขึ้นบ่า แบกพาเดินไปทางทิศหรดี
ไปด้วยความรวดเร็วดุจเหาะเหิน ระหว่างทางได้ชมนกชมไม้มาตลอด จนถึงเวลาพลบจึงพบพวกไพร่พลที่ออกมาตาม
จึงเชิญพระมังคลาให้ทรงรถไปยังป่าตาล เมื่อขึ้นประทับบนพลับพลา พร้อมทั้งพระน้องกับสองหลานแล้ว
ก็สั่งการให้ทหารตรวจตราเตรียมอาวุธไว้พร้อม ทุกป้อมค่ายแล้วคิดอ่านที่จะทำการรบต่อไป
เราแตกยับอัปราฝ่ายข้าศึก |
จะเหิมฮึกรบพุ่งถึงกรุงศรี |
จะผันแปรแก้ไขอย่างไรดี |
จึงจะตีคืนได้เมืองใหม่มา
ฯ |
ฝ่ายฝรั่งสิ้นความรู้ไม่มีผู้สามารถอาจอาสา พระวลายุดาจึงทูลว่า ข้าศึกมีกำลังจึงขอให้รั้งรอการรบไว้ก่อน
แล้วไปบอกสังฆราชครูให้คิดช่วย พระมังคลาเห็นด้วยจึงให้เขียนใบบอก ให้ม้าใช้นำไปส่งให้อาจารย์
แล้วตรัสสั่งให้บังอลู เกณฑ์ทหารยี่สิบหมื่นมายังเมืองด่าน เพื่อสมทบกันช่วยรบข้าศึก
ฝ่ายสังฆราชรู้ความตามใบบอกแล้ว จึงตำหนิพวกนอกครูที่ไปจับพวกพ้องของตนมา
จึงเกิดเหตุ
จับพวกพ้องของตัวมามั่วสุม |
ศึกจึงรุมพร้อมพรักมาหักโหม |
ไม่จัดแจงแบ่งเบาค่อยเล้าโลม |
เที่ยวรุกโรมสงครามทั้งสามเมือง |
ฯลฯ
ดูตำรับทัพศึกที่ลึกซึ้ง |
เห็นบทหนึ่งชื่อทวาทศราศี |
ผูกผนึกปิดตราไม่ช้าที |
ให้เสนีมึงเอาไปส่งให้นาย
ฯ |
ตอนที่
๕๘ นางละเวงวัณฬาช่วยนางสุวรรณมาลีและท้าวทศวงศ์
เรื่องการศึกรู้เข้าไปถึงในวัง นางรำภา นางยุพาผกา และนางสุลาลี รู้เรื่องแล้วจึงเข้าไปทูลองค์ละเวง
เมื่อซักไซ้ไล่เรียง ได้ความแล้ว พระนางก็ตกใจด้วยไม่ทราบความมาก่อน จึงให้นางรำภาไปด้วยกันกับพระนาง
ค
ฝ่ายพวกพ้องกองร้อยรายคอยข่าว |
รู้เรื่องราวรีบเดินตามเนินผา |
ถึงด่านเข้าเฝ้าพระมังคลา |
ทูลว่าพระมารดามาในไพร
ฯ |
พระมังคลาได้ฟังก็ประหลาดใจ จึงปรึกษาน้องกับสองหลาน พระอนุชาว่าอย่าให้พบให้หลบหายไปก่อน
เพื่อดูดีร้ายให้ฝ่ายผู้เฒ่าอยู่เฝ้าฟัง พระมังคลาเห็นด้วยจึงตรัสสั่งให้นายทหารไปดำเนินการเป็นการลับ
แล้วชวนพระน้องกับสองนัดดา ไปอยู่ป้อมพร้อมกันปรึกษาหารือการทำศึก
ฝ่ายองค์ละเวงรีบเดินทางมาถึงด่านดงตาลไม่เห็นผู้คน นอกกำแพงพบแต่คนแก่เฒ่าจึงเรียกมาตรัสถาม
พวกผู้เฒ่าทูลตอบความว่า พระโอรสเสด็จไปลังกาได้ห้าวันแล้ว
ปิดประตูผู้ใดเข้าในด่าน |
จะประหารชีวาให้อาสัญ |
ข้าพระเจ้ามาแต่อารัญ |
ต้องพากันขัดค้างอยู่อย่างนี้
ฯ |
องค์ละเวงได้ฟังก็นึกแหนง เห็นว่าจะแกล้งไม่ให้พระนางพบ จึงคิดหลบหนีจึงทรงซักไซ้ว่า
ใครเฝ้าเมืองอยู่พวกคนแก่ทูลว่า ตนไม่ได้เข้าไปเห็นเรื่องเมือง จึงไม่รู้
พระนางจึงตรัสสั่งให้บรรดาพวกข้าไท เรียกให้เปิดประตูเมือง นายประตูไม่ได้ขานตอบ
จึงให้บอกซ้ำไปอีกครั้งว่า ถ้าไม่ให้เข้าจะพังประตูเข้าไป
สักครู่หนึ่งจึงเห็นคนบนหอรบ |
นั่งนอบนบนางวัณฬามารศรี |
ร้องถามชายนายขอเฝ้าพระเสาวนีย์ |
ออกมานี้ราชการสถานใด
ฯ |
พวกขอเฝ้าตอบว่า จะมาช่วยหน่อวรนาถทำสงคราม และมาเยี่ยมไพร่พลตามที่มีพระทัยกรุณา
เร็วเร็วเถิดเปิดบานทวารรับ |
รถจะได้ไปประทับพลับพลาศรี |
จะขัดขวางค้างอยู่นอกบุรี |
โทษจะมีเหมือนขบถประทษร้าย
ฯ |
พวกบนหอรบหลบหน้าไป พวกโยธาหายจึงเปิดบานประตูให้เข้าไปในเมือง แล้วเชิญประทับพลับพลาตรงหน้าป้อม
นางกษัตริย์ตรัสสั่งให้ไปบอกพระมังคลา ให้พาน้องกับสองหลานมาหา ฝ่ายขุนนางพรางความว่า
พระมังคลาไปลังกาได้ห้าวัน
ค
นางตรัสถามความเรื่องเมืองผลึก |
มาขังตึกไว้ที่ไหนจะไปหา |
ทั้งทรงยศทศวงศ์ซึ่งส่งมา |
มึงช่วยพาไปให้พบประสบกัน |
ฝ่ายฝรั่งได้ฟังให้ขัดข้องกลัวตนจะต้องโทษ จึงทูลผ่อนผันว่าตนไม่ทราบความจริง
พระนางได้ฟังก็เดือดดาลไล่พวกฝรั่งออกไป
ฝ่ายนางรำภาสะหรีเห็นเหตุขัดข้อง จึงแต่งตัวถือขวานออกไปหน้าพลับพลา แล้วประกาศว่าบรรดาข้าเฝ้า
เหล่าอำมาตย์ผู้เป็นข้าบาท ใครเสียสัตย์ขัดข้องตนจะฟันเสียให้ตาย
ฝ่ายพวกพลผู้เฒ่าชาวผลึก ต้องทำหน้าที่เฝ้าตึกอยู่ได้ยินความจึงเดินเข้าไปทูลความว่า
อันองค์พระมเหสีบุตรีผลึก |
ต้องใส่ตึกกักขังอยู่ทั้งสาม |
ทหารล้อมพร้อมคุมทุกทุ่มยาม |
จงทราบความตามจะโปรดที่โทษทัณฑ์
ฯ |
ฝ่ายองค์วัณฬากับนางรำภาสะหรี ได้ฟังก็มีความยินดี จึงให้ผู้เฒ่านำไปยังตึกที่ใช้ขังทั้งสองตึก
ฝ่ายฝรั่งที่ล้อมวงอยู่ เห็นองค์ละเวงก็เกรงกลัวหลีกออกไป เอาขวานฟันกุญแจแล้วทั้งสองนางก็เข้าไปในห้อง
ค
เห็นองค์พระมเหสีบุตรีน้อย |
ซูบเศร้าสร้อยมิได้หวีเกศีสาง |
เข้ากราบลงตรงที่เพลาพี่นาง |
สะอื้นพลางนางวัณฬาโศกาลัย |
ฯลฯ
เพราะเจ้ากรรมทำเข็ญให้เป็นโทษ |
เสียประโยชน์ญาติวงศ์เผ่าพงศา |
แต่ทราบข่าวเช้าค่ำกลืนน้ำตา |
เหมือนน้องฆ่าพี่นางให้วางวาย
ฯ |
แล้วทั้งสององค์ก็ร่ำรำพันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนเป็นลมสลบไป นางรำภาสะหรีแก้ไขให้ฟื้นองค์
นางวัณฬาว่าน้องจะเชิญพระพี่ |
ไปส่งที่เมืองใหม่เหมือนใจหวัง |
ทั้งทรงยศทศวงศ์ดำรงวัง |
คืนไปยังรมจักรนัครา |
ฯลฯ
แล้วทั้งหมดก็ไปที่ตึกท้าวทศวงศ์ ทูลความให้ทราบ
ค
นางวัณฬาสารภาพได้ทราบเกล้า |
ว่าลูกเต้าเจ้ากรรมทำข่มเหง |
ไม่บอกแม่แต่มันคิดกันเอง |
ไม่ยำเยงพระราชอาชญา |
ฯลฯ
ค
ท้าวทศวงศ์ว่าอ่อพ่อขอโทษ |
มาหลงโกรธแม่วัณฬา
รำภาสะหรี |
เออลูกเต้าเล่าก็เป็นไปเช่นนี้ |
ไม่พอที่ทำข่มเหงกันเองเลย |
ฯลฯ
แล้วเชิญเสด็จไปรถประทับที่พลับพลา แล้วออกเดินทาง ฝ่ายฝรั่งลังกาต่างเข้ามาขัดขวาง
บอกว่าเจ้าลังกาตรัสกำชับไว้ว่า
ให้ขุนนางต่างพระทัยนัยน์เนตร |
รักษาเขตคอยเสด็จจนเสร็จกลับ |
แม้ผู้ใดไม่ฟังบทบังคับ |
ก็จะจับฆ่าฟันให้บรรลัย |
เมืองผลึกรมจักรเป็นนักโทษ |
ยังไม่โปรดพระจะมาพาไปไหน |
ส่งคืนมาข้าพเจ้าจะเอาไป |
ใส่ไว้ในตึกขึงจึงบังควร
ฯ |
องค์วัณฬากับนางรำภาสะหรี จึงด่าว่าข้าเฝ้าด้วยประการต่าง ๆ แล้วว่า
มึงคิดร้ายหมายสู้กูหรือนี่ |
ว่าไม่มีวาสนาอาชญาสิทธิ์ |
ขืนขัดขวางทางไว้มึงไม่คิด |
ประเดี๋ยวชีวิตจะวายวาง
ฯ |
ฝ่ายพวกเสนาก็ทูลว่า องค์วัณฬาเมื่อดำรงราชย์อยู่ก็มีสิทธิขาด ครั้นมอบราชสมบัติให้พระมังคลาแล้ว
ก็ให้เชื่อฟังพระมังคลา
ต้องถือน้ำทำสัตย์เพราะตรัสสั่ง |
จึงเชื่อฟังทรงยศโอรสา |
เดี๋ยวนี้พระจะกลับบังคับบัญชา |
เจ้าลังกาก็จะต้องเป็นสององค์ |
ฯลฯ
การที่องค์วัณฬามาทำแต่ลำพัง เหมือนถอดพระหน่อนาถให้เสียยศ แล้วทูลว่า
แต่พวกพ้องสองเมืองที่เคืองขัด |
จะต้องตัดเอาศีรษะไว้ถวาย |
ไม่สู้รบอยู่เกล้าเป็นเจ้านาย |
คนอื่นหมายมิให้ออกนอกกำแพง
ฯ |
นางรำภาสะหรีได้ฟังก็ด่าว่า พวกที่มาขัดขวาง และว่า
ธรรมเนียมนาฎมาตุรงค์มิ่งมงกุฎ |
ควรช่วยบุตรบำรุงซึ่งกรุงศรี |
ถึงหน่อไทไม่อยู่ในบุรี |
พระชนนีชี้ขาดราชการ |
ฯลฯ
แล้วแต่งองค์ทรงม้าถือขวานไล่ทหารไม่ให้ขวางทางถนน แล้วเร่งรุดออกเดินทาง
ค
ฝ่ายโยธาฝรั่งออกตั้งรับ |
ล้อมหน้าหลังคั่งคับสลับสลอน |
นางรำภากล้าหาญไล่ราญรอน |
มันกลับย้อนแยกวิ่งจับหญิงชาย |
ฯลฯ
พวกขอเฝ้าเจ้ากรมออกสมทบ |
ช่วยเจ้ารบรอนรับกันสับสน |
นางรำภาฆ่านายตายหลายคน |
มันฆ่าพลพวกตามตายครามครัน
ฯ |
คท้าวทศวงศ์นงลักษณ์อัคเรศ |
คิดสมเพชพวกโยธาที่อาสัญ |
จึงตรัสห้ามรำภาสะหรีนั้น |
อย่าฆ่าฟันให้ตายวายชีวี |
จะกลับไปให้เขาไว้ดังเก่า องค์ละเวงเกรงว่าพระมังคลาจะฆ่าห้ากษัตริย์ด้วยขัดใจ
จึงร้องบอกฝรั่งให้ไปบอกเจ้านายว่า พวกพ้องสองพารา พระนางจะพาไปไว้ในวังเมืองลังกา
แล้วให้กลับรถให้นางรำภาอยู่ระวังหลัง
เปิดทวารบานบังออกหลังด่าน |
เหล่าทหารมิได้ห้ามปรามไฉน |
รีบแรมทางกลางป่าพนาลัย |
ถึงกรุงไกรพร้อมเพรียงเข้าเวียงวัง |
ฯลฯ
ค
แต่ฝ่ายข้างนางละเวงวัณฬาราช |
แค้นหน่อนาถนึกเห็นไม่เป็นผล |
แกล้งแอบแฝงแต่งให้พวกไพร่พล |
ไล่ฆ่าคนข่มเหงไม่เกรงใจ |
ฯลฯ
ทั้งสามนางต่างว่าหนักหนานัก |
เหมือนเลี้ยงรักลูกเสือร้ายเหลือแสน |
จะช่วยชุบอุปถัมภ์กลับทำแค้น |
เหมือนเหยียบแผ่นดินผิดจนติดใจ |
นางวัณฬาว่าเพราะพระสังฆราช |
สอนให้ขาดญาติวงศ์จึงหลงไหล |
น่าแค้นเหลือเชื่อพระจะนำไป |
ต่อว่าให้ขาดกันเสียวันนี้ |
ฯลฯ
ค
พอผันแปรแลเห็นพระสังฆราช |
นั่งบนอาสน์อิงหมอนมือยอนหู |
ไม่ก้มเกล้าเข้าไปนั่งตั้งกระทู้ |
ท่านขรัวครูสอนสั่งเจ้ามังคลา |
องค์ละเวงได้ต่อว่าสังฆราชบาทหลวงด้วยประการต่าง ๆ ที่ได้สั่งสอนพระมังคลา
จนเกิดศึกรบพุ่งถึงกรุงศรี
เสียแรงเชื่อถือว่าเหมือนตาปู่ |
จะค้ำชูช่วยชุปอุปถัมภ์ |
มาหลงเชื่อเสือเฒ่าตัวเจ้ากรรม |
ช่างแนะนำทำให้ขาดญาติกา
ฯ |
บาทหลวงได้ฟังจึงถามว่า ได้เกิดเรื่องอะไรจึงมากล่าวหาตน ทั้งที่ตนได้สอนให้รู้สารพัด
ค
นางวัณฬาว่าเพชรก้อนเก็จแก้ว |
เขาขอให้ไปเสียแล้วเป็นไหนไหน |
ใครบอนบอกออกให้รู้ครูหรือใคร |
สอนให้ไปชิงเขาเผาพารา |
ฯลฯ
แล้วไปรบเมืองผลึกกับรมจักร จับสองท้าวกับองค์สุวรรณมาลีและสองพระธิดา มาขังไว้ในด่านดงตาล
จนรบราฆ่าฟันกันออกวุ่น |
เพราะเจ้าคุณหรือมิใช่หรือใครสอน |
อยู่กุฎีมีสุขไม่ทุกข์ร้อน |
เหมือนเสือนอนกินความสบายครัน
ฯ |
บาทหลวงได้ฟังจึงด่าว่า องค์ละเวงว่าเนรคุณแล้วว่า
อ้ายมังคลาบ้าลำโพงโกงเหมือนแม่ |
มันเอาแต่ตามอารมณ์ทำข่มเหง |
ลูกในท้องของตัวไม่กลัวเกรง |
มาครื้นเครงโกรธกูเป็นคูบา |
ฯลฯ
ใครหายใจไม่ออกถึงนอกฟ้า |
ผิดก็มาอยู่กับกูไม่รู้สิ้น |
กูอาศัยในแดนรักแผ่นดิน |
มึงกับนินทาว่าสารพัน
ฯ |
องค์วัณฬาว่าเมื่อครูรู้ว่าผิด จึงไม่ห้ามศิษย์และช่วยสั่งสอน จนเกิดศึกก็ไม่ช่วยห้ามปราม
ค
บาทหลวงว่าวิสัยในมนุษย์ |
ฟันจะหลุดแล้วก็ห้ามปรามไม่ไหว |
ห้ามเกษาว่าอย่าหงอกยังนอกใจ |
มันขืนหงอกออกจนได้มันไม่ฟัง |
ฯลฯ
ค
นางละเวงเกรงบาปไม่หยาบหยาม |
คิดถึงความซื่อตรงก็สงสาร |
ชลีลาพาหญิงพวกศฤงคาร |
ไปปราสาทราชฐานรำคาญใจ
ฯ |
ฝ่ายพระมังคลาได้แบบบาทหลวง รู้ตำรับศึกแล้ว ฝึกไพร่พลให้รู้รบ
ให้ตั้งค่ายใหญ่น้อยร้อยแปดค่าย |
เป็นหลั่นรายเรียบไปในไพรสัณฑ์ |
แบ่งพลไว้ไพร่นายค่ายละพัน |
ธงสำคัญสัญญารบราวี |
ฯลฯ