| ย้อนกลับ | เงินพดด้วง | เหรียญกษาปณ์ | ธนบัตร |
จากหลักฐานที่ค้นพบในบริเวณที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบัน มีเงินตราในยุคแรก ได้แก่เหรียญฟูนัน ทวาราวดี และศรีวิชัย ทางภาคเหนือมีเงินล้านนา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินล้านช้าง ดังนั้นเงินตราของไทยจึงมีความหลากหลายในรูปลักษณะ และมีที่มาที่น่าสนใจ แม้ว่าเงินตราดังกล่าว จะมีมา
ก่อนที่จะตั้งประเทศไทย หรือรัฐไทยก็ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย และจีนผสมผสานกัน แต่ก็ได้หล่อหลอมกันมา จนปรากฎเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน และยืนยงคง
อยู่นานกว่าหกศตวรรษ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาผ่านสมัยอยุธยา สืบต่อมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่งมาเลิกใช้ในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑
เงินตราดังกล่าวได้แก่ เงินพดด้วง
หลังจากนั้น ประเทศไทยก็หันมาใช้เหรียญกษาปณ์แบบประเทศตะวันตก โดยได้มีการริเริ่มตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยัง
ไม่ทันได้ออกใช้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้สร้างโรงกษาปณ์เพื่อผลิต เหรียญกษาปณ์ออกใช้ ตั้งอยู่ที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรม
มหาราชวัง พระราชทานนามว่า โรงกษาปณ์สิทธิการเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๐๓
หลังจากเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์ประมาณครึ่งศตวรรษ ความไม่พอเพียงต่อการใช้งาน เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการค้าทำให้รัฐบาลต้อง
ออก ธนบัตรเงินตรากระดาษ ไปใช้ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ทั้งเหรียญกษาปณ์และธนบัตรได้มีวิวัฒนาการมาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน
| ย้อนกลับ | เงินพดด้วง | เหรียญกษาปณ์ | ธนบัตร |