เหรียญกษาปณ์ของไทย

ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ไทย พระองค์แรกที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปเงินตราไทย จากที่เคยใช้เงินพดด้วง หรือเงินกลมที่ใช้มาแต่โบราณกาลให้มาใช้เงินเหรียญหรือเงินแบน แบบประเทศทางตะวันตก
เงินเหรียญ    ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประเทศใช้เงินเหรียญนอกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ ครั้งที่สองเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๐ และได้ประกาศพิกัดเงินเหรียญนอก เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๗ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงได้ยกเลิกการใช้เหรียญนอก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงสั่งเครื่องทำเหรียญกษาปณ์จากอังกฤษมาผลิตเหรียญกษาปณ์ในไทย ติดตั้งเครื่องใช้งานได้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๓ พระราชทานชื่อว่า โรงกษาปณ์ สิทธิการตั้งอยู่หน้าพระคลังมหาสมบัติตรงมุมถนนออกประตูสุวภาพบริบาลด้านตะวันออก ได้ผลิตเหรียญบาท เหรียญสองสลึง เหรียญสลึง และเหรียญเฟื้อง แต่ผลิตได้น้อยไม่พอแก่ความต้องการ
เงินเหรียญนี้ หน้าหนึ่งมีตรารูปพระมหาพิไชยมงกุฎอยู่กลาง มีฉัตรกระหนาบอยู่สองข้าง มีกิ่งไม้เป็นเปลวแซก อยู่ในท้องลาย อีกหน้าหนึ่งเป็นรูปกงจักร กลางใจจักรมีรูปช้างประจำแผ่นดิน รอบวงจักรชั้นนอกเหรียญบาทมีดาวอยู่แปดทิศ แสดงว่าแปดเฟื้อง เหรียญสองสลึงมีดาวอยู่สี่ทิศ แสดงว่าสี่เฟื้อง เหรียญสลึงมีดาวอยู่ข้างบนและข้างล่างสองดวง แสดงว่าสองเฟื้อง และเหรียญเฟื้องมีดาวอยู่ด้านบนดวงเดียว
นอกจากนี้ยังมีเหรียญ หนึ่งตำลึง กึ่งตำลึง และกึ่งเฟื้อง แต่ไม่ได้นำออกใช้
ตามแจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๓๘ พบว่ามีเหรียญตรามงกุฎดังกล่าวให้แลกอยู่ ๖ ราคา ด้วยกัน คือ ราคา สองบาท หนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง หนึ่งเฟื้อง และ สองไพ
กะแปะอัฐและโสฬส    เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๕ ได้มีประกาศให้ใช้กะแปะอัฐ และโสฬสขึ้นใหม่ ด้วยว่าสมัยโบราณไทย และลาวใช้หอยชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเบี้ย ใช้แทนเงินปลีก โดยคิดอัตราแปดร้อยเบี้ยต่อหนึ่งเฟื้อง สำหรับกะแบะอัฐและโสฬสเมื่อนำมาแลกเปลี่ยนขอรับเงินจากพระคลังมหาสมบัติ กำหนดอัตราไว้ ๘ อัฐต่อเฟื้อง และ ๑๖ โสฬสต่อเฟื้อง โดยไม่ลดหย่อนแม้เนื้อโลหะที่ทำจะสึกกร่อนไปเพราะการใช้งาน แต่ถ้าเนื้อโลหะขาดบิ่น มูลค่าจะลดลงตามน้ำหนักที่หายไป
เบี้ยหอย    นับแต่โบราณมามีการใช้เบี้ยหอยเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับทวีราชอาณาจักร มาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เบี้ยดีบุกและเบี้ยทองแดงแทนเบี้ยหอย มีขนาดและชื่อเรียกกันต่าง ๆ ดังนี้

๑. เบี้ยโพล้ง    ๒. เบี้ยแก้    ๓.เบี้ยจั่น    ๔. เบี้ยนาง   
๕. เบี้ยหมู    ๖. เบี้ยพองลม    ๗. เบี้ยบัว    ๘. เบี้ยตุ้ม   
เหรียญทองชิ้นแรก    สร้างจากโรงกษาปณ์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประทับตราจักรทุกมุม น้ำหนัก ๒๐ บาท ทำด้วยทองคำเนื้อดี ตามมูลค่าทองคำหนัก ๑ บาท เท่ากับเงิน ๑๖ บาท เหรียญนี้จึงมีมูลค่า ๓๒๐ บาท
เหรียญทองแปทศ ทองแปพิศ และทองแปพัดดึงส์    ประกาศใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๖ ทำด้วยทองคำเนื้อแปดเศษสองมี ๓ ขนาด ราคา ๘ บาท ๔ บาท ๑๐ สลึง เรียกว่า ทศ แปลว่า ๑๐ แป เป็นเงิน ๑ ชั่ง พิศ แปลว่า ๒๐ แปเป็นเงิน ๑ ชั่ง และพัดดึงส์ แปลว่า ๓๒ แปเป็นเงิน ๑ ชั่ง

เหรียญทองและเหรียญเงินหนัก ๔ บาท   
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๗ เนื่องในงาน เฉลิมพระชนม์พรรษา ๖๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นเหรียญตราพระมหาพิชัยมงกุฎหนัก ๔ บาท มี ๒ ชนิด ทำด้วยทองคำ และทำด้วยเงิน ใช้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชาวจีนแต้จิ๋วเรียกเหรียญแต้เหม็ง
เบี้ยซีก เบี้ยเสี้ยว    สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๘ ทำด้วยทองแดง ที่มีตราเหมือนเบี้ยอัฐ และเบี้ยโสฬสอย่างใหญ่เรียกว่า ซีก มีค่า สองอันต่อหนึ่งเฟื้อง อีกชนิดหนึ่งมีขนาดเล็กเรียกว่าเสี้ยว มีค่าสี่อันต่อหนึ่งเฟื้อง
มาตราเงินไทย   
จากภาพจะเห็นว่า ตำลึงอยู่บนเฟื้อง
                                     บาทอยู่บนสลึง
                                     ไพอยู่ใต้ชั่ง
เมื่อเรียงตามมูลค่าจะเป็น ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ไพ
มีพิกัดอัตรา ดังต่อไปนี้
๘๐๐เบี้ย เป็นเฟื้อง
๕๐ เบี้ย เป็นโสฬส(สิบหก)๑๖ โสฬส เป็น เฟื้อง
๒ 
โสฬส เป็นอัฐ(แปด)อัฐ เป็นเฟื้อง
อัฐ เป็น เสี้ยวหรือไพ อัฐ เป็น เฟื้อง
เสี้ยวหรือไพ เป็น ซีก เสี้ยวหรือไพ เป็น เฟื้อง
ซีก เป็น1เฟื้องเฟื้อง เป็นบาท
เฟื้อง เป็น สลึง สลึง เป็น บาท
มายนหรือมะยง เป็นกึ่งบาท หรือ ๒ สลึง
บาท เป็นตำลึง
๒๐ตำลึง เป็นชั่ง
๘๐ชั่ง เป็นหาบ


ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |