อุทยานแห่งชาติรามคำแหง

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง  มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาส และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย  เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยปูชนียวัตถุอันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตลอดจนมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น  น้ำตกสายรุ้ง  อุทยานแห่งชาติรามคำแหง  มีเนื้อที่ประมาณ 341 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 213,000 ไร่ ได้อัญเชิญสมญานามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มาเป็นชื่อของอุทยานแห่งชาติ เพื่อเทอดพระเกียรติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ไทย
ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ  เมื่อปี พ.ศ. 2523  นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 6 ของภาคเหนือ และแห่งที่ 18 ของประเทศ


ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชัน คล้ายจอมปลวกใหญ่อยู่โดดเด่นบนภาคเหนือตอนล่าง  บนเทือกเขาสูงของเขานารายณ์  เขาเจดีย์  เขาย่า  เขาภูคา  ประกอบกันเป็นเทือกเขาหลวง  มีจุดสูงสุด 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล  เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย  ซึ่งไหลรวมกันสู่แม่น้ำยม
สภาพอากาศในฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม  จะมีฝนตกชุกในเดือนกันยายน และฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นสบาย โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวงอุณหภูมิจะหนาวเย็นในเวลากลางคืน ช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม


พรรณไม้
สภาพป่าประกอบด้วยป่าดงดิบแล้ง อยู่ในที่ราบป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและทุ่งหญ้าซึ่งมีพืชสมุนไพรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่เรียกว่า  "สวนแก้วและสวนขวัญ"  พรรณไม้ที่สำคัญได้แก่  ตะเคียน  ยมหอม  สมพง  เต็ง  รัง  พยอม  ประดู่  แดง  เป็นต้น

สัตว์ป่า
ประกอบด้วย  ช้าง  กวาง  เก้ง  หมูป่า  ลิง  กระรอก  ชะนี  และนกชนิดต่าง ๆ  เป็นต้น


สถานที่ท่องเที่ยว
ทุ่งหญ้าธรรมชาติที่สวยงาม  มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่  บนเทือกเขาสูงของเขานารายณ์  เขาเจดีย์  เขาแม่ย่า  เขาภูคาประกอบกันเป็นเทือกเขาหลวง จุดสูงสุด 1,200 เมตร  จากระดับน้ำทะเลเป็นที่พักแรม
น้ำตกสายรุ้ง   เป็นน้ำตกที่สวยงามและสูงชัน
หลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัย    กล่าวถึงทิศเบื้องหัวนอนมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

สวนสมุนไพรธรรมชาติในสมัยพระร่วง
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |