อุทยานแห่งชาติหาดวนกร
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานแห่งชาติหาดวนกร อยู่ในตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2535 เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่
76 ของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 38 ตารางกิโลเมตร เป็นส่วนของพื้นที่น้ำทะเลประมาณ
15 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบและชายหาด ส่วนที่เป็นพื้นน้ำอยู่ในทะเลด้านอ่าวไทยมีเกาะเล็ก
ๆ อยู่ 2 เกาะ คือ เกาะจาน และเกาะท้ายทรีย์ ลำห้วยที่สำคัญได้แก่ ห้วยคลองหินจวง
ซึ่งไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่
พรรณไม้
พรรณไม้ป่าธรรมชาติมีอยู่ประปราย เช่น ยาง ประดู่ มะค่า แต้
พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ปลูกขึ้นใหม่ เนื่องจากเดิมพื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของหน่วยงานป่าไม้หลายหน่วยงานด้วยกันได้แก่
สวนป่าห้วยทราย สวนป่าห้วยยาง สวนรุกขชาติห้วยยาง และสถานีวนกรรมห้วยยาง
พันธุ์ไม้ที่ปลูกขึ้นด้วยเหตุดังกล่าว ได้แก่ สนทะเล สนประดิพัทธ์
สะเดา สัก งิ้ว มะฮอกกานี ยูคาลิปตัส ฯลฯ
สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ
สัตว์ป่าที่พบมีจำนวนน้อยชนิด ส่วนใหญ่เป็นนกชนิดต่าง ๆ ได้แก่
นกเอี้ยง สาริกา นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกยางทะเล นกแซงแซว
นกตะขาบทุ่ง นกกระแตแต้แว๊ด นกจาบคาเล็ก นกเขาใหญ่
นกปรอดสวน นกกะเต็นอกขาว นกนางแอ่นกินรัง และไก่ป่า สัตว์ป่าอื่น ๆ
ได้แก่ อีเห็น กระต่ายป่า เม้น และแย้
สัตว์น้ำมีปลาน้ำจืดทั่วไปได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาขาว
เป็นต้น
ทรัพยากรใต้ทะเล มีปะการังในบริเวณเกาะจาน และเกาะท้ายทรีย์
แหล่งท่องเที่ยว
หาดวนกร
เป็นหาดชายที่ขึ้นชื่อของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หาดทรายขาวสะอาดทอดตัวเป็นแนวยาว
สลับกับหัวกรังโขดหินที่ยื่นลงไปในทะเลเป็นตอน ๆ เหนือขึ้นมาบนชายฝั่งมีทิวสนและสนประดิพัทธ์เป็นแนว
ยาวขนานไปกับชายทะเล เป็นระยะประมาณ 7 กิโลเมตร ตั้งแต่คลองน้ำจืดจนถึงบ้านห้วยยาง หาดทรายเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด
จะยื่นออกไปในทะเล ประมาณ 150 เมตร เป็นชายหาดที่คงความพิสุทธิ์เอาไว้ได้
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติแท้จริง
อ่าวมะค่า
เป็นบริเวณคุ้งน้ำชายฝั่งทะเลจากบ้านวังด้วน จนถึงปากคลองน้ำจืด ลักษณะเป็นหน้าผาริมทะเล
มีโขดหินและตลิ่งชัน อากาศเย็นสบาย เป็นจุดชมวิวบริเวณชายทะเลด้านทิศเหนือ
เกาะจานและเกาะท้ายทรีย์
บนเกาะจานมีชายหาดที่ขาวทรายละเอียด ยาวประมาณ 100 เมตร มีแนวปะการัง
บริเวณท้ายเกาะ บนเกาะทั้งสองมีถ้ำที่เป็นที่อยู่ของนกนางแอ่นจำนวนนับแสนตัว
เป็นแหล่งสัมปทานรังนกนางแอ่น ปัจจุบันยังไม่เปิดให้เข้าชมเนื่องจากสัมปทานดังกล่าว
เกาะจาน
มีชื่ออันเนื่องมาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง ตาม่องล่าย
ที่เล่ากันว่าเกิดที่อ่าวน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตาม่องล่าย ได้ขว้างปาสิ่งของที่ใช้ในการแต่งงานลูกสาวที่ชื่อยมโดยทิ้งไป
กลายเป็นเกาะต่าง
ๆ อยู่ในทะเล เกาะจานมีที่มาจากจานที่ใช้ในงานและถูกขว้างทิ้งไปนั่นเอง
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |