| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา | |
มีร่องรอยกำแพงเมืองอยู่บางส่วนและมีคูน้ำล้อมรอบ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) โดยให้ช่างชาวฝรั่งเศสออกแบบผังเมืองและกำแพงเมือง ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1,000 เมตร ยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ มีป้อมอยู่รายรอบตามกำแพงเมือง มีประตูเมืองอยู่ 4 ประตู ประจำอยู่ทั้งสี่ทิศ |
ไทยโคราชเป็นคนไทยแท้ทั้งเชื้อชาติและภาษา แต่สำเนียงพูดแปร่งไปบ้าง เดิมถิ่นนี้คนพื้นเมืองเป็นชาวละว้า
ชาวไทยอพยพเข้ามาสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่ว ยกทัพมารวมดินแดนนี้
เข้ากับอาณาจักรอยุธยา แล้วให้ตั้งด่านอยู่ประจำ ส่งช่างชายอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือน
และวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา
เพราะมีสำเนียงพูดแตกต่างจากกลุ่มอื่น มีมากอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโนนสูง
อำเภอโชคชัย และอำเภอพิมาย เป็นต้น
ภาษาโคราชเป็นภาษาถิ่นดั้งเดิมของนครราชสีมา สำเนียงภาษาโคราชในแต่ละอำเภอ ยังมีความแตกต่างกัน ปัจจุบันคนพูดภาษาโคราชเป็นคนรุ่นเก่า หรือที่อยู่ตามชนบท คนที่อยู่ในเขตเมืองเมื่อพูดกับคนโคราชด้วยกันมักใช้ภาษาไทยกลาง แต่ปรับเสียงวรรณยุกต์ให้เป็นสำเนียงโคราช |
เป็นชนพื้นเมืองของหัวเมืองเขมรป่าดง และเมืองนครราชสีมา พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร
ได้อยู่ในพื้นที่นี้ก่อนที่คนไทยจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน
เมื่อปี พ.ศ. 2362 เจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอินทร์) ตีข่าได้
แล้วนำมายังเมืองนครราชสีมา
ภาษาส่วย เป็นภาษาของชาวส่วยที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง ปัจจุบันมีเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ที่ยังคงใช้ภาษาส่วยในกลุ่มของตนเอง นอกจากนั้นจะใช้ภาษาโคราชเป็นพื้น |
เป็นเผ่าไทยในภาคเหนือของไทย ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่อำเภอสีคิ้วสองทางด้วยกันคือ
พวกแรกอพยพจากทางเหนือมาอยู่ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ต่อมาเจ้าเมืองสระบุรี
ต้องการตั้งกองเลี้ยงโคนมที่เมืองนครจันทึก จึงได้แบ่งครอบครัวชาวไทยยวนจากอำเภอเสาไห้
ไปอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว อีกพวกหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ ชาวไทยยวนยังรักษาประเพณี
และวัฒนธรรมแบบโยนกไว้ได้ดีมาก
ภาษาไทยยวน ใช้พูดในหมู่ไทยยวนด้วยกันเองซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 คน ในเขตอำเภอสีคิ้ว ในท้องที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลสีคิ้ว และตำบลบ้านหัน |
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน | |