| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

๙ มิถุนายน ๒๔๘๙
            พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา เนื่องจากยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะจำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรทร และพระยามานนวราชเสวี เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์

๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จไปทรงแสดงพระองค์เป็นพุทมามกะ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จ กลับไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจาก รัชกาลที่ ๘ เมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙

๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๙
            ฝรั่งเศสกับไทย ได้ลงนามในความตกลงระงับกรณีพิพาทต่อกัน มีสาระที่สำคัญ คือ ไทยต้องคืนดินแดน ๔ จังหวัดให้แก่ฝรั่งเศส คือ พระตะบอง พิบูลสงคราม จำปาศักดิ์ และลานช้าง

๑๕ ธันวาคม ๒๔๘๙
            สมัชชาสหประชาชาติ ประกาศรับประเทศไทย เป็นสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ

๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๙
            ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ อันดับที่ ๕๕

๑๕ ธันวาคม ๒๔๙๐
            ตราพระราชบัญญัติให้อำนาจทหารเรือปราบปรามการกระทำความผิด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดบางอย่างทางทะเล

๑๐ มกราคม ๒๔๙๑
            วันประสูติพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ผู้ทรงใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ย่อจากอักษรท้ายพระนาม "รัชนีแจ่มจรัส" ท่านเป็นกวีที่ช่วยให้วรรณคดีในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รุ่งโรจน์

๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑
            กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งกรมการรักษาดินแดนขึ้นเป็นส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อกองทัพบกให้ทำหน้าที่ฝึกนักศึกษาวิชาทหารมาจนถึงทุกวันนี้

๑๙ พฤษภาคม ๒๔๙๑
            วันสถาปนากรมการรักษาดินแดน (รด.) เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม โดยให้ยุบกรมการทหารสารวัตร และแปรสภาพเป็น กรมการรักษาดินแดน

๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๑
            บรรจุพระบรมสริรางคารที่พระพุทธบัลลังก์ พระพุทธอังคีรสในพระอุโบสถ วัดราชบพิธ

๒๙ สิงหาคม ๒๔๙๑
            เกิดกบฎในภาคใต้เรียกกันว่ากบฎแบ่งแยกดินแดน มีการก่อวินาศกรรมในปัตตานี สายบุรี เบตง เพื่อจะตั้งสหพันธรัฐมลายู ขึ้นใน ๔ จังหวัดภาคใต้ โดยการสนับสนุนของชาวมุสลิมในต่างประเทศ พล.ท.หลวงกาจสงคราม ซึ่งทางคณะรัฐบาลได้ส่งไปปราบ ใช้เวลาดำเนินการอยู่เกือบหนึ่งเดือนจึงสำเร็จ จับหัวหน้าผู้ก่อการคือ หะยีมไฮยิดดิน ได้

๓ กันยายน ๒๔๙๑
            ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การของรัฐเพื่อการกุศล แต่มิใช่รัฐวิสาหกิจ เป็นนิติบุคคลได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหม

๓๐ ตุลาคม ๒๔๙๑
            เกิดกบฎแบ่งแยกดินแดน มีผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีผู้หนึ่ง ได้ชักชวนชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่ง ไปรับการศึกษาวิชาทหารที่คุนมิง ประเทศจีน แล้วกลับมาทำการยุยงประชาชนภาคอีสาน ให้แยกดินแดนภาคอีสานให้เป็นรัฐอิสสระจากราชอาณาจักรไทย

๑ มกราคม ๒๔๙๒
            ไทยจ่ายเงินงวดสุดท้ายเป็นเงิน ๙๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์ เป็นค่าทางรถไฟสายมรณะ

๒๔ มีนาคม ๒๔๙๓
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จนิวัตรประเทศไทย และได้ทรงประทับบนเรือหลวงศรีอยุธยา ที่กองทัพเรือจัดถวาย เป็นเรือพระที่นั่งในคราวเสด็จพระราชดำเนิน จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นิวัตรพระนคร

๒๙ มีนาคม ๒๔๙๓
            วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ เมรุมาศ ท้องนามหลวง

๑๕ เมษายน ๒๔๙๓
            สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดงานวันแม่เป็นครั้งแรก โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชีนาถ เมื่อปี ๑๙

๒๘ เมษายน ๒๔๙๓
            พระราชพิธีอภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ กับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีวสรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วังสระปทุม

๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงรับบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ต่อมาทางราชการจึงกำหนดในวันที่ ๕ พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันฉัตรมงคล

๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๓
            คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ ตามมติสภาป้องกันราชอาณาจักร ให้ส่งกำลังทหารไทยไปร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติ เพื่อช่วยเหลือสาธารณรัฐเกาหลี จากการรุกรานของกองทัพเกาหลีเหนือ

๑๙ กันยายน ๒๔๙๓
            ได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิค ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับไทย และต่อมาเมื่อ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๙๓ ในด้านการทหาร หลังจากที่ไทยได้ส่งกำลังทหารไปร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติ เมื่อ มิถุนายน ๒๔๙๓

๒๒ กันยายน ๒๔๙๓
            ประกาศพระบรมราชโองการ ให้ส่งกำลังทหารภาคพื้นดินไปร่วมรบในสงครามเกาหลี ได้ส่งกรมผสมที่ ๒๑ มีกำลัง ๑ กองพัน ไปร่วมรบเมื่อ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๓ สงครามเกาหลีมีทหาร ๑๓ ชาติ ไปร่วมรบ รบกันอยู่ ๖ปี ไทยผลัดเปลี่ยนกันไปถึง ๑๑,๗๘๖ คน รุ่นสุดท้ายถอนกำลังกลับเมื่อ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๕

๒๙ กันยายน ๒๔๙๓
            ประกาศพระบรมราชโองการ ให้ส่งกำลังทหารเรือและกำลังทางอากาศ ไปร่วมปฏิบัติการรบกับกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี

๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๓
            รัฐบาลไทยได้ส่งทหาร ไปปฏิบัติการรบร่วมกับสหประชาชาติ ในสงครามเกาหลี กำลังทางบกเดินทางไปกับเรือสินค้าเดนมาร์กชื่อ เฮอร์ตาเมอร์สก์ นายแพทย์และอาสากาชาดเดินทางไปกับเรือหลวงสีชัง เรือหลวงประแส และเรือหลวงบางประกง เรือทั้ง ๓ ลำนี้ ทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกัน

๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๓
            กองทหารไทยรุ่นแรก เดินทางไปถึงประเทศเกาหลี เพื่อร่วมเป็นกองกำลังของฝ่าย โลกเสรีในสงครามเกาหลี อันเนื่องจากเกาหลีเหนือ ยกกำลังเข้ารุกรานเกาหลีใต้

๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔
            วันกบฎแมนฮัตตัน

๘ สิงหาคม ๒๔๙๔
            พระราชทานชื่อค่ายทหารขึ้นใหม่ จำนวน ๕ ค่าย คือ

ค่ายวชิราวุธ ที่ตั้งกองทัพภาคที่ ๔ นครศรีธรรมราช
ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ตั้งกองทัพภาคที่ ๓ พิษณุโลก
ค่ายพิชัยดาบหัก ที่ตั้งจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์
ค่ายสุรนารี ที่ตั้งกองทัพภาคที่ ๒ นครราชสีมา
ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ที่ตั้งจังหวัดทหารบกอุดรธานี
๒๓ มกราคม ๒๔๙๕
            ไทยได้จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนขึ้นเป็นครั้งแรก

๘ เมษายน ๒๔๙๕
            ตั้งค่ายจิรประวัติ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ ๑๓ กองพันทหารช่างที่ 4 กรมทหารราบที่ ๔ กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๔ อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๕
            มีการทดลองออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่กรมประชาสัมพันธ์

๒๘ กรกฎาคม ๒๔๙๕
            วันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์

๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๕
            รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติป้องกัน การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ได้เริ่มมีบทบาทเด่นชัดขึ้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง

๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
            วันสถาปนากองเรือตรวจอ่าว ซึ่งเป็นกองกำลังในสังกัดกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ

๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
            ประกอบพระราชพิธีเปิดสะพานจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำตาปี

๗ พฤษภาคม ๒๔๙๖
            วันสถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ เปิดรับนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นแรก จำนวน ๓๐ นาย

๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗
            ออกพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ ในวันนี้กำหนดให้เป็นวันอาสารักษาดินแดน เป็นประจำทุกปี

๑๗ เมษายน ๒๔๙๗
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่บริเวณวงเวียนใหญ่ฝั่งธนบุรี

๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗
            บริษัท ททท. เปิดสถานีส่งโทรทัศน์เป็นครั้งแรก สถานีนี้เรียกว่า ช่อง ๔ สถานีตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม

๘ กันยายน ๒๔๙๗
            ผู้แทน ๘ ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐ ฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย ได้ลงนามร่วมกันในสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ ต่อจากนั้นได้มีการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ( South East Asia Treaty Organization - SEATO ) ขึ้น สำนักงานตั้งอยู่ที่ศาลาสันติธรรม กรุงเทพ ฯ โดยมี นายพจน์ สารสิน เป็นเลขาธิการ คนแรก ปัจจุบันองค์การนี้ได้ยุบเลิกไปโดยปริยาย

๒ เมษายน ๒๔๙๘
            วันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

๑๘ เมษายน ๒๔๙๘
            ได้มีการเปิดประชุมประเทศอัฟริกาและเอเชีย ครั้งแรกที่บันดุง อินโดนีเซีย มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ๒๙ ประเทศ รวมทั้งไทยด้วย

๙ สิงหาคม ๒๔๙๘
            แยกการรถไฟเป็นองค์การอิสระ เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร สนับสนุนเศรษฐกิจและการทหารในยามสงคราม

๑ พฤษภาคม ๒๔๙๙
            ประเทศไทยประกาศให้มีวันแรงงานแห่งชาติ (May DaY) วันกรรมกรหรือวันแรงงานแห่งชาติ จัดขึ้นตระหนักถึงความรับผิดชอบ และสำนึกถึงรากฐานความมั่นคง ของการประกอบอาชีพเป็นประโยชน์ ทั้งทางส่วนตัวและประเทศชาติ

๒๓ กันยายน ๒๔๙๙
            พลตรีพระเจ้าวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาใหญ่ องค์การสหประชาชาติ ในสมัยประชุมที่ ๑๑ นับเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียว จนถึงปัจจุบันที่ดำรงตำแหน่งนี้

๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักเพชร วัดบวร ฯ รวม ๑๕ วัน ระหว่างทรงผนวช สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

๒๒ มกราคม ๒๕๐๐
            วันลงนามช่วยเหลือการเงิน การศึกษาไทย-สหรัฐ

๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เขื่อนนี้เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีช่องระบายน้ำ ๒๐ ช่อง กว้างช่องละ ๒๕.๕๐ เมตร ใช้ส่งน้ำตามโครงการชลประะทานเจ้าพระยา ในเนื้อที่ประมาณ ๕. ๕๕ ล้านไร่

๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
            เปิดถนนมิตรภาพ จากสระบุรีไปนครราชสีมา จากความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา

๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๐
            รัฐบาลได้จัดพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เรียกว่า พุทธพยุหยาตราทางชลมารค นับเป็นการรื้อฟื้นพิธีพยุหยาตราทางชลมารค หลังจากที่ไม่ได้จัดมาเป็นเวลานาน

๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๐
            จัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ณ ท้องสนามหลวง

๒๕ มกราคม ๒๕๐๒
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะแก่พระมหา อุปราชา

๖ ตุลาคม ๒๕๐๒
            กัมพูชายื่นฟ้องไทยต่อศาลโลก เรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือเขาพระวิหาร ในเขตอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๒
            เลิกรถสามล้อที่ใช้แรงคนถีบในพระนคร

มกราคม ๒๕๐๓
            เลิกเดินรถไฟสายปากน้ำ

๑๖ มีนาคม ๒๕๐๓
            พระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๐๓ ให้ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม มีผลบังคับใช้ จึงถือว่าวันนี้เป็นวันสถาปนากองบัญชาการทหารสูงสุด

๗ ตุลาคม ๒๕๐๓
            ตั้งค่ายธนะรัชต์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การทหารราบ กองพลทหารราบที่ ๑๕ อยู่ที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓
            วันสถาปนากรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด (ยศ.ทหาร บก.ทหารสูงสุด) เดิมใช้ชื่อหน่วยว่า กรมการศึกษาวิจัย และกรมการศึกษา ตามลำดับ

๒๗ มีนาคม ๒๕๐๔
            เปิดอนุสาวรีย์ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ที่ค่ายสุรศักดิ์มณตรี จังหวัดลำปาง

๑๑ มีนาคม ๒๕๐๕
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ประพาสประเทศปากีสถาน จนถึงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๕

๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕
            ศาลโลก (WORLD COURT JUSTICE) ที่กรุงเฮก พิจารณาคดีเขาพระวิหาร ระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนน ๙ ต่อ ๓ เหตุที่ไทยแพ้คือ กฎหมายปิดปาก (การยอมรับในสมัยนั้น) ที่ทางกัมพูชานำมาอ้าง และแผนที่ต่อท้ายสัญญาทำไว้ผิดข้อเท็จจริง

๕ กรกฎาคม ๒๕๐๕
            กองทัพเรือได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยบิน กองทัพเรืออีกครั้ง หลังจากที่ยุบไปเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ เรียกว่า ฝูงบินกองทัพเรือ

๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๖
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่จังหวัดลพบุรี

๓๐ มิถุนายน ๒๕๐๖
            ยูเนสโก ประกาศเกียรติคุณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงค์ ฯ เป็นบุคคลดีเด่นทางประวัติศาสตร์ของโลก ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี วันประสูติ

๒๒ ธันวาคม ๒๕๐๖
            เปิดสำนักงานใหญ่ องค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งประเทศโลก (พ.ส.ล.) ในประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพ ฯ

๒๘ เมษายน ๒๕๐๗
            ตั้งค่ายภานุรังษี ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารช่าง จังหวัดทหารบกราชบุรี อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ค่ายเสนาณรงค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมณฑลทหารบกที่ ๔๒ กรมทหารราบที่ ๕ กองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๕ อยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

๒๑ กรกฎาคม ๒๕๐๗
            รัฐบาลไทยรับหลักการที่จะช่วยเหลือเวียดนามใต้ เมืองญวนหรือเวียดนาม แบ่งเป็น ๒ ประเทศ เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๗

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |