กกุสันธะ |
พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในภัททกัปป์ |
กติกาสงฆ์ |
ข้อบังคับของสงฆ์ |
กโปตะ |
ซอกเขาแห่งหนึ่ง
ในเขตนครราชคฤห์ |
กรรมวาจา |
คำประกาศหารือกิจการที่สงฆ์จะกระทำในท่ามกลางสงฆ์ |
กระหย่ง |
ลักษณะนั่งคุกเข่า
เอาปลายเท้าจดพื้น ส้นเท้าตั้งรับกัน |
กลันทคาม |
บ้านตำบลหนึ่ง
ในเขตเมืองเวสาลี |
กัจจายนะ |
โคตร วงศ์
หรือนามสกุลของตระกูลหนึ่ง |
กัณณกุชชะ |
ชื่อเมือง
เมืองหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านไปหลังจากออกจากเมืองเวรัญชา |
กัมพล |
ผ้าทอด้วยขนสัตว์ |
กัมมการีภริยา |
ภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้าง
เป็นทั้งภรรยา |
กัลยาณธรรม |
ธรรมอันดีงาม
ความประพฤติที่ดี |
กัสสปะ |
พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในภัททกัปป์ |
กาย |
ความรักใคร่
ความพอใจ |
การกสงฆ์ |
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำการอันเป็นหน้าที่ของสงฆ์ |
กาลิงดะ |
พระเจ้าแผ่นดินแห่งกาลิงครัฐ |
กาสายะ |
ผ้าย้อมน้ำฝาด
สีเหลืองหม่น |
กาสี |
แคว้นหนึ่ง
เป็นเมืองขึ้นของนครสาวัตถี |
กาฬศิลา |
ชื่อตำบลหนึ่ง
หินดำ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตเมืองราชคฤห์ |
กิจจาธิกรณ์ |
เรื่องราวอันสงฆ์ต้องกระทำ |
กิฏคีรี |
ชื่อชนบทแห่งหนึ่ง
อยู่ระหว่างแคว้นกาสีกับนครสาวัตถ |
กิเลศ |
อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมอง |
กุจฉิจักร |
หมวดว่าด้วยกลางไปหาปลาย |
กุฎี |
ที่อยู่ของพระ
กระท่อม โรงเรือน |
กุมภัณฑ์ |
เปรตจำพวกหนึ่ง |
กุลทาสี |
หญิงรับใช้ของคนมีสกุล |
กุลุปปะ |
พระภิกษุผู้คุ้นเคยประจำสกุล |
กูฏาคารศาลา |
สังฆารามในเขตเมืองเวสาลี |
โกนาคมนะ |
พระพุทธเจ้าพระองค์ที่สองในภัททกัป |
โกสัมพี |
ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ |
คงคา |
แม่น้ำสายหนึ่ง
ในกลุ่มแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่ทั้งห้า (เบญจมหานที) ในชมพูทวีป |
คฤหัสถ์ |
ผู้ครองเรือน
ผู้ดำรงตนในบ้านเรือน |
คหบดี |
ชายหัวหน้าครอบครัว
พ่อเจ้าเรือน |
คากรอง |
เครื่องนุ่งห่มของพวกเดียรถีย์
ทำด้วยใบหญ้า |
คาถา |
สัตถุศาสตร์อย่างหนึ่งใน
9 อย่าง คำประพันธ์ |
คิชฌกูฎ |
ภูเขาลูกหนึ่ง
มียอดคล้ายรูปแร้ง อยู่ในกลุ่มเบญจคีรี เขตนครราชคฤห์ |
คูถขาทิ |
เปรตพวกหนึ่ง
ที่อยู่ในคูถ |
คูถนิมุคค |
เปรตพวกหนึ่ง
ที่อยู่ในคูถ |
เคยยะ |
สัตถุศาสตร์อย่างหนึ่งใน
9 อย่าง ของนวังคสัตถุศาสตร์ |
โคตตรักขิตาจักร |
หมวดว่าด้วยสตรี
ผู้มีโคตรปกครอง |
โคตมะ |
นามสกุลของตระกูลหนึ่ง |
โคตร |
วงศ์สกุล
นามสกุล ครอบครัว |
โคมฏะ |
ซอกเขาแห่งหนึ่ง
เขตนครราชคฤห์ |
โคมัย |
มูลโค |
ปฏิญญา |
การยืนยัน
การให้คำมั่น |
ปฏิญญาณ |
การให้คำมั่นสัญญา
การสารภาพ |
ปฏิญญาตกรณะ |
การทำการปรับอาบัติ
ตามคำรับสารภาพ ทำตามที่เขาปฏิญญาณ |
ปฐมบัญญัติ |
ข้อบังคับที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก |
ปฐมยาม |
ยามต้นเวลากลางคืน
ตั้งแต่ย่ำค่ำถึง 22.00 น. |
ปยาคะ |
เมืองท่าแห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำคงคา |
ปรนิมมิตรสวดี |
กามาพจรสวรรค์ชั้นที่
6 ใน 6 ชั้น |
ประคตเอว |
แผ่นผ้าที่ใช้คาดเอวของพระสงฆ์
บริขารหนึ่งในแปด |
ประทักษิณ |
การเวียนไปทางขวา
แสดงความเคารพ |
ปริวาส |
การอยู่แรมคืนชดใช้กรรมที่ล่วงอาบัติสังฆาทิเสส |
ปวารณา |
การยอมให้ขอ
ยอมให้ว่ากล่าว ยอมให้ตักเตือน |
ปังสุกุลิก |
การถือครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
องค์ของธุดงค์องค์หนึ่ง |
ปัจฉาภัตร |
เวลาหลังอาหารของพระสงฆ์ |
ปัจฉิมยาม |
ยามสุดท้ายของกลางคืน
ตั้งแต่ 02.00 น. ถึงย่ำรุ่ง |
ปัณฑกะ |
ชื่อพระภิกษุรูปหนึ่ง |
ปัพพาชนียกรรม |
กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้มีโทษถึงขับไล่ |
ปัสสาวมรรค |
ทวารเบา |
ปาฏิเทสนียะ |
หมวดอาบัติหมวดหนึ่ง
ต้องแสดงคืน |
ปาณาติบาต |
การฆ่าสัตว์
ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง |
ปาติโมกข์ |
คัมภีร์พระวินัย
บัญญัติ |
ปาราชิก |
อาบัติหมวดหนึ่ง
ภิกษุผู้ต้องแล้วถึงขาดจากความเป็นพระ |
ปิฏฐิจักร |
หมวดว่าด้วยข้างหลังย้อนมาต้น |
ปิลันทวัจฉะ |
ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง |
ปุนัพพสุกะ |
ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง |
ปุราณทุติยิกา |
ภรรยาเก่าของภิกษุเมื่อก่อนบวช |
ปุริสโคตตจักร |
หมวดว่าด้วยญาติของบุรุษ |
เปรต |
อมนุษย์พวกหนึ่งในอบายภูมิ |
เปรียง |
น้ำมันที่เจียวจากนมส้ม
และไขสัตว์หรือเนย |
เปลือกไม้กรอง |
บริขารชนิดหนึ่งของพวกเดียรถีย์
ครองด้วยเปลือกไม้ |
พนาย |
นายเป็นคำปราศรัยของขุนนางผู้ใหญ่เรียกผู้ดีในบังคับ |
พรรษา |
ระยะ 3
เดือน ต้นฤดูฝน หน้าฝน ปี |
พรหมจรรย์ |
ความประพฤติอันประเสริฐ
ศาสนธรรมชั้นสูงสุด การบวชซึ่งละเว้นเมถุน |
พรหมโลก |
ภพเป็นที่อยู่ของพรหม |
พระธรรม |
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า |
พระบัญญัติ |
ข้อบังคับที่พระพุทธเจ้าตั้งขึ้น |
พระผู้มีพระภาค |
พระนามของพระพุทธเจ้า |
พระวินัยธร |
ภิกษุผู้ทรงพระวินัย
ผู้เชี่ยวชาญพระวินัย |
พราหมณ์ |
คนวรรณหนึ่งในวรรณสี่ของชาวชมพูทวีป
ผู้สืบเนื่องาจากพราหมณ์ |
พะอง
|
ไม้ไผ่ลำเดียว
ตัดแขนงออกเหลือไว้เป็นขั้น ๆ ใช้พาดต่างบันได หรือใช้ท่อนไม้อื่นทำขึ้นโดยติดไม้ยื่นออกเป็นขั้นสำหรับเท้าเหยียบ |
พัทธจักร |
หมวดว่าด้วยข้อความที่เกี่ยวโยงกันไปตลอด |
พาราณสี |
ราชธานีแคว้นกาสี |
พิมพิสาร |
พระเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ |
พีชกะ |
บุตรของพระสุทินน์
ซึ่งเพราะร่วมกับภรรยาเก่าเมื่อเป็นพระภิกษุ |
พีชกปิตา |
พระสุทินน์
ผู้เป็นต้นบัญญัติ ปฐมปาราชิก |
พีชกมาตา |
ภรรยาเก่าของพระสุทินน์ |
พุทธจักร |
อำนาจฝ่ายพุทธศาสนา |
พุทธประเพณี |
ขนบธรรมเนียมของพระพุทธเจ้า |
พุทธรักขิต |
ฉายาภิกษุรูปหนึ่ง |
พุทธาณัติ |
พระดำรัสสั่งบังคับของพระพุทธเจ้า |
พูดเคาะ |
พูดแทะโลม
พูดเกี้ยว พูดให้รู้ท่า |
แพศย์ |
คนวรรณหนึ่งในวรรณสี่ของชาวชมพูทวีป
พ่อค้า ชาวนา ชาวสวน |
แพศยา |
หญิงผู้หาเงินในทางร่วมประเวณี |
โพนทะนา |
การพูดกล่าวโทษต่อหน้าผู้อื่น |
มฤคทายวัน |
ป่าที่ให้อภัยแก่เนื้อ
สวนสัตว์จำพวกเนื้อ |
มหากัสสป |
พระมหาเถรรูปหนึ่ง |
มหาโมคคัลลานะ |
พระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า |
มหาวัน |
ป่าใหญ่แห่งหนึ่งในแขวงเมืองเวสาลี |
มหาวิภังค์ |
คัมภีร์พระวินัยปิฎก
คัมภีร์แรกว่าด้วยการจำแนกใหญ่ |
มังคุลิตถี |
เปรตผู้หญิงจำพวกหนึ่ง |
มังสเปสิ |
เปรตพวกหนึ่ง |
มัชฌิมยาม |
ยามกลางของกลางคืน
ระหว่าง 22.00 - 02.00 น. |
มาณพ |
ชายหนุ่มในวรรณพราหมณ์ |
มาติกา |
หัวข้อ
แม่บท |
มาติกาวิภังค์ |
การจำแนกหัวข้อที่เป็น
แม่บท |
มาตุคาม |
สตรี คนผู้มีเพศดุจมารดา |
มานัต |
การนับราตรีในการอยู่ปริวาส |
มาร |
ผู้ล้างผลาญ
เทพผู้ทำลายล้าง |
มารโลก |
ภพเป็นที่อยู่ของมาร |
มาสก |
มาตราเงินสมัยพุทธกาล
เท่ากับ 20 สตางค์ของไทย |
มิคลัณฑิก |
ชื่อคนอาศัยวัด
หรือที่เรียกว่าตาเถนคนหนึ่ง |
มิลักขะ |
มนุษยชาติดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในชมพูทวีป |
มุขมรรค |
ช่องปาก |
มุ่งกระต่าย |
หญ้าชนิดหนึ่งจำพวกหญ้าปล้อง |
เมถุนธรรม |
การปฏิบัติทางกามระหว่างคนคู่กัน |
ไม้กลอน |
ไม้เครื่องบนชนิดหนึ่งของอาคารโบราณ
ใช้รองรับระแนง |
ไม้ค้อนสั้น |
เครื่องลงอาญาชนิดหนึ่ง |
ไม้ชำระฟัน |
เครื่องชำระฟันทำเป็นแปรงด้วยไม้ |
ไม้สีฟัน |
กิ่งไม้
เช่น กิ่งข่อยเป็นต้น ทุบปลายเป็นฝอยเหมือนแปรงใช้สีฟัน |
มฤคไม้หึ่ง |
การเล่นชนิดหนึ่ง
ใช้ไม้สั้นวางบนไม้อันยาวตอนบนโยนไม้สั้นขึ้นไป แล้วตีด้วยไม้อันยาว ตอนล่าง |
โมคคัลลานะ |
ชื่อโคตรหนึ่ง
นามสกุลตระกูลหนึ่ง |
โมฆบุรุษ |
คนผู้เปล่าประโยชน์คือมรรคผล
ภิกษุที่ถูกพระพุทธเจ้าติเตียน |
โมหะ |
ความหลง
ความโง่เขลา ความฉงน |
วัคคุมุนา |
แม่น้ำสายหนึ่งในเขตนครเวสาลี |
วัจจมรรค |
ทวารหนัก |
วัชชี |
ชนบทแห่งหนึ่ง
ชื่อแคว้น ๆ หนึ่งในชมพูทวีป ครั้งพุทธกาล |
วัฏฏะ |
อาการหมุนเวียนแห่งการเกิดการตาย |
วัตร |
การปฏิบัติ
ธรรมเนียม หน้าที่ |
วัสสการ |
พราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ |
วาสิฏฐะ |
ชื่อโคตร |
วิญญาณ |
ความรู้แจ้ง
ความรู้สึก ความคิดนึก ใจ |
วินัย |
การฝึกหัดจรรยา
ข้อบังคับ ขัอบัญญัติคือสิกขาบทของพระสงฆ์ |
วินัยปิฎก |
คัมภีร์พระพุทธศาสนา
ว่าด้วยข้อบัญญัติสิกขาบทของพระสงฆ์ |
วิปิตวัตถุ |
เรื่องอันเป็นตัวอย่าง
ที่พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัย |
วิปัสสี |
พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกัปก่อนภัททกัป |
วิวาท |
การกล่าวโต้แย้ง
การโต้เถียง การทะเลาะ |
วิวาหมงคล |
พิธีประกอบให้เกิดความสุขความเจริญในการแต่งงาน
การแต่งงานชนิดที่ส่งฝ่ายชายไปอยู่กับฝ่ายหญิง |
วิสาขา |
ชื่อมหาอุบาสิกาแห่งเมืองสาวัตถี |
วิหาร |
วัด ที่อยู่ของสงฆ์ |
เวทัลละ |
สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน
9 อย่าง |
เวภาระ |
ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเขตนครราชคฤห์ในหมู่เบญจคีรี |
เวยยากรณะ |
สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน
9 อย่าง |
เวรัญช |
ชื่อพราหมณ์ผู้ครองเมืองเวรัญชา |
เวสสภู |
พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกัปก่อนภัททกัป |
เวสาลี |
ราชธานีแห่งแคว้นวัชชี |
เวฬุวัน |
ป่าไม้ไผ่
ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารถวายให้ตั้งเป็นวัดหลวงวัดแรกในครั้งพุทธกาล |
ไวพจน์ |
คำต่างที่ใช้แทนกันได้ |
สงฆ์ |
หมู่ พวก
ชุมนุม ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปร่วมกัน |
สปทานจาริก |
การเที่ยวบิณฑบาตรตามลำดับ
ตรอกเป็นวัตร เป็นองค์แห่งธุดงค์องค์หนึ่ง |
สมจร |
การร่วมสังวาสของสัตว์ดิรัจฉาน |
สมณกุตตก์ |
คนถือเพศเป็นสรณะเอาเองโดยไม่บวช |
สมณโคดม |
พระนามของพระพุทธเจ้าที่คนภายนอกเรียก |
สมณธรรม |
คุณความดีของสมณะ |
สมณะ |
ผู้สงบ
ผู้ระงับบาป พระภิกษุ |
สมนุภาส |
คำสวดประกาศตักเตือน |
สมาทาน |
การตั้งใจถือเอาด้วยดี
การชักชวน |
สมุทททัตต์ |
ภิกษุรูปหนึ่ง
เป็นสหายพระเทวทัต |
สรณะ |
ที่ระลึกถึง
ที่พึ่ง |
สระโบกขรณี |
ที่ขังน้ำในพื้นดิน
มีบัวเกิดขึ้นด้วย |
สวรรค์ |
โลกที่มีอารมณ์ดี
ที่อยู่ของเทวดาพวกกามาวจรเทพ |
สะกา |
เครื่องเล่นการพะนันชนิดหนึ่ง
ใช้ลูกเต๋าทอด แล้วเดินเบี้ยในตากระดานตามแต้มลูกเต๋า |
สังกัสสะ |
ชื่อเมือง
ๆ หนึ่ง ในแคว้นสุรเสนะ |
สังฆกรรม |
กิจที่สงฆ์ตั้งแต่
4 รูปขึ้นไป ร่วมกันทำ |
สังฆเภท |
การทำลายหมู่
การทำสงฆ์ให้แตกแยกกัน |
สังฆาฏิ |
ผ้าคลุมกันหนาวของภิกษุ
ใช้ทาบบนจีวร เป็นจีวรผืนหนึ่งในไตรจีวร |
สังฆาทิเสส |
อาบัติพวกหนึ่งในพวกครุกาบัติ |
สังวาส |
การอยู่ด้วยกัน
โดยมีศีลเสมอกัน |
สัตตบรรณคูหา |
ถ้ำในภูเขาเวภาระ
เขตนครราชคฤห์ |
สัตบุรุษ |
คนประพฤติสงบ
คนดี |
สัทธรรม |
ธรรมของสัตบุรุษ
ภาวะอันดีงาม |
สัทธิวิหาริก |
ภิกษุผู้เป็นศิษย์อยู่ร่วมกับพระอุปัชฌาย์ |
สันโดษ |
ความยินดีเฉพาะของตนที่มีอยู่ |
สัมปินิกา |
ชื่อแม่น้ำสายหนึ่ง
เขตนครราชคฤห์ |
สัมปชัญญะ |
ความรู้สึกตัว
ความสำนึกตัวได้ว่าชั่วดี |
สัมมาทิฐิ |
ความเห็นชอบ
คือเห็นจริงในอริยสัจสี่ |
สัมมาสัมพุทธะ |
พระนามของพระพุทธเจ้า |
สาคละ |
ชื่อเมือง
ๆ หนึ่ง |
สาฎก |
ผ้าที่เป็นผืนสำหรับใช้นุ่งห่ม |
สายระเดียง |
หวายหรือเชือกที่ขึงไว้สำหรับตากจีวร |
สารคุณ |
ความดีอันเป็นแก่นสาร |
สารีบุตร |
พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า |
สาวัตถี |
ราชธานีแห่งแคว้นโกศล |
สิกขมานา |
สามเณรีผู้สิกขาสมบัติ
เพื่อปฏิบัติก่อนเป็นภิกษุณี |
สิกขา |
ข้อปฏิบัติที่ควรศึกษาในพระพุทธศาสนา |
สิกขาบท |
พระบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ |
สิขี |
พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกัปก่อนภัททกัป |
สีตวัน |
ชื่อป่าแห่งหนึ่ง
ป่าเย็น |
สีมา |
แดน ขอบเขต
กำแพง จังหวัด |
สึก |
การลาจากเพศสมณะ
การลาสิกขา |
สุกกะ |
น้ำสีขาว
น้ำอสุจิ น้ำกาม |
สุคต |
ผู้ไปดี
พระนามพระพุทธเจ้า |
สุคติ |
ทางไปดี
ทางดำเนินที่ดี สวรรค์ |
สุตตะ |
สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน
9 อย่าง |
สุทินน์ |
บุตรเศรษฐีผู้หนึ่งในกลันทคาม
ภายหลังเมื่อบวชเป็นภิกษุแล้วเป็นต้นบัญญัติปฐมปาราชิก |
สูตร |
สิ่งที่ร้อยกรองขึ้น
หลักสำหรับจดจำ |
เสขะ |
พระอริยะผู้ยังต้องศึกษา
เพื่อบรรลุอรหัตผล |
เสนาสนะ |
ที่นอน
ที่นั่ง หมายเอากุฎีที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ |
เสพ |
การร่วมรส
การร่วมประเวณี การกิน การใช้สอย การคบหา |
โสภิตะ |
พระอรหันต์รูปหนึ่ง |
โสเรยยะ |
ชื่อเมือง
ๆ หนึ่ง |
องค์กำเนิด |
อวัยวะสืบพันธ์ของเพศชาย |
อจิรวดี |
แม่น้ำสำคัญสายหนึ่งของชมพูทวีป
เป็นหนึ่งในห้าของเบญจมหานที |
อทินนาทาน |
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
การลักขะโมยทรัพย์ |
อธิกรณ์ |
เรื่องราว
คดี การอ้างอิงเหตุ |
อนาจาร |
การประพฤติ
นอกรีต นอกแบบแผน |
อนาถบิณฑิก |
คหบดีผู้หนึ่ง
เป็นอริยสาวกคนแรกในนครสาวัตถี |
อนาปัตวาร |
วาระแห่งการจำแนกเรื่องที่ไม่เป็นอาบัติ |
อนิยต |
ชื่ออาบัติหมวดหนึ่งที่ยังไม่แน่
ให้ปรับตามฟ้องหรือตามคำรับ |
อนุบัญญัติ |
ข้อบังคับที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นภายหลัง |
อนุวาทาธิกรณ์ |
เรื่องราวที่เกิดเพราะโจทติเตียนกัน |
เอนกปริยาย |
หลายบรรยาย
หลายกระบวน หลายวิธี |
อปรัณณชาติ |
ของที่กินภายหลังมีถั่วมีงาเป็นต้น |
อภิธรรม |
ธรรมอันยิ่ง
ธรรมอันเทวดาและมนุษย์บูชา |
อมมนุษย์ |
สัตว์ที่ไม่ปรากฎกายจำพวกหนึ่ง
ไม่ใช่มนุษย์ |
อรรถ |
เนื้อความ
ความหมาย |
อรหัต |
ความเป็นพระอรหันต์
ชื่อมรรคผลชั้นสูงสุด |
อรหันต์ |
พระอริยะผู้บรรลุ
อรหัตผล |
อริยกะ |
มนุษยชาติหนึ่งในชมพูทวีป |
อลัชชี |
คนไม่อาย
ภิกษุละเมิดพุทธบัญญัติ |
อสัทธรรม |
สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมสัตบุรุษ |
อสุจิ |
ของไม่สะอาด
น้ำกาม |
อสุภกรรมฐาน |
กรรมฐานที่มีของไม่งามเป็นอารมณ์ |
อเสขะ |
พระอริยะชั้นสูงสุด
ผู้บรรลุอรหัตผลแล้ว ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก |
อคาพัวเจดีย์ |
สถานที่เคารพนับถือของชาว
อาฬวี |
อังคาส |
การถวายอาหารแก่พระสงฆ์ที่กำลังฉัน
การเลี้ยงพระ |
อันตรธาน |
เสื่อมสูญ
สิ้นไป |
อันตรวาสก |
ผ้านุ่งของพระภิกษุ
สบงก็เรียก เป็นจีวรผืนหนึ่งในไตรจีวร |
อันเตวาสิก |
ภิกษุผู้เป็นศิษย์
อยู่ในสำนักของครูอาจารย์ |
อันธวัน |
ชื่อป่าแห่งหนึ่ง
แขวงนครพาราณสี |
อัพโพหาริก |
ลักษณการที่ไม่มีข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเช่นนั้น
ไม่นับว่าผิดวินัยหรือกฎหมาย |
อัพภูตธรรม |
สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน
9 อย่าง |
อัสสชิ |
ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง
เป็นหนึ่งใน ปัญจวัคคีย์ |
อาชีวก |
นักบวชพวกหนึ่ง
ภานนอกพระพุทธศาสนา |
อาตมา |
ข้าพเจ้า
ฉัน ตัวตน (เป็นคำที่พระสงฆ์เรียกตนเอง) |
อาทิกัมมิกะ |
ผู้ริทำเป็นต้นเหตุ
ผู้เป็นตัวการทำผิดคนแรก |
อานนท์ |
พุทธอนุชา
และเป็นพุทธอุปัฎฐาก |
อานาปานสติ |
กรรมฐานที่เจริญโดยวิธีตั้งสิติ
กำหนดลมหายใจเข้าออกของตนเป็นอารมณ์ |
อาบัติ |
การล่วงละเมิดข้อห้าม
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติโทษทางวินัย |
อาบัติตาธิกรณ์ |
เรื่องราวที่เกิดขึ้น
เพราะเหตุต้องอาบัติ |
อาพาธ |
โรค ความป่วยไข้
(ใชสำหรับพระสงฆ์) |
อารัญญิก |
การถืออยู่ป่าเป็นวัตร
เป็นองค์ธุดงองค์หนึ่ง |
อาราธนา |
การเชื้อเชิญ
การอ้อนวอน (ปกติใช้สำหรับพระสงฆ์) |
อาราม |
บริเวณที่พักอาศัยของภิกษุสงฆ์
วัด สวน ที่ที่มายินดี |
อาวาส |
ที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ |
อาวุโส |
คำปราศรัยของภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า
ใช้ทักทายผู้น้อยก่อนคำอื่น |
อาสวะ |
น้ำดอง
กิเลสที่ดองอยู่ในสันดาน |
อาฬวี |
ชื่อเมื่อง
ๆ หนึ่ง |
อิติวุตกะ |
สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน
9 อย่าง |
อิทธิปาฎิหารย์ |
ความอัศจรรย์เกิดด้วยอำนาจฤทธิ์บันดาล |
อินทรีย |
ความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของนามรูป
ความรู้สึก ร่างกาย |
อิสิคิลิ |
ชื่อเขาลูกหนึ่งในเบญจคีรี
เขตนครราชคฤห์ |
อุตรกุรุ |
ชื่อทวีปหนึ่งในทวีปทั้ง
4 ที่เชื่อกันในสมัยนั้น |
อุตราสงค์ |
ผ้าห่มของภิกษุ
จีวรก็เรียก เป็นจีวรผืนหนึ่งในไตรจีวร |
อุทาน |
สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน
9 อย่าง |
อุทายี |
ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง |
อุเทศ |
หัวข้อที่ยกขึ้นแสดง
คำบาลี |
อุบาลี |
พระเถระรูปหนึ่ง
เป็นผู้เลิศทางพระวินัย |
อุบาสก |
ชายผู้ถึงไตรสรณาคมณ์ใกล้ชิดพระรัตนตรัย |
อุบาสิกา |
หญิงผู้ถึงไตรสรณาคมณ์ใกล้ชิดพระรัตนตรัย |
อุปจาร |
บริเวณรอบนอก
สถานที่เป็นชาน สถานที่ใกล้เคียง |
อุปบัติ |
การเข้าถึงชาติใหม่
ภพใหม่ การเกิด |
อุปปลวัณณา |
ชื่อพระเถรีรูปหนึ่ง |
อุปสมบท |
การบวชเป็นภิกษุ
สังฆกรรมการบวชพระในพระพุทธศาสนา |
อุปัชฌายะ |
ภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์ในอุปสมบทกรรม |
อุปัฏฐาก |
ผู้บำรุง
ผู้ดูแล |
อุปัฏฐานศาลา |
ศาลาที่ประชุมเฝ้าพระพุทธเจ้า
อันเป็นสถานที่กลาง |
อุภโตพยัญชนก |
สัตว์และคนพวกหนึ่ง
มีอวัยวะเพศสองเพศ |
เอหิภิกษุ |
ภิกษุผู้ได้รับอุปสมบท
จากพระพุทธเจ้าโดยรับสั่งว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด |