| หน้าแรก | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | พระวินัยปิฎก | พระสุตตันตปิฎก |

จตุตถปาราชิกสิกขาบท

เรื่อง ภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
                สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค  ประทับอยู่  ณ  กูฎาคารศาลา  ป่ามหาวัน  เขตเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปซึ่งเคยเห็นร่วมคบกันมา  จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา  สมัยนั้น  วัชชีชนบท อัตคัตอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง  มีข้าวตายฝอย  ต้องมีสลากซื้ออาหาร  ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไป  ด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย  ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า บัดนี้  วัชชีชนบทอัตคัตอาหาร ฯลฯ พวกเราพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  ร่วมใจกัน  ไม่วิวาทกัน  อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาตรด้วยอุบายอย่างไร  ภิกษุบางพวกพูดว่า  พวกเราจงช่วยกันอำนวยกิจการ  อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์  เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตรแก่พวกเรา  พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  ฯลฯ  ภิกษุบางพวกพูดว่า  ไม่ควร  พวกเราจงช่วยกันนำข่าวสาส์น อันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์  พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตรแก่พวกเรา  ฯลฯ  ภิกษุบางพวกพูดว่า   พวกเราจักกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน  แก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน  ได้ทุติยฌาน  ได้ตติยฌานจตุตถฌาน  รูปโน้นเป็นโสดาบัน  เป็นพระสกทาคามี  เป็นพระอนาคามี  เป็นพระอรหันต์  รูปโน้นได้วิชชา 3 ได้อภิญญา  6  เมื่อเป็นเช่นนี้  พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา  ฯลฯ
                พวกภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า  การที่พากันกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน
แก่พวกคฤหัสถ์นี้ประเสริฐที่สุด  แล้วพากันกล่าวชมซึ่งกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์ว่า ฯลฯ   ครั้นต่อมาประชาชน เหล่านั้นพากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเรา  พวกเราได้ดีแล้ว  ที่มีภิกษุทั้งหลายผู้มีคุณพิเศษ  อยู่จำพรรษา เพราะแต่ก่อน  ภิกษุทั้งหลายของพวกเรา  จะมีคุณสมบัติเหมือนภิกษุผู้มีศีล  มีกัลยาณธรรมเหล่านี้ไม่มีเลย โภชนะของเคี้ยว  ของลิ้ม  น้ำดื่มชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น  พวกเขาไม่บริโภค ไม่ให้มารดา บิดา  บุตร  ภรรยา ฯลฯ  ภิกษุเหล่านั้นจึงมีน้ำนวล  อินทรีย์ผ่องใส  สีหน้าสดชื่น  ผิวพรรณผุดผ่อง
                เป็นประเพณีที่ภิกษุทั้งหลาย ออกพรรษาแล้ว เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษา โดยล่วงไตรมาสแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวร หลีกไปโดยมรรคาสู่เวสาลี เที่ยวจาริกโดยลำดับ ถึงเวสาลี ป่ามหาวัน   กูฏาคารศาลา   เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ภิกษุต่างทิศมาเฝ้า
                สมัยนั้น  พวกภิกษุ  ผู้จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลาย  เป็นผู้ซูบผอม  ซูบซีด  ผิวพรรณหมอง เหลืองขึ้นๆ เนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น  ส่วนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา  เป็นผู้มีน้ำนวล  อินทรีย์ผ่องใส สีหน้าสดชื่น  ผิวพรรณผุดผ่อง
                การที่พระผู้มีพระภาคทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย  เป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น  ทรงตรัสถามภิกษุพวกฝั่งวัคคุมุทาว่า  ร่างกายของพวกเธอพอทนได้หรือ  ยังพอให้เป็นไปได้หรือ เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน  ไม่วิวาทกัน  อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก  และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่ายังพอทนได้  ยังพอให้เป็นไปได้  เป็นผู้พร้อมเพรียงกันร่วมใจกัน  ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก  ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
    พุทธประเพณ
                พระตถาดตทรงทราบอยู่  ย่อมตรัสถามก็มี  ฯลฯ  ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคตรัสถาม  ภิกษุ พวกฝั่งวัคคุมุทาว่าพวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  ฯลฯ ด้วยวิธีอย่างไร  ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความ
นั้นให้ทรงทราบ    ภ. คุณวิเศษของพวกเธอนั่น  มีจริงหรือ    ภิ. ไม่มีจริง  พระพุทธเจ้าข้า
    ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า  ดูกร  โมฆบุรุษทั้งหลาย  การกระทำของพวกเธอ  นั่นไม่เหมาะ  ไม่สม  ไม่ควร  ไม่ใช่กิจของสมณะ  ใช้ไม่ได้  ไม่ควรทำ  ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวชม อุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้องเล่า  อันท้องพวกเธอคว้านด้วยมีดเชือดโคอันคมยังดีกว่า ที่พวกเธอกล่าวชม อุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน  แก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้อง ไม่ดีเลย ข้อที่เราว่าดีนั้น  เพราะเหตุไร   เพราะคนผู้คว้านท้อง  พึงถึงความตาย  หรือความทุกข์ เพียงแค่ตายซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ  เป็นปัจจัย  เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป  ไม่พึงเข้าถึงอบาย  ทุคคติ วินิบาต  นรก  ส่วนบุคคลผู้กล่าวชมอุตตริมนุสสธรรม ฯลฯ  เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึง อบาย วินิบาต  นรก  ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย   การกระทำของเธอนั่น  ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ฯลฯ  ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถา  รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้
มหาโจร 5 จำพวก
            มหาโจร 5 จำพวก   มีปรากฏอยู่ในโลก
                    1.  มหาโจรบางคนในโลกนี้ย่อมปรารถนาว่า  เราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง  หรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคามนิคม  และราชธานี  เบียดเบียนกันเอง  ให้ผู้อื่นเบียดเบียน  ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด  เผาผลาญเอง  ให้ผู้อื่นเผาผลาญ  สมัยต่อมาเขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง  ฯลฯ  ฉันใด  ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมปรารถนาว่า  เราจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง   หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในควมนิคมราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะเคารพนับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  และคิลาน  ปัจจัยเภสัชบริขาร  สมัยต่อมา เธออันภิกษุร้อยหนึ่ง ฯลฯ  นี้เป็นมหาโจร  จำพวกที่ 1  มีปรากฏอยู่ในโลก
                    2. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้  เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาดตประกาศแล้ว
ย่อมยกตนขึ้น  นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ 2 มีปรากฏอยู่ในโลก
                    3. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้  ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี  ผู้หมดจด
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่  ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้  นี้เป็นมหาโจร จำพวกที่ 3  มีปรากฏอยู่ในโลก
                    4. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้  ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ด้วยครุภัณฑ์  ครุบริขารของสงฆ์ คืออาราม  พื้นที่อาราม  วิหาร  พื้นที่วิหาร  เตียง  ตั่ง ฯลฯ  นี้เป็นมหาโจรที่  4  มีปรากฏอยู่ในโลก
                    5. ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม  อันไม่มีอยู่  อันไม่เป็นจริง  จัดเป็นยอดมหาโจรในโลก  พร้อมทั้งเทวโลก  มารโลก  พรหมโลก  ในหมู่สัตว์  พร้อมทั้งสมณะ  พราหมณ์  เทวดาและมนุษย์
ข้อนั้นเพราะภิกษุนั้นฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น  ด้วยอาการแห่งคนขโมย
    นิคมคาถา
                ภิกษุใดประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น  ด้วยอาการอย่างอื่น  โภชนะนั้น   อันภิกษุนั้นฉันแล้วด้วยอาการแห่งคนขโมย  ดุจพรานนกลวงจับนก  ฉะนั้น  ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก  มีผ้ากาสาวะพันคอ  มีธรรมทราม  ไม่สำรวมแล้ว  ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น  ย่อมเข้าถึงซึ่งนรก  เพราะกรรมทั้งหลายซึ่งเลวทราม  ภิกษุผุ้ทุศีล  ผู้ไม่สำรวมแล้ว บริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟประเสริฐกว่า  การฉันก้อนข้าวของชาววัฏฐะจะประเสริฐอะไร
    ทรงบัญญัติปฐมบัญญัต
                ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียน ภิกษุพวกฝั่งวัคคุมุทาโดยเอนกปริยาย แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก  ฯลฯ  แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า  เพราะเหตุนี้  เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย  อาศัยอำนาจประโยชน์  10 ประการคือ  ฯลฯ  พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงว่าดังนี้
 

พระปฐมบัญญัติ 4

อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ
กล่าวอวดอุตตริมมนุสสธรรมอันเป็นความรู้
ความเห็น อย่างประเสริญ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า
อันผู้ใดผู้หนึ่ง  ถือเอาก็ตาม ไม่ถือเอาก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว  มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น  ได้กล่าวว่ารู้  ไม่เห็นอย่างนั้นได้กล่าวว่าเห็น  ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ  แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิกหาสังวาสไม่ได้
สิกขาบทนี้  ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาค  ทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย  ด้วยประการฉะนี้

    เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ
                สมัยนั้น  ภิกษุเป็นอันมาก สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้เห็นว่าเห็น  ยังไม่ได้ถึงว่าถึง  ยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุ  ยังไม่ได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง  จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ  ครั้นต่อมา  จิตของเธอน้อมไป  เพื่อความกำหนัดก็มี  เพื่อความขัดเคืองก็มี  เพื่อความหลงก็มี  จึงรังเกียจว่า  ฯลฯ  พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ  แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่พระอานนท์ ๆ  กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ๆ  ตรัสว่า  มีอยู่เหมือนกัน  ข้อที่ภิกษุทั้งหลายสำคัญมรรคผลที่ตนยังไม่ได้ว่าได้  แต่ข้อนั้นเป็นอัพโพหาริก  ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา  ในเพราะเหตุ  เป็นเค้ามูลนั้น  เหตุแรกเกิดนั้น  แล้วรับสั่งว่า  พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
 

พระอนุบัญญัติ 4

อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า
ตนรู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ สมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาก็ตาม ไม่ถือเอาก็ตาม
เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น
ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ
เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้


สิกขาบทวิภังค์
                บทว่าอุตตริมนุสสธรรม   ได้แก่  ฌาน  วิโมกข์  สมาธิ  สมาบัติ  ญาณทัสสนะ  มรรคภาวนา  การทำให้แจ้ง  ซึ่งผล   การละกิเลส  ความเปิดจิต  ความยินดีในเรือนอันว่างเปล่า
                บทว่าความรู้   ได้แก่วิชชาสาม
                บทว่ากล่าวอวด  คือบอกแก่  สตรี  บุรุษ  คฤหัสถ์  หรือ  บรรพชิต  ฯลฯ
                 บทว่า  เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือยกเสียแต่เข้าใจว่าตนได้บรรลุ
บทภาชนีย์
                ที่ชื่อว่า  อุตตริมนุสสธรรมได้แก่ฌาณ  ฯลฯ  10  ความยินดีในเรือนร่าง
                ที่ชื่อว่าฌาณ  ได้แก่  ปฐมฌาณ  ตติยฌาณ  จตุตถฌาณ
                ที่ชื่อว่า  วิโมกข์  ได้แก่  สุญญตวิโมกข์  อัปปณีหิตวิโมกข์
                ที่ชื่อว่าสมาธิ  ได้แก่  สุญญตสมาธิ  อนิมิตสมาธิ  อัปปณิตสมาธิ
                ที่ชื่อว่าสมาบัติ  ได้แก่  สูญญตสมาบัติ  อนิมิตสมาบัติ  อัปปณิตสมาบัติ
                ที่ชื่อว่าญาณ  ได้แก่  วิชชาสาม
                ที่ชื่อว่ามรรคภาวนาได้แก่  สติปัฏฐาน  4  สัมมปปธาน  4  อิทธิบาท  4  อินทรีย์  5  พละ 5  โพชฌงค์  7  อริยมรรคมีองค์  8
                ที่ชื่อว่าการทำให้แจ้งซึ่งผล  ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล  สกทาคามิผล  อนาคามิผล  อรหัตตผล
                ที่ชื่อว่าการละกิเลส  ได้แก่  การละราคะ  โทสะ  โมหะ
                ที่ชื่อว่า  ความเปิดจิต  ได้แก่ความเปิดจิตจาก  ราคะ  โทสะ  โมหะ
                ที่ชื่อว่าความยินดีในเรือนร่าง  ได้แก่ความยินดีในเรือนร่างด้วยปฐมฌาณ  ด้วยทุติยฌาณ  ด้วยตติยฌาณ ด้วยจตุตฌาน
     สุทธิกะ ฌาน
      ปฐมฌาน
                ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ  3  อย่างคือ  1  เบื้องต้นรู้ว่าจักกล่าวเท็จ  2  กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ   3   กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จ  ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่า  ตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ  4 อย่างคือ  ฯลฯ  4  อำพรางความเห็น  ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จ  ตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ  5  อย่างคือ  ฯลฯ  5  อำพรางความถูกใจ  ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จ  ตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ  6  อย่างคือ  ฯลฯ  6  อำพรางความชอบใจ  ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ  7  อย่าง  ฯลฯ  7  อำพรางความจริง  ต้องอาบัติปาราชิก
                ภิกษุรู้อยู่   กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมฌานอยู่   ตนเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว    ตนเป็นผู้ได้ปฐมฌาน  ตนเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน  ตนทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว สาระสำคัญทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้วข้างต้น
    ทุติยฌาน
                ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
     ตติยฌาน
                ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
     จตุตถฌาน
                ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมฌาน
    สุทธิกะ วิโมกข์
                สุญญตวิโมกข์   อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์  ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
    สุทธิกะ สมาธิิ
                สุญญตสมาธิ  อนิมิตตสมาธิ  อปปณิหิตสมาธิใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
    สุทธิกะ สมาบัติ
                สุญญตสมาบัติ  อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหติสมาบัติิ   ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
    สุทธิกะ ญาณทัสสนะ
                วิชชา 3   ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
    สุทธิกะ มรรคภาวนา
                สติปัฏฐาน 4   สัมมัปปธาน 4   อิทธิบาท 4   อินทรีย์  5   พละ 5   โพชฌงค์  7  อริยมรรคมีองค์  8  ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมฌาน
    สุทธิกะ อริยผล
                โสดาปัตติผล  สกทาคามิผล  อนาคามิผล  อรหัตตผล ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
    สุทธิกะ การละกิเลส
            สละราคะ สละโทสะ สละโมหะ   ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมฌาน  สละ  คาย  พ้น  ละ  สลัด  เพิก  ถอน  แล้ว
    สุทธิกะ ความเปิดจิต
                เปิดจากราคะ เปิดจากโทสะ เปิดจากโมหะ  ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมฌาน  สละ  คาย  พ้น  ละ สลัด  เพิก  ถอน  แล้ว
ขัณฑจักร
                ปฐมณาน ทุติยณาน ตติยฌาน   จตุตถฌาน   สุญญตวิโมกข์  อนิมิตตวิโมกข์  อัปปณิหิตวิโมกข์  สุญญตสมาธิ  อนิมิตตสมาธิ  อัปปณิหิตสมาธิ  สุญญตสมาบัติ    อนิมิตตสมาบัติ  อัปปณิตสมาบัติ  วิชชา 3    สติปัฏฐาน 4   สัมมัปปฐาน 4   อิทธิบาท 4   อินทรีย์ 5   พละ 5   โพชฌงค์ 7   อริยมรรคมีองค์ 8  โสดาปัตติผล  สกทาคามิผล    อนาคามิผล  อรหัตตผล    สละราคะ  สละโมหะ  สละโทสะ   เปิดจากราคะ เปิดจากโทสะ  เปิดจากโมหะ ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมณาน สละ  คาย  พ้น  ละ  สลัด  เพิก  ถอน  แล้ว

ฯลฯ
พัทธจักร
                    1.  ทุติยณาน และตติยณาน , จตุตถณาน  สุญญติโมกข์  ฯลฯ  เปิดจากโมหะ
                            ทุติยณาน และราคะ   โทสะ   โมหะ   สละ  คาย  ปล่อย  ละ  เพิก  สลัด  ถอน  แล้ว
ฯลฯ
                    พัทธจักร  เอกมุลกนัย  ท่านตั้งอุตตริมนุสสธรรมข้อหนึ่ง ๆ เป็นมูลแล้วเวียนไป  โดยวิธี ท่านย่อไว้
    พัทธจักร เอกมูลกนัย
                        1.  ภิกษุรู้ อยู่กล่าวเท็จว่าจิตของเปิดจากโมหะ  และตนเข้าแล้ว เข้าอยู่  เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้  เป็นผู้ชำนาญ  ทำให้แจ้งซึ่งปฐมณานด้วยอาการ 3, 4, 5, 6, 7,  อย่าง ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
                        2.  ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ  ซึ่งทุติยณาน ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
                        3.  ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ  ซึ่งตติยณาน ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
ฯลฯ
                        28.  ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ  และราคะตนสละแล้ว  คายแล้ว ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
                        29.  ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ  และจิตของตนเปิดจากราคะ ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
                        30.  ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ  และจิตของตนเปิดจากโทสะ ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
                    พัทธจักร ทุมูลกนัย  มีอุตตริมนุสสธรรม 2 ข้อ  เป็นมูล ฯลฯ  ทสมูลกนัย  มีอุตตริมนุสสธรรม 10 ข้อเป็นมูล  บัณฑิตพึงให้พิสดารเหมือนพัทธจักร เอกมูลกนัย
   พัทธจักร สัพพมูลกนัย
                    ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่า ตนเข้าแล้ว เข้าอยู่  เป็นผู้ได้เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งปฐมณาน ฯลฯ  อรหัตตผล ราคะตนสละแล้ว ฯลฯ  โทสะ โมหะ  ตนสละแล้ว ฯลฯ  จิตของตนเปิดจากราคะ  โทสะ  โมหะด้วยอาการ 3, 4, 5, 6, 7, อย่าง  ต้องอาบัติปาราชิก
   ขัณฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ
                            1. ภิกษุผู้รู้อยู่  ประสงค์จะกล่าวว่า  ตนเข้าปฐมณานแล้วแต่กล่าวเท็จว่า  ตนเข้าทุติยยณานแล้วด้วยอาการ  3, 4, 5, 6, 7, อย่าง  เมื่อคนอื่นเข้าใจ  ต้องอาบัติปาราชิก  เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฯลฯ
                            30. ภิกษุรู้อยู่ ฯลฯ  แต่กล่าวเท็จว่าจิตของตนเปิดจากโมหะ  เมื่อคนอื่นเข้าใจ  ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
  พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ มีอุตตริมนุสสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล
                    ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่าตนเข้าทุติยณานแล้ว แต่กล่าวเท็จว่าตนเข้าตติยณานด้วยอาการ 3, 4, 5, 6, 7, อย่าง  เมื่อคนอื่นเข้าใจ  ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฯลฯ
                                30.  ภิกษุรู้อยู่.....แต่กล่าวเท็จว่า  ตนเข้าปฐมณานแล้ว.....เมื่อคนอื่นเข้าใจ  ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
  มูลแห่งพัทธจักรที่ท่านย่อไว้
                            1.  ภิกษุรู้อยู่  ประสงค์จะกล่าวว่า  จิตของตนเปิดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมณานแล้ว ฯลฯ เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฯลฯ
  ขัณฑจักรทุมุลกนัย แห่งวัติถุนิสสารกะ มีอุตตริมนุสสธรรม 2 ข้อเป็นมูล
                            1.  ภิกษุรู้อยู่  ประสงค์จะกล่าวว่าตนเข้าปฐมณานและทุติยณานแล้ว แต่กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมณานและตติยณานแล้ว ฯลฯ
                            29. ภิกษุรู้อยู่....แต่กล่าวเท็จว่า  ตนเข้าปฐมฌานและจิตของตนเปิดจากโมหะ  ฯลฯ
ฯลฯ
  พัทธจักร ทุมุลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ มีอุตตริมนุสสธรรม 2 ข้อเป็นมูล
                            1. ภิกษุรู้อยู่  ประสงค์จะกล่าวว่า  ตนเข้าทุติยฌานแล้ว  แต่กล่าวเท็จว่า  ตนเข้าจตุตถฌานแล้ว  ฯลฯ
ฯลฯ
                            29. ภิกษุรู้อยู่....แต่กล่าวเท็จว่า  ตนเข้าปฐมฌานแล้ว  ฯลฯ
  พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ ที่ท่านย่อไว้
                            1. ภิกษุรู้อยู่  ประสงค์จะกล่าว  จิตของตนเปิดจากโทสะ  และโมหะ  แต่กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมฌานแล้ว  ฯลฯ
ฯลฯ
                            29. ภิกษุรู้อยู่ .... แต่กล่าวเท็จว่า  จิตของตนเปิดจากราคะ  ฯลฯ
                    พัทธจักรแห่งวัตถุนิสสารกะมีอุตตริมนุสสธรรม  3  ข้อเป็นมูล  4 ข้อ  5 ข้อ  6 ข้อ  7 ข้อ  8  ข้อ  9 ข้อ  10 ข้อ  เป็นมูลก็ดี  บัณฑิตพึงทำให้พิศดารเหมือนพัทธจักร  มีอุตตริมนุสสธรรมข้อหนึ่ง ๆ  เป็นมูล  แห่งนิกเขปบททั้งหลายที่กล่าวไว้แล้ว  ฉะนั้น  พึงให้พิศดารเหมือนพัทธจักร  มีอุตริมนุสสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล  ที่ท่านให้พิศดารแล้วนั้นเถิด
  พัทธจักร สัพพมุลกนัย มีอุตริมนุสสธรรมทุกข้อเป็นมูล
                    ภิกษุรู้อยู่  ประสงค์จะกล่าวว่าตน เข้าปฐมฌาน ฯลฯ  เมื่อคนอื่นเข้าใจ  ต้องอาบัติปาราชิก  เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
ปัจจัย ปฏิสังยุต วารกถา เปยยาล 15 หมวด
  ปัจจัตตวจนวาร  5  หมวด
                            1. ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่า  ภิกษุใดอยู่ใน  วิหารของท่าน  ภิกษุนั้นเข้าแล้ว  เข้าอยู่  เข้าได้แล้ว  เป็นผู้ได้  เป็นผู้ชำนาญ  ทำให้แจ้งซึ่งปฐมฌาน ฯลฯ  เมื่อคนอื่นเข้าใจ  ต้องอาบัติถุลลัจจัย  เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ
                        ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่า  ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน  ภิกษุนั้นเข้าแล้ว ฯลฯ  ซึ่งทุติยฌาน  ตติยฌาน  ฯลฯ  อรหัตตผล ฯลฯ  เมื่อคนอื่นเข้าใจ  ต้องอาบัติถุลลัจจัย  เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ
                         ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่า  ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน  ราคะภิกษุนั้นสละแล้ว ฯลฯ     ภิกษุรู้ใดอยู่  กล่าวเท็จว่า  ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน  จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ฯลฯ  ภิกษุรู้ใดอยู่  กล่าวเท็จว่า  ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน  ภิกษุนั้นเข้าแล้ว ฯลฯ  ซึ่งปฐมฌานในเรือนร่าง ฯลฯ
                                2.-5.  ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่า   ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน   บริโภคบิณฑบาตรของท่าน  ใช้สอยเสนาสนะของท่าน   บริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน ใจความทำนองเดียวกันกับ ข้อ 1
     กรณาวจวาร 5 หมวด
                                1.-4.  ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่า   วิหารของท่าน   จีวรของท่าน   บิณฑบาตรของท่าน  เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว   ใจความทำนองเดียวกันกับที่กล่าวแล้ว
                                5.  ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่า  ยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน  อันภิกษุใดบริโภคแล้ว  ใจความทำนองเดียวกันกับที่กล่าวแล้ว
     อุปโยควจนวาร 5 หมวด
                        &nbbp;       1.-5.  ภิกษุรู้อยู่  กล่าวเท็จว่า   ท่านอาศัยภิกษุใด   ได้ถวายวิหารแล้ว   ได้ถวายจีวรแล้ว  ได้ถวายบิณฑบาตรแล้ว   ได้ถวายเสนาสนะแล้ว   ได้ถวายเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว  ใจความทำนองเดียวกันกับที่กล่าวแล้ว
อนาปัติวาร
                        ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุไม่ประสงค์กล่าวอวด   วิกลจริต   มีจิตฟุ้งซ่าน   กระสับกระส่าย  เพราะเวทนา   ภิกษุอาทิกัมมิกะ   ไม่ต้องอาบัติ
วินีตวัตถุ
    อุทานคาถา
                         รวม  77 เรื่อง
        เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ
                        ภิกษุรูปหนึ่ง  อวดอ้างคุณวิเศษด้วยสำคัญว่าได้บรรลุแล้ว ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
        เรื่องอยู่ป่า
                        ภิกษุรูปหนึ่ง  อยู่ป่า  ด้วยตั้งใจว่าคนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้  คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว ฯลฯ  อันภิกษุไม่พึงอยู่ป่าด้วยตั้งใจเช่นนั้น  ภิกษุใดอยู่ด้วยตั้งใจเช่นนั้น  ต้องอาบัติทุกกฏ
        เรื่องเที่ยวบิณฑบาตร
                       ภิกษุรูปหนึ่ง  เที่ยวบิณฑบาต  ด้วยตั้งใจว่าคนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้  คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว  ฯลฯ  อันภิกษุไม่ควรเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจเช่นนั้น  ภิกษุใดทำต้องอาบัติทุกกฏ
        เรื่องอุปัชฌายะ 2 เรื่อง
                       1. ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า  พวกภิกษุสิทธิวิหารริกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา  ล้วนเป็นพระอรหันต์  ฯลฯ
                                ภ. เธอคิดอย่างไร        ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด        ภ. ต้องอาบัติถุลลัจจัย
                        2. ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า  พวกภิกษุอันเตวาสิกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา ล้วนเป็นผู้มีฤิทธิ์มาก  มีอานุภาพมาก ฯลฯ
                                ภ. เธอคิดอย่างไร        ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ประสงค์จะพูดอวด        ภ. ต้องอาบัติถุลลัจจัย
        เรื่องอิริยาบท 4 เรื่อง
                            1. - 4.  ภิกษุรูปหนึ่ง  เดินจงกรมอยู่  ยืนอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่  ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอรังเกียจว่า ฯลฯ  อันภิกษุไม่พึงเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ถ้าทำต้องอาบัติทุกกฏ
        เรื่องละสัญโญชน์
                    ภิกษุรูปหนึ่ง  พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม  แก่อีกรูปหนึ่ง  แม้ภิกษุนั้นก็กล่าวอวดตนว่า  ตนก็ละสัญโญชน์ได้  ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
        เรื่องธรรมในที่ลับ
                    ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ  พูดอวดอุตริมนุสสธรรม  ภิกษุผู้รู้จิตของบุคคลอื่น  ตักเตือนว่าอย่าได้พูดเช่นนั้น  เพราะธรรมเช่นนั้นไม่มีแก่ตัวผู้พูด  ฯลฯ  ต้องอาบัติทุกกฏ
                    ภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ  พูดอวดอุตริมนุสสธรรม  เทวดาตักเตือนว่าอยู่ได้พูดเช่นนั้น  เพราะธรรมนั้นไม่มีแก่ตัวผู้พูด  ฯลฯ  ต้องอาบัติทุกกฏ
        เรื่องวิหาร
                    ภิกษุรูปหนึ่งพูดกับอุบาสกคนหนึ่งว่า  ภิกษุผู้อยู่ในวิหารของท่านนั้นเป็นพระอรหันต์ และภิกษุนั้นก็อยู่ในวิหารของอุบาสกนั้น  ฯลฯ
                            ภ. เธอคิดอย่างไร        ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด        ภ. ต้องอาบัติถุลลัจจัย
        เรื่องบำรุง
                    ภิกษุรูปหนึ่ง  พูดอุบาสกผู้หนึ่งว่า  ภิกษุที่ท่านบำรุงด้วยจีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  และศิลามปัจจัยเภสัชบริขารนั้น  เป็นพระอรหันต์  และอุบาสกนั้นก็บำรุงภิกษุนั้นด้วยจีวร  ฯลฯ
                            ภ. เธอคิดอย่างไร        ภ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด        ภ. ต้องอาบัติถุลลัจจัย
        เรื่องทำไม่ยาก
                    ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ  ภิกษุทั้งหลายพากันถามภิกษุนั้นว่า  อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ  ภิกษุนั้นตอบว่า  การทำพระอรหันต์ให้แจ้งไม่ใช้ของทำได้ยาก ฯลฯ
                            ภ. เธอคิดอย่างไร        ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ประสงค์จะพูดอวด
                            ภ. ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด  ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องความเพียร
                    ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ  ภิกษุทั้งหลายพากันถามภิกษุนั้นว่า  อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ  ภิกษุนั้นตอบว่า  อันท่านผู้ปรารภความเพียรแล้ว  พึงยังธรรมให้สัมฤทธิ์ผลได้ ฯลฯ  ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวดไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องไม่กลัวความตาย
                    ภิกษุรูปหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายได้พูดกับภิกษุนั้นว่า  ท่านอย่าได้กลัวเลย  ภิกษุนั้นตอบว่า  ตนไม่กลัวความตาย ฯลฯ  ภิกษุไม่ประสงค์จะพูดอวดไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องความเสียหาย
                    ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ  ภิกษุทั้งหลายได้พูดกับภิกษุนั้นว่าท่านอย่าได้กลัวเลย  ภิกษุนั้นตอบว่า  สำหรับท่านผู้มีความกินแหนงแคลงใจต้องกลัวแน่ ฯลฯ  ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด  ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องประกอบชอบ
                    ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ  อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ  ภิกษุนั้นตอบว่า  อันท่านผู้ประกอบโดยชอบพึงยังธรรมให้สัมฤทธิ์ผลได้ ฯลฯ  ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด  ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องปรารภความเพียร
                    ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ  อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ  ภิกษุนั้นตอบว่า อันท่านผู้ประกอบโดยชอบ พึงยังธรรมให้สัมฤทธิ์ผลได้ ฯลฯ  ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด  ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องประกอบความเพียร
                    ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ  อุตตริมนุสสธรรมคุณมีหรือ  ภิกษุนั้นตอบว่า ท่านผู้มีความเพียรอันปรารภ
แล้วพึงยังธรรมให้สัมฤทธิ์ผลได้ ฯลฯ  ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะอวด  ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องประกอบความเพียร
                    ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ  อุตตริมนุสสธรรมคุณมีหรือ  ภิกษุนั้นตอบว่า  ท่านผู้มีความเพียรอันประกอบแล้ว ฯลฯ  ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะอวด  ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องอดกลั้นเวทนา 2 เรื่อง
                        1.  ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ   คุณยังพอทนต่อทุกขเวทนาได้หรือ  ยังพอประทังชีวิตได้หรือ  ภิกษุนั้นตอบว่า  อันคนพอดีพอร้ายไม่สามารถจะอดกลั้นได้ ฯลฯ  ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด  ไม่ต้องอาบัติ
                        2.  ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ  ท่านยังพออดทนต่อทุกขเวทนา ฯลฯ  ภิกษุนั้นตอบว่า  อันปุถุชนไม่สามารถจะอดกลั้นได้ ฯลฯ
                             ภ. เธอคิดอย่างไร        ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด        ภ. เธอต้องอาบัติถุลลัจจัย
        เรื่องพราหมณ์ 5 เรื่อง
                        1. พราหมณ์ผู้หนึ่ง  นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่านิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลายจงมาเถิด  ภิกษุเหล่านั้นรังเกียจว่า  พวกเรามิได้เป็นพระอรหันต์  พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไร  แล้วกราบทูล  ฯลฯ  ไม่เป็นอาบัติ  เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส
                        2. - 5.  พราหมณ์ผู้หนึ่ง  กล่าวว่า  นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลายนั่งเถิด  จงบริโภคเถิด  จงฉันให้อิ่มเถิด   กลับไปเถิด   เธอเหล่านั้นรังเกียจว่า ฯลฯ   ไม่เป็นอาบัติ  เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส
        เรื่องพยากรณ์มรรคผล 3 เรื่อง
                        1.  ภิกษุรูปหนึ่งอวดอุตตริมนุสสธรรมกับอีกรูปหนึ่งว่า  ตนละอาสวะได้  แล้วรังเกียจว่า ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
                        2.  ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ  ธรรมเหล่านั้นย่อมมีแม้แก่ตน ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
                        3.  ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ  แม้ตนก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
        เรื่องครองเรือน
                    สมัยนั้น  พวกญาติได้กล่าวกับภิกษุรูปหนึ่งว่า  ให้มาอยู่ครองเรือน  ภิกษุรูปนั้นตอบว่า  คนอย่างตนไม่ควรแท้ที่จะอยู่ครองเรือน ฯลฯ
                            ภ. เธอคิดอย่างไร        ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ประสงค์จะพูดอวด        ภ.ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องห้ามกาม
                    สมัยนั้น  พวกญาติได้กล่าวกับภิกษุรูปหนึ่งให้บริโภคกาม  ภิกษุรูปนั้นตอบว่า กามทั้งหลายเราห้ามแล้ว ฯลฯ  ภิกษุไม่ได้ประสงค์จะพูดอวด       ภ.ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องยินดี
                    สมัยนั้น  พวกญาติได้กล่าวกับภิกษุรูปหนึ่งว่ายังยินดียิ่งอยู่หรือ  ภิกษุนั้นตอบว่า  เรายังยินดีอยู่ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ฯลฯ  ภิกษุไม่ได้ประสงค์จะพูดอวดไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องหลีกไป
                    สมัยนั้น  ภิกษุเป็นอันมาก  จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งตั้งกติกาไว้ว่า  ภิกษุใดหลีกไปจากอาวาสนี้ก่อน  พวกเราจักเข้าใจภิกษุนั้นเป็นอรหันต์  ภิกษุรูปหนึ่งหลีกไปจากอาวาสนั้นก่อน  ด้วยตั้งใจว่า  ภิกษุทั้งหลาย  จงเข้าใจเราว่าเป็นอรหันต์  ฯลฯ  ต้องอาบัติปาราชิก
        เรื่องอัฏฐิสังขลิกเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีประภาค  ประทับอยู่  ณ เวฬุวันวิหาร  เขตนครราชคฤห์  ครั้งนั้น  พระลักขณากับพระมหาโมคคัลลานะ อยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ  ครั้นเวลาเช้า  ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะ ลงจากเขาคิชกูฏ  ได้ยิ้มให้ปรากฏ  ณ ที่แห่งหนึ่ง  พระลักษณะจึงถามว่า  อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ท่านยิ้ม    ม. ยังไม่สมควรพยากรณ์ปัญหานี้  ท่านจงถามปัญหานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด  เมื่อทั้งสองท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว  พระลักขณะก็ได้ถามพระมหาโมคคัลลานะด้วยปัญหาเดิม    ม.  ผมลงจากเขาคิชฌกูฏ  ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต มีแต่ร่างกระดูก  ลอยไปในเวหาส์  ฝูงแร้ง  เหยี่ยว  และนกตระกรุม  พากันโฉบอยู่ขวักไขว่  จิกสับโดยแรง  จิกทึ้งยื้อแย่งตามช่องซี่โครง  สะบัดเปรตนั้นอยู่ไปมา  เปรตนั้นร้องครวญคราง  ผมได้คิดว่า  น่าอัศจรรย์  น่าประหลาดที่สัตว์  ยักษ์  เปรต  การได้อัตภาพปานนี้ก็มีอยู่  ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ  ติเตียนโพนทะนาว่า  พระโมคคัลลานะอวดตุตริมนุสสธรรม  ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า   สาวกทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีจักษุอยู่เป็นผู้มีฌานอยู่   เพราะสาวกได้รู้ได้เห็น หรือได้ทำสัตว์เช่นนี้ ให้เป็นพยานแล้ว  เมื่อกาลก่อนเราก็ได้เห็นสัตว์นั้น  แต่เราไม่ได้พยากรณ์ ถ้าเราพยากรณ์สัตว์นั้น  และคนอื่นไม่เชื่อเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์  แก่เขาเหล่านั้นสิ้นกาลนาน สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าโคอยู่ในนครราชคฤห์  ด้วยวิบากกรรมนั้น  เขาหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยหลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากกรรมนั้นแหละ ที่ยังเป็นส่วนเหลืออยู่ โมคคคัลลานะพูดจริง ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องมังสเปสิเปรต
                   สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นมังสเปสิเปรต มีแต่ชิ้นเนื้อ ฯลฯ  สัตว์นั้น  เคยเป็นคนฆ่าโค อยู่ในนครราชคฤห์
        เรื่องมังสบิณฑเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นมังสบิณฑเปรต  มีแต่ก้อนเนื้อ ฯลฯ  สมัยนั้นเคยเป็นพรานนกอยู่ในนครราชคฤห์
        เรื่องนิจฉวีเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นนิจฉวีเปรตชาย  ไม่มีผิวหนัง ฯลฯ  สัตว์นั้น  เคยเป็นคนฆ่าแกะอยู่ในนครราชคฤห์ ฯลฯ
        เรื่องอสิโลมเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นอสิโลมเปรตชาย มีขนเป็นดาบ ฯลฯ  ดาบเหล่านั้น  หลุดลอยขึ้นและตกลงที่กายนั่นเอง  สัตว์นั้น  เคยเป็นคนฆ่าสุกรในนครราชคฤห์ ฯลฯ
        เรื่องสัตติโลมเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นสัตติโลมเปรตชาย  มีขนเป็นหอก ฯลฯ หอกเหล่านั้นหลุดลอยขึ้นไป แล้วตกที่กายตัวเอง ฯลฯ  สัตว์นั้น เคยเป็นพรานเนื้อในนครราชคฤห์ ฯลฯ
        เรื่องอุสุโลมเปรต
                    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นอุสุโลมเปรตชาย มีขนเป็นลูกศร ฯลฯ  ลูกศรเหล่านั้นหลุดลอยขึ้นไป แล้วตกที่กายมันเอง ฯลฯ  สัตว์นั้น เคยเป็นเพชฆาตในนครราชคฤห์
        เรื่องสุจิโลมเปรต
                    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เป็นสุจิโลมเปรตชาย มีขนเป็นเข็ม ฯลฯ เข็มเหล่านั้นหลุดลอยขึ้นไป แล้วตกที่กายมันเอง ฯลฯ สัตว์นั้น  เคยเป็นนายสารถีในนครราชคฤห์ ฯลฯ
        เรื่องสุจกเปรต
                    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นสุจกเปรตชาย มีขนเป็นเข็ม  เข็มเหล่านั้นทิ่มเข้าไปในศีรษะ  แล้วออกทางปาก  ทิ่มเข้าไปในปาก แล้วออกทางอก  ทิ่มเข้าไปในอก แล้วออกทางท้อง  ทิ่มเข้าไปในท้อง แล้วออกทางขาทั้งสอง  ทิ่มเข้าไปในขาทั้งสอง แล้วออกทางแข้งทั้งสอง ทิ่มเข้าไปในแข้งทั้งสอง แล้วออกเท้าทั้งสอง ฯลฯ  สัตว์นั้นเคยเป็นคนส่อเสียดในนครราชคฤห์ ฯลฯ
        เรื่องกุมภัณฑเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นกุมภัณฑเปรตชาย มีอัณฑะโตเท้าหม้อ  เมื่อเดินไป ย่อมยกอัณฑะเหล่านั้นขึ้นพาดบ่า เมื่อนั่งย่อมนั่งบนอัณฑะเหล่านั้น ฝูงแร้ง ฯลฯ  สัตว์นั้นเคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้าน อยู่ในราชคฤห์ ฯลฯ
        เรื่องคูถนิมุคคเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า  ได้เห็นคูถนิมุคคเปรตชาย
จมอยู่ในหลุมคูถท่วมศีรษะ ฯลฯ  สัตว์นั้นเคยเป็นชู้กับภรรยาชายอื่น อยู่ในราชคฤห์ ฯลฯ
        เรื่องคูถขาทิเปรต
                    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นคูถขาทิเปรตชาย  จมอยู่ในหลุมคูถท่วมศีรษะ  กำลังเอามือทั้งสองกอบคูถกินอยู่ ฯลฯ  สัตว์นั้น  เคยเป็นพรามณ์ผู้ชั่วช้า อยู่ในราชคฤห์  ครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า  พราหมณ์นั้นนิมนต์  ภิกษุสงฆ์ด้วยภัตตาหารแล้ว  เทคูถลงในรางจนเต็มสั่งคนให้ไปบอกภัตตกาล  แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงฉันอาหาร และนำไปใช้ให้พอแก่ความต้องการ  ด้วยวิบากกรรมนั้น  เขาหมกไหม้ในนรกหลายปี  หลายร้อยปี  หลายพันปี  หลายแสนปี  แล้วได้ประสบอัตภาพนี้  ฯลฯ
        เรื่องนิจฉวิตถีเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่าได้เห็นนิจฉวิตถีเปรตหญิง ไม่มีผิวหนัง ฯลฯ  สัตว์นั้นเคยเป็นหญิง ประพฤตินอกใจสามี อยู่ในราชคฤห์ ฯลฯ
        เรื่องมังคูสิตถีเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค  ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นมังคูสิตถีเปรตหญิง มีรูปร่างน่าเกลียด  มีกลิ่นเหม็น  ฯลฯ  สัตว์นั้นเคยเป็นแม่มดอยู่ในราชคฤห์  ฯลฯ
        เรื่องโอลิกิลีเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค  ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นโอลิกิลีเปรต  หญิงมีรูปร่างกายถูกไฟลวก  มีหยาดเหงื่อไหลหยด  มีถ่านเพลิงโปรยลง  ฯลฯ
สัตว์นั้นเคยเป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ  เป็นคนขี้หึง  ได้เอากะทะ  เต็มด้วยถ่านเพลิงคลอกสตรีผู้ร่วมสามี  ฯลฯ
        เรื่องอสีสกพันธเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค  ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นอสีสกพันธเปรต  มีศรีษะขาด  ตาและปากอยู่ที่อก ฯลฯ  สัตว์นั้นเคยเป็นเพชรฆาตผู้ฆ่าโจรชื่อทามริกะ  อยู่ในนครราชคฤห์  ฯลฯ
        เรื่องภิกษุเปรต
                    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาค ฯลฯ  พระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวว่า ได้เห็นภิกษุเปรต  มีสังฆาฏิ  บาตร  ประคตเอว  และร่างกาย  ถูกไฟติดลุกโชน ฯลฯ  สัตว์นั้นเคยเป็นภิกษุลามก ในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ฯลฯ
        เรื่องภิกษุณีเปรต    เรื่องทำนองเดียวกับภิกษุเปรต
        เรื่องสิกขมานาเปรต    เรื่องทำนองเดียวกับภิกษุเปรต
        เรื่องสามเณรเปรต       เรื่องทำนองเดียวกับภิกษุเปรต
        เรื่องสามเณรีเปรต       เรื่องทำนองเดียวกับภิกษุเปรต
        เรื่องแม่น้ำตโปทา
                    สมัยนั้น  พระมหาโมคคัลลานะ  เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า  แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาแต่ห้วงใด  ห้วงนั้นมีน้ำใสเย็นจืดสนิท  สะอาดสะอ้าน  มีท่าเรียบราบ  น่ารื่นรมณ์  มีปลาและเต่ามาก  ดอกบัวเท่ากงเกวียนแย้มบานอยู่  แต่ถึงอย่างนั้น  แม่น้ำตโปทานี้ก็เดือดพล่านไหลไปอยู่  ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ  ฯลฯ  ว่าท่านอวดอุตตริมนุสสธรรม  แล้วกราบทูล  ฯลฯ  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  โมคคัลลานะพูดจริง  ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องรบ ณ นครราชคฤห์
                    สมัยนั้น  พระเจ้าพิมพิสาร  ทำสงครามแพ้พวกเจ้าลิจฉวี ต่อมาได้ทรงระดมพลไปรบพวกเจ้าลิจฉวี ได้ชัยชนะ  และตีกลองนันทิเภรีประกาศในสงครามว่า  ทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว  ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะพูดกับภิกษุทั้งหลายว่า  พระราชาทรงปราชัย  พวกเจ้าลิจฉวีแล้ว  แต่เขาตีกลองนันทิเภรีประกาศในสงครามว่า  ทรงได้ชัยชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว  ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ  ฯลฯ  แล้วกราบทูล  ฯลฯ  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  โมคคัลลานะพูดจริง  ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องช้างลงน้ำ
                    ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า  เราเข้าอาเนญชสมาธิ ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำสัปบินิกา  ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ  เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดุจนกกระเรียน  ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ฯลฯ  ว่าท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม  แล้วกราบทูล ฯลฯ  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  สมาธินั้นมีอยู่แต่ไม่บริสุทธิ์  โมคคัลลานะพูดจริง  ไม่ต้องอาบัติ
        เรื่องพระโสภิตะอรหันต์
                    ครั้งนั้น  พระโสภิตะ  เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า  เราระลึกชาติได้ห้าร้อยกัลป  ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ  ฯลฯ  ว่าท่านกล่าวอุตตริมนุสสธรรม  แล้วกราบทูล  ฯลฯ  พระผู้มีพระภาคตรัสว่าชาตินี้ของโสภิตะมีอยู่  แต่ชาติเดียวเท่านั้น  โสภิตะพูดจริง  ไม่ต้องอาบัติ


จบ จตุตถปาราชิกสิกขาบท

ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 จบ

ธรรมคือปาราชิก 4 สิกขาบท ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก อย่างไรอย่างหนึ่งแล้ว  ย่อมไม่ได้สังวาสกับภิกษุทั้งหลาย
ย่อมเป็นผู้หาสังวาสมิได้ในภายหลังเหมือนกาลก่อน  ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายว่า
บริสุทธิ์ในธรรม คือปาราชิก 4 บทนี้แล้วหรือ  ขอถามครั้งที่สอง  ครั้งที่สาม  ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ในธรรม
คือปาราชิก 4 สิกขาบทนี้แล้ว  จึงเป็นผู้นิ่ง  ข้าพเจ้าทราบความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

จบ ปาราชิกกัณฑ์


| หน้าแรก | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | พระวินัยปิฎก | พระสุตตันตปิฎก | บน |