เล่ม
๗ แคกสตัน - จรดพระนังคัล ลำดับที่ ๑๑๔๘
- ๑๒๘๗ ๗/ ๓๘๘๓ -
๔๕๔๖
๑๑๔๘. แคกสตัน, วิลเลียม (พ.ศ.๑๙๖๔ - ๒๐๓๔) เป็นบุคคลคนแรกที่ดำเนินกิจการพิมพ์ในอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๙
ขณะนั้นมีเมืองต่าง ๆ ในยุโรปได้มีโรงพิมพ์ขึ้นก่อนแล้วถึง ๗๐ เมือง
๗/ ๓๘๘๓
๑๑๔๙. แคชเมียร์ ดู กัษมีระ (ลำดับที่ ๓๓๖)
๗/ ๓๘๘๓
๑๑๕๐. แคดเมียม เป็นโลหะมักมีอยู่เป็นจำนวนน้อย
ในสินแร่สังกะสี ส่วนมากเป็นผลพลอยได้ ในการถลุงโลหะสังกะสี จากสินแร่ของสังกะสี
แคดเมียม
เป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน เป็นโลหะอ่อน
ถ้าตั้งทิ้งไว้ในอากาศจะรวมกับออกซิเจนอย่างช้า ๆ ตรงผิว ๆ
เปลี่ยนเป็นแคดเมียมออกไซด์ ประโยชน์ที่สำคัญของแคดเมียม ได้แก่ การอาบเหล็ก
และเหล็กหล้าเพื่อกันสนิม
๗/ ๓๘๘๔
๑๑๕๑. แคทลิยา ดู คัทลิยา (ลำดับที่ ๑๐๐๖)
๗/ ๓๘๘๕
๑๑๕๒. แคน แคนในภาษาไทยภาคอีสาน
หมายความได้หลายอย่างคือ
๑. ชื่อต้นไม้ ตรงกับภาษาไทยภาคกลางว่า ตะเคียน
๒. หมายความว่า ขาดเขิน ขาดแคลน
๓. หมายความว่า ค่อยยังชั่ว หรือค่อยทุเลาเบาบางลง
๔. เป็นชื่อของเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ใช้เป่าเป็นเพลง ทำด้วยไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า
ไม้คู่แคน เป็นตระกูลไม้ไผ่
เข้าใจว่าเป็นไม้ชนิดเดียวกันกับที่ ภาคกลางเรียกว่า ไม้ซาง
แคน ประกอบด้วย ไม้คู่แคน ไม้เต้าแคน หลาบโลหะ ขี้สูด (ชันนะรง)
ประเภทของแคน เมื่อจัดเป็นประเภทตามจำนวนของไม้คู่แคน
ที่ประกอบขึ้นเป็นแคน จะมีอยู่สี่ชนิด เรียกตามจำนวนลูกแคน คือ
แคนหก ทำด้วยไม้ลูกแคนหกลำ ข้างละสามลำ แคนชนิดนี้สำหรับเด็กเป่าเล่น
และใช้เป่าเพลงง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงตับเต่า
แคนเจ็ด ทำด้วยไม้ลูกแคนเจ็ดคู่ คือ ๑๔ ลำข้างละ ๗ ลำ
ใช้ได้ทั้งเป็นแคนเดี่ยว และแคนวง
แคนแปด ทำด้วยไม้ลูกแคนแปดคู่ คือ ๑๖ ลำ ข้างละ ๘ ลำ
แคนเก้า ทำด้วยไม้ลูกแคนเก้าลูก คือ ๑๘ ลำ ข้างละ ๙ ลำ
แคนแปด และแคนเก้า ใช้เป็นแคนเดี่ยว
สำหรับเป่าประสานเสียงกับการขับร้อง ที่เรียกว่า "ลำ" เท่านั้น
จะใช้เป็นแคนวงไม่ได้
วิธีเป่าแคนและชื่อเพลงแคน วิธีเป่าแคนใช้ริมฝีปากจดกับปากเต้า
แล้วพ่นลมลงไปในรูเต้าแคน และใช้นิ้วมือปิดรูนับของลูกแคน
เพื่อให้เกิดเสียงตามที่ต้องการ และเป่าให้เป็นเพลงต่าง ๆ
เพลงหลักของแคนมีห้าเพลงคือ สุดคะแนน โป้ซ้าย ส้อยใหญ่ ส้อยน้อย ลายยาว
ส่วนเพลงอื่น ๆ ก็แยกจากเพลงเหล่านี้
๗/ ๓๘๘๕
๑๑๕๓. แคนซัส เป็นมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา
จัดเป็นศูนย์กลางประเทศทางภูมิศาสตร์ ทางเหนือเป็นรัฐเนบราสกา
ทางตะวันออกเป็นรัฐมิสซูรี ทางใต้เป็นรัฐโอกลาโฮมา และทางตะวันตกเป็นรัฐโคโลราโด
เมืองหลวงคือ โตปิกา
ดินแดนรัฐแคนซัส
มีพวกผิวขาวเข้ามาเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๔ เป็นนักสำรวจชาวสเปน ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๒๖๒ พ่อค้าฝรั่งเศสเข้ามาค้าขายขนสัตว์กับพวกอินเดียนแดง
ฝรั่งเศสจึงถือว่าดินแดนนี้เป็นของตน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๔๖
สหรัฐอเมริกาได้ครอบครองดินแดนนี้ และได้เป็นมลรัฐหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๔
นับเป็นรัฐที่ ๓๔ ๗/ ๓๙๐๙
๑๑๕๔. แคนเตอร์เบอรี่ เป็นวิหารนครแห่งหนึ่ง และอาร์คบิชอฟ
ในวิหารนครนี้เป็นผู้นำทางศาสนานิกาย เชิร์ต ออฟ อิงแลนด์ อันเป็นศาสนาประจำชาติของอังกฤษ
ที่แคนเตอร์เบอรี่
นี้ได้มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานอยู่แล้วหลายร้อยปีก่อนคริสตกาล
เมื่อชาวโรมันเข้ามาก็ได้มาสร้างเมืองขึ้น
เมื่อชาวโรมันละทิ้งหมู่เกาะบริเตนไปแล้ว ในพุทธศตวรรษที่ ๑
แคนเตอร์เบอรี่ก็กลายเป็นนครหลวงแห่งอาณาจักรเคนท์ไป
นครนี้ได้เป็นฐานที่ตั้งของนักเผยแพร่ศาสนาชื่อ เซนต์ ออกัสติน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๐
และได้สร้างวิหารแคนเตอร์เบอรี่ ขึ้น
๗/ ๓๙๑๑
๑๑๕๕. แคนนิง, ยอร์ช (พ.ศ.๒๓๑๓ - ๒๓๗๐) เป็นรัฐบุรุษอังกฤษ ชื่อเสียงของเขาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับนโยบาย
การต่างประเทศคือ นโยบายที่จะไม่เข้าไปแทรกแซงใคร
และการให้ความอุปถัมภ์ต่อคววามเคลื่อนไหวทางด้านชาตินิยม และเสรีนิยมในยุโรป
๗/ ๓๙๑๓
๑๑๕๖. แคนเบร์รา เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรเลีย
ซึ่งตั้งอยู่ในแคพิทัล เทร์ริทอรี อันเป็นอาณาเขตที่แยกไว้เป็นพิเศษ
อยู่ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เริ่มสร้างเมือง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖
ในขณะนั้นรัฐสภาของประเทศออสเตรเลีย ยังอยู่ที่เมืองเมลเบอร์น
จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๐ นับแต่นั้นมาเจ้า๗/ที่ในหน่วยงานของรัฐ
ก็ได้ย้ายเข้ามายังแคนเบร์รา
แคนเบร์รา
เป็นศูนย์กลางการเมืองและการศึกษามากกว่าที่จะเป็นนครแห่งการค้า และอุตสาหกรรม
และยังเป็นศูนย์กลางการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญอีกด้วย
๗/ ๓๙๒๔
๑๑๕๗. แค้ม, น้ำหมึก - ปลา
อยู่ในวงศ์ตะเพียน เป็นปลามีเกล็ด ชอบอยู่ในลำธารน้ำใสเย็น ตามภูเขา
หรือเนินสูง มีชุมมากในลุ่มแม่น้ำปิง และแม่น้ำโขง
๗/ ๓๙๒๖
๑๑๕๘. แครง - หอย เป็นหอยสองกาบ
ตัวป้อม เป็นอาหารสำคัญอย่างหนึ่งในภาคตะวันออก บางแห่งมีการเลี้ยงหอยชนิดนี้ในน้ำกร่อย
มันเจริญเติบโตได้ดีในน้ำทะเล ในน้ำใส และที่แจ้ง
๗/ ๓๙๒๘
๑๑๕๙. แคลคูลัส เป็นวิชาที่คำนวณการเปลี่ยนแปลง
หรือการเติบโตของขนาดต่าง ๆ ตลอดจนการเคลื่อนที่ของวัตถุนอกพิภพ
เราสามารถนำมาประยุกต์ หาพื้นที่ส่วนโค้ง ซึ่ง อาร์คี มีดิส
ได้แสดงวิธีหาไว้เมื่อพุทธศตวรรษที่สาม โดยการลากเส้นตรงหลาย ๆ เส้น
ภายใต้เส้นโค้ง ทำให้รูปโค้งนั้นคล้ายกับว่า ประกอบด้วยรูปเหลี่ยมหลาย ๆ รูป
ดิฟเฟอเรนเชียล
แคลคูลัส ส่วนใหญ่หนักไปทางปัญหาเกี่ยวกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของฟังก์ชัน
โดยเทียบกับตัวแปรค่าของฟังก์ชันเอง ในด้านกลศาสตร์ก็ได้นำดิฟเฟอเรนเชียล
มาใช้ในการศึกษาคำนวณ การเคลื่อนที่ของวัตถุอันเนื่องจากมีแรงมากระทำ เซอร์ไอแซค
นิวตัน ได้เคยใช้วิชาแคลคูลัส พิสูจน์ว่า โลกได้รับแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์
จึงมีวิถีโคจรเป็นรูปวงรี
อินเตกัล
แคลคูลัส เป็นอีกแขนงหนึ่ง
ซึ่งเป็นขบวนการตรงข้ามกับดิฟเฟอเรนเชียล แคลคูลัส เราสามารถนำมาประยุกต์หาพื้นที่
ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยส่วนโค้งต่าง ๆ ตลอดจนหาปริมาตรของรูปต่าง ๆ ในสามมิติ
๑๑๖๐. แคสเปียน เป็นชื่อทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป มีพื้นที่ ๔๒๔,๒๔๒
ตารางกิโลมตร ยาวประมาณ ๑,๒๐๐ กิโลเมตร กว้างตั้งแต่ ๒๐๐ -
๔๘๐ กิโลเมตร ส่วนลึกที่สุดประมาณ ๙๖๐ เมตร น้ำในทะเลสาบ
ไม่มีทางระบายไปสู่ทะเล หรือมหาสมุทรภายนอก ฉะนั้นน้ำจึงเค็มกว่าปกติ
ส่วนใหญ่ของทะเลแคสเบียน อยู่ในเขตประเทศรัสเซีย ยกเว้นทางชายฝั่งด้านใต้
อยู่ในเขตประเทศอิหร่าน มีแม่น้ำสายใหญ่ ๆ หลายสาย ไหลลงสู่ทะเลนี้ ที่สำคัญได้แก่
น้ำโวลกา และแม่น้ำยูราล
๑๑๖๑. แค้หมู - ปลา
ดูกดหิน แขยงหิน - ปลา (อันดับที่ ๒๔)
๗/ ๓๙๓๑
๑๑๖๒. แคะ เป็นชนชาวจีนพวกหนึ่ง
ออกเสียงตามชาวแต้จิ๋ว เป็นคำเดียวกับแขกในภาษาไทย ซึ่งแปลว่าผู้มาแต่ที่อื่น
คนบ้านอื่น พวกแคะมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในประเทศจีนตอนเหนือ ต่อมาเมื่อประมาณปี
พ.ศ.๓๐๐ ในสมัยราชวงศ์จิ๋น แคะถูกจีนรบกวนฆ่าฟันเสียเป็นจำนวนมาก
จึงอพยพหนีลงมาทางใต้ แต่ก็ถูกรุกรานอีกหลายคราว
ในที่สุดหนีมาอยู่ตามไหล่เขาในมณฑลฟูเกียน (ฮกเกียน) และมณฑลอื่น ๆ อีกประปราย
หมอด๊อด ผู้แต่งหนังสือชนชาติไทย
อ้างถ้อยคำของหมอกิบสันว่า ชาวแคะและชาวอื่น ๆ ที่อยู่ในดินแดนตอนใต้ของประเทศจีน
ไม่ใช่เป็นจีนโดยเชื้อชาติ และเชื่อว่าพวกแคะคือพวกไทยนั่นเอง
ยังมีเค้าเหลือให้เห็นอยู่คือ ภาษาพูด
๗/ ๓๙๓๑
๑๑๖๓. โคก - ปลา เป็นปลาทะเล
อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว มีรูปร่างป้อม แบนข้างมาก กินเลนตามชายทะเล และปากแม่น้ำ
ในประเทศไทยมีสองสกุล
๗/ ๓๙๓๒
๑๑๖๔. โค้ก เป็นคำทับศัพท์อังกฤษ
ใช้เรียกของแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นตัวลดออกซิเจนในการถลุงเหล็ก
เป็นเชื้อเพลิงในงานโลหะกรรมและในครัวเรือน ได้จากการกลั่นถ่านหิน
หรืออบร้อนถ่านหิน โดยไม่ให้เกิดสันดาบสมบูรณ์
๗/ ๓๙๓๓
๑๑๖๕. โคกกระสุน พรรณไม้ชนิดล้มลุก
ค่อนข้างอวบน้ำชนิดหนึ่ง เป็นพรรณไม้ประจำเขตร้อน ทางซีกโลกด้านตะวันออก
ส่วนของลำต้นทอดราบไปตามผิวพื้นดิน ยาว ๓๐ – ๖๐ ซม.
ใบเป็นช่อ ใบย่อยเล็กละเอียด ดอกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบสีเหลืองอ่อน ผลห้าเหลี่ยม
มีครีบสันตามยาว และมีหนามแหลมแข็ง
๗/ ๓๙๓๘
๑๑๖๖. โคกกระออม เป็นพรรณไม้เถา
ค่อนข้างอวบน้ำ พบขึ้นทั่วไปในที่ชื้นเย็น เถายาวประมาณ ๑ –
๒ เมตร ใบเป็นช่อ ดอกเล็กสีขาว เป็นช่อเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ช่อดอกมีมือเกาะ ผลพอง
ๆ ห้าพูสีเขียว ทุกส่วนมีรสขม เป็นพืชสมุนไพร ใช้เข้ายาแก้ไข้
๗/ ๓๙๓๘
๑๑๖๗. โคกโพธิ อำเภอขึ้น
จ.ปัตตานี เมื่อแรกตั้งเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ เรียกว่า อ.เมืองเก่า
ขึ้นเมืองหนองจิก เมื่อยุบเมืองหนองจิกแล้วไปขึ้นอยู่กับ จ.ปัตตานี
เปลี่ยนชื่อเป็น อ.มะกรูด เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ย้ายที่ว่าการไปตั้งที่ ต.โคกโพธิ
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ ถึงปี พ.ศ.๒๔๘๑ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น อ.โคกโพธิ
ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง
มีเขาเล็ก ๆ เตี้ย ๆ มาก ทำนาน้ำฝนได้ ๗/
๓๙๔๐
๑๑๖๘. โคกสำโรง อำเภอขึ้น
จ.ลพบุรี เดิมเป็นเมืองเก่า มีนิยายเล่ากันมาว่า เดิมเป็นเมืองละครสำโรง
ยังมีเนินดินและดูปรากฎว่าอยู่รอบ มีวัดเก่า ๆ
ปรักหักพังเหลือแต่ซากกำแพงอยู่หลายแห่ง สันนิษฐานว่า เมื่อเมืองร้างแล้ว
ตามเนินดินเหล่านั้นจะมีต้นสำโรงขึ้นอยู่มาก จึงเรียกว่า โคกสำโรง
เดิมตั้งที่ว่าการที่ ต.พุคา อ.บ้านหมี่ แล้วย้ายจาก ต.พุคา
ไปตั้งที่บ้านโคกสำโรงเรียกว่า อ.สระโบสถ์ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น อ.โคกสำโรง
ภูมิประเทศทางทิศตะวันออก เป็นที่ดอน เป็นป่าดง และเขาโดยมาก
นอกนั้นเป็นที่ราบ พอทำการเพาะปลูกได้
หน้าน้ำ น้ำไม่ท่วม ทำไร่นา ต้องอาศัยน้ำฝน
๗/๓๙๔๑
๑๑๖๙. โคครา เป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งในอินเดียตอนเหนือยอดน้ำเกิดจากเทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านประเทศเนปาล
มาทางตะวันออกเฉียงใต้ มาบรรจบแม่น้ำคงคา
๗/ ๓๙๔๓
๑๑๗๐. โคคลาน - พรรณไม้
เป็นชื่อทางภาคกลาง ใช้เรียกพรรณไม้เถาอย่างน้อยสองชนิด เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ลำต้นทอดเลื้อยไปตามต้นไม้ใหญ่ ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน
ใบรูปหัวใจ ดอกขนาดเล็กสีเขียว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อห้อยยาว ๆ ตามง่ามใบ
ผลรูปรีสุกสีดำ เมล็ดใช้เบื่อปลาและเป็นพิษ
๗/ ๓๙๔๓
๑๑๗๑. โคเคน เป็นอัลคาลอยด์อย่างหนึ่งของธรรมชาติ
ที่เกิดอยู่ในใบของต้นไม้บางชนิด
โคเคน
ได้สกัดแยกออกจากใบโคคา ที่เกิดอยู่ในประเทศบราซิล ปัจจุบันส่วนใหญ่ของโคเคนแอลคาลอยด์
ได้จากใบของต้นโคคา ในประเทศอินโดนีเซีย
โคเคน
เป็นยาทำให้ชาเฉพาะแห่ง ชนิดแรกที่ค้นพบ
เป็นยาเร่งระบบประสาทส่วนกลาง เป็นยาเสพติดให้โทษ
๗/ ๓๙๔๔
๑๑๗๒. โคจิน เป็นชื่อเมืองทางชายฝั่งภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย
ตั้งอยู่ริมฝั่งมะลาบาร์ ติดต่อกับทะเลอาหรับ ปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐเกราลา
โคจิน
เป็นเมืองท่าสำคัญทางภาคใต้ของอินเดีย มาตั้งแต่สมัยโบราณใน ปี
พ.ศ.๒๐๔๕ วาสโกดา กามา นักเดินเรือชาวโปร์ตุเกส ได้มาสร้างสถานีการค้าขึ้นที่เมืองนี้
ต่อมาอังกฤษและฮอลันดา เข้ามาครอบครองจนถึงปี พ.ศ.๒๓๓๗
อังกฤษจูงยึดเมืองนี้จากฮอลันดาตลอดมาจนอินเดียได้เอกราช
๗/ ๓๙๔๕
๑๑๗๓. โคจินจีน ชื่ออาณาจักรในภาคใต้ของอินโดจีนฝรั่งเศสปัจจุบันเป็นประเทศเวียดนาม
มีเมืองหลวงชื่อไซ่ง่อน
มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จดอาณาจักรอันหนำ ทิศตะวันออกเฉียงใต้จดทะเลจีนใต้
ทิศตะวันตกเฉียงใต้จดอ่าวไทย ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับกัมพูชา
อาณาจักรนี้แต่เดิมเป็นดินแดนที่แยกอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรเขมรและอาณาจักรจัมปา
เมื่อพวกญวนมีจำนวนมากขึ้น ตั้งอาณาจักรอันหนำ
และอาณาจักรตังเกี๋ยขึ้น ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖
ก็ได้แผ่อำนาจลงมาปราบปรามอาณาจักรจำปา
และในที่สุดก็ได้ดินแดนโคจินจีนไปอยู่ในความครอบครองทั้งหมด ในตอนพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ต่อมาฝรั่งเศสได้ขยายอิทธิพลเข้ามาในอินโดจีน และยึดเมืองไซ่ง่อนได้ในปี พ.ศ.๒๔๐๒
และดินแดนโคจินจีนทั้งหมด ได้ตกเป็นของฝรั่งเศสใน ปี พ.ศ.๒๔๑๐
จนหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้รับเอกราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๗
ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นอาณาจักรโคจินจีน
กับส่วนหนึ่งของอาณาจักรอันหนำใต้เส้นขนานที่ ๑๘ องศาเหนือ
ตั้งเป็นประเทศสาธารณรัฐเวียดนาม
๑๑๗๔. โคดม - พระ พระพุทธเจ้าองค์หลังสุดในพระพุทธเจ้า
๒๕ พระองค์ ห้าองค์หลังเรียกเป็นเฉพาะว่าพระเจ้าห้าพระองค์
พระโคดมพุทธเจ้า
มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ เป็นเชื้อวงศ์สักยะ ในโคตรหรือสกุลโคดม
เป็นชนในวรรณกษัตริย์อยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย ขึ้นอยู่กับแคว้นโกศล
เป็นโอรสพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งเมืองกบิลพัสด์
และพระนาง
พระโพธิสัตว์ ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา
เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๒๙
พรรษา ทรงมีพระโอรสชื่อพระราหุล
ทรงรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิตแห่งโลกวิสัย จึงเสด็จออกมหาภิเนกกรมณ์ แล้วเสด็จไปยังเมืองราชคฤห์
ได้พบพระเจ้าพิมพิสาร
และรับคำพระเจ้าพิมพิสารว่าถ้าทรงแสวงหาธรรมสำเร็จแล้ว
จะเสด็จกลับมาเยี่ยมกรุงราชคฤห์ก่อนอื่น
ต่อมาพระโพธิสัตว์ได้ขอเข้าเป็นศิษย์ของอาฬารดาบส
กาลามโคตร ได้ศึกษาและปฏิบัติตามลัทธิของอาฬารดาบสจบแล้วเห็นว่ายังไม่บรรลุธรรม
จึงเสด็จไปศึกษาต่อในสำนักอุทกดาบส
แต่ก็ยังไม่บรรลุธรรมได้ จึงเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นเวลานานถึงหกปี
โดยมีภิกษุห้ารูปเรียกว่า ปัญจวัคคีย์
ติดตามเป็นศิษย์
เมื่อพระโพธิสัตว์เห็นว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยาไม่เป็นทางให้ตรัสรู้ได้ จึงเลิกเสีย
ทำให้ปัญจวัคคีย์ผิดหวัง จึงละทิ้งพระองค์พากันไปอยู่ที่อิสิปัตนะ
พระโพธิสัตว์
เสด็จไปที่โคนต้นโพธิ์ ประทับนั่งขัดสมาธิ
ตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะไม่เสด็จลุกจากอาสนะ จนกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ทรงเข้าญาณสมาบัติอยู่ตลอดคืน ในยามแรกทรงบรรลุวิชชาที่หนึ่งคือ
ทรงระลึกถึงพระชาติที่ล่วงมาแล้วเป็นอันมาก (ทำให้รู้ว่าสังสารวัฎคือ
การเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีจริง - เพิ่มเติม) ในยามกลางทรงบรรลุวิชชาที่สองทรงรู้
กำเนิดของสัตวว์โลกว่าเป็นไปตามกรรมที่สัตว์นั้นได้ทำไว้ (ทำให้รู้ว่าผลของกรรมนั้นมีจริง - เพิ่มเติม)
และในยามปลายทรงบรรลุวิชชาที่สามคือ
การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป (เห็นอริยสัจสี่
อันทำให้พ้นไปจากวัฎฎสงสาร - เพิ่มเติม) ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญ เดือนหก หรือวันวิสาขบูชา
พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า
จะประทานพระปฐมเทศนา แก่ปัญจวัคคีย์ก่อน จึงได้เสด็จไปยังอิสิปัตนะ
พบปัญจวัคคีย์แล้วตรัสเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
แก่ปัญจวัคคีย์ ในวันเพ็ญเดือนแปด หรือวันอาสาฬหบูชา พระโกณทัญญะ (องค์หนึ่งในปัญจวัคคีย์) ได้ดวงตาเห็นธรรม
และปัญจวัคคีย์ก็ได้รับบรรพชาอุปสมบท
เป็นพระภิกษุ และต่อมาเมื่อพระพุทธองค์ทรงเทศนา อนัตตลักขณสูตร
แก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์แล้ว พระปัญจวัคคีย์ทั้งห้าองค์ ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
วันรุ่งขึ้น
พระพุทธองค์ทรงพบยสมาณพ ได้ตรัสเทศนาโปรด ยสมาณพ
จนเลื่อมใสและต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เศรษฐีบิดายสมาณพได้รับไตรสรณาคมน์
มารดาและภริยาพระยส ได้เป็นอุบาสิกา
สองคนแรก สหายพระยส รวม ๕๔ คน ได้บรรพชาและอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ต่อมาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ รวมพระอรหันต์นอกจากพระพุทธองค์มี ๖๐ องค์
พระพุทธองค์ตรัสให้พระอรหันต์ทั้ง ๖๐ องค์ แยกย้ายกันไปประกาศเผยแผ่พระธรรม
(มีความตอนหนึ่งว่า "จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย
พหุชนสุขาย โลกานุกมฺ ปาย เป ฯ" พวกเธอจงเที่ยวจาริกเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก - เพิ่มเติม)
เมื่อพระพุทธเจ้า
จำพรรษาอยู่ ณ เมืองพาราณสี แล้ว เมื่อออกพรรษาได้ตรัสเทศนาโปรดภัททวัคคีย์
๓๐ คน ประทานบรรพชาอุปสมบทให้ จากนั้นได้ทรงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์
เพื่อโปรด กัสสปสามพี่น้อง ซึ่งเป็นพวกชฎิล
ให้เลื่อมใส แล้วประทานบรพรชาอุปสมบทแก่กัสสปสามพี่น้อง พร้อมบริวารพันคน
ท่านเหล่านั้นเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร แล้วก็บรรลุภูมิเป็นพระอรหันต์
จากนั้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสาวกเหล่านี้ เสด็จไปเยี่ยมกรุงราชคฤห์
พระเจ้าพิมพิสารถวายสวนเวฬุวัน
พระพุทธองค์ประทับอยู่สองเดือน ได้พระอัครสาวก พระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะ มาบรรพชาอุปสมบท จากการได้พบพระอัสสชิ
(องค์ที่ห้าของปัญจวัคคีย์ ) และได้ฟังธรรมจากท่าน
(มีความว่า เย ธมฺมา เหตุปภวา เตส ํ เหตุ ํ ตถาคโต เต
สญฺจ โย นิโรโธ เอว ํ วาที มหาสมโณ ธรรมใดเกิดจากเหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณทรงสั่งสอนอย่างนี้ - เพิ่มเติม ) แล้วได้ดวงตาเห็นธรรม (มีความว่า ยงฺ
กิญจิ สมุทฺยธมฺม ํ สพฺพนฺต ํ นิโรธ ธมฺมนฺติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา - เพิ่มเติม)
ในเดือนสี่
พระพุทธองค์พร้อมพระสาวก เสด็จเยี่ยมกรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ที่สวนนิโครธาราม
ทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์ และตรัสเล่าเรื่อง เวสสันดรชาดก
ประทานบรรพชาอุปสมบทแก่พระราหุล ได้มีพวกกษัตริย์สากิยะได้บรรพชาอุปสมบท
ครอบครัวละคน แล้วเสด็จกลับกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ สวนสีตวัน
ณ
สวนสีตวัน เศรษฐีชื่อ สุทัต ซึ่งภายหลังได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ
ได้มาเฝ้าและมีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ อัญเชิญทูลเสด็จไปเยี่ยมเมืองสาวัตถี
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปถึงแล้ว อนาถบิณฑกะได้ถวายสวนเชตวัน
สำหรับเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ในช่วงเวลาตอนนี้ นางวิสาขา
ได้สร้างวัดบุพพาราม ถวายพระพุทธองค์
ที่เมืองสาวัตถี
พรรษาที่สี่ พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่เวฬุวัน
ณ ที่นี้ได้โปรดอุคเสนมาณพ
พุทธพรรษาที่ห้า พระเจ้าสุทโธทนะ
สิ้นพระชนม์ หลังจากที่ได้สำเร็จพระอรหันต์ภูมิแล้ว ในระยะเวลาตอนนี้กษัตริย์พวกสากิยะ
และพวกโกลิยะ วิวาทกันเรื่องแย่งน้ำในแม่น้ำโรหินี
พระพุทธองค์ทรงไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายคืนดีกัน
และประทับอยู่ที่นิโครธาราม ณ ที่นี้พระมหาปชาบดีโคตมี พร้อมกุลนารีในวงศ์สากิยะ
ขออุปสมบท พระอานนท์ทูลอ้อนวอนแทนสตรีเหล่านั้น พระพุทธองค์จึงประทานพุทธานุญาต
พรรษาที่หก พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์
อีกครั้งที่ใต้ต้นมะม่วงในเมืองสาวัตถี
ก่อน๗/นี้พระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ให้สาวกแสดงปาฎิหาริย์ และทรงจำพรรษาที่มังกุลบรรพต
พรรษาที่เจ็ด พระพุทธองค์เสด็จไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตรัสเทศนาพระอภิธรรม โปรดพระพุทธมารดา และทรงจำพรรษาอยู่บนนั้น
พระสารีบุตรไปฟังอภิธรรมทุกวัน และจำได้หมด
เมื่อออกพรรษาพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัส
ห่างจากเมืองสาวัตถี ๓๐ โยชน์ ในระหว่างเวลานี้ นางจิญจมาณวิกา
ถูกชักชวนให้ใส่ร้ายพระพุทธองค์
พรรษาที่แปด พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในประเทศของพวกภัคคะ
ที่ป่ามาสกลาวัน ใกล้สูงสุมารคีรี
พรรษาที่เก้า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงโกสัมพี
ขณะเสด็จไปแคว้นกุรุ พราหมณ์ชื่อ
คันทิยะ ได้ถวายธิดาชื่อ มาคันทิยา แต่พระพุทธเจ้าทรงปฎิเสธ ทำให้นางมาคันทิยา
ผูกใจเจ็บต่อพระพุทธเจ้า
พรรษาที่สิบ พระภิกษุสงฆ์ที่เมืองโกสัมพี
เกิดความเข้าใจผิดกัน พระพุทธองค์ไม่ทรงสามารถระงับการวิวาทกันนี้ได้
จึงเสด็จไปประทับอยู่ในป่าลิไลยก์ มีช้างมาคอยปฎิบัติพระพุทธองค์
เมื่อทรงจำพรรษา ณ ที่นั้น แล้วจึงเสด็จกลับมาเมืองสาวัตถี
ระหว่างทางพวกภิกษุที่เมืองโกสัมพี รู้สำนึกในความผิด จึงพากันมากราบทูลขอลุกะโทษ
ความแตกร้าวก็หมดไป
พรรษาที่สิบเอ็ด พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่บ้านพราหมณ์ชื่อ
เอกมาลา และทรงโปรด กสิภาวัทวาชะ
พรรษาที่สิบสอง เสด็จประทับที่เมืองเวรัญชา
ทรงจำพรรษาที่เมืองนี้ ตามคำขอร้องของพราหมณ์เวรัญชะ
พรรษาที่สิบสาม ทรงจำพรรษาที่เจลิกบรรพต
ซึ่งมีพระเมฆิยะ เป็นผู้ปฎิบัต พระพุทธองค์โดย
พรรษาที่สิบสี่ เสด็จประทับที่เมืองสาวัตถี
ณ ที่นี่พระราหุลได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
พรรษาที่สิบห้า พระพุทธเจ้าเสด็จเยี่ยมเมืองกบิลพัสดุ์อีก
ณ ที่นี้สุปพุทธะ พระบิดาของพระนาง
พรรษาที่สิบหก พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่เมืองอาลวี
ได้โปรดยักษ์ชื่อ อาลวถะ
พรรษาที่สิบเจ็ด พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปเมืองสาวัตถี
แล้วเสด็จกลับมาเมืองอาลวี โปรดชาวนาคนหนึ่งได้บรรลุโสดาบัน
และทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์
พรรษาที่สิบแปด พระพุทธเจ้าเสด็จจากเชตวัน
มายังเมืองอาลวี โปรดบุตรสาวช่างทอผ้า ได้บรรลุโสดาบัน
พรรษาที่สิบเก้า พระพุทธเจ้าประทับที่เขาอาลิกบรรพต
พรรษาที่ยี่สิบ ทรงแสดงปาฎิหาริย์โปรดองคุลิมาล
จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในพรรษานี้เองพระอานนท์
ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปฎิบัติใกล้ชิดพระพุทธเจ้า
และได้ปฎิบัติน๗/ที่นี้ตลอดมา พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาาที่กรุงราชคฤห์
ในระยะ ๒๕ ปี หลัง ตามอรรถกถากล่าวว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี ในพระเชตวันวิหารบ้าง ที่บุพพารามบ้าง
เมื่อออกพรรษาพระพุทธเจ้าจะจาริกไปยังเมืองตำบลต่าง ๆ อยู่มากแห่ง
ในปีสุดท้ายเมื่อจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
มีเรื่องพระเจ้าพิมพิสารสิ้นพระชนม์ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้แปดปี
และในระยะเดียวกันนี้พระเทวทัตก็พยายามจะดำรงตำแหน่งประธานในคณะสงฆ์
แต่ไม่สำเร็จ จึงได้พยายามทำลายพระชนม์พระพุทธเจ้าหลายประการแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากเขาคิชฌกูฏ
ใกล้เมืองราชคฤห์ ไปยังสวนอัมพลัฏฐิกา
เสด็จต่อไปยังนาลันทา หมู่บ้านปาฏลิคาม
ข้ามแม่น้ำคงคาไปยังหมู่บ้านโกฏิคาม ไปยังตำบลญาติกะ แล้วเสด็จไปเมืองเวสาลี
ประทับอยู่ในสวนนางอัมพปาลี จากนั้นเสด็จต่อไปยังหมู่บ้านเพลุวะ
ทรงจำพรรษา ณ ที่นี้และประชวรอย่างหนัก
พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์ว่าการประกาศพระศาสนาของพระองค์จะสิ้นสุดลงแล้ว
และเมื่อดับพระชนม์ชีพแล้ว ให้สงฆ์จงปกครองรักษากันเอง
โดยยึดเอาพระธรรมเท่านั้นเป็นที่พึ่งต่อไป และได้ตรัสเทศนาเรื่องสติปัฏฐานสี่
รุ่งขึ้น พระพุทธองค์ได้เสด็จไปสู่หมู่บ้านภัณฑคาม
ณ ที่นี้ได้ตรัสเทศนาโปรดมหาชนด้วยเรื่องอริยธรรมสี่
ซึ่งเป็นเครื่องทำลายความเกิดใหม่ คือศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ
จากนั้นเสด็จดำเนินผ่านหมู่บ้านหัตถคาม อัมพคาม และชัมพุคาม แล้วเสด็จประทับยังหมู่บ้านโภคนคร
ณ อานันทเจดีย์ ตรัสเทศนาเรื่องมหาปเทสสี่อันเป็นทางที่กำหนดเรื่องหลักธรรมอันแท้จริงได้แน่แท้
จากนั้นได้เสด็จไปยังเมืองปาวา
ประทับที่ป่ามะม่วง (อัมพวัน) ของนายจุนท์ช่างทอง
นายจุนท์จัดภัตตาหารอันมีสูกรมัทวะรวมอยู่ด้วยถวายพระพุทธเจ้า
เป็นภัตตาหารครั้งสุดท้าย แล้วก็เกิดอาพาธลงพระโลหิต จากนั้นได้เสด็จดำเนินไปยังเมืองกุสินารา
ทรงข้ามแม่น้ำหิรัญวดีไปสู่ป่าอุปวัตนสาละ
ทรงไสยาสน์ใต้ต้นสาละ
ฝ่ายกษัตริย์มัลละต่างพากันมาเฝ้าเพื่อถวายสักการะบูชา
มีปริพาชกผู้หนึ่งชื่อ สุภัททะ เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์โปรดให้สุภัททะได้รับบรรพชาอุปสมบท
และพระพุทธองค์ได้ตรัสแก่เหล่าพระภิกษุสงฆ์ว่า
("หนฺททานิ ภิกฺเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน
สมฺปาเทถาติ" ฯลฯ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนพวกเธอว่าสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
นี้เป็นพระวาจาครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้า
จากนั้นพระพุทธองค์ทรงเข้าฌานสมาบัติทบทวนกลับไปกลับมาโดยอนุโลม และปฏิโลม
แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพานในขณะที่ออกจากจตุตถฌาน - เพิ่มเติม)
รุ่งขึ้น
พระอานนท์ได้แจ้งเรื่องแก่กษัตริย์พวกมัลละแห่งเมืองกุสินารา
เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ โทณพราหมณ์ได้ให้คำแนะนำ
ในการแบ่งพระสรีรธาตุ ออกเป็นแปดส่วนเท่ากัน กับผู้ที่อ้างสิทธิ์อันได้แก่
พระเจ้าอชาติศัตรู กษัตริย์พวกลิจฉวีแห่งเมืองเวสาลี
กษัตริย์พวกสากิยะแห่งเมืองกบิลพัสดุ์ กษัตริย์พวกพุลีแห่งเมืองอัลกัปปะ
กษัตริย์พวกโกลิยะแห่งเมืองรามนคร พราหมณ์แห่งแคว้นวันเวฐทีปะ
และกษัตริย์พวกมัลละแห่งเมืองปาวา ส่วนโทณพราหมณ์ขอรับภาชนะที่ตรงพระสรีรธาตุเป็นของตน
ส่วนกษัตริย์พวกโมริยะแห่งปีปผลิวัน มาทีหลังจึงได้แต่พระอังคารเท่านั้น
๑๑๗๕. โคดม ๒ เจ้ากรุงสาเกต
ไม่มีโอรสธิดา เบื่อหน่ายในสมบัติ ออกบรรพชาเป็นฤษี
ได้ทราบความจากนกกระจาบที่มาทำรังที่หนวดของท่าน
ว่าตัวท่านมีบาปเนื่องจากไม่มีลูกไว้สืบวงศ์
พระฤษีจึงตั้งพิธีกุณฑ์ร่ายเวทเสกให้เกิดนางขึ้นมาให้ชื่อว่า กาลอัจนา
แล้วสมสู่อยู่ด้วยนาง มีธิดาคนหนึ่งชื่อสวาหะ
เมื่อฤษีไม่อยู่ พระอินทร์ลงมาทำชู้กับนางกาลอัจนาแล้วมีลูกชายสีกายเขียวเหมือนพ่อ
ต่อมาพระอาทิตย์ได้ลงมาสมสู่กับนางกาลอัจนามีลูกชายสีกายแดงเหมือนพ่อ
ฤษีก็สำคัญว่าเป็นลูก
ของตนทั้งสองคน
ต่อมารู้ความลับจากนางสวาหะว่าลูกชายทั้งสองไม่ใช่ลูกของตน
ฤษีทราบเรื่องก็โกรธเมียมาก จึงตั้งสัตยาธิษฐานว่า จะโยนเด็กทั้งสามลงกลางน้ำ
ถ้าคนใดเป็นลูกให้ว่ายกลับมา ถ้ามิใช่ลูกให้กลายเป็นลิงป่าไป ปรากฏว่าลูกสาวว่ายกลับมาคนเดียว
เมื่อกลับมาถึงกุฎีจึงสาปนางกาลอัจนาให้เป็นก้อนหิน
นางกาลอัจนาก็สาปนางสวาหะให้ไปยืนตีนเดียวเหนี่ยวกินลมในป่าเชิงเขาจักรวาล
ต่อเมื่อมีลูกเป็นพญาวานรศักดิ์สิทธิ์แล้วจึงพ้นสาป
๗/ ๓๙๘๕
๑๑๗๖. โคตมี พระเถรีผู้เป็นอรหันต์
ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะคือ ยอดเยี่ยม ในทางรัตตัญญู
นับเป็นพระเถรีผู้ใหญ่องค์ที่หนึ่งในจำนวนพระเถรีผู้ใหญ่ ๑๓ องค์
พระเถรีโคตมีมีนามเต็มว่ามหาปชาบดีโคตมี
เป็นพระราชธิดาองค์ที่สองของพระเจ้าอัญชนะและพระนาง
พระนางมหาปชาบดียอมรับครุธรรมแปดประการ
พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้บวช
๗/ ๓๙๘๖
๑๑๗๗. โคตร คือผู้ที่มีเชื้อสายเผ่าพันธุ์หรือเหล่ากอเดียวกัน
เรียกว่าอยู่ในวงศ์สกุลหรือโคตรเดียวกัน โคตรเป็นคำสันสกฤต เดิมหมายความว่าคอกวัว
๗/ ๓๙๙๐
๑๑๗๘. โคตรตะบอง ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าเล่าเรื่องพระยาโคตรตะบองไว้ว่า
มีกษัตริย์องค์หนึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระลือ ครองเมืองนครสวรรค์บุรี
ในครั้งนั้นมีพวกทำป่าไม้คนหนึ่งกินข้าวที่ตนหุงโดยใช้ไม้งิ้วดำท่อนหนึ่งคนข้าว
เมื่อกินแล้วเกิดมีพละกำลังมากดังช้างสาร เกียรติศัพท์เล่าลือกันต่อ ๆ ไป
เมื่อกษัตริย์ผู้ครองนครสวรรคต
เสนาอำมาตย์จึงเชิญบุรุษผู้นั้นขึ้นครองเมืองสืบแทนและได้พระนามว่าพระยาโคตรตะบอง
ต่อมาเกิดแผ่นดินไหว โหรทำนายว่าผู้มีบุญ
มาเกิด พระยาโคตรตะบองเกรงว่าผู้นั้นจะมาชิงราชสมบัติ
จึงให้จับหญิงมีครรภ์มาฆ่าเสียสิ้น มีผู้หนีรอดไปได้
แต่ถูกไฟลวกมือเท้าจนพิการเดินไม่ได้ นายป่าช้านำไปเลี้ยงไว้จนอายุได้ ๑๕ ปี
ภายหลังเรียกว่า พระยาแกรก
ต่อมาวันหนึ่ง
ผู้คนโจษขานกันว่าผู้มีบุญจะมา ผู้คนแตกตื่นไปดูกัน เด็กพิการก็ไปดูด้วย
พระอินทร์ได้แปลงร่างมาพบเด็กนั้นเอาม้า อาหาร น้ำมันทา
และเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาให้ เมื่อเด็กพิการกินอาหารนั้นแล้วก็เกิดกำลังวังชา
เอาน้ำมันทาตัวร่างกายก็หายพิการ เมื่อแต่งองค์ทรงเครื่อง ขี่ม้าเหาะไปเหนือนครสวรรค์บุรี
พระยาโคตรตะบองเห็นก็ตกพระทัย เอาตะบองขว้างไปก็ไม่ถูก
แต่กลับไปถูกช้างตายถึงล้านตัว จึงคิดหนีและตกลงใจว่าจะไปสร้างเมือง ณ
ที่ช้างตายล้านตัว ครั้นแล้วพระยาโคตรตะบองก็ทิ้งเมืองไปสร้างเมืองล้านช้าง
ซึ่งเรียกภายหลังว่านครศรีสัตนาคนหุต
๗/ ๓๙๙๒
๑๑๗๙. โคตรบูร เป็นชื่อเมืองและอาณาจักรอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)
ว่าเป็นเมืองท้าวพระยาประเทศราชในจำนวน ๒๐
เมืองที่ถวายราชบรรณาการดอกไม้เงินดอกไม้ทองแก่กรุงศรีอยุธยา
จากตำนานและพงศาวดารปรากฏว่าโคตรบูรได้ย้ายฐานที่ตั้งธานีอยู่
๓ - ๔ คราวคือ
ครั้งที่หนึ่ง ตั้งเมืองอยู่ที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบริเวณเมืองท่าแขกเก่าในประเทศลาวปัจจุบัน
มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระยาศรีโคตรบูรณ์
เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พระยานันทเสนผู้เป็นราชอนุชาได้ขึ้นครองราชย์
พระองค์ได้ร่วมสร้างพุทธเจดีย์เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า
ครั้งที่สอง หลังพระยานันทเสนสิ้นพระชนม์แล้ว
นครโคตรบุรเกิดโรคระบาดใหญ่ ต้องย้ายข้ามแม่น้ำโขงมาสร้างเมืองใหม่
ที่ป่าไม้รวกทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงเรียกชื่อว่า มรุกขนคร
อนุชาของพระยานันทเสนได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระยาสมิตตธรรมิกราช
ในรัชกาลนี้มีแคว้นน้อยใหญ่มานอบน้อมเป็นเมืองขึ้นมากหลาย
พระองค์ได้ร่วมสร้างเสริมพระอุรังคธาตุเจดีย์ให้สูงขึ้นกว่าเมื่อแรกสถาปนา
ต่อมาได้ย้ายไปครองเมืองสาเกดนคร (เมืองร้อยเจ็ดประตูก็เรียก)
ส่วนเมืองมรุกขนคร มีผู้ครองเมืองต่อมาอีกสามองค์ องค์สุดท้ายมีพระนามว่า
พระยานิรุฏฐราช เป็นมิจฉาทิฐิ ไม่เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา
เกิดอุทกภัยท่วมเมืองมรุกขนครถล่มกลายเป็นบึงร้างไป
ครั้งที่สาม ปรากฎในพงศาวดารเมืองหลวงพระบางว่า
เมื่อพระยาฟ้างุ้มได้ขึ้นครองราชย์ประเทศล้านช้าง ณ เมืองดงเชียงทอง (ประมาณปี
พ.ศ.๑๘๘๔) แล้ว ได้ยกกองทัพมาปราบปรามหัวเมืองฝ่ายใต้เช่น เวียงจันทน์
เมืองไผ่หนาม เมืองห้วยหลวง เป็นต้น มีชื่อเมืองโคตรบุรหรือโคตรบองรวมอยู่ในกลุ่มหัวเมืองที่ถูกปราบปรามด้วย
เมื่อพระยาไชยเชษฐาธิราช ย้ายราชธานีจากเมืองดงเชียงทอง
(หลวงพระบาง) ลงมาตั้งอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์
ได้สร้างเจดีย์ไว้ที่เมืองโคตรบุรองค์หนึ่งเรียกพระธาตุศรีโคตรบุร
ต่อมาพระยานครหลวงพิชิต ฯ ได้เป็นผู้ครองเมือง
และทำการปฏิสังขรณ์พระอุรังคธาตุเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๗
และปรากฎชื่อเมืองนครพนมขึ้นในปี พ.ศ.๒๑๙๗ พระอุรังคธาตุเจดีย์นั้นก็คือ พระธาตุพนม
อาณาจักรโคตรบูรโบราณ จะมีมาแต่สมัยใดไม่ทราบชัดเจน
แต่ลวดลายในแผ่นอิฐยังมีลักษณะศิลปอมรวดีอย่างยิ่ง
ที่ตั้งของโคตรบุรในจดหมายเหตุจีน
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในหนังสือ
แสดงบรรยายพงศาวดารสยามว่า โคตรบุรหรือพนม เป็นอาณาจักรหนึ่ง ตั้งราชธานีอยู่ ณ
เมืองนครพนม ประชาชนพลเมืองเป็นพวกลาวเดิม และคำ "พนม"
มีเชิงอรรถอธิบายว่าจีนเรียก "ฟูนัน"
ในพงศาวดารสมัยราชวงศ์จิ้น (พ.ศ.๘๐๘ - ๙๖๒) กล่าวว่า
ฟูนันเป็นอาณาจักรหนึ่ง ตั้งอยู่ที่อ่าวใหญ่แห่งหนึ่ง ไกลจากอาณาจักรจามปา
ไปทางตะวันตกไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ลี้ และมีอาณาเขตกว้างกว่า ๓,๐๐๐ ลี้
แม่น้ำใหญ่ของอาณาจักรนี้ไหลมาจากทิศตะวันตกหรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปลงทะเล
ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหลียง (พ.ศ.๑๐๔๕ - ๑๐๘๘) กล่าวว่านครหลวงฟูนัน
อยู่ห่างทะเล ๕๐๐ ลี้ เข้าไปในแม่น้ำใหญ่ไหลมาแต่ตะวันตก ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๓ ฟูนันได้พ่ายแพ้แก่ประเทศราชของตนคือ เจนละ ต่อมาอีกประมาณ ๒ - ๓
ศตววรรษชื่อของฟูนันก็สูญหายไป
ฟูนันตามภูมิศาสตร์โบราณ ตำนานอุรังคธาตุ
กล่าวเนื้อความตอนหนึ่งว่า "สวนสุกขรนาคหัตถีนั้นอยู่ที่เวินหลอด
(บริเวณที่ตั้งธาตุโพนแพง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย)
พวกนาคที่กลัวผียิ่งกว่านาคทั้งหลายเหล่านั้นพากันไปสู่ที่อยู่ธนะมูลนาคใต้คอยกัปบนคีรีคือ
ภูกำพร้า ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุพนมทุกวันนี้
หนีไปจนถึงน้ำสมุทร แต่นั้นไปเรียกน้ำลี่ผี"
เมื่อกำหนดว่าฝั่งทะเลอยู่แถวลี่ผีหรือดอนโขง ระยะ ๕๐๐ ลี้ (๑๖๐
กม.) ตามหมายเหตุจีนขึ้นไปตามน้ำโขงจะไปถึงปากน้ำมูลที่ อ.พิบูลมังสาหาร ณ
จุดนี้จะพบแม่น้ำใหญ่ซึ่งเป็นลำน้ำร่วมสองสายคือแม่น้ำมูลกับแม่น้ำชี
ในพงศาวดารจีนกล่าวว่าฟูนันอยู่ห่างจามปามาทางทิศตะวันตก ๓,๐๐๐
ลี้ (๙๖๐ กม.) อาณาจักรจามปา ตอนนั้นมีนครหลวงอยู่แถวเมืองดองหอย (กวางบิน)
หรือเมืองเว้ (หื่อเทียน)
พบเส้นทางสายหนึ่งจากเมืองเว้ถึงเมืองร้อยเอ็ด มีระยะ ๙๕๐ - ๙๖๐ กม.
ฉะนั้นเมืองโบราณร้างแห่งใดแห่งหนึ่งใกล้ ๆ เมืองร้อยเอ็ดปัจจุบัน
เช่นที่ตำบลดงข้าวสาร อาจจะเป็นราชธานีของอาณาจักรโครบุรหรือฟูนัน
ที่ตั้งของโคตรบุรในจดหมายเหตุกรีก
จดหมายเหตุภูมิศาสตร์ฉบับหนึ่งอายุประมาณปี พ.ศ.๖๕๐ - ๗๕๐
คือจดหมายเหตุปโตเลอมี ชาวเมืองอเล็กซานเดรีย กล่าวถึงดินแดนแคว้นหนึ่ง
มีอาณาเขตตั้งแต่ราวอ่าวไทย เหยียดตรงไปทางทิศตะวันออกถึงประเทศเขมร
และปากแม่น้ำโขงที่เมืองไซ่ง่อน กับภูมิภาคทางเหนือขึ้นไป ดินแดนนี้เรียกว่าเลสไท
เลสไทกับฟูนัน หรือโคตรบูร เป็นอาณาจักรในรุ่นราวคราวเดียวกัน
และมีอาณาเขตทับรอยกัน
วัฒนธรรมและศาสนาในโคตรบูร จดหมายเหตุจีนเล่าว่า
มีเงิน ทองคำ และแพร เป็นสินค้า ชนชั้นสูงมีเครื่องนุ่งห่ม ทอด้วยไหมยกเงินยกทอง
คนจนมีผ้านุ่ง พวกผู้หญิงใช้ผ้าคลุมศีรษะ ภาชนะต่าง ๆ ทำด้วยเงิน
กษัตริย์ประทับอยู่ในพลับพลาหลายชั้น มีเสาระเนียดกั้นล้อม บ้านเรือนอยู่ยกสูงจากพื้นดิน กษัตริย์ทรงใช้ช้างเป็นพาหนะ เรือสำหรับใช้
ยาว ๘๐ - ๙๐ ฟุต กว้าง ๖ - ๗ ฟุต หัวท้ายเรือทำรูปหัวและหางปลา
ประชาชนนับถือเทวะ รูปเทวะเหล่านั้นหล่อสร้างด้วยสำริด
มีสอง๗/สี่มือบ้าง มีสี่๗/แปดมือบ้าง ในมือถือวัตถุต่าง ๆ
๗/ ๓๙๙๔
๑๑๘๐. โคตาน เป็นชื่อเมืองอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นซินเกียงในประเทศจีน
เมืองนี้มีความสำคัญในสมัยโบราณ โดยที่ตั้งอยู่ในเส้นทางค้าไหม
ที่เชื่อมจีนกับยุโรป ผ่านตอนกลางของทวีปเอเซีย มาร์โคโปโล
เคยเดินทางมาที่เมืองนี้เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๘๑๘ จีนเรียกเมืองนี้ว่าโฮเตียน
๗/ ๔๐๐๗
๑๑๘๑. โคทาวารี เป็นแม่น้ำสำคัญของอินเดียสายหนึ่ง
ยอดน้ำเกิดจากเขาพรหมคีรี ไหลผ่านแดนทักขินาบท (เดกคาน)
จากตะวันตกมาตะวันออก ลงสู่ทะเลในอ่าวเบงกอล ยาวประมาณ ๑,๔๔๐
กม. แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาฮินดูสายหนึ่ง
๗/ ๔๐๐๘
๑๑๘๒. โคนันทวิศาล เรื่องโคนันทวิศาล
เป็นเรื่องดึกดำบรรพ์ น่าจะมีมาก่อนสมัยพุทธกาล
ปรากฎในคัมภีร์ในพุทธศาสนาหลายคัมภีร์ แห่งหนึ่งมาในนิทานอิสป
มีเค้าเรื่องอย่างเดียวกัน
ในอรรถกถาชาดกอ้างว่า พระพุทธเจ้าทรงยกเรื่องนี้มาตรัสในที่ประชุมภิกษุบริษัทจบลงแล้ว
จึงตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ควรพดูแต่คำที่นุ่มนวลเท่านั้น ไม่ว่าเวลาใด ๆ
ไม่ควรพูดคำที่ไม่นุ่มนวลเลย
๗/ ๔๐๐๙
๑๑๘๓. โคบัลต์ เป็นธาตุมีน้ำหนักอะตอม
๕๘.๙๔ โคบัลต์เป็นธาตุที่มนุษย์รู้จักใช้สินแร่ของมัน
ในการผสมทำเครื่องเคลือบดินเผา และอุตสาหกรรมแก้วมาหลายพันปีแล้ว
โคบัลต์
เป็นโลหะที่มีสีเหมือนเหล็กกล้า แต่มีสีเหลือบแดง ๆ
เป็นโลหะที่แม่เหล็กดูดติดอย่างดี เป็นโลหะที่ทนทานต่ออากาศและด่าง แต่ละลายได้ดีในกรดดินประสิว ละลายได้ช้า ๆ ในกรดเกลือและกรดกำมะถัน
ประโยชน์ของโคบัลต์ที่สำคัญที่สุดคือในโลหะวิทยาคือใช้ในการโลหะผสม
สำหรับทำเครื่องตัดโลหะอื่น ๆ ด้วยความเร็วสูง
นอกจากนี้ยังมีที่ใช้ในการทำสีน้ำเงินของแก้ว และเครื่องเคลือบดินเผาต่าง ๆ ด้วย
๗/ ๔๐๑๓
๑๑๘๔. โคบุตร ๑.
เป็นชื่อหนังสือที่แต่งเป็นกลอนแปด นับถือกันว่าเป็นวรรณคดี แต่งได้อรรถรสดี
๒. เป็นลูกพระอาทิตย์กับนางฟ้าในเรื่องโคบุตร
๗/ ๔๐๑๗
๑๑๘๕. โคบูร์ก เป็นเมืองในแคว้นบาวาเรีย
ประเทศเยอรมัน เป็นเมืองชุมทางรถไฟ และเมืองอุตสาหกรรม ในทางประวัติศาสตร์
เป็นเมืองที่ตั้งขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ มีปราสาทและป้อมปราการเก่า ๆ
ที่สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐
๑๑๘๖. โคปุระ ซุ้มประตูเมืองหรือประตูใหญ่ของเทวาลัย
ทางอินเดียตอนใต้เรียกโคปุรัม
๗/ ๔๐๑๘
๑๑๘๗. โคเป็นเฮเกน เป็นเมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก
ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันออกของเกาะซีแลนด์ ติดกับช่องแคบเออเรซัน
เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของเดนมาร์ก รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการค้าอุตสาหกรรม
และการคมนาคมขนส่ง
ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมควบคุมเส้นทางเดินเรือติดต่อระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ
จึงกลายเป็นเมืองท่า ที่มีความสำคัญมากในยุโรปภาคเหนือ
เมืองโคเป็นเฮเกน
ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๘๗ นับว่าเป็นเมืองที่งดงามมากเมืองหนึ่งของยุโรป
๑๑๘๘. โคเปอร์นิคัส, นิโคลัส (พ.ศ.๒๐๑๖ - ๒๐๘๖) เป็นนักดาราศาสตร์คนสำคัญของโลก
ผู้ได้เปลี่ยนแปลงทรรศนะสำคัญทางดาราศาสตร์
จากแนวความคิดของกรีกมาเป็นดาราศาสตร์ปัจจุบัน
โคเปอร์นิคัส
เป็นชาวโปแลนด์ ได้ศึกษาวิชาศาสนศาสตร์ ดาราศาตร์ คำนวณ ปรัชญา กฎหมาย แพทยศาสตร์
และอื่น ๆ นับว่าเป็นผู้รอบรู้คนหนึ่งในยุคนั้น
ข้อสรุปของทฤษฎีเกี่ยวกับระบบสุริยะ
ซึ่งโคเปอร์นิคัสให้ไว้คือ
๑. โลกเป็นทรงกลม หมุนรอบแกนซึ่งผ่านขั้วเหนือและใต้
ด้วยอัตราวันละหนึ่งรอบ
๒. โลกโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ โดยวงโคจรเป็นวงกลมในอัตราปีละหนึ่งรอบ
ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของเอกภพ และเป็นสิ่งที่อยู่นิ่ง
โลกเป็นบริวารดวงหนึ่งของดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับดาวเคราะห์อีกห้าดวง
ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่า และเป็นที่รู้จักกันนดีตั้งแต่สมัยกรีก
๓. การที่ดาวเคราะห์ปรากฎแนวโคจรบนท้องฟ้าเป็นวงห่วงนั้น
เป็นผลจากการเคลื่อนที่ของโลกไปรอบดวงอาทิตย์ รวมกับการโคจรของดาวเคราะห์นั้น ๆ
ไปรอบดวงอาทิตย์ด้วย
๗/ ๔๐๒๐
๑๑๘๙. โคมลอย เป็นชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่จุดแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศ
การจุดโคมลอยเป็นการเล่นไฟชนิดหนึ่งของชาวไทยในสมัยก่อน
๗/ ๔๐๒๓
๑๑๙๐. โคมีเนียส, จอฮันน์
เอมอส (พ.ศ.๒๑๓๓ - ๒๒๑๓) เกิดในแคว้นมอราเวีย ซึ่งปัจจุบันเป็นภาคหนึ่งของประเทศเชโกสโลวาเกีย
ต่อมาได้เป็นพระราชคณะมอราเวีย ได้อุทิศเวลาเพื่อส่งเสริม แพร่วิชาความรู้
และคริสศาสนาแก่คนทั่วไป เขาเป็นผู้เสนอความเห็นใหม่หลายข้อในการศึกษา เช่น
แต่งหนังสือสอนภาษาลาตินชุดหนึ่ง และหนังสือการสอนที่ยิ่งใหญ่
๗/ ๔๐๒๔
๑๑๙๑. โคร่ง - เสือ
บางครั้งเรียกว่า เสือลายพาดกลอน หรือเสือใหญ่
เป็นเสือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดาเสือทั้งหลายในประเทศไทย
เสือโคร่งขาว
พบในอินเดียมากกว่าที่อื่น
เสือโคร่งดำ
มีพบเห็นไม่มาก ยังไม่เคยมีหนังเสือโคร่งดำ ในพิพิธภัณฑ์ใดเลย
เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่ในทวีปเอเชีย แยกออกเป็นชนิดย่อยได้ ๙
ชนิดย่อย ๗/ ๔๐๒๘
๑๑๙๒. โครแมนยอง นับเนื่องอยู่ในพวกเดียวกับมนุษย์ปัจจุบันเหมือนกัน
เพราะมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายกันมาก เป็นมนุษย์อยู่ในสมัยหินเก่าโบราณคันบน
เป็นสมัยที่เข้าใจกันว่าเกาะอังกฤษยังมีผืนแผ่นดิน ติดอยู่กับแผ่นดินใหญ่ของยุโรป
ทะเลบอลติกยังเป็นทะเลน้ำจืดใหญ่ ทวีปยุโรปและทวีปอัฟริกาติดต่อกันทางพื้นดิน
ที่ทอดข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นสมัยที่ผืนน้ำแข็งผืนสุดท้ายเกือบจะสิ้นสุด
อากาศคลายความหนาวลง
ขณะนี้ถือว่ามนุษย์พวกโครแมนยองได้เข้ามาแทนที่
พวกนีแอนเดอร์ธัลและทำให้พวกหลังนี้สูญพันธุ์ไปจากโลก
๗/ ๔๐๓๘
๑๑๙๓. โครเอเชีย เป็นสาธารณรัฐหนึ่งในจำนวนหกสาธารณรัฐ
ที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศยูโกสลาเวีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ
เมืองหลวงชื่อ ซาเกรบ
ทางด้านตะวันตกอยู่ติดต่อกับทะเลอาเดรียติก มีชายฝั่งเว้าแหว่งมาก
และเต็มไปด้วยหมู่เกาะมากมาย
เดิมที่เดียวโครเอเชีย
เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้มีชาวโครตส์
ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพลเมืองปัจจุบัน เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่
จนกระทั่งตั้งเป็นอาณาจักรอิสระขึ้น ในพุทธศตวรรษที่ ๑๕
ขยายอาณาเขตไปปกครองดินแดนใกล้เคียง หลังจากนั้นต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจของประเทศอื่น
เช่น ฮังการี และตุรกี จนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๑ จึงรวมเข้ากับยูโกสลาเวีย
ที่ตั้งขึ้นเป็นประเทศใหม่
๗/ ๔๐๔๓
๑๑๙๔. โครักขปุระ เป็นเมืองหนึ่งในมัธยมประเทศ
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเมืองพาราณสี ทางเหนือจดประเทศเนปาล เป็นต้น
ทางถนนรถยนต์ไปสู่เมืองกุสินารา ชาวฮินดูที่มาอยู่ในประเทศไทย
โดยเฉพาะผู้มีอาชีพเป็นคนเฝ้ายาม ขายนมวัว ส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองนี้
๗/ ๔๐๔๕
๑๑๙๕. โคราช ๑.
เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อนครราชสีมานั้นรวมมาจากชื่อเมืองเก่า สมัยขอมสองเมือง
ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน เรียกว่า เมืองโคราช
ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือลำตะคองเมืองหนึ่ง (บัดนี้เป็นเมืองร้าง)
อีกเมืองหนึ่งเรียกว่า เมืองเสมา (บัดนี้เป็นเมืองร้าง)
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ
ได้ทรงสร้างเมืองสำคัญใกล้ชายแดนเป็นป้อมปราการ
สำหรับป้องกันพระราชอาณาเขตหลายเมือง ในครั้งนั้นให้ย้ายเมืองโคราชจากเมืองเดิม
ซึ่งอยู่ชายดงไปสร้างเป็นป้อมปราการขึ้นใหม่ ในที่เมืองปัจจุบัน
และได้เอานามเมืองเก่าทั้งสองมารวมกัน ผูกเป็นนามเมืองใหม่ว่า นครราชสีมา
๒.
เป็นเชื่อเพลงอย่างหนึ่งที่แต่งและร้อง เป็นทำนองกลอนของชาวโคราช
๗/ ๔๐๔๕
๑๑๙๖. โครำ หรือเลียงผา
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีลักษณะคล้ายกับแพะ ทั้งตัวผู้ตัวเมียมีเขากลม
ตั้งตรงไปข้างบน ตรงปลายแหลมโค้งไปข้างหลังเล็กน้อย บนสันคอมีขนแผงยาว
ชอบอยู่ตามเขาหิน ตั้งแต่เขาเตี้ย ๆ ไปจนถึงยอดเขาสูง
๗/ ๔๐๕๑
๑๑๙๗. โคล เป็นชนชาติชาวชาวเขา
จำพวกหนึ่งในประเทศอินเดียตอนกลาง อยู่ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้
ของแคว้นเบงกอล เป็นพวกที่มีความเจริญล้าหลังที่สุด ในบรรดาชนชาวต่าง ๆ ของอินเดีย
ภาษาที่ใช้พูดเรียกว่า โคลาเรียน อันมีรูปภาษาใกล้ไปทางภาษาตระกูลมอญ - เขมร
๗/ ๔๐๕๕
๑๑๙๘. โคลง คือ
กลอนมีเอก โท ตามข้อบังคับ มีข้อสังเกตว่าโคลงโบราณแต่งก่อนโคลงที่มีเอกโทตามข้อบังคับ
เพราะข้อบังคับมีขึ้นในชั้นหลัง กาพยสารวิลาสินี คือ ตำราแต่งกลอนในภาษาบาลี
อาจจะแปลถอดรูปกาพย์ มาเป็นโคลงโบราณก็ได้
โคลงโบราณซึ่งถอดแบบมาจากกาพยสารวิลาสินี เป็นต้นตอของพวกโคลงสี่ ทั้งดั้นและสุภาพ
โคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งมีสี่บาท
บาทที่ ๑ ที่ ๒ ที่๓ มี ๗ คำ บาทที่ ๔ มี ๙ คำ เขียนบาทละสองวรรค
วรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ ทั้งสามบาท ส่วนบาทที่ ๔
เขียนวรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๔ คำ แต่บาทที่ ๑ และที่ ๓ ให้เติมสร้อยที่ท้าย
วรรคหลังได้อีก ๒ คำ รวมทั้งหมดมี ๓๐ คำ เป็นเสียงสุภาพ ๑๙ คำ เสียงเอก ๗ คำ
เสียงโท ๔ คำ
โคลงกลบท แต่งผิดกับโคลงธรรมดา
ที่บังคับให้ใช้คำซ้ำ หรืออักษรซ้ำในบาท หรือคาบบาทกันได้บ้าง แต่บางบทเป็นกล
ต้องถอดออกอ่านจึงได้ความ โคลงแบบนี้มักเรียกกันเป็นสามัญว่า กลบท หรือกลอักษร มีอยู่หลายอย่างต่างกลกลอน
โคลงกลอนมีบัญชีดังนี้
(กลอักษรสลับ กลนิกรเก็บบัว
กลวัวพันหลัก กลช้างประสานงา
กลนาคบริพันธ์ (พื้นโคลงดั้น) กลครอบจักรวาล
กลก้านต่อดอก กลสิงโตเล่นหาง
กลสารถึชักรถ กลบุษบาร้อยรัก นาคพันธ์ นาคเกี่ยว
นาคสองชั้น อักษรล้วน อักษรล้วนสลับ สารถีชักรถ (พื้นโคลงสุภาพ) บกสังขยา ทวารประดับ โองการแช่งน้ำ นาคบริพันธุ์ (พื้นโคลงสุภาพ)
กลอักษรล้วน กลนาคโสณฑิก กลตรีพจนบท กลอักษร กลโก่งศร ฯลฯ)
โคลงกระทู้ เป็นโคลงแต่งอธิบายความหมายของกระทู้
ตัวกระทู้ หรือกระทู้ยืน ท่านมักแต่งเป็นกลอน
๗/ ๔๐๕๖
๑๑๙๙. โคลโรฟอร์ม เป็นของเหลวไม่มีสี
มีกลิ่นฉุน มีรสหวานร้อน จะทำขึ้นได้ทางเคมี จากแอลกอฮอล์กับปูน คลอรีน เป็นต้น
ค้นพบเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔ และนำมาใช้เป็นยาสลบ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๐
โคลโรฟอร์มใช้เป็นวัตถุกันเสีย
ในการสกัดตัวยาจำพวกพืชต่าง ๆ ด้วยน้ำโดยกรรมวิธีทางเภสัชกรรม
๗/ ๔๐๗๘
๑๒๐๐. โคลอมเบีย เป็นประเทศสาธารณรัฐอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
ของทวีปอเมริกาใต้ เมืองหลวงขื่อ โบโกตา
ทิศเหนือติดต่อกับทะเลแคริบเบียน ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศเวเนซูเอลา
และประเทศบราซิล ทิศใต้ติดต่อกับประเทศเปรู และเอกวาดอร์
ทิศตะวันตกติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก และคลองปานามา
โคลอมเบีย
เป็นอาณานิคมของสเปน มาเป็นเวลากว่า ๓๐๐ ปี จึงได้ตั้งเป็นประเทศเอกราช ในปี พ.ศ.๒๓๖๒
โดยชั้นแรกรวมอยู่กับเวเนซูเอลา เอกวาดอร์และปานามา เป็นสาธารณรัฐโคลอมเบียใหญ่
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๘๒ - ๒๓๘๓ เวเนซูเอลา และเอกวาดอร์
แยกตัวออกต่างหาก คงเหลือโคลอมเบียกับปานามา เรียกชื่อว่า นิวกรานาดา
แล้วเปลี่ยนมาเป็นโคลอมเบีย ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ ปานามาได้แยกตัวออกไป เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๖
๑๒๐๑. โคลัมบัส คริสโตเฟอร์ (พ.ศ.๑๙๙๔ - ๒๐๔๙) เป็นนักสำรวจยิ่งใหญ่ ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา
เกิดที่นครเยนัว ในแหลมอิตาลี ต่อมาได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ กรุงลิสบอน
และได้รับราชการอยู่กับพระเจ้าแผ่นดินโปร์ตุเกส ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปแคว้นโกลด์โคสต์
ทางอัฟริกาตะวันตก จึงมีความคิดว่า น่าจะไปถึงเอเซียตะวันตกได้ด้วย
เพราะเป็นที่เชื่อกันว่าโลกกลม
ในที่สุดโคลัมบัสได้เดินเรือออกจากประเทศสเปน
ในปี พ.ศ.๒๐๓๕ โดยได้รับความอุปถัมภ์จากพระเจ้าเฟอร์ดินันด์ และพระนางอิสาเบลลา
แห่งสเปน ได้เดินทางมาถึงเกาะคานารีส์ แล้วเดินทางต่อไปในมหาสมุทรแอตแลนติก
จนไปพบแผ่นดินใหญ่ใหม่ ได้รับนามว่า ซานซัลวาดอร์
ส่วนชาวพื้นเมืองโคลัมบัสเข้าใจว่า เป็นชาวประเทศอินเดียจึงเรียกว่า พวกอินเดียน
แล้วโคลัมบัสก็ยึดเกาะต่าง ๆ ที่ค้นพบไว้ในนามของพระเจ้าแผ่นดินสเปนคือ เกาะคิวบา
และซานโคมิงโก หรือฮิวปานิโอลา
โคลัมบัสได้เดินทางไปทวีปอเมริกาอีกสามครั้ง
ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๓๖ - ๒๐๓๙ และ พ.ศ.๒๐๔๕ - ๒๐๔๗
๗/ ๔๐๘๑
๑๒๐๒. โคลัมโบ เป็นเมืองหลวงของประเทศลังกา
ตั้งอยู่ริมทะเลฝั่งตะวันตกของเกาะลังกา เป็นเมืองท่า
และศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดของประเทศด้วย มีท่าเรือทันสมัย
เมืองนี้มีกล่าวถึงเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี
พ.ศ.๑๘๘๓ เรียกชื่อว่ากาลัมบู ต่อมาโปร์ตุเกสเรียกใหม่ว่า โคลัมโบ
เพื่อให้เป็นเกียรติแก่โคลัมบัส นักเดินเรือสำคัญ
โปร์ตุเกสได้เข้ามาสร้างสถานีการค้าขึ้นที่เมืองนี้ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๑๙๙ ฮอลันดายึดเมืองท่านี้จากโปร์ตุเกส และต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๓๙
ก็เปลี่ยนไปอยู่ในปกครองของอังกฤษ จนกระทั่งลังกาได้รับเอกราชในปี พ.ศ.๒๔๙๑
๗/ ๔๐๘๔
๑๒๐๓. โคโลญ เป็นเมืองในประเทศเยอรมัน
เป็นเมืองท่าบนฝั่งแม่น้ำไรน์ ในมณฑลเวสฟาเลีย
เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า
และอุตสาหกรรมต่าง ๆ
เมืองนี้สร้างในสมัยโรมัน
เมื่อปี พ.ศ.๕๙๓ เพื่อให้เป็นเมืองชายแดนป้องกันการรุกรานของพวกอนารยชน
มีป้อมปราการที่โรมันสร้างไว้
๗/ ๔๐๘๔
๑๒๐๔. โคโรเดียน (เว้น)
๗/ ๔๐๘๖
๑๒๐๕. โคโลราโด เป็นรัฐหนึ่งในสหรัฐอเมริกา
ได้ชื่อว่ารัฐภูเขา รัฐนี้ตั้งอยู่ที่ภูเขารอกกี้ ทางตะวันออกเป็นรัฐเนบราสก้า
และแคนซัส ทางใต้เป็นรัฐนิวเมกซิโก และโอกลาโฮมา ทางตะวันตกเป็นรัฐยูดาห์
ทางเหนือเป็นรัฐไวโอมิง และเนบราสกา
โคโลราโด
ได้ชื่อว่าเป็นหลังคาของสหรัฐอเมริกา เพราะอยู่สูงที่สุดของประเทศ
เป็นที่เกิดของแม่น้ำสำคัญสี่สายด้วยกัน
โคโลราโด
เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ที่มีความเจริญต่ำคือ พวกที่อยู่ตามถ้ำ
อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐ ชาวผิวขาวที่เข้ามาพบโคโลราโด คนแรกเป็นชาวสเปน
เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๔ และได้มีการจับจองโคโลราโดเป็นอาณานิคมของเสเปน เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๙
ในปี พ.ศ.๒๓๔๐ โคโลราโดตกเป็นของฝรั่งเศส ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๔๓
สหรัฐอเมริกาได้ซื้อรัฐนี้ทางด้านตะวันออก ทางตะวันตกไปรวมกับเม็กซิโก จนถึงปี
พ.ศ.๒๓๖๔ จึงกลับมาเป็นของสหรัฐ และมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๙
๗/ ๔๐๘๘
๑๒๐๖. โควตา เป็นคำในภาษาอังกฤษ
ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินแปลว่า เสมอหรือเท่ากัน เดิมใช้การค้าระหว่างประเทศโดยตรงวิธีหนึ่ง เป็นมาตรการอย่างหนึ่ง
ที่ใช้จำกัดปริมาณ (อาจจำกัดมูลค่าด้วย) ของสินค้าที่จะนำเข้ามา
หรือส่งออกไปจำหน่าย ณ ต่างประเทศ
๗/ ๔๐๙๑
๑๒๐๗. โควรรธนะ เป็นชื่อภูเขาในวฤนทาวัน
ซึ่งพระกฤษณ์ชักชวนชาวโคบาลให้บูชาพระองค์แทนบูชาพระอินทร์ พระอิทร์ทรงทราบก็กริ้ว
บรรดาลให้ฝนตกลงมาอย่างหนัก เพื่อให้ท่วมทำลายภูเขาโควรรธนะและบรรดาฝูงชนในถิ่นวฤนทาวัน
พระกฤษณ์เอานิ้วก้อยช้อนเขาโควรรธนะขึ้นบังฝน ป้องกันประชาชนไว้ให้พ้นอันตราย
จากน้ำท่วมเป็นเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืน ในที่สุดพระอินทร์ยอมแพ้และมาเคารพบูชาพระกฤษณ์
เหตุนี้พระกฤษณ์จึงมีพระนามหนึ่งว่า พระโควรรธนะ
๗/ ๔๐๙๒
๑๒๐๘. โควินทจริยา
เรื่องนี้มาในคัมภีร์จริยาปิฎก ขุททกนิกาย สุตตันปิฎก แสดงจริยาของพระพุทธเจ้า
ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ในพระชาติหนึ่งเรียกว่า โควินทจริยา
เป็นชื่อการบำเพ็ญพุทธการกธรรม
คำว่า โควินทะ เป็นชื่อตำแหน่งปุโรหิต ของพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง และคำว่า
โควินทะ มีความหมายสองประการ ประการแรก หมายความว่า มีอานุภาพมาก ประการที่สอง
หมายความว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงอภิเษกไว้ ในตำแหน่งโควินทยาภิเษก ๗/ ๔๐๙๒
๑๒๐๙. โควินทสิงห์ - คุรุ
เป็นคุรุองค์ที่สิบของลัทธิศาสนาพวกศิข
หรือที่เรียกกันว่า แขกซิก
ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๙ เป็นผู้จัดตั้งคณะพวกซิก ให้อยู่ในฐานะนักรบ
เพื่อต่อสู้กับชนชาวอิสลามที่เข้ามารุกรานแดนของพวกซิก
โดยจัดการปกครองทางศาสนาอย่างเป็นกองทัพ
คุรุโควินทสิงห์เกลียดชังพวกอิสลามยิ่งนักถึงกับตั้งกฎไว้ว่า
ผู้ใดแสดงความเคารพที่ฝังศพของพวกอิสลาม
แม้ศพที่ฝังนั้นเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ต้องถูกปรับครั้งละ ๑๒๕ รูปี
และมีภาษิตติดปากพวกซิกว่า "๗/ที่ซิกแท้ต้องทำสงครามกับพวกอิสลามเสมอ
ให้ฆ่ามันให้ต่อสู้กับมันจนสุดกำลัง"
ก่อนคุรุโควินทสิงห์จะตายได้สั่งว่าเมื่อท่านตายแล้วให้ถือ
คัมภีร์อาทิครัมถ์ เป็นคุรุแทนทุกประการ
๗/ ๔๑๐๕
๑๒๑๐. โคเวนทรี เป็นชื่อเมืองในประเทศอังกฤษ
อยู่ในมณฑลวอริก ซึ่งอยู่ในภาคกลางของประเทศ ตั้งอยู่ในย่านอุตสาหกรรมใหญ่ของอังกฤษ
ที่มีชื่อว่า มิคแลนด์ ๗/ ๔๑๐๗
๑๒๑๑. โคศัพท์ เป็นชื่อวิธีการหารเลขไทยในสมัยโบราณ
ถ้าจะเรียกอย่างปัจจุบันคือสูตรคูณ มีอยู่เก้าแม่ (สมัยต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น ๑๒ แม่)
สูตรทั้งเก้าแม่นี้มักเรียนวิชาเลข จะต้องท่องจำให้ขึ้นใจ อาจารย์จึงจะสอนให้รู้จักวิธีลบหรือยืม
แล้วยังต้องให้ท่อง และทำนพพลจนคล่องเสียก่อน จึงจะขึ้นวิชาหารเลขคือโคศัพท์
๗/ ๔๑๐๘
๑๒๑๒. ไคเภ็ก เป็นชื่อหนังสือพงศาวดารจีน ไทยแปลมาเป็นภาษาไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๐
พงศาวดารจีนเรื่องนี้กล่าวแต่ปฐมเหตุสร้างโลก
อ้างกันว่าเป็นเรื่องที่นักปราชญ์แต่โบราณแต่งไว้ มีความว่า
มีพระองค์หนึ่งเป็นใหญ่ในโลก พระนามว่า เชกเกียมองนี่ฮุด
มีศิษย์ชื่อพระออ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าโลกนี้มีสี่ทวีป
แต่ใต้ทวีปทั้งสี่มืดมนนัก จึงประสงค์จะช่วยให้ทวีปทั้งสี่เปิดเป็นฟ้าดินขึ้น
กวนนิมไต้สือ เป็นศิษย์องค์หนึ่งของพระองค์
ทูลขอให้เปิดทวีปทั้งสี่เป็นฟ้าดิน แต่พระองค์วิตกว่าเป็นการใหญ่นัก
เปิดฟ้าเปิดดินขึ้นแล้ว สืบไปภาย๗/จะได้ใครเป็นผู้รักษา
คุนตอเป็งชาน้า อาสาเป็นผู้ไปเปิดโลกให้มีฟ้าและดินที่ทิศใต้ก่อนทวีปทั้งสี่
แล้วเรื่องก็ดำเนินไปเป็นวิวัฒนาการไปสู่การสร้างมนุษย์คู่แรก
แล้วเกิดพืชพันธุ์เป็นมนุษย์ และสัตว์ต่าง ๆ แล้วเกิดกษัตริย์
ผู้วิเศษสามองค์เป็นหนแรก ได้ตั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อกำหนด๗/ที่ต่าง ๆ
ให้กับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลก
แนวทางของไคเภ็ก เป็นความเข้าใจของคนทั้งหลายในยุคนั้น
ที่เข้าใจว่าสรรพสิ่งทั้งหลายต้องมีผู้สร้างให้เกิดขึ้น และเป็นที่น่าสังเกตุว่า
ผู้แต่งคงเป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา จึงยกให้พระพุทธเจ้าเป็นผู้สร้างโลก
พระนามเซกเกียมองนีฮุดนั้นก็คือ พระศากยมุนีพุทธ
๗/ ๔๑๑๔
๑๒๑๓. ไครเมีย เป็นชื่อคาบสมุทรอยู่ทางภาคใต้ของโซเวียตติดต่อกับทะเลดำทางทิศเหนือของคาบสมุทร
มีลักษณะเป็นคอคอดชื่อ คอคอดเปเวคอบ
ด้านตะวันออกของคาบสมุทรอยู่ติดกับทะเลอาชอฟ ซึ่งแยกจากทะเลดำ
โดยมีช่องแคบเคิร์ชกั้น
คาบสมุทรไครเมียนี้เป็นที่อยู่ของชนชาติต่าง
ๆ เปลี่ยนมือมาหลายคร้ง แค่เดิมมีชาวกรีกโบราณเข้าไปตั้งหลักแหล่งอยู่
ต่อมามีชาวโรมัน หลังจากนั้นก็มีพวกอนารยชนเผ่าต่าง ๆ เช่นพวกกอช และพวกอื่น ๆ
เข้าไปอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ คาสมุทรนี้อยู่ในอำนาจของพวกเตอร์ก จนถึงปี พ.ศ.๒๓๒๖
จึงไปอยู่ในปกครองของรุสเซียกับฝ่ายสัมพันธมิตร ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๙๓ - ๒๓๙๕ เกิดสงครามไครเมีย
ระหว่างรุสเซียกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศส ตุรกี
และซาร์ดิเนีย
ก่อน๗/ที่รุสเซียจะได้เข้าไปครอบครองคาบสมุทรนี้
พลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวตาตาร์ ต่อมาได้มีชาวรุสเซียเดินทางเข้าไปตั้งหลักแหล่งมาก
แต่รัสเซียก็ให้ฐานะดินแดนส่วนนี้ปกครองตนเอง รวมอยู่ในสหภาพโซเวียต
เพราะมีชาวตาตาร์อยู่ถึงร้อยละ ๒๕ เมื่อสิ้นสงคนรามโลกครั้งที่สอง
สพภาพโซเวียตจึงยุบสาธารณรัฐนี้เสีย
ให้มีสภาพเป็นแคว้นหนึ่งรวมอยู่กับโซเวียตรุสเซีย
๗/ ๔๑๒๗
๑๒๑๔. ไคโร เป็นเมืองหลวงของประเทศอียิปต์
เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในทวีปอัฟริกา
ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไนล์ บริเวณที่เป็นที่พักอาศัยของพวกอาหรับ
พวกคอปติกและพวกยิว มีลักษณะคล้ายเมืองในสมัยกลาง มีถนนแคบ ๆ ตัด วกไปวนมา
มีซากกำแพงและประตูเมืองโบราณ
ไคโรได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาชั้นสูงของชาวอิสลาม
สถาบันการศึกษาคัมภีร์โกหร่าน ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ มหาวิทยาลัย เอล อัชฮาร์
ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๕๑๕ มีนักศึกษาจากส่วนต่าง ๆ
ของโลกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้
กรุงไคโร
มีมัสยิดมากกว่า ๒๕๐ แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในย่านอยู่อาศัยของชาวอาหรับ
มัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดสร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เลียนแบบมัสยิดที่เมกกะ
มัสยิดที่สวยงามที่สุดคือมัสยิดของสุลตานฮาซัน สร้างเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐
นอกจากมัสยิดแล้วยังมีวัดของพวกคอปติก พวกกรีก - ออโธดอกซ์ พวกยิวและพวกคริสเตียน
ไคโรเก่าตั้งเมื่อปี
พ.ศ.๑๑๘๓ โดยทหารของกาหลิบโอมาร์ที่หนึ่ง
ตลอดสมัยกลางไคโรเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของชาวมุสลิม
และเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศในยุโรปและเอเซีย
๗/ ๔๑๒๙
๑๒๑๕. ไคลฟ์ รอเบิต บารอน (พ.ศ.๒๒๖๘ - ๒๓๑๗) เป็นทหารและเป็นนักการเมืองชาวอังกฤษ
เป็นผู้มีส่วนสำคัญยิ่ง ในงานริเริ่มจัดตั้งจักรวรรดิ์บริติชในอินเดีย
ในขณะนั้นประเทศอินเดียอยู่ในเขตจักรวรรดิ์โมกุล
ซึ่งนับตั้งแต่รัชกาลจักรพรรดิ์ออโอเษพมาแล้ว
ความเคร่งครัดทางศาสนาอิสลามของฝ่ายรัฐบาล นำความเดือดร้อน
และไม่พึงพอใจมาให้แก่ราษฎรที่นับถือศาสนาอื่น
และในจักรวรรดิ์ก็มีแต่จลาจลแตกแยกกันออกไป ๆไม่ยอมขึ้นต่อรัฐบาลกลางของจักรวรรดิ์
ในปี พ.ศ.๒๒๙๔
มีศึกชิงราชบัลลังก์ระหว่างเจ้าแห่งแคว้นแทนจอร์ในอินเดีย
บริษัทค้าขายของอังกฤษและฝรั่งเศสต่างเข้าช่วยคู่ศึกคนละฝ่าย ไคลฟ์ได้ชื่อเสียงมากในการชิงดินแดนคามาร์ติกจากฝรั่งเศสมาเป็นของอังกฤษ
งานสำคัญของไคลฟ์ก็คือ
กิจการทางอินเดีย อันพึงจัดให้ได้ประโยชน์แก่อังกฤษ
๗/ ๔๑๓๒
ฅ.
๑๒๑๖. ฅ.
เป็นพยัญชนะตัวที่ห้าของอักษรไทย เป็นจำพวกอักษรต่ำ
มีฐานกรณ์อย่างเดียวกับตัว ค ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในลำดับที่ .....
ในสมัยก่อนไทยเรานิยมใช้เขียนคำที่เป็นภาษาไทยบางคำเช่น
ตน - คน ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
๗/ ๔๑๔๐
ฆ.
๑๒๑๗. ฆ. พยัญชนะตัวที่หกของอักษรไทย
เป็นจำพวกอักษรต่ำ มีฐานกรณ์เกิดแต่คอเป็นธนิตโฆษะ
มีเสียงดังก้องกว่าตัว ค ซึ่งเป็นสิถิลโฆษะคือตัว ฆ เราออกเสียง ค - ห พร้อมกัน
ในอักษรวิธีไทยใช้เป็นตัวสะกด ในแม่ กก เฉพาะคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต
ฆ
ที่ใช้เขียนในคำไทยมีอยู่บ้างเล็กน้อยเช่น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่
๗/ ๔๑๔๐
๑๒๑๘. ฆ้อง เป็นชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งทำด้วยทองเหลือง
ผสมโลหะอื่นเล็กน้อย มีรูปร่างเป็นแผ่นวงกลม งองุ้มลงมารอบตัว
มีปุ่มกลมตรงกลางสำหรับตี ชายวงกลมออกไปจนถึงส่วนที่งองุ้มลงมาเรียกว่า ฉัตร
และยังแยกเรียกส่วนที่เป็นพื้นราบว่าหลังฉัตร ตอนที่ห้อยลงรอบตัวเรียกว่า ใบฉัตร
ส่วนปุ่มตรงกลางเรียกปุ่ม
ฆ้องเป็นเครื่องดนตรีประเภทที่เกิดเสียงด้วยการตี
ตรงฉัตรส่วนที่งุ้มลงมาเจาะรูสองรูหรือสี่รู สำหรับร้อยเชือกหรือหนังเพื่อแขวนตี
ฆ้องของไทยมีขนาด และชื่อเรียกหลายอย่างต่างกัน แยกไปตามกรณีที่ใช้คือ
ฆ้องกระแต
มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๒ ซม.
ใช้ตีเป็นสัญญาณในการอยู่เวรยาม ในสมัยโบราณที่มีการป่าวประกาศ ก็มีคนถือฆ้องกระแตตีนำไปกับผู้ประกาศเรียกว่า
ตีฆ้องร้องป่าว
ฆ้องเหม่ง
มีขนาดเขื่องกว่าฆ้องกระแต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๘ ซม.
ใช้ตีเป็นเครื่องประกอบจังหวะอยู่ในวงกลองมลายู สำหรับประโคมในงานพระบรมศพ
และพระศพเจ้านาย ภายหลังใช้ประโคมตลอดจนศพสามัญชน
ฆ้องโหม่ง
มีขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ - ๔๕ ซม.
แต่โบราณคงจะใช้ตีบอกระยะเวลาคู่กันกับกลอง ฆ้องโหม่งตีเวลากลางวัน
กลองตีเวลากลางคืน เมื่อฟังตามเสียงฆ้องและกลองแล้ว จึงเรียกระยะเวลากลางวันว่าโมง
ตามเสียงฆ้องและกลางคืนว่าทุ่ม ตามเสียงกลอง
ฆ้องโหม่งเมื่อนำมาผสมกับวงดนตรีไทยใช้เป็นเครื่องกำกับจังหวะห่าง ๆ
เพราะมีเสียงกังวานยาว โดยปกติจะตีหนึ่งทีต่อสองจังหวะฉิ่ง
และใช้เป็นเครื่องประกอบจังหวะดนตรีไทยได้ทุกชนิด แต่ถ้าผสมกับวงกลองยาว
(เถิดเทิง) โหม่งจะตีทุกจังหวะฉิ่ง
ฆ้องคู่
เป็นฆ้องที่ใช้บรรเลงชุดหนึ่งสองลูกจึงเรียกว่า ฆ้องคู่
ฆ้องทั้งสองลูกมีขนาดต่าง ๆ กันเล็กน้อย เทียบเสียงให้ลูกใหญ่มีเสียงต่ำ
ลูกเล็กมีเสียงสูง ห่างกันเป็นคู่หกบ้างคู่ห้าบ้าง
ฆ้องคู่นี้เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ร่วมกับกลองชาตรี โทน ฉิ่ง และกรับ
สำหรับบรรเลงในการแสดงหนังตลุง และละครโนห์ราชาตรีเรียกว่าวงปี่พาทย์ชาตรี
ฆ้องระเม็ง
ชุดหนึ่งมีสามลูก สำหรับตีประกอบการแสดงระเม็ง
ซึ่งเป็นการเล่นของไทยสมัยโบราณ ฆ้องทั้งสามลูกนี้มีขนาดและเสียงสูงต่ำต่างกัน
ฆ้องราง
ชุดหนึ่งมีเจ็ดลูก มีขนาดลดหลั่นกันไปตามลำดับ
และเทียบเสียงต่ำสูงเรียงกันขึ้นไปเจ็ดเสียง บรรเลงเป็นเพลงได้
ฆ้องวง
มีการผูกโยง เช่นเดียวกับฆ้องราง หากแต่ผูกเป็นวงพอที่คนจะนั่งภายในวงได้สบาย
เกือบรอบตัวคนตี โดยเว้นด้านหลังเปิดไว้เป็นทางเข้าออก
ฆ้องลูกทางเสียงสูงอยู่ทางขวาของผู้ดี เสียงต่ำอยู่ทางซ้าย
มีชื่อเรียกตามขนาดและกรณี ที่ใช้ต่าง ๆ กันคือ ฆ้องวงใหญ่
มี ๑๖ ลูก ๑๖ เสียง ฆ้องวงเล็ก
มีลูกฆ้อง และขนาดวงเล็กกว่าฆ้องวงใหญ่ มีจำนวน ๑๘ ลูก
ฆ้องมโหรี เป็นฆ้องวงอีกขนาดหนึ่ง
สำหรบใช้บรรเลวในวงมโหรี มีขนาดเล็กว่าฆ้องวงใหญ่ และใหญ่กว่าฆ้องวงเล็ก
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฆ้องกลาง มีลูกฆ้อง ๑๗ ลูก ฆ้องวงเล็กมโหรี
เป็นฆ้องวงเล็กใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงมโหรี มีลูกฆ้อง ๑๙ ลูก
ฆ้องชัย
เป็นฆ้องขนาดใหญ่ บางทีเรียกตามเสียงว่า ฆ้องหุ่ย
ในสมัยโบราณใช้ฆ้องชนิดนี้เป็นสัญญาณในกองทัพ ปัจจุบันใช้ในงานพิธีมงคลต่าง ๆ
ฆ้องหุ่ยดึกดำบรรพ์
ได้ชื่อตามวงปี่พาทย์ที่ชื่อ ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และปี่พาทย์นี้ก็ได้ชื่อมาจาก
โรงละครดึกดำบรรพ์ เป็นฆ้องหุ่ยทั้งชุด (เจ็ดลูก เจ็ดเสียง)
ฆ้องชวา
ในวงปี่พาทย์ของชวา มีฆ้องอยู่สี่อย่างคือ ฆ้องอะกุง
อย่างไทยเรียงฆ้องหุ่ยสามลูก ฆ้องโบนัง
เรียกอย่างไทยว่า ฆ้องร้าน ฆ้องคุทุก และฆ้องคันนอง
ฆ้องมอญ
ในวงปี่พาทย์ของมอญ มีฆ้องอยู่สี่ชนิดคือ ฆ้องราง ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงเล็ก และฆ้องโหม่งราว
ฆ้องพม่า
ในวงปี่พาทย์พม่ามีฆ้องอยู่สองอย่างคือ ฆ้องวง และฆ้องแผง
๗/ ๔๑๔๐
๑๒๑๙. ฆาต เป็นชื่อเทือกภูเขา
ในประเทศอินเดีย มีอยู่สองเทือกคือ เทือกภูเขาฆาตตะวันออก และเทือกภูเขาตะวันตก
ระหว่างเทือกเขาทั้งสองเป็นที่ราบสูง เรียกว่า ที่ราบสูงเดคคาน
เทือกเขาฆาตตะวันออก อยู่ทางตะวันออก
และตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศชิดกับชายฝั่งอ่าวเบงกอล ตั้งต้นจากลุ่มแม่น้ำมหานที
ลงไปทางใต้ยาวประมาณ ๘๐๐ กม.
เทือกเขาฆาตตะวันตก ตั้งอยู่ชิดฝั่งทะเลอาหรับ
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศตั้งต้นจากลุ่มแม่น้ำตาบดี
ลงไปทางใต้ เป็นระยะทางประมาณ ๑,๓๐๐ กม.
๗/ ๔๑๖๑
๑๒๒๐. โฆษณา ต้นศัพท์มาจากภาษาบาลีว่า
"โฆส" ภาษาสันสกฤตว่า "โฆษ"
แปลว่า กึกก้อง แปลตามความหมายว่า ประกาศ ป่าวร้อง หรือทำประการใด ๆ
ให้ทราบมากคนด้วยกัน
การโฆษณาเป็นศิลปวิทยา ซึ่งเกิดมีมาก่อนนาน
๗/ ๔๑๖๑
๑๒๒๑. โฆสิตาราม เป็นวัดในพระพุทธศาสนา
เป็นมหาวิหารและเป็นสังฆาราม ตั้งอยู่ใกล้กรุงโกสัมพี
นครหลวงแคว้นวังสะ ในสมัยพุทธกาล โฆสกเศรษฐี เป็นผู้สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าอุเทน
พร้อมกับวัดกุกกุฎาราม ซึ่งกุกกุฎเศรษฐีสร้างขึ้น และวัดปาวาริการาม ซึ่งปาวาริตเศรษฐี
สร้างขึ้น
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังกรุงโกสัมพี
ตามที่เศรษฐีทั้งสามได้กราบทูลอาราธนา พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่ ณ วัดทั้งสามนั้น
ตามโอกาสอันควร โดยทรงผลัดเปลี่ยนเวรกันไป พระพุทธศาสนาจึงตั้งมั่นลงในกรุงโกสัมพี
ด้วยประการฉะนี้
๗/ ๔๑๖๘
ง.
๑๒๒๒. ง.
พยัญชนะตัวที่เจ็ดของอักษรไทย เป็นพยัญชนะตัวที่สุดของวรรคที่หนึ่ง
อยู่ในจำพวกอักษรต่ำ มีฐานกรณ์เกิดแต่คอ และมีเสียงออกทางจมูก เรียกว่า อนุนาสิก
ในภาษาไทยใช้เป็นตัวสะกดในแม่กง
และใช้ขึ้นต้นคำก็ได้ แต่ในภาษาบาลีและสันสกฤตไม่เคยใช้
เป็นคำขึ้นต้นเลยเป็นแต่ตัวสะกด ซึ่งมีพยัญชนะอื่นตามหลังเท่านั้น
๗/ ๔๑๘๗
๑๒๒๓. งบดุล เป็นงบที่แสดงฐานะของกิจการในวันใดวันหนึ่ง
รายการที่แสดงในงบดุล จะแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งแสดงรายการสินทรัพย์ต่าง ๆ
ที่กิจการมีในวันนั้น แยกออกเป็นประเภทๆ ตามลักษณะของสินทรัพย์
อีกส่วนหนึ่งแสดงว่า
สินทรัพย์เหล่านั้นได้มาจากการลงทุนของผู้เป็นเจ้าของกิจการเท่าใด
และจากการกู้ยืมเท่าใด ฉะนั้น ยอดรวมของรายการสินทรัพย์ ทั้งหมดของกิจการ
จะต้องเท่ากับยอดรวมของการลงทุน และหนี้สิน
การแสดงรายการสินทรัพย์
ทุน และหนี้สิน ในงบดุลอาจจะแสดงเป็นรูปบัญชีก็ได้ หรืออาจจะแสดงในรูปรายงานก็ได้
๑๒๒๔. งบประมาณ หมายความถึง
บัญชี หรือจำนวนเงินที่รวมกะกำหนด รายรับ รายจ่ายเงินทางราชการไทย
ได้ใช้คำนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๓ โดยได้บัญญัติคำนี้ไว้ใน
พ.ร.บ.กรมสารบาญชี กระทรวงพระคลัง นับแต่นั้นมาคำนี้
ก็เริ่มใช้กันแพร่หลายในวงราชการ และธุรกิจของเอกชน
ในวิชาเศรษฐศาสตร์ และการคลัง คำว่างบประมาณ มีความหมายกว้างขวางกว่าที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
และมีผู้ให้คำนิยามไว้แตกต่างกันไป
การจัดทำงบประมาณได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ คำว่างบประมาณในครั้งนั้น หมายถึง
เอกสารรายได้และรายจ่าย ซึ่งรัฐมนตรีคลังของอังกฤษ จะต้องเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
เป็นประจำทุกปี
งบประมาณของรัฐย่อมมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างในคือ
สมดุล ขาดดุล และเกินดุล ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง งบประมาณของประเทศต่าง
ๆ มักสมดุล ตามทฤษฎีการคลังสมัยเก่า
ปัจจุบันการจัดทำงบประมาณของประเทศต่าง
ๆ มีทั้งในรูปของงบประมาณแบบแสดงรายการ และงบประมาณแบบแสดงแผนงาน
การปฎิรูปงบประมาณของประเทศไทย
ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ เป็นไปตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการคลัง
ที่สหรัฐอเมริกาส่งมาช่วยเหลือรัฐบาลไทย ได้มีการจัดตั้งสำนักงบประมาณขึ้น
ในสำนักนายกรัฐมนตรี และได้โอน๗/ที่ในการจัดทำงบประมาณ จากกระทรวงการคลังมาให้
๗/ ๔๑๘๗
๑๒๒๕. งวง ๑ - ไก่ ดูไก่งวง
(ลำดับที่ ๖๕๔)
๗/ ๔๒๑๕
๑๒๒๖. งวง ๒ - ลม หมายถึง
ลักษณะของเมฆที่ห้องลงมาเป็นลำคล้ายงวงช้าง จากใต้ฐานเมฆที่หนาทึบ ความยาวของลงเมฆ
หรือลมงวงนี้ มีความยาวต่าง ๆ กัน เมื่อเริ่มเกิดจะเห็นเป็นลำสั้น ๆ
ยื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ ลำงวงนี้จะมีความยาวมากขึ้น ในกรณีที่มีความรุนแรงเต็มที่
อาจจะยื่นลงมาจดพื้นดิน หรือพื้นทะเล ภายในบริเวณลมงวงนี้ เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำมาก
มีกระแสอากาศจากบริเวณรอบ ๆ พัดเข้าสู่ลมงวงนี้ แรงและกระแสอากาศภายในบริเวณ
ลมงวงนี้จะไหลลอยขึ้นสู่เบื้องบนอย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดบนพื้นทะเลเรียกว่า พวยน้ำ
เพราะภายในบริเวณนี้น้ำทะเล จะถูกดูดขึ้นไปเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดบนบก เรียกว่า
พายุทอร์นาโด ลำของงวงเป็นแกนกลางของพายุ
๑๒๒๗. งวงช้าง ๑ - ต้น
ดู ตะกวม (ลำดับที่...)
๗/ ๔๒๑๕
๑๒๒๘. งวงช้าง ๒ - หญ้า
เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ต้นสูง ๑๕ - ๒๐ ซม.
ลำต้นค่อนข้างอวบน้ำ มีขนคายทั่ว ๆ ไป ใบเรียงสลับกัน ช่อดอกอยู่ปลายยอด โค้ง
ตอนปลายม้วนลงคล้ายงวงช้าง พบขึ้นตามที่ลุ่มทั่ว ๆ ไป
๗/ ๔๒๑๕
๑๒๒๙. งวงช้าง ๓ - งู
เป็นงูน้ำจืด ชอบอยู่ในน้ำลึก ในบริเวณที่มีความเย็น เป็นงูไม่มีพิษ
ไม่ใคร่พบบ่อยนัก
๗/ ๔๒๑๗
๑๒๓๐. ง่วนไทโจ๊ นามเดิมว่า
เตมูจิน เป็นชนชาติมงโกล
เป็นหัว๗/เผ่ามงโกลแทนบิดาเมื่ออายุ ๑๓ ปี เตมูจิน สามารถทำสงครามปราบปราม
และรวบรวมชาวมองโกล ให้อยู่ในอำนาจของตนอย่างสิ้นเชิง
และได้สร้างจักรวรรดิ์มงโกลขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๑๗๑๘
ต่อมาในปี
พ.ศ.๑๗๔๙ เตมูจิน ขนานนามตนเองว่า เจงกิสข่าน
มีความหมายว่า ผู้ทรงอำนาจ เจงกิสข่านเริ่มแผ่อำนาจ
และขยายอาณาเขตของจักรวรรดิ์มงโกล โดยยกกองทัพม้าอันเกรียงไกร
ออกรบพุ่งช่วงชิงดินแดนต่าง ๆ คือ อาณาจักรเชี่ย
ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีน อาณาจักรกิม
อาณาจักรของชาติเตอร์ก ภาคเหนือของประเทศอินเดีย ตลอดจนอาณาจักรเล็ก ๆ
และแคว้นต่าง ๆ ในโซเวียตรุสเซีย
ดินแดนต่าง
ๆ ที่พระองค์ตีได้นั้น ตั้งแต่ทะเลจีนจดทะเลดำ
รวมประเทศใหญ่น้อยที่ตีได้มีถึง ๔๐ ประเทศ พระองค์ครองราชย์อยู่ ๒๒ ปี สิ้นพระชนม์
เมื่อปี พ.ศ.๑๗๗๐ พระชนมายุได้ ๖๖ พรรษา ชาวจีนเรียกพระองค์ว่า
ง่วนไทโจ๊ มีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์แรกแห่งราชวงศ์หงวน
๗/ ๔๒๑๗
๑๒๓๑. ง่วนสีโจ๊ พระนามเดิมว่า
กุบไล ทรงเป็นพระนัดดาของเจงกิสข่าน
ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๑๗๕๙ ทรงเป็นข่านสืบต่อจากพระเชษฐา เมื่อปี
พ.ศ.๑๘๐๒ ขณะนั้นดินแดนต่าง ๆ ของประเทศจีน เกือบทั้งหมดตกเป็นของจักรวรรดิ์มงโกล
ราชวงศ์ซ้องถูกทำลายโดยสิ้นเชิง กุบไลข่านขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ์จีน ณ
เมืองไคพิง เมื่อปี พ.ศ.๑๘๒๓ ทรงสถาปนากรุงปักกิ่ง
เป็นเมืองหลวง พระองค์ทรงพระนามว่า ง่วนสีโจ๊
เมื่อพระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิ์จีนแล้ว
ก็ทรงเริ่มขยายอาณาเขตและแผ่อำนาจไปยังดินแดนต่าง ๆ ประเทศที่พระองค์ยกไปตีคือ
ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ตลอดถึงเกาะชวา ยกเว้นประเทศไทย
เพราะกุบไลข่านได้ส่งราชทูตมาเจริญพระราชไมตรีกับไทย
ในรัชสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช แห่งกรุงสุโขทัย
กุบไลข่านสิ้นพระชนม์
เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๗ ครองราชย์อยู่ ๓๕ ปี พระชนมายุได้ ๗๘
พรรษา ๗/ ๔๒๑๙
๑๒๓๒. งอด - งู เป็นงูขนาดเล็ก
ยาวไม่เกิน หนึ่งคืบ กินแมลงเป็นอาหาร อยู่ในที่อับมีน้ำค้างมาก ๆ ไม่มีพิษ
๗/ ๔๒๒๐
๑๒๓๓. งอบ เป็นเครื่องสวมศีรษะชนิดหนึ่ง
ทำด้วยใบลาน หรือใบตาลและไม้ไผ่ การสวมงอบก็เพื่อป้องกันแดด หรือฝน ใช้ในเวลาทำงาน
เช่น ทำนา ทำไร่ พายเรือ
๗/ ๔๒๒๐
๑๒๓๔. งักฮุย เป็นชาวเมืองทั้งอิม
ในมณฑลปักฮ้อ ประเทศจีน มีฉายาว่า ผงกื้อ เกิดเมื่อปี พ.ศ.๑๖๔๕
ในรัชกาลพระเจ้าซ่งฮุยจง แห่งราชวงศ์ซ่ง เป็นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษา
ชอบอ่านหนังสือชุนชิว ของขงจื้อ และตำราพิชัยสงคราม ของซุนยู้
เมื่อโตขึ้นได้ไปสมัครเป็นทหารได้ไปช่วยปราบกบฎ
โดยได้เป็นแม่ทัพ๗/ สามารถปราบกบฎได้ แต่นั้นมางักฮุยก็เป็นนายทหารที่สามารถ
และเข้มแข็งมาก ช่วยแผ่นดินปราบกบฎ รบกองโจร ศึกครั้งสำคัญคือ การสงครามกับพวกกิม
ซึ่งเป็นชนชาติเร่ร่อน อยู่ตามแถบภาคอีสานของจีน ใกล้กับเกาหลีคือ
แถบแมนจูเลียในปัจจุบัน พวกนี้ได้สถาปนาตนเป็นชาติกิม เมื่อปี พ.ศ.๑๖๕๘ ครั้งนั้น
งักฮุยได้รบชนะหลายครั้งจนเกือบจะตีพวกกิมไว้ ในอำนาจของจีนอยู่แล้ว
แต่ถูกสั่งให้ยกทัพกลับ โดยฉิ่งโขว่ มหามนตรี ผู้ลอบสวามิภักดิ์ต่อพวกกิม
ยุยงให้พระเจ้าเกาจง เจรจายุติสงครามกับพวกกิม โดยการยกมณฑลอังฮุยให้
ต่อมางักฮุยได้ถูกลอบฆ่าเมื่อเขาอายุได้ ๓๙ ปี และถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎ
ในรัชกาลต่อ
ๆ มางักฮุยได้รับคืนยศ และได้รับสถาปนาให้มีตำแหน่งสูงขึ้นเป็น งักอ๋อง
ในพงศาวดารจีนได้ยกย่องงักฮุยว่า เป็นนายทหารผู้สามารถทั้งในด้านอักษรศาสตร์ และยุทธศาสตร์
ยากจะหาใครเสมอเหมือนได้
มีผู้เคยถาม งักฮุยว่า
ทำอย่างไร บ้านเมืองของเราจึงจะมั่นคงถาวรได้ งักฮุยตอบว่า "ข้าราชการ
ฝ่ายปกครองต้องไม่รับสินบน และข้าราชการทหารต้องไม่กลัวตาย"
ซึ่งถือเป็นคติพจน์ของประเทศจีน บทหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากการสิ้นชีพอย่างน่าอนาถของงักฮุย
จึงกลายเป็นธรรมเนียมของชาวจีน ที่นิยมนำแป้งสาลีมาปั้นเป็นสองชั้นติดกัน
แล้วทอดน้ำมัน (ปาท่องโก๋) เพื่อแสดงความเคียดแค้นในฉิ่งโขว่
โดยเปรียบเนื้อแป้งสาลี เป็นเนื้อของฉิ่งโขว่ และภริยามาทอดน้ำมัน
๗/ ๔๒๒๕
๑๒๓๕. งั่ง - พระ เป็นพระเครื่อง
ประวัติว่าเกิดขึ้นที่เมืองพิษณุโลก มีผู้นิยมกันมาก แต่โบราณ
ทำด้วยงั่งรูปเหมือนพระทรงเทริด นั่งอยู่บนแท่นไม่มีผ้าพาด ใหญ่ประมาณ ๓ นิ้ว
งั่ง เป็นโลหะชนิดหนึ่ง
มักเกิดตามภูเขา หรือถ้ำ และตามพื้นดินก็มี สีและเนื้อเหมือนตะกั่ว
แต่คุณภาพดีกว่า คนแต่ก่อนถือว่า เป็นธาตุที่ทรงคุณจึงเอามาทำพระ เรียกว่า พระงั่ง
๗/ ๔๒๒๘
๑๒๓๖. งัว เป็นสัตว์กินหญ้า
และเป็นจำพวกเคี้ยวเอื้อง มีสี่เท้า และกีบเป็นคู่ เขากลวง บางพันธุ์ไม่มีเขา
งัว
เป็นคำไทย แต่ไปนิยมคำว่า โค ซึ่งเป็นคำในภาษาบาลี หรือบางทีก็เรียกว่า วัว
ที่เปลี่ยนจากคำไทยเป็นคำเทศ ก็เนื่องจากคำว่า ควาย เสียงไม่ดี จึงเปลี่ยนไปใช้
กระบือ ซึ่งเป็นคำตระกูลอินโดนิเชียน งัว เป็นสัตว์คู่กับควาย
จึงเปลี่ยนชื่อให้เข้าคู่กันได้
ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์รู้จักงัว และล่ามาเป็นอาหาร
ต่อมาจึงรู้จักวิธีนำมาเลี้ยงไว้ อันเป็นระยะเวลาเดียวกันกับที่มนุษย์
เปลี่ยนจากความเป็นป่าเถื่อนมาเป็นระยะเริ่มแรกของมนุษย์สมัยหิน ในสมัยนั้น
ถ้าคนหมู่ไหนมีฝูงงัวมาก ก็แสดงว่า มีอำนาจมากด้วย
งัวป่า ได้แก่ งัวแดง งัวกระทิง และจามรี
งัวแดง อยู่ในป่าแถบคาบสมุทรอินโดจีน เข้าใจว่า
งัวแดงเป็นต้นสกุลของงัวบ้าน ตามธรรมดางัวแดง รูปร่างสูงใหญ่กว่างัวบ้านมาก
งัวกระทิง เป็นงัวป่า
อยู่ทางตะวันออกของอินเดีย (ดูกระทิง - ลำดับที่ ๙๓)
จามรี เป็นงัวป่าขนยาว อาศัยอยู่ตามเทือกเขาสูง
ๆ ซึ่งมีอากาศหนาว มีอยู่ตามเทือกเขาหิมาลัย และตอนเหนือของอินเดีย
ชาวทิเบตนำมาเลี้ยงไว้เพื่อใช้ทำงาน ไถดินและบรรทุกของ งัวพันธุ์เวสต์
ไฮแลนเดอ มีถิ่นเดิมอยู่ในป่า ทางเมืองสกอตประเทศอังกฤษ
ซึ่งเต็มไปด้วยป่าและภูเขา งัวพันธุ์ขาว
มีอยู่ทางเมืองสก๊อต ประเทศอังกฤษ เกือบสูญพันธุ์แล้ว งัวพันธุ์เขายาว
เป็นงัวพันธุ์เดิมของสเปน ได้นำไปเลี้ยงในอเมริกา สมัยอพยพไปอยู่อเมริกาใหม่ ๆ
งัวพันธุ์ต่าง ๆ เป็นงัวที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและผสมพันธุ์
จนได้ลักษณะตามที่ต้องการ เช่น งัวนม งัวพันธุ์เนื้อ งัวพันธุ์เนื้อและนม ๗/๔๒๓๐
๑๒๓๗. งัว – ปลา ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างแ
ปลกแตกต่างจากปลาชนิดอื่น เกล็ดเปลี่ยนรูปเป็นหนามละเอียด ปลาในสกุลนี้
ไม่ค่อยพบบ่อยนัก ๗/๔๒๗๒
๑๒๓๘.
งั่ว - นก เป็นนกที่มีสีทั่ว ๆ ไปเป็นสีดำ
ดูคล้ายพวกนกกาน้ำ ปากนกงั่วยาวตรง และปลายแหลม ผิดกับนกกาน้ำ ที่งุ้มตรงปลาย
คอก็ยาวกว่านกกาน้ำมาก
๗/ ๔๒๗๓
๑๒๓๙. งัวซัว - ต้น
เป็นไม้พุ่มถึงไม้เถา ลำต้นมีหนามโค้งแข็งสูง ๑ - ๔ เมตร
พบตามป่าเบญจพรรณ .ใบเกลี้ยงรีรูปไข่
ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามกิ่ง หรือง่ามใบ ผลกลมโต สดสีส้ม แห้งสีดำ
๗/ ๔๒๗๕
๑๒๔๐. งัวเลีย - ต้น
ไม้พุ่มหรือบางทีเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีหนามห่าง ๆ ปลายหนามโค้งลงเล็กน้อย
พบขึ้นตามป่าดินแล้วทั่ว ๆ ไป เปลือกและเนื้อไม้ เป็นสมุนไพรรักษาโรคเด็ก
๗/ ๔๒๗๖
๑๒๔๑. งา ๑ - ต้น
เป็นไม้ล้มลุกต้นตรงสูง ๕๐ - ๘๐ ซม. กิ่งเป็นเหลี่ยมมีขนคาย
ใบอยู่ตรงกันข้าม ผลเป็นฝัก เมล็ดเล็กสีขาว หรือดำ ใช้ประกอบอาหารหรือสะกัดน้ำมัน
ที่เรียกว่า น้ำมันงา ดอกสีขาว มีแต้มเหลืองในหลอด
ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ
๗/ ๔๒๗๖
๑๒๔๒. งา ๒ - ปลา
เป็นปลาขนาดย่อม ยาวประมาณ ๑๕ ซม. อยู่ในทะเลและน้ำกร่อย
อยู่ในวงศ์ปลาแมว
๗/ ๔๒๗๖
๑๒๔๓. งาช้าง - กล้วย
เป็นลูกผสมของกล้วยป่าสองชนิด รูปร่างกล้วยแปลกออกไป
และยาวเหมือนเขาสัตว์ ส่วนคนไทยเห็นเหมือนงาช้าง เลยให้ชื่อดังกล่าว
๗/ ๔๒๗๗
๑๒๔๔. งาช้าง
- หอย เป็นหอยทะเลอยู่ตามชายหาดที่เป็นทราย
หรือโคลน ตั้งแต่ที่ตื้น จนลึก มีรูปร่างเหมือนงาช้างสีขาว เปลือกของหอยนี้
ในสมัยโบราณเคยใช้ต่างเงิน ชาวอินเดียนแดงบางเผ่าใช้เป็นเครื่องประดับ
ในประเทศไทยพบตามชายหาดที่สงขลา
๗/ ๔๒๗๗
๑๒๔๕. งาโซ - ต้น
เป็นชื่อที่ชาวจีนในไทยใช้เรียกไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ต้นตรงสูง ๕๐ -
๑๐๐ ซม. ใบอยู่ตรงกันข้าม มีกลิ่นฉุนเรียกกันว่า ผักตั้งโอ๋
๗/ ๔๒๗๘
๑๒๔๖. งาน
เป็นชื่อมาตราวัดพื้นที่ดิน มีกำหนดเท่ากับ ๑๐๐ ตารางวา
มาตราวัดพื้นที่ดินของไทยโบราณ ตามที่มีมาล้วนระบุว่า เป็นมาตราสำหรับวัดที่นาคือ
ที่ปลูกข้าว
ในภาคกลางของไทยเรียกชื่อมาตราวัดที่นาไปอีกอย่างหนึ่งคือ
๒๕ วา (ตารางเหลี่ยม) เท่ากับ ๑ ฝา
๒ ฝา (ตารางเหลี่ยม) เท่ากับ ๑ เผือ
๒ เผือ (ตารางเหลี่ยม) เท่ากับ ๑ งาน
๔ งาน (ตารางเหลี่ยม) เท่ากับ ๑ ไร่
ส่วนที่ให้ชื่อมาตราว่า
"งาน" นั้น จะต้องหมายถึง การทำงานคือ
การไถนานั่นเอง ในภาษาไทยมีสำนวนว่า เลี้ยวหัวงาน
สำนวนนี้มาจากการไถนา จากไถดะ เป็นไถแปร
การกำหนด ๔ งาน เป็น ๑
ไร่ เป็นการเอาทางด้านยาวของ "งาน"
ที่วัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เข้าบรรจบกันเป็น ๔ งาน
ไม่ใช่เอาด้านกว้างมาต่อกันอย่าง ๒ เผือ เป็น ๑ งาน
ที่เรียกนา เป็น ริ้ว
เป็น ท่อน แสดงให้เห็นว่า
การไถนาเราเอาทางยาวเป็นเกณฑ์ และการที่จะให้คนหนึ่ง ๆ ถือนา
หรือมีที่นาก็กำหนดให้ตามกำลังคน ที่จะไถนาเสร็จในที่ดินแปลงหนึ่ง
จะเห็นว่าเมื่อไถไปตามทางยาว ๒๐ วา และทางกว้าง ๕ วา เป็นพื้นที่ ๑๐๐ ตารางวา
กำลังพอเหมาะพอดี จึงเอาเกณฑ์นี้กำหนดเรียกเป็นมาตราว่า
"งาน"
ไร่
ที่กำหนดเป็นมาตรา คงจะมีที่มาอย่างน้อย ก็ในสมัยสุโขทัย
ถึงต้นสมัยอยุธยา จึงได้มีทำเนียบศักดินาเป็น "ไร่"
คำว่า "ฝา" และเผือ จะมีมาแต่เมื่อใดไม่ทราบแน่
แต่เลิกใช้ไปแล้ว
๗/ ๔๒๗๘
๑๒๔๗. งาว อำเภอ
ขึ้น จ.ลำปาง เดิมเป็นเมืองเรียกว่า เมืองงาว
ขึ้นนครลำปาง ยุบเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗
ภูมิประเทศเป็นป่า และเขาโดยมาก มีที่ราบอยู่ตามลำห้วยแม่งาวบ้าง
๗/ ๔๒๘๗
๑๒๔๘. ง้าว ๑
เป็นศัตราวุธรูปคล้ายดาบ มีด้านยาว ใช้ฟันและแทง
ตัวง้าวทำด้วยเหล็กอย่างดีมีรูปแบน และโค้งตอนปลายเล็กน้อย เช่นเดียวกับดาบ
ยาวประมาณ ๒๒๐ ซม. ตัวง้าวแท้ ๆ มีน้ำหนักใกล้เคียงกับดาบ
คุณค่าของง้าวได้เปรียบกว่าดาบ ที่สามารถต่อสู้กันได้ในระยะไกล
เพราะง้าวมีด้ามยาวมาก มักใช้ต่อสู้กันบนหลังช้าง ซึ่งเติมขอเข้าไปด้วย
เพื่อใช้สับบังคับช้าง เรียกกันว่า ของ้าว
ง้าว ประกอบด้วยส่วนต่าง คือ ตัวง้าว ด้ามง้าว และกระบังง้าว
๗/ ๔๒๘๗
๑๒๔๙. ง้าว ๒ - ต้น
เป็นชื่อเรียกไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ลำต้นตรงสูง ๑๕ - ๒๕ เมตร
เปลือกที่เทาขรุขระ กิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมคม บางท้องถิ่นเรียกกันว่า งิ้วป่า ใบช่อหนึ่งมีห้าใบ ดอกสีขาวออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อสั้น ๆ
ตามปลายกิ่งแขนงโต ผลเป็นฝักรูปกระสวย เมล็ดกลมสีดำมีปุยสีขาว เป็นมันหุ้ม
ปุยหุ้มเมล็ดใช้ยัดที่นอน และเบาะ เนื้อไม้สีขาว อ่อนและเบาใช้ทำเยื่อกระดาษได้
๗/ ๔๒๘๘
๑๒๕๐. งิ้ว ๑ - ต้น
เป็นชื่อเรียกไม้ยืนต้นหลายชนิด ลำต้นลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับง้าว
แต่มีขนาดสูงใหญ่กว่า บางชนิดสูง ๓๐ - ๓๕ เมตร ดอกสีแดงสด หรือแดงคล้ำ เนื้อไม้
และปุยหุ้มเมล็ด ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับง้าว มีอยู่ด้วยกันหลายชนิดคือ งิ้วบ้าน
งิ้วป่า และงิ้วผา
๗/ ๔๒๘๙
๑๒๕๑. งิ้ว ๒ เป็นมหรสพอย่างหนึ่งของจีน
เล่นเป็นเรื่องเป็นราว มีการขับร้องและเจรจาประกอบท่าทางที่แสดง
ปฐมเหตุของงิ้วมีมาแต่สมัยเลียดก๊ก (สมัยจิว) โดยนำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์ มาดัดแปลงแต่งเติม
มีการขับร้องและเจรจาประกอบกับลีลา ท่าทางที่แสดง มีแสดงเฉพาะในพระราชวัง
เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องสั้น ๆ
งิ้วได้วิวัฒนาการ โดยได้มีผู้ดัดแปลงแก้ไขให้ดีขึ้นทุกยุคสมัย
จนถึงรัชสมัยพระเจ้าถั่งเหียงจง แห่งราชวงศ์ถัง พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องงิ้วมาก
ได้ทรงดัดแปลงแก้ไขการแสดงงิ้ว
ให้ดียิ่งขึ้นส่วนเรื่องที่แสดงก็เป็นเรื่องในพงศาวดาร เกร็ดพงศาวดาร
ประวัติศาสตร์ และนิทาน เช่น ไซฮั่น ตั้งฮั่น
งิ้วจีน พอจะจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ
ได้หกประเภท คือ งิ้ววัวกัง งิ้วแต้จิ๋ว งิ้วกวางตุ้ง งิ้วตังคง และงิ้วหลั่งทั้ง
งิ้วคณะหนึ่ง ๆ จะต้องประกอบด้วย ตัวงิ้วต่าง ๆ คือ
๑. เซิง (พระเอก)
จำแนกเป็น เหลาเซิง คือ
พระเอกที่มีหนวดเครายาวเป็นระเบียบถึงอก มีทั้งหนวดสีขาว และสีดำ เซ่าเซิง
คือ พระเอกหนุ่มใบหน้าเกลี้ยงกลา ไม่มีหนวดเครา นอกจากนั้นยังแบ่งเป็น หวู่เซิง
คือ พระเอกที่มีฝีมือในการยุทธ และเหวินเซิง คือ
พระเอกที่มีความสามารถในการขับร้อง เป็นพระเอกฝ่ายพลเรือน
๒. ต้าน คือ
นางเอก จำแนกเป็น หวู่ต้าน
เช่นเดียวกับ หวู่เซิง เหวินต้าน เช่นเดียวกับ เหวินเซิง
นอกจากนี้ยังมี อูซัน
แปลว่า เสื้อดำ เป็นนางเอกที่แสดงแต่เฉพาะบทโศก
๓. โฉว่ คือ ตัวตลก เป็นตัวสำคัญของคณะ ไม่แพ้พระเอก และนางเอก
และยังเป็นครูบาอาจารย์ ของตัวงิ้วอื่น ๆ อีกด้วย คือ
เป็นผู้ฝึกสอนผู้แสดงท่าทางต่าง ๆ ให้สมบทบาท ผู้แสดงร่วมคณะมักเรียก โฉว่ ว่า
เหลาซือ (อาจารย์) ได้รับค่าจ้างสูงกว่า เซิง และต้าน
๔. จิ้งหรืออูเมี่ยน (หน้าดำ) รับบทเป็นผู้ร้ายบ้าง เป็นนายทหารผู้ซื่อสัตย์บ้าง
๕. เมอะ
รับบทเป็นคนแก่
๖. จ้า
เป็นตัวประกอบที่ไม่สำคัญนัก รับบทเป็นทหารบ้าง คนใช้บ้าง ทาสบ้าง
ผู้แสดงงิ้วต้องแต่งกายให้สอดคล้องถูกต้องกับกาลสมัยของเรื่องที่แสดง
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือใบหน้า ลักษณะใบหน้าของตัวงิ้ว แสดงให้ผู้ชมทราบว่า
ตัวงิ้วนั้นมีอุปนิสัยใจคอเช่นใด สีต่าง ๆ ที่ทาและเขียนบนใบหน้าตัวงิ้ว
กำหนดไว้สีหนึ่งใช้จำเพาะอุปนิสัยชนิดหนึ่งเท่านั้นคือ
สีแดง เป็นสัญลักษณ์ของผู้กล้าหาญ ซื่อตรง เช่นกวนอู
สีม่วง เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีความรู้ สงบเงียบขรึม เช่นคนซื่อ
สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของผู้กล้าหาญ ดุร้าย
ซื่อตรง เช่น เตียวหุย เปาบุ้นจิ้น
สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของผู้กล้าหาญชำนาญศึก หยิ่งในศักดิ์ศรีของตน
สีเขียวใบไม้ เป็นสัญลักษณ์ของโจรป่า อาศัยอยู่ในป่า
สีเขียวแถบเทา เป็นสัญลักษณ์ของภูติผีปีศาจ
สีทอง สีเงิน เป็นสัญลักษณ์ของเทวดา พระเจ้า
สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ของผู้กล้าหาญที่เปี่ยมไปด้วยกลอุบาย
สีขาวชัด เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีเล่ห์เหลี่ยมแกมคดโกง
เมื่อเปิดฉากเริ่มแสดง ผู้แสดงแปดคนแต่งเป็นโป๊ยเซียน (เซียนทั้งแปด)
ออกมาร่ายรำทำพิธีถวายพระพรแด่พระนางอินทรมาตา (ไซอ้วงบ้อ) เป็นการรำเบิกโรง
จากนั้นตัวงิ้วแต่งเป็นพระเจ้าถังเหียงจง ปรมาจารย์แห่งงิ้ว
ออกมาร่ายรำและกล่าวคำอวยพรให้งิ้วคงอยู่เท่ากาลปาวสาน
เสร็จแล้วจะมีการแสดงงิ้วสั้น ๆ มีเรื่องราวเป็นสิริมงคล แล้วจึงเริ่มเรื่อง
๑๒๕๒. งู เป็นสัตว์เลื้อยคลาน
ไม่มีอวัยวะช่วยความเคลื่อนไหวภายนอกร่างกาย
อยู่ในวงศ์สัตว์เลื้อยคลานสะเทินน้ำสะเทินบก บางพวกที่อยู่ในน้ำเค็ม (งูทะเล)
เคลื่อนไหวได้เช่นเดียวกับปลา แต่เลื้อยไม่ได้ งูส่วนมากมีลักษณะกลมยาว
มีหัวเป็นรูปกระสวยหรือเบี้ยจั่น ต่อจากหัว คอจะมีขนาดเล็กลง และค่อย ๆ
โตไปตามลำตัว แล้วเล็กลงจนถึงหาง
งูเป็นสัตว์ที่มีพิษและไม่มีพิษ
มีการสืบพันธ์สองอย่างคือเป็นไข่แล้วแตกออกเป็นตัวและออกลูกมาเป็นตัวทีเดียว
๗/ ๔๓๐๐
๑๒๕๓. งูกินหาง เป็นการเล่นพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่ง
นิยมเล่นกันทุกภาคของประเทศไทย
๗/ ๔๓๐๔
๑๒๕๔. งูเกา เป็นชาวเมืองลูซัว
มณฑลเหอหนัน ประเทศจีน เกิดในสนมัยราชวงศ์ซ่ง สมัยเดียวกันกับงักฮุย
ได้รบชนะพวกกิมหลายครั้ง เป็นนายทหารฝีมือเอกของงักฮุย ตายเมื่ออายุ ๖๑ ปี
เพราะถูกวางยาพิษ
๗/ ๔๓๐๖
๑๒๕๕. งูสวัด - โรค
เป็นโรคที่มีการอักเสบอย่างเฉียบพลัน
ที่ปมประสาทไขสันหลังของระบบปราสาทส่วนกลาง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง
ทำให้มีอาการพุเป็นเม็ดพอง ภายในมีน้ำใส ๆ
ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ มีอาการปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณนั้น พอเป็นไปได้ประมาณห้าวันก็ค่อย
ๆ แห้งลง แล้วตกสะเก็ด เมื่อเป็นครั้งหนึ่งแล้วมักจะเกิดภูมิคุ้มกัน
ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง เป็นได้ทุกวัย แต่คนอายุเกิน ๕๐ ปี เป็นกันมาก
มักเป็นกันในฤดูร้อน
๗/ ๔๓๐๗
๑๒๕๖. เง่อานหรือแง่อาน
เป็นชื่อจังหวัดหนึ่งในประเทศเวียดนาม มีเมืองวินห์ เป็นศูนย์กลาง
ไทยเรียกเมืองล่าน้ำ เป็นเมืองที่เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ หนีไทยไปอาศัยอยู่
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐
๑๒๕๗. เงาะ ๑ - ต้น
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง สูง ๒๐ - ๓๐ เมตร
ดอกเป็นช่อ ตอนปลายกิ่ง ผลแก่จัดเป็นสีเหลืองหรือแดง มีรูปร่างรี ๆ ยาว ๔ - ๕ ซม.
ผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ ซม. ผิวมีขนโค้งยาว เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาว รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ
ใช้เป็นอาหาร มีอยู่หลายพันธ์
๑๒๕๘. เงาะ ๒ เป็นคนป่าพวกหนึ่ง
รูปร่างต่ำเตี้ย ผิวดำ ผมหยิกเหยิง เป็นมนุษย์ในตระกูลนิกริโต
มีอยู่ทั่วไปในทวีปอัฟริกาตอนกลาง และตอนใต้ ในเกาะลังกา หมู่เกาะอันดามัน
แหลมมลายู เกาะบอร์เนียว หมู่เกาะฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลใต้
เงาะในแหลมมลายูมีชื่อว่า เซมัง แต่ทางรัฐกะลันตัน เรียกว่า พะงัน
และอีกพวกหนึ่งเรียกว่า สะไก หรือ เซนอย ผมเป็นลูกคลื่น รูปร่างสูงกว่าพวกเซมัง
๗/ ๔๓๐๙
๑๒๕๙. เงาะป่า เป็นชื่อบทละครรำแบบละครนอก
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ
๗/ ๔๓๑๑
๑๒๖๐. เงิน ๑. เงินบริสุทธิ์
เป็นธาตุแท้ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกโลหะ น้ำหนักประมาณ ๑๐๗.๘๘
ความถ่วงจำเพาะ ๑๐.๕ มีสมบัติทางสื่อไฟฟ้า และสื่อความร้อนสูงมาก เนื้ออ่อน ดัดได้
ละลายในกรดได้ง่าย ผสมกับปรอทได้ง่าย
๒. แร่เงิน
เป็นสิ่งที่เกิดในธรรมชาติ แยกแบบกำเนิดเป็นสองคือ ในสภาพโลหะ
และในสภาพสารประกอบ
เงินมีประโยชน์แก่มนุษย์ คือในทางสังคม
ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ และเป็นภาชนะต่าง ๆ เพราะไม่ค่อยขึ้นสนิม
และอ่อนพอที่จะขึ้นรูปรอยต่าง ๆ ได้ง่าย สำหรับในทางวิทยาศาสตร์
และอุตสาหกรรมนั้นเงินมีที่ใช้มากมาย
๗/ ๔๓๑๓
๑๒๖๑. เงินเชื่อ
หมายถึงหนี้ที่ยอมให้ค้าง โดยเชื่อถือซึ่งกันและกัน
เงินเชื่อนี้เป็นคำหนึ่งที่เนืองกับนิติกรรมและหนี้
จึงควรนิยามว่าเงินที่ลูกหนี้มิได้ส่งมอบแก่เจ้า๗/ที่เพื่อเป็นการชำระหนี้ของตนตาม๗/ที่ในทันที
แต่เจ้าหนี้ตกลงยินยอม ให้ลูกหนี้ติดค้างไว้ก่อน เพื่อชำระในภายหลังได้
๗/ ๔๓๑๔
๑๒๖๒. เงินตรา คือเนื้อเงินที่ประชาชนนิยมใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
เพราะมีตราของบุคคลที่เชื่อถือได้ รับรองว่าเนื้อเงินชิ้นนั้นเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์
และมีน้ำหนักเท่าใดโดยแน่นอน แต่ปัจจุบันคำว่าเงินตรามีความหมายกว้างกว่านั้น
ตามความหมายอย่างแคบ ๆ
ที่เข้าใจกันโดยทั่วไปคือ วัตถุที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ซึ่งจะทำด้วยเนื้อเงินหรือโลหะอื่นหรือกระดาษก็ได้ และเป็นวัตถุที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
โดยรัฐบาลหรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเช่น
ธนาคารกลางเป็นผู้จำหน่ายให้ประชาชนใช้
คำว่าเงินตรา
พึ่งจะปรากฎเป็นทางการใน พ.ร.บ.กรมกษาปน์สิทธิการ รศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)
บัญญัติว่า เงินตราสยามคือ เงินบาทพดด้วง
๗/ ๔๓๑๗
๑๒๖๓. เงินปันผล
หมายความถึงกำไรที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทในวันที่กำหนดหรือ
ตามสัดส่วนของค่าหุ้นที่ชำระแล้ว
เงินปันผลต้องจ่ายจากกำไรสะสม
ซึ่งรวมทั้งกำไรของปีปัจจุบัน และกำไรของปีก่อน ๆ ที่คงเหลืออยู่
จะจ่ายเงินปันผลจากเงินทุนของบริษัทไม่ได้
๗/ ๔๓๘๐
๑๒๖๔. เงี้ยว
เป็นชื่อหนึ่งของชนชาวไทยใหญ่ที่ใช้เรียกกันเป็นสามัญ
ในประเทศไทยสมัยก่อน
๗/ ๔๓๒๘
๑๒๖๕. เงี้ยวเต้ (เอี๋ยวตี้)
เป็นกษัตริย์ของจีนในสมัยโบราณ ประสูติเมื่อ ๑๘๑๐ ปีก่อนพุทธศักราช
พระองค์มีความสามารถพิเศษในการสรรหาตัวบุคคล ผู้มีสมรรถภาพในกิจการด้านต่าง ๆ
มารับราชการได้อย่างเหมาะสมมาก
ในรัชสมัยของพระเจ้าเงี้ยวเต้
ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ คือ
๑. การนับวัน เดือน ปี ฤดูกาล และปฎิทิน
๒. ดาราศาสตร์
๓. เครื่องปั้นดินเผา
๗/ ๔๓๘๒
๑๒๖๖. เงือก ๑ เป็นนกในวงศ์นกเงือก
นกเงือก มีเฉพาะแต่ในโซนร้อนของทวีปเอเชีย และอัฟริกา เป็นนกที่มีปากใหญ่
นกเงือกชอบกินลูกไม้ป่าต่าง ๆ และชอบกินสัตว์เล็ก ๆ รวมทั้งปลา
นกเงือกในโลกมีอยู่ ๔๕
ชินด ในประเทศไทยมีอยู่ ๑๓ ชนิด ได้แก่ นกเงือกหัวหงอก นกเงือกสีน้ำตาล
นกเงือกปากดำหงอนยาว นกเงือกคอแดง นกเงือกปากย่น นกเงือกกรามช้างใหญ่
นกเงือกรามช้างเล็ก นกเงือกเล็ก หรือนกแกงตะนาวศรี นกเงือกเล็ก หรือนกแกงมลายู
นกเงือกกาเขา นกกะวะ หรือกาฮัง นกเงือกหัวแรด และนกชนหิน
๗/ ๔๓๘๗
๑๒๖๗. เงือก ๒ เป็นสัตว์ในเทพนิยาย
ที่รู้จักกันเป็นสามัญ ก็ที่มีรูปร่างท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างมีหางเป็นปลา
ลักษณะอย่างนี้ว่าตามรูปภาพที่เขียนเอาไว้อย่างเก่าที่สุด
ที่มีอยู่ในสมุดแผนที่โบราณครั้งกรุงธนบุรี และรูปในไตรภูมิของเขมร
เงือกชนิดนี้รู้จักกันดีในเรื่องพระอภัยมณี แต่ที่ชาวบ้านเชื่อกันนั้น
เงือกมี๗/กลม เท่างบน้ำอ้อย โดยมากมักเป็นเพศหญิง ไว้ผมยาวมักขึ้นมาหัวผมด้วยหวีทอง
บางทีใช้กระจกส่อง๗/ด้วย เวลาขึ้นมามักเป็นคืนเดือนหงาย
คำว่า เงือก
ในภาษาไทยต่าง ๆ หมายความถึง งู นาค มังกร และจระเข้ ไม่มีเค้าว่า
เป็นสัตว์ครึ่งคน ครึ่งปลา คำว่าเงือก ตามความหมายของไทยภาคอีสานว่า เป็นบริวารของนาค
สามารถจำแลงแปลงตัวได้ต่าง ๆ และว่ามักทำร้ายคน ทางพายัพถือว่า เงือกคือ งู หงอน
๗/ ๔๓๙๔
๑๒๖๘. โง่ซำกุย เป็นชาวเลียวตุง
เกิดในสมัยราชวงศ์เหม็ง มีฉายาว่า ฉางไบ๋ เคยรับราชการในรัชสมัยพระเจ้าฉงเจิน
ดำรงตำแหน่ง จงปิง (เทียบเท่าแม่ทัพภาคของไทย) ได้รับดาบอาญาสิทธิ์ไปรักษาด่านซันไห่กวาน เมื่อหลีซ้ง ขบถต่อราชวงศ์เหม็ง
ยึดได้เมืองหลวงคือ ปักกิ่ง ได้ โง่ซำกุ่ย
ก็ได้นำกองทัพแมนจูเรียเข้ามาในประเทศจีน เพื่อปราบกบฎ
เมื่อปราบขบถได้แล้ว พวกแมนจูจึงถือโอกาสเข้ายึดครองประเทศจีน แต่นั้นมา
โง่ซำกุยได้รับแต่งตั้งให้ไปรักษาการที่มณฑลยูนนาน ต่อมาพระเจ้าคังฮี
โปรดให้ถอดออกจากตำแหน่ง แต่โง่ซำกุยไม่ยอม จึงก่อขบถขึ้นยึดได้หลายมณฑลคือ ยูนนาน
กุยจิ๋ว เสฉวน ฮูนาน กวางสี เป็นต้น มีผู้เข้าร่วมด้วยเป็นอันมาก
จึงสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ราชวงศ์จิว
๗/ ๔๔๐๑
จ.
๑๒๖๙. จ.พยัญชนะตัวที่แปดของอักษรไทย
เป็นตัวต้นของวรรคที่สอง อยู่ในจำพวกอักษรกลาง
มีฐานกรณ์เกิดแต่เพดาน เป็น ลิถิจอโฆษะ มีเสียงเบากว่าพยัญชนะ ในอักขระวิธีไทย
ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤตและเขมร
๗/ ๔๔๐๓
๑๒๗๐. จก เป็นชื่อแคว้น
(เสฉวน) ในสมัยสามก๊ก
พวกงุ่ยขบถต่อราชวงศ์ฮั่น เล่าปี่ผู้เป็นเชื้อสาย ราชวงศ์ฮั่น
จึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ณ แคว้นจก มีเมืองหลวงอยู่ที่เฉิงตู ราชวงศ์จกฮั่น
ของเล่าปี่ ถูกราชวงศ์งุ่ยโค่นล้ม รวมเวลาที่ครองอำนาจอยู่ ๔๓ ปี (พ.ศ.๗๖๔ - ๘๐๖)
๗/ ๔๔๐๓
๑๒๗๑. จงกรมแก้ว เป็นชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่งอยู่ในพระอิริยาบทยืน
ยกพระบาทขวา ก้าวเหยียบพื้น ยกส้นพระบาทซ้ายขึ้น
ปลายพระบาทจรดพื้นแสดงอาการก้าวเดินจงกรม พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมา ประสานกันอยู่ที่พระเพลา
ทอดพระเนตรลงต่ำ อยู่ในพระอาการสังวร มีสติกำกับทุกก้าวพระบาท
คำว่า จงกรม ได้แก่ กิริยาเดินด้วยมีสติกำหนด ทุกขณะก้าว อาการเดินแช่มช้า
ด้วยมีสติกำหนดนึกรู้สึกอยู่เสมอ ที่ทุกขณะยกเหยียบ
๗/ ๔๔๐๓
๑๒๗๒. จงโคร่ง เป็นคางคกชนิดใหญ่มากชนิดหนึ่ง
มีอยู่ทางปักษ์ใต้และหมู่เกาะมลายู หนังและส่วนของซากจงโคร่ง ใช้เป็นยาสมุนไพรได้
๗/ ๔๔๐๕
๑๒๗๓. จงอาง - งู เป็นงูที่อยู่ในเผ่างูเห่า
เป็นงูพิษกัดตายที่มีขนาดใหญ่ และยาวที่สุดในโลก มีอยู่ในภาคพื้นเอเชียตะวันออก
ชอบอยู่ในที่สะเทินน้ำ สะเทินบก และมีร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่ ๆ
พิษของงูจงอาง
ทำลายศูนย์ประสาทในสัตว์ หรือคนที่ถูกกัด คุณสมบัติของพิษคล้ายงูเห่า แต่อ่อนกว่า
๗/๔๔๐๗
๑๒๗๔. จตุบริษัท คือ
พุทธบริษัทแยกออกโดยจำนวนมีสี่คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
คำว่า บริษัท
หมายเอากลุ่มคนที่ร่วมกันในกรณีต่าง ๆ ตามแต่จะกำหนด
ภิกษุ
คือ ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนา ละบ้านเรือนครอบครัว ทรัพย์สมบัติ
สมัครเข้าถือเพศเป็นนักบวช สามเณร คือ
ยุวชนที่สมัครจะบวชเป็นภิกษุ แต่อายุยังไม่ถึงตามที่พระวินัยกำหนดคือ ๒๐
ปีบริบูรณ์ ยังบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ให้บวชเป็นสามเณร
รอยู่ก่อนจนกว่าอายุจะครบบวชเป็นพระภิกษุได้ ภิกษุในพระพุทธศาสนา
กำหนดเอาบุคคลที่ได้บวชด้วยวิธีบวชแปดอย่างมี ทเอหิภิกขุอุปสมบ
คือ บวชด้วยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงรับเข้าเป็นภิกษุด้วยพระองค์เอง และญัตติจตุตถกรรมอุปสมบท
คือ บวชด้วยวิธีพระสงฆ์รับเข้าเป็นภิกษุ เป็นต้น ผู้จะอุปสมบทต้องมีอายุครบ ๒๐
ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่ได้เป็นมนุษย์วิบัติ ไม่ได้เป็นคนทำผิดอย่างร้ายแรง
ไม่ได้เป็นคนทำความเสียหายในพระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรง
ภิกษุณี คือ
ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนา ละบ้านเรือน ครอบครัว ทรัพย์สมบัติ
สมัครเข้าถือเพศเป็นนักบวช ตามวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ สามเณรี สิกขมานา
จัดเข้าในจำพวกภิกษุณีบริษัท
ภิกษุณีบริษัท เกิดขึ้นประมาณมัชฌิมโพธิกาล
มีสิกขาและขนบธรรมเนียมซึ่งเรียกว่า สาชีพ ทำนองเดียวกับภิกษุ
แต่ถือสิกขาบทบางอย่างต่างจากภิกษุ
อุบาสก คือ ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนา แปลว่า
ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายความว่า รับเอาพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
รับเอาหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นหลักปฎิบัติ
อุบาสิกา คือ
ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนา ทำนองเดียวกับอุบาสก
๗/ ๔๔๐๘
๑๒๗๕. จตุปัจจัย เป็นเครื่องอาศัยของนักบวช
ซึ่งไม่มีอาชีพอย่างผู้ครองเรือน ต้องอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ
เครื่องเลี้ยงชีพของภิกษุ สามเณร เรียกว่า ปัจจัย แบ่งออกเป็นสี่อย่างคือ จีวร
เครื่องนุ่งห่ม บิณฑบาต ของขบฉัน เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
ยารักษาโรค
ปัจจัยสี่ เป็นของจำเป็น
สำหรับภิกษุ สามเณร แต่ละอย่างเรียกว่า ปัจจัย แปลว่า ของสำหรับอาศัยเป็นไป
รวมเรียกตามจำนวนว่าจตุปัจจัย
ท่านวางแบบไว้สำหรับพิจารณาเมื่อบริโภคปัจจัยนั้น ๆ โดยพิจารณาเป็นสามกาลคือ
ขณะรับ ขณะบริโภค และภายหลังบริโภคแล้ว
ขณะรับ
ให้พิจารณาด้วยวิธีธาตุปัจเวกขณ์
เมื่อรับปัจจัยอย่างใดให้ระบุชื่อปัจจัยนั้นโดยมีใจความว่า ปัจจัยนี้ (ระบุปัจจัย)
สักว่าเป็นธาตุ ผู้บริโภคปัจจัยนี้ก็สักว่าเป็นธาตุ มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวิต
เป็นของว่างเปล่า ครั้นมาถึงกายอันเปื่อยเน่านี้แล้วกลับเป็นของน่าเกลียดยิ่งนัก
ขณะบริโภค
ให้พิจารณาด้วยปฏิกูลปัจจเวกขณ์ (เฉพาะจีวร)
ว่าเราบริโภคจีวรเพียงเพื่อบำบัดความหนาว ความร้อน ป้องกันสัตว์เล็กมียุงเป็นต้น
เพื่อป้องกันแดดลมตามฤดูกาล และเพื่อปกป้องอวัยวะอันจะทำให้หิริกำเริบเท่านั้น
เฉพาะบิณฑบาต เฉพาะเสนาสนะ ฯลฯ เฉพาะคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
ฯลฯ
ขณะภายหลังบริโภคแล้ว
ให้พิจารณาอดีตปัจเวกขณ์ ให้แยกพิจารณาเป็นอย่าง ๆ
ตามวิธีดังกล่าวในตัวขณิกปัจเวกขณ์ข้างต้น
ในสามกาลนี้
แม้จะทรงอนุญาตให้พิจารณาในกาลภายหลังได้ แต่ขณะที่สำคัญนั้นคือ
ขณะบริโภคเป็นสำคัญที่สุด ถ้าไม่พิจารณาก่อน แล้วบริโภคชื่อว่าบริโภคเป็นหนี้
๑๒๗๖. จตุปาริสุทธิศีล คือ
ศีลของพระภิกษุผู้มีความบริสุทธิ์สี่อย่างคือ
๑. ปาฏิโมกข์สังวรศีล
ได้แก่ การสำรวมในปาติโมกข์
คือสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แก่หมู่ภิกษุ มีจำนวน ๒๒๐ สิกขาบท
นับรวมอธิกรณสมถะ ๗ อย่างด้วยเป็น ๒๒๗ ที่เรียกว่า ศีล ๒๒๗
๒. อินทรีย์สังวรศีล
ได้แก่ การสำรวมในอินทรีย์หกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
โดยมีสติกำกับทุกเมื่อ ไม่ให้ความยินดียินร้าย
บาปอกุศลกรรมครอบงำได้
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล ได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพที่ผิด
ที่ฝ่าฝืนสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เกี่ยวกับการเลี้ยงชีพ
๔. ปัจจยสันนิสิตศีล ได้แก่ การพิจารณาปัจจัยสี่ในขณะรับหรือในขณะบริโภค
๑๒๗๗. จตุรงค์ เดิมหมายถึงกองทัพบกครั้งโบราณ
จัดเต็มตามอัตราศึกเป็นสี่เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า และเหล่ารราบ
เรียกรวมว่า จตุรงคเสนาบ้าง จตุรงคินีเสนาบ้าง ตามควรที่ใช้ในที่นั้น ๆ
การจัดกระบวนทัพที่จะเข้าเกณฑ์ว่าเป็นกองช้างได้นั้น
ต้องมีช้างขึ้นระวางอย่างน้อยสามเชือก ช้างเชือกหนึ่ง ๆ ต้องมีคนประจำสิบสองคน
แบ่ง๗/ที่กันทำ กองม้าต้องมีม้าที่ขึ้นระวางเป็นม้าศึกอย่างน้อยที่สุดสามม้า
ม้าตัวหนึ่ง ๆ ต้องมีคนประจำสามคนตาม๗/ที่ กองรถต้องมีรถอย่างน้อยสามคัน
รถคันหนึ่ง ๆ ต้องมีม้าเทียบคู่สอง หรือคู่สี่ ถ้าเป็นม้าแม่ทัพต้องเป็นคู่สี่
คู่แปด ตามลำดับ และต้องมีคนประจำสี่คน กองราบต้องมีคนตั้งแต่สี่คนขึ้นไป
มีอาวุธครบตามอัตราศึก
๗/ ๔๔๔๑
๑๒๗๘.จตุรพักตร์พิมาน
อำเภอขึ้น จ.ร้อยเอ็ด ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ โดยให้ยกบ้านหัวช้าง
ซึ่งเป็นเขตเมืองของเมืองสุวรรณภูมิ ขึ้นเป็นเมืองจตุรพักตร์พิมาน
ขึ้นเมืองมหาสารคาม และในปีเดียวกันได้โอนเมืองมหาสารคามมาขึ้นเมืองร้อยเอ็ดในปี
พ.ศ.๒๔๔๓ จึงยุบเมืองจตุรพักตร์พิมานลงเป็นอำเภอ ถึง พ.ศ.๒๔๖๐ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น
อ.หัวช้าง และในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนมาเป็น อ.จตุรพักตร์มิมานอีก
ภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูง เหมาะแก่การทำนาและสวน ทำเกลือสินเธาว์ ๗/ ๔๔๔๓
๑๒๗๙. จตุรภูมิ หมายถึง
ภูมิของจิต ชั้นหรือพื้นเพของจิตมีสี่ภูมิคือ กามาวจรภูมิ รูกามาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตรภูมิ
จตุรภูมิ
ย่อมหมายเอาทั้งภูมิของจิต และภพที่เกิดของสัตว์
กามาวจรภูมิ
ท่านได้แสดงภูมิที่เกิดของสัตว์ไว้ ๑๑ ภูมิ คือ อบายภูมิสี่ ได้แก่ นรก เปรต
อสุรกาย ดิรัจฉาน ทั้งสี่ภูมินี้เป็นที่เกิดของผู้มีจิต
ตั้งอยู่ในกามาวจรภูมิฝ่ายอกุศล สุคติภูมิเจ็ด ได้แก่ มนุษย์ภูมิ และสวรรค์หกชั้น (จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตจรัสวดี)
ทั้งเจ็ดภูมินี้เป็นภูมิที่เกิดของผู้มีจิตตั้งอยู่ในภูมิกามาพจร ฝ่ายอกุศล
รูปาวจรภพ
หรือ รูปภพ รูปโลก พรหมโลก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้นได้แก่ พรหมปาริสัชชะ
พรหมปุโรหิต มหาพรหม ทั้งสามชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ได้ปฐมญาณ
พรหมปริตตาภา พรหมอัปปมาณาภา พรหมอาภัสรา ทั้งสามชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ได้ทุติยญาณ
พรหมปริตสุภา พรหมอัปปมาณสุภา พรหมสุภกิณหกา
ทั้งสามชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ที่ได้ตติยญาณ
พรหมเวหัปผิละ พรหมอสัญญี ที่เรียกกันว่า พรหมลูกฟัก
ทั้งสองชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ที่ได้จตุตถญาณ
พรหมอริหา พรหมอดัปปา พรหมสุทัสสา พรหมสุภัสสี พรหมอกนิฐ ทั้งห้าชั้นนี้เรียกว่า
สุทธาวาส เป็นที่เกิดของผู้ที่ได้อรูปญาณ
และมีจิตดำรงอยู่ในภูมิที่ไม่ต้องกลับมาสู่โลกนี้อีก พระโสดาบัน พวกเอกพิชี
พระอนาคามี จะมาบังเกิดในสุทธาวาสนี้
อรูปาวจรภพ
หรืออรูปภพ อรูปโลก อรูปพรหม แสดงไว้สี่ชั้นคือ อากาสานัญจายตนภพ วิญญาณัญจายตนภพ
อาภิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ อรูปภพทั้งสี่เป็นที่เกิดของผู้ได้อรูปฌาณ
โลกุตรภูมิ ไม่เรียกโลกุตรภพ เพราะจิตตั้งอยู่ในภูมินี้เป็นอริยภูมิแล้ว
๗/ ๔๔๔๕
๑๒๘๐. จตุรยุค แปลว่ายุคทั้งสี่
ยุคในที่นี้หมายถึงกำหนดอายุของโลก แบ่งออกเป็นสี่ยุคด้วยกันคือ กฤษดายุค ไตรดายุค
ทวามรยุค และกลียุค ก่อนจะถึงแต่ละยุคนั้น จะมีช่วงระยะเวลาหนึ่งมาคั่นเรียกว่า สนธยาแห่งยุค
เมื่อหมดสนธยาแห่งยุคแล้วก็จะมีอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งมาคั่นเรียกว่า สนธยางศะแห่งยุค
ทั้งสองระยะเวลาดังกล่าว มีช่วงเวลาหนึ่งในสิบของยุคนั้น ๆ
ทั้งสี่ยุคดังกล่าวข้างต้นเรียกว่า มหายุค
หรือจตุรยุค ถือว่าเป็นหนึ่งกัลป์ คือ
เป็นคืนหนึ่งและวันหนึ่งของพระพรหม
๗/ ๔๔๔๘
๑๒๘๑. จตุราริยสัจ อริยสัจสี่
คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย เหตุแห่งทุกข์ ทุกขนิโรธที่ดับทุกข์
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา การปฏิบัติเป็นเหตุให้ถึงที่ดับทุกข์
ทุกข์
ได้แก่ ชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกา
(ความแห้งใจ) ปริเทวะ (ความรำไร - รำพัน) ทุกขะ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส (ความไม่สบายใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ)
อัปปิยสัมปโยโค (ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก)
ปิยวิปโยค (ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก)
ยัมปิจฉังนลภติ (ความไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา)
กล่าวโดยย่ออุปาทานขันธ์ห้าคือ รูป (ร่างกาย)
เวทนา (ความเสวยอารมณ์) สัญญา
(ความจำได้หมายรู้) สังขาร (ความคิด) วิญญาณ (ธรรมชาติรู้ - จิต ) ที่บุคคลยึดถือว่าเป็นเรา
เป็นของเรานี่แหละเป็นทุกข์
ทุกข์นี้เป็นธรรม ที่ควรกำหนดรู้
ทุกขสมุทัย
ได้แก่ ตัณหา (ความอยาก) อันเป็นเหตุให้เกิดใหม่ เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน
มักเพลิดเพลินไปในภพนั้น ๆ มีชื่อตามอารมณ์เป็นหกคือ รูปตัณหา (ตัณหาในรูป)
สัททตัณหา (ตัณหาในเสียง) คันธตัณหา
(ตัณหาในกลิ่น) รสตัณหา (ตัณหาในรส)
โผฎฐัพพตัณหา (ตัณหาในอารมณ์ที่ปรากฎทางกาย) ธัมมตัณหา (ตัณหาในอารมณืที่ปรากฎทางใจ)
ตัณหาทั้งหกประการนั้น แจกออกไปตามอาการที่เป็นไปอย่างละสามคือ กามตัณหา
ภวตัณหา และวิภวตัณหา
ตัณหา เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด เป็นธรรมที่ควรละ
ทุกขนิโรธ
ได้แก่ นิพพานอันเป็นที่ดับแห่งทุกข์ทั้งปวงได้แก่
สภาพอันเป็นที่สำรอก เป็นที่ดับหาส่วนเหลือมิได้ เป็นที่สละคืน เป็นที่หลุดพ้น
เป็นที่หาความอาลัยมิได้
นิโรธนี้เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา
ได้แก่ มรรคมีองค์แปดประการคือ สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
สัมมาวายะมะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ
(ความตั้งใจชอบ)
มรรคมีองค์แปดประการนี้ เปนมัชฌิมาปฎิปทา ข้อปฎิบัติเป็นกลาง ๆ
ไม่ข้องแวะด้วยที่สุดทั้งสองข้างคือ ข้างตึง และข้างหย่อน เป็นธรรมที่ควรเจริญคือ
ทำให้เกิดขึ้น
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ ในราตรีนั้นวิศาขบุรณมีเพ็ญ เดือนวิศาขะ
(เดือนหก) เมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช
แล้วทรงแสดงแก่นักบวชทั้งห้าที่เรียกว่า ปัญจวัคคีย์
เป็นครั้งแรก เมื่อวันอาสาฬหบุรณมีเพ็ญ
เดือนอาสาฬหะ (เดือนแปด) ในปีเดียวกัน
พระธรรมที่ทรงแสดงในครั้งนั้นเรียก ธัมมจักรกัปวัตนสูตร (สูตรแสดงการหมุนจักรคือ ธรรม) จัดเป็นปฐมเทศนา
พระโกญทัญญะได้ฟังแล้วก็เกิดธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม)
อันปราศจากธุลีมลทินว่า ยงฺกิญจิ สมุทย ธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธ ธมฺมนฺ
ติ (สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา - เพิ่มเติม )
๑๒๘๒. จตุโลกบาล คือ
ท้าวมหาราชทั้งสี่ สถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นต้นที่ชื่อว่า จาตุมหาราชทั้งสี่)
สวรรค์ชั้นนี้ตั้งอยู่บนยอดเขายุคนธร อันเป็นเขาเทือกชั้นใน
ของเทือกเขาทั้งเจ็ดชั้น ซึ่งตั้งล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ท้าวมหาราชาทั้งสี่ได้แก่
๑. ท้าวธตรฐ สถิตอยู่ยอดเขายุคนธร ด้านทิศบูรพาของเขาพระสุเมรุ มีรัศมีกายขาว
พระนครมีวิมานจำนวน ๔,๐๐๐ วิมาน ถัดออกไปเป็นเขตเทพชนบท
เทพนิคม และเทพนครน้อย ๆ อยู่ล้อมอาณาจักร
และขยายออกไปทางด้านทิศบูรพาจบจดขอบจักรวาล
ท้าวธตรฐ เป็นเจ้าของเหล่าคนธรรพ์
๒. ท้าววิรุฬหก สถิตอยู่บนยอดเขายุคนธร
ด้านทิศทักษิณของเขาพระสุเมรุ มีรัศมีกายแดง มีพระนครและทิพยสมบัติ
เช่นเดียวกับท้าวธตรฐ
ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าของเหล่ากุมภัณฑ์ (มีท้องใหญ่ มีอวัยวะที่ลับดุจหม้อ)
๓. ท้าววิรูปักษ์
สถิตอยู่ยอดเขายุคนธร ด้านทิศประจิมของเขาพระสุเมรุ
มีรัศมีกายดังสีทอง ทิพยสมบัติก็มีเช่นเดียวกับท้าวธตรฐ
ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าของเหล่านาค
๔. ท้าวกุเวร บางทีเรียกว่า
ท้าวเวสวัณ สถิตอยู่ยอดเขายุคนธร ด้านทิศอุดรของเขาพระสุเมรุ มีรัศมีกายสีเขียว
เป็นเจ้าของยักษ์ทั้งหลาย
๗/ ๔๑๖๕
๑๒๘๓. จตุสดมภ์ แปลว่า
หลักทั้งสี่คือ เจ้า๗/ที่จัดการปกครองในราชธานีสี่แผนก เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่
๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา แห่งราชอาณาจักรไทย ประเทศอื่น
ๆที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น พม่า เขมร ชวา มลายู ก็แบ่งเป็นสี่พนักงาน
ทำนองนี้ดุจกัน อันได้แก่
ขุนเมือง
(หรือเวียง) เป็นพนักงานปกครองท้องที่
ดูแลรักษาสันติสุขของประชาราษฎร
ขุนวัง
เป็นหัว๗/ฝ่ายราชสำนัก และเป็นพนักงาน พิพากษาถ้อยความของราษฎร
เป็นการแบ่งเบาพระราชภาระ
ขุนคลัง
เป็นเจ้า๗/ที่ควบคุมดูแลรับจ่ายผลประโยชน์ของแผ่นดิน
ขุนนา
เป็นเจ้า๗/ที่ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร
ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้จัดแก้ไขวิธีการปกครอง
แยกออกเป็นแผนกใหญ่สองแผนก มีตำแหน่งอัครเสนาบดีเป็นหัวหน้าคือ กิจการทหารทั้งปวง
จัดเป็นแผนกหนึ่ง มีสมุหพระกลาโหม เป็นหัวหน้า
ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้า ให้เจ้ากระทรวงทั้งสี่คือ
จตุสดมภ์เป็นตำแหน่ง เสนาบดี รองลงมา
หน้าที่ขุนเมืองหรือขุนเวียงเป็น พระนครบาล
ขุนวังเป็น พระธรรมาธิกรณ์ ขุนคลังเป็น พระโกษาบดี
และขุนนาเป็น พระเกษตราธิบดี
ระเบียบดังกล่าวใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ปรากฎดวงตราตำแหน่งอัครมหาเสนาบีด ทั้งสองและจตุสดมภ์ทั้งสี่
ในสมัยรัชกาลที่สี่คือ
ตราพระราชสีห์
ประจำตำแหน่งสมุหนายก ตราพระคชสีห์
ประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม ตราพระยายมขี่ราชสีห์
ประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมเมือง ตราพระนารายณ์ยืนบนท่าอสูร
ประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมวัง ตราบัวแก้ว
ประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมคลัง ซึ่งบังคับบัญชางานด้านต่างประเทศ และการคลัง ตราเทพยดานั่งบุษบกหลังหงส์
ประจำตำแหน่ง เสนาบดีกรมนา
ระเบียบการปกครองโดยเจ้ากระทรวงจตุสดมภ์ เลิกใช้ในปี พ.ศ.๒๔๓๕
๗/ ๔๔๗๐
๑๒๘๔. จมูก เป็นอวัยวะให้ลมผ่านเข้าออก
สู่อวัยวะเกี่ยวกับการหายใจ และทำ๗/ที่เกี่ยวกับการรับกลิ่นด้วย
จมูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนนอกที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า จมูกและส่วนในของจมูก
ลักษณะส่วนนอกของจมูกได้ใช้เป็นลักษณะสำคัญในการแบ่งชนิดต่าง
ๆ ของลิงและในคนก็ได้ใช้เป็นลักษณะของเชื้อชาติด้วย นอกจากขนาดรูปร่างของจมูกแล้ว
ลักษณะของรูจมูกก็ใช้เป็นลักษณะของเชื้อชาติด้วย คนผิวขาวจะมีรูจมูกแคบและอยู่สูง
พวกนิโกรมีรูจมูกกว้างแบน คนผิวเหลืองอยู่ระหว่างกลาง
ส่วนในของจมูกเป็นรูปสามเหลี่ยมข้างบนแคบข้างล่างกว้าง
มีรูจมูกติดต่อกับภายนอกและภายในรูติดต่อกับฟาริง โดยอาศัยแฟ่นกั้นกลาง
แบ่งส่วนในออกเป็นสองช่อง แต่ละช่องมีผนังตรงกลางเป็นแผ่นกั้นกลาง
มีผนังใกล้ริมและมีผนังล่างประกอบเป็นพื้นของช่องจมูก ช่องมีเพดานแคบ
เยื่อเมือกที่บุจมูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนใหญ่เป็นทางผ่านของลม
ส่วนบนทำ๗/ที่เกี่ยวกับการรับกลิ่น
๗/ ๔๔๗๙
๑๒๘๕. จรกา เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในเรื่องอิเหนา
ตามเรื่องกล่าวว่าจรกาเป็นระตู หรือเจ้าผู้ครองนคร ระตูจรกาเป็นคนรูปชั่วอัปลักษณ์
ว่าโดยสกุลแล้วก็ถือว่าต่ำศักดิ์กว่าคู่หมั้นคือ นางบุษบา
ธิดาท้าวดาหาซึ่งเป็นกษัตริย์วงศ์เทวัน ขณะที่เตรียมการอภิเษกกันนั้น อิเหนาซึ่งเป็นคู่หมั้นเก่า
และเป็นลูกพี่ของบุษบาก็ทำอุบายแกล้งเผาเมืองแล้วชิงนางไปเสีย
๗/ ๔๔๘๖
๑๖๘๖. จรณะ คำว่าจรณะเป็นชื่อพระพุทธคุณที่รวมอยู่ในบทว่า
"วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน" แปลตามพยัญชนะว่าผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ หมายความว่า
เป็นผู้ได้บรรลุวิชชาด้วย
เป็นผู้แรกรู้จักทางเครื่องบรรลุวิชชานั้นด้วยคุณสมบัตินี้
มีเฉพาะแก่พระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่มีแก่พระสาวก
สมเด็จ ฯ
พรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงอธิบายไว้ว่าจรณะนั้นได้แก่ ปฏิปทาคือ
ทางเป็นเครื่องบรรลุวิชชา มรรคมีองค์แปดเป็นจรณะแห่งความรู้อริยสัจสี่ ฌานสี่เป็นจรณะโดยลำดับแห่งวิชชาสาม
วิชชาเบื้องต้นเป็นจรณะแห่งวิชชาเบื้องปลาย
ในเสขปฏิปทาสูตร
แสดงจรณะเป็นสาธารณะ โดยมีชื่อว่าเสขปฏิปทา คือทางดำเนินของพระเสขะ
ท่านจำแนกหัวข้อจรณะออกเป็น ๑๕ มีใจความดังนี้คือ
๑. สีลสัมปทา
ถึงพร้อมด้วยศีลได้แก่การสำรวมในปาติโมกข์ ประกอบด้วยอาจาระและโคจร
เห็นภัยในความผิดแม้น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
๒. อินทรียสังวร
สำรวมอินทรีย์มีหกอย่างคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำ
๓. โภชเนมัตตัญญุตา
รู้ความพอดีในการบริโภคอาหาร พิจารณาแล้วจึงบริโภคอาหาร
และเพ่งประโยชน์อันจักเกิดแก่อาหารนั้น ต้องรู้ประมาณสามคือ การแสวงหา
การได้มาและการบริโภค
๔. ชาคริยานุโยค
ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ ไม่เห็นแก่หลับนอนเกินไป
๕. ศรัทธา
ความเชื่อได้แก่ ความเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
หมายความว่าเชื่อเหตุผล ในอรรถกถาแจกศรัทธาออกเป็นสอง
คือกัมมสัทธา เชื่อกรรม และวิปากสัทธา
เชื่อผลแห่งกรรม
๖. หิริ
ความละอายแก่ใจได้แก่ ความละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริตและมโนทุจริต
๗. โอตตัปปะ
ความเกรงกลัวผิด ได้แก่ความเกรงกลัวความผิด
และความชั่วโดยนัยแห่งหิรินั้น
๘. พาหุสัจจะ
ความเป็นผู้ได้ฟังมาก ท่านแสดงลักษณะของพหูสูตรไว้ว่า พหุสุตา เรียนมาก
ธตา จำได้
วจสาปริจิตา ขึ้นปาก
มนสานุเปกขิตา ขึ้นใจ และทิฏฐิยาสุปฏิวิทธา เข้าใจ
๙. วิริย ความเพียรได้แก่
เพียรละอกุศลกรรมที่เกิดแล้วให้หมดไป ป้องกันไม่ให้อกุศลกรรมไม่ให้เกิดขึ้นใหม่
เพียรทำกุศลกรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด รักษากุศลกรรมที่เกิดมีแล้วไม่ให้เสื่อม
๑๐. สติ
ความระลึกได้ได้แก่ สติรักษาตัวและระลึกถึงกิจที่ทำ และคำที่พูดแล้ว
แม้นานได้ก่อนคิดก่อนพูดก่อนทำ ให้มีสติกำกับอยู่ก่อน
๑๑. ปัญหา
ความรอบรู้ได้แก่ อริยปัญญาที่รู้ความเกิดความดับแห่งสังขาร
สามารถชำแรกกิเลสให้พ้นทุกข์ได้
๑๒. ปฐมฌาน
ฌานที่หนึ่งญาณได้แก่ การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปาสมาธิ
จัดเป็นสี่ชั้น ประณีตขึ้นไปกว่ากันโดยลำดับ
ปฐมฌาน มีองค์ห้าคือ
ยังมีตรึกซึ่งเรียกว่า วิตก ยังมีตรองเรียกว่าวิจาร
เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญแต่ไม่ประกอบด้วยกิเลสกายและอกุศลธรรม มีปิติ
ความอิ่มใจ ความสบายใจ เกิดแต่วิเวกคือ ความสงบ และเอกัคตา
จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไป
๑๓. ทุติยฌาน
ฌานที่สอง จิตที่เป็นสมาธิเช่นนั้นย่อมปราณีตขึ้น ละวิตก
วิจารเสียได้ เหลือเพียงองค์สามคือ ปิติ สุข และเอกัคตา
๑๔. ตติยฌาน
ฌานที่สาม จิตที่เป็นสมาธิเช่นนั้น ย่อมปราณีตขึ้นอีก ละปิติเสียได้
เหลือเพียงองค์สองคือ สุขกับเอกัคกตา
๑๕. จตุตถฌาน
ฌานที่สี่ จิตที่เป็นสมาธิเช่นนั้นย่อมปราณีตถึงที่สุด ละสุขเสียได้
กลายเป้นอุเบกขา จึงเป็นองค์สอง คืออุเบกขากับเอกัคตา
ทั้ง ๑๕ อย่างนี้เรียกว่า จงฌธรรม
๗/ ๔๔๙๐
๑๒๘๗. จรดพระนังคัล
เป็นชื่อเรียกพระราชพิธีแรกนา ซึ่งมีมาแต่โบราณ
ในชั้นเดิมทำแต่พิธีแรกนาเรียกว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีพราหมณ์
ต่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงเพิ่มพระราชพิธีพืชมงคล
อันเป็นพิธีสงฆ์ขึ้นอีก งานพระราชพิธีนี้จึงเป็นสองงานซ้อนกันอยู่
พระราชพิธีจรดพระนังคัล
นัยว่ามีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย และสมัยกรุงศรีอยุธยา กระทำในเดือนหก มีเรื่องต่าง ๆ
ที่ควรกล่าวคือ
๑. กำหนดวันพิธีแรกนา เหมาะสมกับสมัยเริ่มฤดูทำนาของประเทศนี้
และถือกันมาเป็นประเพณีว่า ชาวนาจะยังไม่ลงมือในนาปีนี้
จนกว่าจะล่วงพ้นพระราชพิธีแรกนาไปแล้ว
๒. ผู้กระทำพิธีแรกนา โดยปกติเป็น๗/ที่เสนาบดีกรมนา ที่เกษตราธิบดีคือ
เจ้าพระยาพลเทพ แต่ก็มียกเว้นบ้างในบางสมัย โดยโปรด ฯ ให้ผู้อื่นเป็นผู้แรกนา
๓. สถานที่แรกนา เท่าที่ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๑๘
- ๒๔๓๕ ทำที่ทุ่งส้มป่อยคือ บริเวณที่เป็นสนามราชตฤณมัย (สนามม้านางเลิ้ง)
หลังจากนั้นก็ย้ายไปทำที่อื่นบ้าง เช่น ศาลายิงเป้าสระปทุมวัน
ทุ่งพญาไท ทุ่งศาลาแดง และท้องสนามหลวง
๔. การเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนา
แต่เดิมมาเป็นการสุดแต่พระราชอัธยาศัย ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ และที่ ๗ ได้เสด็จทอดพระเนตรเสมอ เว้นบางปีที่ไม่ได้เสด็จอยู่ในพระนครเท่านั้น
ในรัชกาลที่ ๙ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรทุกปี
ส่วนพระราชพิธีพืชมงคล ปรากฎว่ารัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินเสมอ
ปีใดไม่เสด็จก็โปรด ฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ เสด็จแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ ๖ ที่ ๗
และที่ ๙ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเสมอ เว้นแต่มิได้เสด็จอยู่ในพระนคร
๕. สถานที่ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล ในรัชกาลที่ ๔
โปรดให้ปลูกพลับพลาขึ้นที่ท้องสนามหลวง และสร้างหอพระเป็นที่ไว้พระคันธารราษฎร์
สำหรับการพระราชพิธีพืชมงคลอย่างหนึ่ง พิรุณศาสตร์อย่างหนึ่ง
ได้ทำพิธีพืชมงคลที่พลับพลาท้องสนามหลวง จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๑ จึงไปทำที่อื่น
งานพระราชพิธีพืชมงคล และจรดพระนังคัล
ได้กระทำเต็มรูปแบบเป็นครั้งสุดท้าย ในปี พ.ศ.๒๔๗๙
การฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัล เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๒
ได้เริ่มกระทำเป็นงานประจำปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นต้นมา
โดยทำต่อเนื่องเป็นงานเดียวกับพระราชพิธีพืชมงคล เช่นที่เคยทำมาแต่กาลก่อน
๗/ ๔๔๙๕