| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

          โบราณสถานสำคัญ มีทั้งวัดในพระพุทธศาสนา เทวสถาน วัง และสิ่งสาธารณูปโภค
                - วัดในพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดกะโลทัย วัดช้าง วัดสระแก้ว วัดพระนอน วัดพระสี่อริยาบถ วัดฆ้องชัย วัดสิงห์ วัดกำแพงงาม วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่

                - ศาลพระอิศวร  ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันออก ด้านหน้าวัดพระธาตุ ฐานอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๙ เมตร ก่อด้วยศิลาแลง เป็นแบบฐานหน้ากกระดานชั้นเดียวหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดเล็ก ๆ ขึ้นไปบนฐานชั้นบน ข้างบนมีแท่นประดิษฐานเทวรูป เสาและเครื่องบนเป็นไม้ เคยเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรสำริดขนาดใหญ่ มีจารึกที่ฐานเทวรูปว่าเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๓ มีเทวรูปพระนารายณ์และพระอุมา (หรือพระลักษมี) ประดิษฐานรวมอยู่ด้วย ประติมากรรมเป็นศสิลปกรรมแบบสุโขทัย

                - คลองส่งน้ำโบราณ  อยู่ทางด้านทิศเหนือของเมือง ชาวบ้านเรียกว่า คลองท่อทองแดง รับน้ำจากแม่น้ำปิง ที่บริเวณใต้หนองปลิงไปจนถึงบริเวณเมืองบางงพาน ในเขตอำเภอพรานกระต่าย
            จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศพบว่า แนวคลองที่จะนำน้ำจากเมืองกำแพงเพชรไปเมืองบางพานมีอยู่เพียงแห่งเดียว จึงสันนิษฐานว่า เป็นเส้นทางน้ำเส้นเดียวกับที่กล่าวไว้ในจารึกฐานพระอิศวร เมืองกำแพงเพชรที่เรียกว่า ท่อปู่พระยาร่วง ซึ่งสร้างตั้งแต่สมัยสุโขทัย

                - ถนนพระร่วง  มีลักษณะเป็นคันดิน กว้างประมาณ ๔ - ๕ เมตร สูงประมาณ ๘ เมตร ชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณคันดินนี้เชื่อกันว่าเป็นถนนโบราณ จากเมืองกำแพงเพชรวถึงสุโขทัยไปถึงศรีสัชนาลัย ปัจจะบันแผงคันดินดังกล่าวเห็นได้เป็นหย่อม ๆ และบางแห่งเป็นแนวยาวติดต่อกันจากเมืองกำแพงเพชร  แนวถนนผ่านไปทางทิศตะวันออกของอำเภอพรานกระต่าย จากนั้นโค้งตัดกับทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ (กำแพงเพชร - สุโขทัย) และจากบริเวณโค้งทางแยกไปอำเภอลานกระบือ แนวถนนพระร่วงจะทับกับทางหลวงไปจนถึงบ้านทุ่งเมืองแล้วเบนออกไปทางทิศตะวันออก แล้ววกตัดกับทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ อีกครั้งที่บริเวณสถานีพืชอาหารสัตว์ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย และเข้าสู่เมืองสุโขทัยที่บริเวณมุมเมืองด้านทิศยตะวันตกเฉียงใต้
            จากหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระราชนิพนธิ์ไว้ตอนหนึ่งว่า
                " ..ถนนที่มาทางนี้ทำเป็นคันสูงเหนือพื้นทุ่งข้าว ราว ๒ ศอก ทางกว้างจะเพียงใดกำหนดเแน่ไม่ได้ เพราะทลายเสียมากแล้ว แต่เชื่อว่าอย่างไร ๆ ถนนคงไม่เกิน ๘ ศอก หรือ ๓ วา .....ออกเดินจากบ่อชุมแสงตามถนนพระร่วงเรื่อยไป แลเห็นถนนได้ถนัดดี เพราะพูนเป็นคันขึ้นมาสูงพ้นพื้นดิน ทั้งมีคูไปข้างถนน ทางด้านตะวันตกด้วย เข้าใจว่าคงได้ขุดดินจากคูนั้นเองขึ้นมาถมถนน... บางแห่งซึ่งเป็นที่ลุ่มถนนได้พูนขึ้นไว้สูงมาก ช้างเดินไปข้าง ๆ สังเกตุว่าเกือบท่วมหลังช้าง....."
    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
            โบราณสถานทั้งในเขตเมืองกำแพงเพชรและเมืองนครชุม  ทางราชการได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ โดยแบ่งกลุ่มโบราณสถานออกเป็นสี่กลุ่ม คือ
                กลุ่มที่ ๑  บริเวณภายในเมืองกำแพง มีโบราณสถาน ๑๔ แห่ง พื้นที่ ๕๐๓ ไร่
                กลุ่มที่ ๒ บริเวณอรัญญิกโบราณ ด้านทิศเหนือของกำแพงเมือง มีโบราณสถาน ๔๐ แห่ง พื้นที่ ๑,๖๐๐ ไร่
                กลุ่มที่ ๓  บริเวณนอกเมืองด้านทิศตะวันออก มีโบราณสถาน ๑๕ แห่ง มีพื้นที่ ๑๗ ไร่
                กลุ่มที่ ๔  บริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง (เมืองนครชุม) มีโบราณสถาน ๑๒ แห่ง มีพื้นที่ ๓๑ ไร่
            ทางราชการได้ดำเนินการฟื้นฟูปรับปรุงขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ พร้อมมกับเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ให้ดำเนินการขุดแต่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๘ - ๒๕๑๒ รวม ๑๘ แห่ง คือ ศาลพระอิศวร วัดพระธาตุ วัดพระแก้ว พระราชวัง (สระมน) ป้อมเพชร ป้อมเจ้าจันทร์ ป้อมเจ้าอินทร์ ป้อมมุมเมือง ป้อมวัดช้าง ป้อมทุ่งเศรษฐี วัดพระนอน วัดพระสี่อริยาบถ วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่ วัดกะโลทัย วัดซุ้มกอ วัดช้าง และวัดอาวาสน้อย การบูรณะได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงได้บรรจุงานบูรณะปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบัที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๒๙) ใช้ชื่อโครงการว่า โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยเน้นการบูรณะปรับปรุงโบราณสถาน และก่อสร้สางระบบสาธารณูปโภค ในเขตภายในกำแพงเมืองและบริเวณอรัญญิก วัตถุประสงค์สวำคัญคือ การป้องกันมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติมิให้สูญหายหรือเสื่อมคุณค่า พัฒนาบริเวณโบราณสวถานและธรรมชาติโดยรอบให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์
            กรมศิลปากร ได้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔
            เขตภายในกำแพงเมือง  มีพื้นที่ ๕๐๓ ไร่ มีโบราณสถานสำคัญคือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ เขตวังโบราณ (สระมน) ศาลพระอิศวร กำแพงเมือง คูเมือง และป้อมประตูต่าง ๆ
            เขตนอกกำแพงเมือง หรือที่เรียกว่า เขตอรัญญิก มีพื้นที่ ๑,๖๑๑ ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม มีโบราณที่เป็นวัดขนาดใหญ่น้อย รวม ๔๐ แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระนอน  วัดพระสี่อริยาบถ  วัดสิงห์ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศสียร วัดกำแพงงาม วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่
            กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร นับเป็นเอกลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ คณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาตุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ได้ประกาศในการประชุม ณ เมืองดาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร เป็นมรดกโลก เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานอันล้ำเลิศทางสถาปัตยกรรมไทยยุคแรก
สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร

            เทวรูปพระอิศวร  เป็นประติมากรรมสำริด สูง ๒๑๐ เซนติเมตร เดิมประดิษฐานอยู่ในเทวสวถานซึ่งเรียกว่า ศาลพระอิศวร มีจารึกที่ฐานรอยบาท (จารึกหลักที่ ๑๓) มีความวส่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ประดิษฐานรูปพระอิศวรในเมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.๒๐๕๓ ลักษณะขององค์เทวรูปแสดงถึงการรับอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน

            พระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๙  พระยาวิเชียรปราการ ผู้ว่าราชการเมืองกำแพงเพชร รับพระราชทาน
            ลักษณะของพระแสง ฯ เป็นพระแสงด้ามทอง ฝักทอง ยาว ๘๘.๕ เซนติเมตร ด้ามยาว ๓๙.๕ เซนติเมตร ฝักยาว ๔๙ เซนติเมตร ใบยาว ๔๕.๕ เซนติเมตร ใบกว้าง ๒.๔ เซนติเมตร เดิมเป็นดาบประจำตระกูลเจ้าเมืองกำแพงเพชร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพทุธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานแก่พระยากำแพงเพชร (นุช) เป็นบำเหน็จเมื่อครั้งไปราชการทัพ หลวงพิพิธอภัย บุตรพระยากำแพงเพชร (อ้น) นำฝักดาบทองประจำตระกูลทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับและพระราชทานให้เป็นพระแสงราชศัสตราประจำแมืองกำแพงเพชร

            ศาลหลักเมือง  ศาลหลักเมืองสันนิษฐานว่า สร้างสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ที่เคยปกครองดูแลเมืองกำแพงเพชร ทำด้วยศิลาแลงรูปกลมยาวประมาณ ๒ เมตร ผังโผล่พ้นดินขึ้นมาประมาณหนึ่งเมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมือง และเถียงเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมาเป็นเวลานาน จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๒ รองอำมาตย์เอกหลวงมนตรีราช (หวาน) อัยการจังหวัดกำแพงเพชรได้ริเริ่มสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ได้มีผู้ลักตัดเศียรเทพารักษ์ไป หลวงปริวรรตวรวิจิตร (จันทร เจริญชัย) ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรได้ให้ทำขึ้นใหม่ด้วยดินจากยอดเขาสูงสุดของเขาหลวง ดินใจกลางโบสถ์ ใจกลางเจดีย์เก่า ั้ทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก และตาก
            ในปี พ.ศ.๒๕๒๔  ได้มีการบูรณะปฎิสังขรณ์ศาลหลักเมืองโดยสร้างเป็นอาคารจตุรมุข พร้อมเขตปริมณฑลเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |