|ย้อนกลับ |หน้าต่อไป | |
|พัฒนาทางประวัติศาสตร์ |มรดกทางธรรมชาติ |มรดกทางวัฒนธรรม |มรดกทางพระพุทธศาสนา | |
มรดกทางวัฒนธรรม
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
โบราณวัตถุ
โบราณวัตถุสำคัญที่พบในเขตจังหวัดเลยได้แก่ ขวานหินกะเทาะ และขวานหินขัด เป็นเครื่องมือในยุคหิน
พบมากในบริเวณลุ่มแม่น้ำเมยตอนต้น คือ บริเวณรอยต่อของอำเภอภูกระดึง กิ่งอำเภอหนองหิน
อำเภอภูหลวง อำเภอเมือง และอำเภอวังสะพุง
เครื่องมือหินที่พบ เป็นเครื่องมือหินจำพวกเครื่องกดสับและตัด ทำจากหินกรวด
แม่น้ำกะเทาะหน้าเดียว เพื่อใช้ในสังคมล่าสัตว์ พบภาชนะดินเผา สร้อยข้อมือซึ่งมีลูกปีดและลูกกระพรวนสำริด
พบขวานหิน บริเวณลุ่มแม่แม่น้ำเมยตอนต้น พบหลักฐานภาชนะดินเผา ลายเชือกทาบ
มีอายุประมาณ ๑,๗๐๐ - ๒,๓๐๐ ปี พบกำไลหิน เบ้าหลอมโลหะและแม่พิมพ์ ขวานสำริด
บริเวณลุ่มแม่น้ำเลย ตำบลนาอาน อำเภอเมือง ฯ พบเครื่องมือหินกะเทาะสองหน้า
ขวานหินมีบ่า และไม่มีบ่า ตลอดจนภาชนะดินเผาลายขูดขีด ลายกด และลายเชือก
นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่เป็นพระพุทธรูปหลายองค์ เช่น พระพุทธศิลามงคลมิ่งเมือง
พระพุทธมงคลมิ่งเมือง และพระรัตนบุรีศรีทรายขาว เป็นต้น
โบราณสถาน
โบราณสถานที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเช่น พระธาตุศรีสองรัก อยู่ในเขตอำเภอด่านซ้าย
วัดท่าแขก อยู่ในเขตอำเภอเชียงคาน วัดศรีคูณเมือง อยู่ในเขตอำเภอเชียงคาน
แหล่งโบราณคดี
แหล่งโบราณคดีที่พบในเขตจังหวัดเลย ส่วนใหญ่เป็นชุมชนโบราณ ซึ่งพบในทุกอำเภอ
ได้มีการสำรวจเบื้องต้นแล้วได้แก่ชุมชนโบราณทรายขาว ชุมชนโบราณเมืองขวาง ชุมชนโบราณ
เมืองท่าจำปา ชุมชน ฯ เมืองสารแพ ชุมชน ฯ เมืองเวียงสา ชุมชน ฯ บ้านด่านขาว
ชุมชน ฯ เมืองเพียว ชุมชน ฯ นาโก ชุมชน ฯ เมืองหงษ์ ชุมชน ฯ บ้านกลาง และชุมชนบ้านวังสวน
เป็นต้น
แหล่งโบราณคดีบ้านบุ่งผักกว้าง
อยู่ในเขตอำเภอวังสะพุง พบหลักฐานด้านโบราณคดีคือ กลุ่มใบเสมาหิน วัฒนธรรมทวารวดี
มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ แม้จารึกจะลบเลือน แต่พอสันนิษฐานจากใบเสมาหิน
ในเชิงรูปแบบศิลปกรรม และรูปแบบอักษรอินเดียใต้ (ปัลลวะ) ศิลปะแบบทวาราวดี
ว่าบริเวณนี้ได้สร้างกลุ่มใบเสมาหินขนาดใหญ่จำนวนกว่า ๓๐ ใบ ที่บ้านบุ่งผักก้าน
บ้านนาหลัก ตำบลวังสะพุง บ้านเหมืองแม่ง ตำบลหนองหญ้าปล้อง บ้านกกเกลี้ยง
บ้านห้วยทรายคำ บ้านน้อยนา ตำบลศรีสงคราม ตามคติในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
แสดงว่าเมื่อประมาณ ๙๐๐ - ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว ชุมชนโบราณแห่งนี้ ได้นับถือพระพุทธศาสนา
ที่ได้เผยแผ่เข้ามาในภูมิภาคนี้แล้ว
แหล่งโบราณคดีวัดห้วยท้าว
อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ พบศิลาจารึกหรือเสมาจารึกหินชนวนอักษรไทยน้อย วัฒนธรรมล้านช้าง
จารึกเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๑๐๕ เรื่องที่จารึกกล่าวถึงกษัตริย์ล้านช้าง
พระนามโพธิวรวงศาธิราช ให้จารึกเมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๕ แต่ข้อความที่อ้างถึงระบุว่าวัดแห่งนี้มีมาแต่สมัยพระเจ้าโพธิสารราช
กษัตริย์ล้านช้าง ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ.๒๐๕๙ - ๒๐๙๑ แสดงว่าวัดแห่งนี้ต้องสร้างมาก่อนปี
พ.ศ.๒๐๙๑
ย่านประวัติศาสตร์
ได้แก่ย่านที่อยู่อาศัย อาคารร้านค้าที่แยก หรือเชื่อมต่อกันอันเป็นที่อยู่ของชุมชนในอดีต
ที่มีการสืบทอด และคงรูปแบบของอาคารสิ่งก่อสร้างตามรูปแบบเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
ย่านประวัติศาสตร์ของจังหวัดเลยอยู่บริเวณบ้านทรายขาว บ้านเรือนดั้งเดิม วัดเก่าแก่เหลือเพียงซากปรักหักพัง
ส่วนใหญ่มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมดแล้ว เช่น วัดกลางเมืองทรายขาวก็ได้มีการบูรณะใหม่
ส่วนวัดเทิงมีแต่ซากปรักหักพัง
แหล่งอุตสาหกรรม
เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบหรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำกันมาอย่างเป็นล่ำเป็นสันเพื่อขายเป็นสินค้า
ในแต่ละท้องถิ่นอาจมีแหล่งดังกล่าวอยู่หลายแห่ง
จังหวัดเลยไม่มีแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีอยู่เป็นเพียงแหล่งอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่กระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่าง
ๆ ที่สำคัญคือ แหล่งผ้าฝ้ายพื้นเมืองที่บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง ฯ
เป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายคุณภาพดีในนามผ้าฝ้ายเมืองเลย
สถาปัตยกรรมดีเด่น
เป็นสิ่งก่อสร้างที่ทรงคุณค่าสูงในทางศิลปะ สถาปัตยกรรมที่สืบทอดมาจนเป็นเอกลักษณ์
และคงใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิม สถาปัตยกรรมดีเด่นในจังหวัดเลยพอประมวลได้ดังนี้
ที่ว่าการอำเภอเมือง ฯ เดิมคือศาลากลางจังหวัด ตั้งอยู่บริเวณกุดป่อง ในเขตเทศบาลเมืองเลย สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เคยประทับแรม เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวจังหวัดเลย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘
สุขศาลาจังหวัดเลย ตั้งอยู่บริเวณตลาดเย็นในเขตเทศบาลเมืองเลย เดิมบริเวณตลาดทั้งหมดเป็นของสุขศาลา ได้นำมาใช้เป็นตลาดแลง หรือตลาดเย็นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙
- อาคารพาณิชย์
เป็นตึกแบบเก่า สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ คงลักษณะผสมตามแบบตะวันตกกับตะวันออก
หลังคาเดิมมุงกระเบื้อง ขนมเปียกปูน เบิกจั่วด้วยลวดลายตะวันออก ชั้นบนด้านหน้าเว้นระเบียงมีลูกกรง
ส่วนชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ปาดมุมโค้งพอให้สวยงาม เว้นห้องเท่าระเบียงชั้นบน
ประตูเป็นบานไม้แผ่นเดียว ตั้งพับซ้อนกันเรียกบานเฟี้ยม ปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็นประตูเหล็กทรวดทรง
อาคารเป็นลักษณะกล่องทึบตามแบบตะวันตก
รูปปั้นและอนุสาวรีย์
เป็นสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ รวมทั้งรูปเคารพทางศาสนา
ในจังหวัดเลยมีรูปปั้น และอนุสาวรีย์ที่สำคัญหลายแห่งคือ
พระบรมรูปทรงม้าจำลอง
มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ เนื่องจากเมืองเลยมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ที่เมืองเลยพ้นจากการรุกรานอธิปไตยของฝรั่งเศส
สามารถรักษผืนแผ่นดินส่วนนี้ไว้ได้
พระบรมรูปจำลองพระบิดาลูกเสือไทย
สืบเนื่องมาจากการก่อตั้งค่ายลูกเสือศรีสองรัก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ จึงได้มีดำริสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบิดาแห่งลูกเสือไทย โดยสร้างด้วยปูนปั้นขนาดเท่าพระองค์จริง ในชุดฉลองพระองค์ลูกเสือ
พระหัตถ์ขวาทรงคทา ประทับยืนบนแท่นไตรประดู่ ในบริเวณค่ายลูกเสือศรีสองรัก
อนุสรณ์สถานผู้เสียสละ ตั้งอยู่ที่เขตบ้าน ตำบลนาบอาน อำเภอเมือง ฯ เป็นอนุสรณ์สถานผู้เสียสละ พตท.๑๗๑๘ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ มีรูปแบบประกอบด้วยเสาหลักห้าต้น รวมเป็นเอกภาพเดียวกัน หล่อด้วยทองสำริดรมดำ สูง ๒๐ เมตร เสาหลักทั้งห้าต้นหมายถึง พลเรือน ตำรวจ ทหาร อาสาสมัคร และประชาชน กลีบบัวปลายเสาหลักหมายถึงพระพุทธศาสนา ฉัตรเก้าชั้น หมายถึงพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์อันเป็นสิ่งยึดมั่นของประเทศชาติ มีการประกอบพิธีสดุดีวีรชน ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม เป็นประจำทุกปี
สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง
ได้แก่ พระพุทธรัตนศรีทรายขาว พระพุทธศิลามิ่งมงคลเมือง พระพุทธมิ่งมงคลเมือง
นอกจากนั้นยังมีศาลหลักเมือง เจ้าพ่อกุดป่อง ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ และเสาหลักเมือง
ซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕
|ย้อนกลับ
|บน
|หน้าต่อไป
|