|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
|
พัฒนาทางประวัติศาสตร์
|
มรดกทางธรรมชาติ
|
มรดกทางวัฒนธรรม
|
มรดกทางพระพุทธศาสนา
|
มรดกทางพระพุทธศาสนา
วัดท่าหลวง
เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองพิจิตร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ในเขตอำเภอเมือง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2388 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน
หลวงพ่อเพชร
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน หล่อด้วยทองสำริด หน้าตักกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพิจิตร
วัดท่าหลวงได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เมื่อปี พ.ศ. 2529
วัดนครชุม
เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงสุโขทัย อยู่ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย จำนวน 3 องค์ อุโบสถหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร เป็นอาคารไม่มีหน้าต่าง แต่เปิดผนังเป็นช่อง ในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ก่ออิฐถือปูน หน้าตักกว้าง 3 วา ศิลปะแบบสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปที่ใช้เป็นประธานในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยก่อน วัดนครชุมนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า
วัดใหญ่
เป็นวัดเดียวในตัวเมืองพิจิตรเก่าที่ไม่ได้เป็นวัดร้าง
วัดโรงช้าง
อยู่ที่ตำบลโรงช้าง อำเภอเมือง เดิมที่แห่งนี้เรียกว่า
กองช้าง
เพราะเป็นที่พักของกองช้าง ต่อมาได้เรียกเพี้ยนออกไปเป็นคลองช้าง จนที่สุดก็ได้เปลี่ยนมาเป็นโรงช้าง
ในบริเวณวัด มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง 3 องค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหนึ่งองค์ ปางห้ามญาติหนึ่งองค์ และปางไสยาสน์หนึ่งองค์
เจดีย์ของวัดมีห้องใต้ดินใช้เก็บแผ่นอิฐจารึกพระไตรปิฎก จำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังในอนาคตอันไกล ได้มีสิ่งนี้ไว้เป็นมรดก เมื่อเกิดภัยพิบัตในรูปแบบต่างๆ ทำให้พระไตรปิฎกต้องสูญหายไป
วัดเขารูปช้าง
อยู่ในเขตตำบลดงป่าคำ อำเภอเมือง มีเจดีย์แบบลังกาตั้งอยู่บนยอดเขาที่มีหินสีขาวซ้อนกัน มองดูคล้ายรูปช้าง แต่เดิมเป็นเจดีย์เก่า ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
มีเจดีย์เก่าอยู่อีกองค์หนึ่ง เป็นเจดีย์แบบลังกา ตัวระฆังเป็นกลีบมะเฟือง ส่วนยอดเจดีย์หักหมดแล้ว สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยอยุธยา นอกจากนี้ยังมีมณฑปอยู่หลังหนึ่ง เป็นมณฑปจตุรมุข ยอดมณฑปเป็นเจดีย์แบบลังกา เป็นทรงเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสำริด ที่ผนังของมณฑปมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องไตรภูมิพระร่วง
|
ย้อนกลับ
|
หน้าต่อไป
|
บน
|