| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา | |
พื้นที่จังหวัดยะลาส่วนที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประกอบด้วย พื้นทื่ลุ่มน้ำแม่น้ำปัตตานี
ตั้งแต่บริเวณอำเภอเบตง และอำเภอธารโต ประมาณ ๑,๖๘๐ ตารางกิโลเมตร บริเวณอำเภอเมือง
ฯ ประมาณ ๓,๘๑๐ ตารางกิโลเมตร บริเวณอำเภอยะหา ๒,๑๗๘ ตารางกิโลเมตร
พื้นที่บางส่วนของอำเภอยะหาเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำคลองเทพา ๔๔๔ ตารางกิโลเมตร
และพื้นที่อำเภอรามันเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสายบุรี ๕๔๒ ตารางกิโลเมตร
แม่น้ำปัตตานี
เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดยะลา มีต้นน้ำอยู่บนเทือกเขาสันกาลาคีรี
ในเขตอำเภอเบตง บริเวณพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย แล้วไหลไปทางทิศเหนือผ่านอำเภอเบตง
อำเภอบันนังสตา กิ่งอำเภอกรงปินัง อำเภอเมือง ฯ อำเภอยะรัง อำเภอหนองจิก
แล้วไหลลงสู่ทะเลที่บ้านปากน้ำ อำเภอเมือง ฯ มีความยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ
๑๙๐ กิโลเมตร
แม่น้ำสายบุรี
มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ในทางตอนใต้สุดของตัวจังหวัดนราธิวาส ในเขตอำเภอแว้ง
ไหลไปทางทิศเหนือ ผ่านจังหวัดยะลาในเขตอำเภอรามัน แล้วไหลลงสู่ทะเลที่อำเภอสายบุรี
รวมความยาวประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร
นอกจากนี้ยังมีคลองและลำห้วยอื่น ๆ อีก เช่น
คลองเล็ก คลองปะแต คลองอัยเยอร์เวง ลำน้ำเหล่านี้ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดบริเวณเทือกเขาในเขตอำเภอบันนังสตา
อำเภอธารโตและอำเภอเบตง ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน แล้วไหลสู่แม่น้ำปัตตานีแทบทั้งสิ้น
เขื่อนบางลาง
เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำปัตตานี ตั้งอยู่บริเวณบ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา
เพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝน ป้องกันน้ำท่วม และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ๗๒,๐๐๐
กิโลวัตต์ น้ำที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วจะส่งไปใช้ในระบบการชลประทานที่บริเวณโครงการอื่นต่อไป
เขื่อนทดน้ำบ้านคูระ
ตั้งอยู่ในเขตตำบลยุโรป อำเภอะเมือง ฯ จังหวัดยะลา เป็นเขื่อนคอนกรีตสร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี
พร้อมด้วยระบบการระบายน้ำ
ระบบการส่งน้ำ กับระบบบรรเทาอุทกภัย สามารถส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกได้ประมาณ
๓๐๐,๐๐๐ ไร่
นอกจากนั้นคือการพัฒนาโดยโครงการชลประทานขนาดเล็ก เป็นการพัฒนาแหล่งน้ำเฉพาะที่
เฉพาะวัตถุประสงค์ จำแนกเป็นฝายกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ ท่อส่งน้ำ ดังเช่นฝายคลองลำใหม่
ฝายทดน้ำบ้านตาเนาะปูเต๊ะ ฝายคลองท่าธง เป็นต้น
ประชากรและการปกครอง
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ มีประชากรอยู่ประมาณ ๔๒๐,๐๐๐ คน นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ
๓๖ นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ ๖๓ และนับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ ๑
มีเชื้อชาติไทย เชื้อชาติมลายู เชื้อชาติจีนและมีชาวซาไกอยู่เล็กน้อย
ทำเนียบเจ้าเมือง
เท่าที่มีหลักฐานมีดังต่อไปนี้
๑. พระยายะลา (ต่วนยะลอ) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.
ถึง พ.ศ.๒๓๖๐
๒. พระยายะลา (ต่วนบางกอก) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๖๐ ถึง พ.ศ.
๓. หลวงสวัสดิ์ภักดี (ยิ้มซ้าย) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.
ถึง พ.ศ. ๒๓๙๐
๔. พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรีประเทศวิเศษวังสา (เมือง) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่
พ.ศ. ถึง พ.ศ.
๕. พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรีประเทศวิเศษวังสา (ต่วนอับดุลเลาะ) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่
พ.ศ. ถึง พ.ศ.
๖. พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรีประเทศวิเศษวังสา (ต่วนลาและ) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่
พ.ศ. ถึง พ.ศ.
๗. พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรีประเทศวิเศษวังสา (ต่วนสุไลมาน) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่
พ.ศ.๒๔๔๐ - ๒๔๕๑
๘. พระอาณาจักรบริบาล (อ้น ณ ถลาง) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑
- ๒๔๕๒
๙. พระพิพิธภักดี (เพิ่ม เตชะคุปต์) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๓
- ๒๔๕๖
๑๐. พระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๖
- ๒๔๕๘
๑๑. พระภักดีศรีสงคราม ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๘ - ๒๔๕๙
๑๒. พระพิพิธภักดี (เพิ่ม เตชะคุปต์) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๙
- ๒๔๖๕
๑๓. พระสมานไมตรีราษฎร์ (ล้วน พิศาลบุตร) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่
พ.ศ.๒๔๖๕ - ๒๔๖๗
๑๔. พระสมานไมตรีราษฎร์ (ชัน สุขุม) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๗
- ๒๔๗๔
๑๕. พระภูมิพิชัย (ม.ร.ว.บุง ลดาวัลย์) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๔
- ๒๔๗๖
๑๖. ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี ประชารักษ์) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่
พ.ศ.๒๔๗๖ - ๒๔๗๘
๑๗. หลวงอรรถกัลยาณวินิจ (เอื้อน ยุกตะนันท์) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่
พ.ศ.๒๔๗๘ - ๒๔๘๐
๑๘. พระภูมิพิชัย (ม.ร.ว.บุง ลดาวัลย์) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๐
- ๒๔๘๒
๑๙. ขุนภักดีดำรงฤทธิ์ (ภักดี ดำรงฤทธิ์) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่
พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๔๘๕
๒๐. พ.ต.ประยูร รัตนกิจ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๕ - ๒๔๘๖
๒๑. ร.ท.ถวิล ระวังภัย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๖ - ๒๔๘๗
๒๒. นายอรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๗ -
๒๔๘๗
๒๓. นายยุทธ จรัญยานนท ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๗ - ๒๔๘๙
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน | |