| หน้าแรก | สมุดเยี่ยมชม | กระดานสนทนา | เล่าแจ้งแถลงไข | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
ตอบสมุดเยี่ยมชม
นับตั้งแต่ สำนักราชเลขาธิการ อนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในโครงการจัดทำหอมรดกไทย ของกระทรวงกลาโหมได้ เมื่อ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๑ เว็บไซต์หอมรดกไทยก็เริ่มออกสู่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อย่างเต็มรูปแบบ คือ มีเรื่องของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในขั้นต้น และได้จัดทำเพิ่มเติมมาโดยตลอด มี ผู้เข้ามาเยี่ยมชมให้ข้อเสนอแนะที่ดีมีประโยชน์มากมาย ทางผู้ทำจัดขอขอบพระคุณทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ และจะได้นำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป เท่าที่สภาวะแวดล้อมจะอำนวยให้ได้ ซึ่ง พอประมวลได้พร้อมคำตอบจากผู้จัดทำ ดังนี้ :
๓๔๐. คุณอรพิน อุปเทพ :
ดีมาก ๆ ค่ะ ภูมิใจที่สุดที่เกิดเป็นคนไทย ขอให้มีแบบนี้ตลอดไป ให้กำลังใจคณะทำงานนะคะ
ผู้จัดทำ : เป็นความรู้สึกที่ตรงกันในหมู่คนไทยที่รักความเป็นไทยทุกคนครับ
๓๓๙. คุณกัลยา : อยากได้ที่อยู่ของศาลทหารมาก
เพราะจะได้ขอซีดีแนะนำศาลทหารไว้ให้เด็กได้ศึกษาเรื่องของศาลทหาร หายากมาก
ผู้จัดทำ : ศาลทหารตั้งอยู่ในกรมพระธรรมนูญ
ข้างกระทรวงกลาโหม หลังศาลหลักเมือง
๓๓๘. คุณหมู :
เป็นเว็บไซต์ที่ดีที่สุด เราใช้ประโยชน์ได้มาก ขอบคุณที่จัดทำขึ้นมา
(It is the best web site. We use it more than useful can help us. Thank
for made it.)
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ ด้วยความยินดีครับ
๓๓๗. คุณอวย  (euay) : ขอให้ดำรงการทำงานต่อไปค่ะ
ขอสนับสนุนมรดกไทย
ผู้จัดทำ : ยังคงทำอยู่ครับ ขอบคุณครับ
๓๓๖. คุณเกม :
เว็บนี้เป็นเว็บที่ให้ความรู้ดีมากครับ เนื้อหาเยอะมาก เป็นหลาย ๆ เรื่องราวที่คุณอยากรู้
มีหมดเลยอ่ะ ชอบครับ ก็ขอให้เว็บดี ๆ แบบนี้อยู่กับประชาชนชาวไทยไปนาน ๆ นะครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลด้วยนะครับ......... ขอบคุณจากใจจริง
ผู้จัดทำ : รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่มีคนไทยรัก
และสนใจในมรดกของไทยอย่างไม่เสื่อมคลายมาโดยตลอด
๓๓๕. คุณพิมล :
ค้นหาเรื่องของหมากรุกไทย จนมาเจอเว็บนี้ ชอบมาก และเท่าที่เพิ่งอ่านดูทั่วไป
ให้ความรู้ไว้มากในเรื่องของไทย ที่สำคัญคือ เรื่องของอดีต ไม่ทราบว่ามีการเผยแพร่ไปตามโรงเรียน
หรือสถานศึกษามากแค่ไหน และเรียนขออนุญาตที่จะนำไปไว้ในเว็บของโรงเรียนต่อไปนะครับ
ขอบคุณกระทรวงกลาโหมที่มีงานดี ๆ อย่างนี้
ผู้จัดทำ : มีโรงเรียน ครู และนักเรียนได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลในหอมรดกไทยไปแล้วเป็นจำนวนมาก
และเว็บไซต์หอมรดกไทยอยู่ในเครือข่ายกาญจนาภิเษก ในฐานะเป็นหน่วยที่ร่วมเสนอผลงานอยู่แล้ว
สำหรับการนำไปไว้ในโรงเรียน ควรใช้วิธีเชื่อมต่อจะสะดวกที่สุด
๓๓๔. คุณใบไม้ :
ขอบพระคุณมากค่ะที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ มาไว้ให้เป็นแหล่งข้อมูลในการเรียนรู้
ใบไม้ได้ความรู้มากจากเว็บนี้ค่ะ ภูมิใจในมรดกไทยมากค่ะ
ผู้จัดทำ : เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
ที่คนไทยได้มีความรัก หวงแหน และภาคภูมิใจในมรดกของไทยร่วมกัน
๓๓๓. คุณชัยยศ ป้อมยุคล :
ขอบคุณผู้จัดทำมากเลย ที่สรรหาสิ่งที่ดีไว้ให้ลูกหลานไทยภูมิใจในความเป็นไทย
และได้ศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียนรู้ด้วย
ผู้จัดทำ : สิ่งที่ควรยินดียิ่งนักคือ
คนไทยได้เป็นคุณค่าแห่งมรดกของไทย เห็นคุณค่าแห่งมรดกของไทยอยู่เป็นจำนวนมาก
ขอให้ช่วยกันรักษาคุณสมบัตินี้ไว้ให้วัฒนาถาวรตลอดไปครับ
๓๓๒. คุณบอย : ผมชื่นชอบมากกับเว็บแห่งนี้
มีความรู้มากมายเกี่ยวกับกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก
เป็นสิ่งที่บางคน หรือหลายคนที่เป็นคนไทย เกิดบนแผ่นดินไทย ไม่เคยรับรู้เรื่องราวอย่างนี้
และเป็นเว็บที่สมควรให้เยาวชนของประเทศได้ศึกษาค้นคว้าความรู้ นอกเหนือตำราเรียน
หรือสามารถนำไปทำโครงงานประกอบกับกลุ่มสาระสังคมศึกษา ฯ ได้ ผมหวังว่าเว็บแห่งนี้จะสร้างสรรค์ผลงานดีดีอย่างนี้ตลอดไป
และขอบคุณที่นำความรู้ต่าง ๆ มาเผยแพร่ให้กระผมได้รับทราบ ขอบคุณจากใจจริง
ผู้จัดทำ
เรื่องของประเทศไทย และคนไทยในหอมรดกไทยนั้น เป็นสมบัติของไทยที่คนไทยควรรู้
และะภาคภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษของไทยเราได้สร้างสมไว้ และสืบต่อกันมายาวนาน
๓๓๑. นาวาตรี อวยชัย ชุมภูวิเศษ :
ผมเพิ่งได้รับทราบว่าบ้านเรามีเว็บไซด์ที่มีสาระ
มีคุณค่าน่าศึกษา และภาคภูมิใจในความเป็นไทยของเรา ผมขอชื่นชมในความอุตสาหะ
วิริยะ หมั่นเพียรของคณะผู้จัดทำ และขอให้เพิ่มเติมความรู้ ความน่าภาคภูมิใจของชนชาวไทยเรายิ่ง ๆ
ขึ้นนะครับ
ผู้จัดทำ
ความภาคภูมิใจในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ของคนไทยเรา ที่มีมาแต่บรรพกาล
ตามที่บรรพบุรุษของไทยเรา ได้สร้างสรรค์ไว้นั้น เป็นมรดกอันล้ำค่า ที่อนุชนรุ่นหลังควรตระหนัก
และพึงรักษาไว้ให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป
๓๓๐. คุณเสรี ลาชโรจน์ :
เป็นความพยายามที่น่าสรรเสริญ ที่ได้รวบรวมสิ่งมีค่าทางปัญญาทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ
๓๒๙. คุณเบนคุง (Benkung) :
เป็นเว็บไซด์ที่มีสาระมากครับ แต่อยากให้เพิ่มเนื้อหา
ต่าง ๆ โดยเฉพาะหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ครับ จะเป็นพระคุณยิ่งขอบคุณครับ
ผู้จัดทำ : เนื้อหาต่าง ๆ ในหอมรดกไทย
มีเพิ่มขึ้นตามลำดับในทุกหมวดครับ
๓๒๘. พันตรี อาร์ม สมรรคะบุตร
: หอมรดกไทย เป็น Website ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง
เหมาะสำหรับไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาครับ
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ
๓๒๗. คุณวรรณวิภา :
เป็น web ที่มีประโยชน์มากค่ะ
ผู้จัดทำ : ขอบคุณครับ
๓๒๖. คุณพายัพ รอดถาวร :
หอมรดกไทยเป็นแหล่งค้นคว้าที่มีประโยชน์อย่างมากที่สุด ให้ความรู้ที่ดีมาก
และได้นำไปเผยแพร่ให้น้อง ๆ ไปใช้สอนนักเรียนได้ ขอชมเชย และขอบพระคุณมา ณ
โอกาสนี้ หากบุคคลทั่วไปได้เข้าศึกษา และอ่านให้หมดทุกเรือง จะได้ประโยชน์อย่างยิ่ง
และหวังว่าจะมีเนื้อหาเพิ่มจากปัจจุบันอีก
ผู้จัดทำ : ขอให้ถือว่าหอมรดกไทย
เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของไทยแหล่งหนึ่ง ในการสอนนักเรียน ขอให้ค้นคว้าจากแหล่งอื่นมาประกอบด้วย
ก็จะเป็นการดี ข้อมูลในหอมรดกไทย จะมีเพิ่มทั้งเรื่องใหม่ และเรื่องในเนื้อหาเดิมให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นอยู่โดยตลอดครับ
๓๒๕. คุณพลไท :
ได้มีโอกาสแวะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บนี้ รู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นไทยขึ้นมาอย่างมากค่ะ
ขอให้พัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง และขอขอบคุณทีมงานทุกคนด้วยนะค่ะ สุดท้ายจะคอยเป็นกำลังใจให้
เว็บหอมรดกไทย จงอยู่คู่คนไทยตลอดไปนะค่ะ...
ผู้จัดทำ : เป็นความรู้สึกร่วมกันของคนไทยทุกคนครับ
เว็บไซต์หอมรดกไทย ได้มีการพัฒนาข้อมูลอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดครับ
ขอบคุณครับ
๓๒๔. คุณกัมม์ :
ขอบพระคุณครับ สำหรับ "อุภโตสุชาติ" ขอให้อยู่เป็นเว็บไซท์หลักของประวัติศาสตร์
ตลอดไปครับ
ผู้จัดทำ : ด้วยความยินดีครับ ความหมายของคำนี้มีอยู่ในพระไตรปิฎกครับ
๓๒๓. คุณณัฐพร :
ต้องขอขอบพระคุณคณะผู้จัดทำเว็บนี้ รวมทั้งผู้สนับสนุน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน
ถ้าดิฉันไม่ได้ช่วยหลานสาวหาข้อมูล ทำรายงานส่งคุณครู ดิฉันคงไม่รู้จักเว็บนี้แน่
ดีใจจังเข้ามาเว็บนี้แห่งเดียว ได้ข้อมูลครบเลยค่ะ เยี่ยมจริงขอให้พัฒนาดียิ่ง
ๆ ขึ้นไปเรื่อย ๆ ขอบคุณค่ะ
ผู้จัดทำ : คนไทยทุกคนย่อมภาคภูมิใจในมรดกของไทย
ที่บรรพบุรุษของไทยเราได้สร้างสมกันมาช้านาน และมีมากมายยิ่งนัก หอมรดกไทยพยายามประมวลข้อมูลดังกล่าวเอาไว้ในรูปแบบต่างๆ
เท่าที่เป็นข้อมูลสาธารณะ อันเป็นสมบัติของชาติไทยเอาไว้ ให้อนุชนรุ่นหลังไม่ให้เลือนหายไปตามยุคสมัย
และกาลเวลา ดังนั้นงานนี้ยังดำเนินต่อไปตามลำดับ
๓๒๒. คุณเบญญาภา : เป็น website ที่ดีมากค่ะ ดิฉันได้อ่านหลายหัวข้อแล้วค่ะ ได้ความรู้ด้านต่างๆเพิ่มขึ้นมากค่ะ แต่ดิฉันมีข้อสับสนคือ ตอนนี้ดิฉันกำลังอ่านหัวข้อเมืองเก่าของไทย ถึงจังหวัดลำพูน เกี่ยวกับชนชาติเมงคบุตร หรือละว้า ส่วนหนึ่งจากชุมชนเชิงดอยสุเทพกับฤาษีเป็นผู้ก่อตั้งแคว้นหริภุญไชย แต่ดิฉันอ่านจากหนังสือ และจาก website ของจังหวัดลำพูน ได้ข้อมูลว่า ชนชาติที่ก่อตั้งแคว้นหริภุญไชยคือ พวกมอญ หรือรามัญ ไม่ไช่พวกละว้า ซึ่งดิฉันไม่ทราบว่าข้อมูลไหนถูกต้อง กรุณาชี้แจ้งด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
ผู้จัดทำ : ความสัมพันธ์ระหว่างทวารวดีละโว้ และหริภุญไชยคือ ลำพูน มีอยู่ในตำนานเรื่องพระนางจามเทวี ธิดากษัตริย์กรุงละโว้ ได้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญไชย ในครั้งนั้นได้นำชาวละโว้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระมหาเถระ ที่ทรงปิฎกในพระพุทธศาสนา กัลยาณชน และบัณฑิต เป็นจำนานมากเช่นกัน ขึ้นไปหริภุญไชยด้วย และพระนางจามเทวี ก็ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองหริภุญไชย นับเป็นกษัตริย์องค์แรกของหริภุญไชย และได้มีกษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชยสืบต่อมาอีก ๕๐ องค์ องค์สุดท้ายคือ พญาญีบา ครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๑๘๒๕ และต่อมาได้เสียเมืองให้แก่พญามังราย เจ้าเมืองเชียงราย
ดังนั้นถ้าคิดเกณฑ์ตามนี้ก็อาจกล่าวได้ว่า ชนชาติที่ก่อตั้งแคว้นหริภุญไชยคือ พวกมอญหรือรามัญจากละโว้
แต่ก่อนหน้านี้ยังมีประวัติศาสตร์เมืองหริภุญไชยตอนต้น อันมีที่มาจากนิยายปรัมปรา กล่าวว่าชนพื้นเมืองในระยะแรก ๆ เป็นพวกเมงคบุตร หรือพวกละว้า ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบลุ่มเชียงใหม่ ใกล้ดอยสุเทพ และจากตำนานมูลศาสนา ได้กล่าวถึงฤาษีวาสุเทพ ได้เป็นผู้นำชุมชนที่อยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ
สร้างบ้านเมืองขึ้น ทำให้ชุมชนนั้นเป็นสังคมเมืองมีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ฤาษีวาสุเทพจึงได้นำชาวละว้ากลุ่มหนึ่ง ล่องลงมาตามลำน้ำพิงค์ ถึงสถานที่แห่งหนึ่งมีชัยภูมิดี จึงให้สร้างเมืองขึ้น แล้วคิดหาผู้ที่มีบุญญาธิการ และมีทศพิธราชธรรมมาเป็นท้าวพญา เมื่อสร้างเมืองเสร็จ ก็ให้ไปเชิญพระนางจามเทวี
ธิดาพญาจักรวัตติ เจ้าเมืองละโว้มาครองเมือง
เรื่องของเรื่องมาคาบเกี่ยวกันเช่นนี้ จะกล่าวอย่างไร ก็แล้วแต่จะวางเกณฑ์ในการวินิจฉัยครับ
๓๒๑. คุณตู (tu) :
การรำวงของไทยไม่มีเลย
ผู้จัดทำ : เพลงรำวงมีอยู่ในเพลงไทยให้สาระ
ในกลุ่มของเพลงรำวง