|
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ)
|
สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภณ) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 14 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี
พ.ศ. 2505 พระชนมายุได้ 73 พรรษา
|
พระองค์มีพระนามเดิมว่าปลด ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2432 ที่กรุงเทพมหานคร ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี
พ.ศ. 2444 ที่วัดพระเชตุพน ฯ ทรงเริ่มเรียนภาษาบาลีตั้งแต่พระชนมายุ 8 ปี เรียนมูลกัจจายน์ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ได้ประโยค 1 ได้รับโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ให้อยู่ที่วัดเบญจมบพิตร ฯ
ต่อมาได้เข้าแปลประโยค 2 และประโยค 3 ได้ ทรงสอบได้ประโยค 4 เมื่อพระชนมายุได้ 13
ปี ประโยค 5 ถึงประโยค 7 เมื่อพระชนมายุได้ 14,15,16 ปี ตามลำดับ ทรงสอบประโยค 8 ได้เมื่อพระชนมายุได้
19 ปี และประโยค 9 เมื่อพระชนมายุได้ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2451 ทรงอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2452
พ.ศ. 2457 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์
พ.ศ. 2466 เป็นราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที
พ.ศ. 2468 เป็นเจ้าคณะแขวงกลาง จังหวัดพระนคร
พ.ศ. 2469 เป็นราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมุนี
พ.ศ. 2471 เป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพ
พ.ศ. 2472 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์
พ.ศ. 2473 เป็นกรรมการเถรสมาคม
พ.ศ. 2481 เป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก และเป็นประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช
(แพ ติสฺสเทโว)
พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะ ตำแหน่งเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมมุนี
พ.ศ. 2490 เป็นสมเด็จพระราชา คณะตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัฎที่ สมเด็จพระวันรัต
พ.ศ. 2494 เป็นสังฆนายก
พ.ศ. 2501 เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์ แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และรักษาการในตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช
พระองค์ทรงกระทำกิจทางพระศาสนามาโดยตลอด ด้วยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก ตลอดพระชนมชีพ พอประมวลสรุปได้ดังนี้
|
1. ด้านการปกครอง เริ่มตั้งแต่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะมณฑล กรรมการเถรสมาคม
ประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช สังฆนายก และรักษาการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
2. ด้านการศึกษา เริ่มตั้งแต่การศึกษาในสำนักวัดเบญจมบพิตร ฯ การศึกษาในมณฑลพายัพ ทั้ง 7 จังหวัด
และแขวงกลางจังหวัดพระนคร เป็นกรรมการสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวง เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา
3. ด้านการเผยแผ่ มีหนังสือธรรมที่ทรงนิพนธ์ พิมพ์ออกเผยแผ่ เป็นอันมาก เช่น มงคลภาษิต ปราภวภาษิต
ศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งงานพระธรรมเทศนา ในโอกาสต่าง ๆ ที่ได้รับการยอย่องว่า มีสำนวนโวหารง่าย
ๆ เป็นที่เข้าใจทราบซึ้ง
|
4. ด้านการต่างประเทศ
ได้เสด็จไปต่างประเทศเพื่อการพระศาสนาหลายครั้ง คือ
- พ.ศ. 2482 ไปตรวจการณ์คณะสงฆ์ ไทรบุรี และปีนัง แทนสมเด็จพระสังฆราช
- พ.ศ. 2498 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมงานฉัฎฐสังคายนาจตุตถสันนิบาต (สมัยไทย) โดยเป็นประธาน กระทำพิธีเปิดประชุมสังคายนา
ณ สหภาพพม่า
- พ.ศ. 2499 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลอง พุทธชยันตี
25 ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศลังกา และไปสังเกตการพระศาสนาในประเทศอินเดีย
- พ.ศ. 2501 เป็นหัวหน้าคณะไปเป็นประธานประกอบพิธีบรรจุพระบรมธาตุ ณ วัดบุปผาราม เมืองปีนัง
สหพันธรัฐมาลายา
- พ.ศ. 2502 เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธีฉลองพระพุทธชยันตี 25 ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น
และในปีเดียวกันนี้ ได้นำพระสงฆ์ไทยไปอยู่ ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย
และได้เสด็จไปมนัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง ที่อินเดีย
- พ.ศ. 2504 เสด็จไปสังเกตการพระศาสนา ในสหรัฐอเมริกา ตามคำทูลอาราชธนาของมูลนิธิเอเซีย
5. งานด้านวิชาการและงานพิเศษ มีงานสำคัญคือ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย 4 คัมภีร์ คือ อรรถกถาอุทาน อิติวุตตก มหานิเทศ และจุลนิเทศ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์พระสุตตันคปิฎก ขุททกนิกาย 3
คัมภีร์ คือ มหานิเทศ จุลนิเทศ และชาดก และได้ชำระคัมภีร์ สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เป็น ประธานกรรมาธิการแปล
พระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย จนจบพิมพ์เป็นเล่มได้จำนวน 80 เล่ม เมื่อปี พ.ศ. 2500
เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้เป็นประธานสงฆ์ในงานรัฐพิธีฉลอง 25 พุทธศตวรรษของไทย
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช ฯ (อยู่ ญาโณทโย)
|
สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 15 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต
ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2506 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 2 พรรษา สิ้นพระชนมเมื่อปี พ.ศ. 2508 พระชนมายุ
91 พรรษา
|
พระองค์มีพระนามเดิมว่า อยู่ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2417 ที่อำเภอบางกอกใหญ่ ธนบุรี ได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักของบิดา
ต่อมาได้มาศึกษาที่วัดสระเกศ จนได้บรรพชาเป็นสามเณร จึงได้ศึกษาภาษาบาลี มูลกัจจายน์
พ.ศ. 2433 และ 2436 ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค และ 4 ประโยค ตามลำดับ
พ.ศ. 2437 ทรงอุปสมบทที่วัดสระเกศ
พ.ศ. 2411,2443,2444 และ 2445 ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรม ได้เป็นเปรียญ 5,6,7,8 และ
9 ประโยคตามลำดับ ทรงเป็นเปรียญ 9 ประโยค เมื่อพระชนมายุ 28 พรรษา และเป็นเปรียญ
9 ประโยคองค์แรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ จึงได้รับพระมหากรุณา ให้นำรถยนต์หลวงมาส่งถึงอารามเป็นพิเศษ และได้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อได้เปรียญ 9 ประโยคแล้ว พระองค์ก็ทรงดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสนามหลวง สอบไล่พระปริยัติธรรมตลอดมา
พ.ศ. 2451 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระปิฎกโกศล
พ.ศ. 2462,2468 เป็นแม่กองธรรมสนามจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. 2464 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที
และเป็นแม่กองธรรมสนามจังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. 2465,2467 เป็นแม่กองธรรมจังหวัดภูเก็ต
พ.ศ. 2466 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที
พ.ศ. 2467 เป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเหนือ จังหวัดธนบุรี
พ.ศ. 2470 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเจดีย์ และเป็นกรรมการเถรสมาคม
พ.ศ. 2488 ได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนา เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
พระองค์ทรงอุปถัมภ์ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกบาลี และนักธรรม ให้เจริญก้าว หน้ายิ่งขึ้น เป็นองค์อุปภัมภ์กิตติมศักดิ์ของมหาจุฬาราชวิทยาลัย
ตั้งแต่เริ่มเปิดการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2490 ตลอดมา ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง วัดสระเกศ) จนสำเร็จเรียบร้อยดังที่เห็นอยู่ปัจจุบัน เป็นปูชนียสถานที่เริ่มสร้างมาแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เป็นศรีสง่าแก่กรุงเทพมหานครมาจวบถึงปัจจุบัน
|