| หน้าแรก | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | พระวินัยปิฎก |
พระสุตตันตปิฎก |
ทุติยปาราชิกสิกขาบท
เรื่องพระธนิยะกุมภการบุตร
พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้นภิกษุหลายรูป ทำกุฏีมุงบังด้วยหญ้า ณ เชิงภูเขาอิสิคิสิ แล้วอยู่จำพรรษา
ท่านธนิยะ ภุมภการบุตรก็ทำกุฏีมุงบังด้วยหญ้า
แล้วอยู่จำพรรษา ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว
ได้รื้อกุฏี
เก็บหญ้าและตัวไม้ไว้ แล้วหลีกไปสู่จาริกในชนบท ส่วนท่านธนิยะเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต
คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฏีเสียแล้วขนหญ้าและตัวไม้ไป แม้ครั้งที่สองและครั้งที่สาม
ท่านได้มีความคิดว่าเหตุการณ์ได้เกิดถึง สามครั้งแล้ว เรานี้เป็นผู้สำเร็จศิลปะในการช่างหม้อ
เราพึงขยำโคลนทำกุฏีสำเร็จ
ด้วยดินล้วนเสียเอง
แล้วท่านจึงขยำโคลนทำกุฏีด้วยดินล้วนแล้วรวบรวมหญ้าไม้
และโคมัยมาเผากุฏีนั้นจนงดงามน่าชม
มีสีแดงเหมือนแมลงค่อมทอง มีเสียงเหมือนกระดึง
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นกุฏีนั้น จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลาย
ครั้นภิกษุเหล่านั้นทูลให้
ทรงทราบแล้ว
พระองค์ทรงติเตียนว่า การกระทำของโมฆบุรุษนั้น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่
กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความไม่เบียดเบียนหมู่สัตว์มิได้มีแก่
โมฆบุรุษนั้นเลย
พวกเธอจงไปทำลายกุฏีนั้น พวกเพื่อนพรหมจารีชั้นหลัง อย่าถึงความเบียดเบียน
หมู่สัตว์เลย
อันภิกษุไม่ควรทำกุฏีด้วยดินล้วน ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุเหล่านั้นรับพุทธาณัติแล้ว
พากันไปที่กุฏีนั้นแล้วทำลายเสีย
พระธนิยะจึงถามว่า พวกท่านทำลายกุฏีของผมเพื่ออะไร
ภิ. พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำลาย
ธ. ทำลายเถิด ถ้าพระผู้มีพระภาคผู้ธรรมสามีรับสั่งให้ทำลาย
กาลต่อมา พระธนิยะได้ดำริว่า เราพึงขอไม้เขามาทำกุฏีไม้ ครั้นแล้วท่านจึงไปหาพนักงานรักษาไม้
และขอไม้เขามาทำกุฏี
จ. ไม้ที่จะพึงถวายท่านนั้นไม่มี มีแต่ไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร
เก็บไว้ใช้ในคราวมีอันตราย ถ้าพระเจ้าแผ่นดินสั่งให้พระราชทานไม้เหล่านั้น
ท่านจงให้คนขนไปเถิด
ธ. ไม้เหล่านั้น พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแล้วพนักงานรักษาไม้คิดว่า พระสมณเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้
เป็นผู้ประพฤติธรรม กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้พระเจ้าแผ่นดิน
ก็ทรงเลื่อมใสในพระสมณเหล่านี้ยิ่งนัก พระธนิยะย่อมไม่บังอาจกล่าว สิ่งที่พระเจ้าแผ่นดิน
ยังไม่ได้พระราชทานว่า พระราชทานแล้ว จึงยอมพระธนิยะสั่งให้ตัดไม้เหล่านั้น
เป็นท่อนน้อยใหญ่ บรรทุกเกวียนไป แล้วนำไปทำกุฏีไม้
วัสสการพราหมณ์ตรวจราชการ
วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในมคธรัฐไปตรวจราชการ
ในกรุงราชคฤห์
ได้เข้าไปหาพนักงานป่าไม้ แล้วถามว่า ไม้หลวงที่สงวนไว้อยู่ที่ใด
พนักงานป่าไม้ตอบว่า ไม้เหล่านั้น พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานแก่พระธนิยะไปแล้ว
วัสสการพราหมณ์ไม่พอใจ
จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร
กราบทูลถามเรื่องการพระราชทานไม้หลวงนั้นแก่พระธนิยะ
พ. ใครพูดอย่างนั้น
ว. พนักงานป่าไม้พูด พระพุทธเจ้าข้า
พ. ถ้าเช่นนั้นจงให้คนไปนำพนักงานป่าไม้มา
วัสสการพราหมณ์จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ จองจำเจ้าพนักงานรักษาไม้มา
พระธนิยะ เห็นเจ้าพนักงานรักษาไม้ ถูกเจ้าหน้าที่จองจำนำ ไปจึงถามสาเหต
ุเมื่อทราบแล้ว พระธนิยะจึงได้เข้าไปสู่ พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าพิมพิสาร เสด็จเข้าไปหาพระธนิยะ อภิวาท แล้วประทับนั่ง
ณ ที่ควร ตรัสถามว่า ไม้หลวงที่สงวนไว้นั้น พระองค์ได้ถวายแก่พระธนิยะจริงหรือ
ธ. จริงอย่างนั้น
พ. โยมเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีกิจมาก แม้ถวายแล้วก็ระลึกไม่ได้
ขอได้โปรดให้ระลึกได้ด้วย
ธ. ครั้งพระองค์ครองราชย์ใหม่ ๆ ได้ทรงเปล่งวาจาว่า หญ้าไม้และน้ำข้าพเจ้าถวายแก่สมณะและ
พราหมณ์ทั้งหลาย
ขอให้สมณะพราหมณ์ทั้งหลายโปรดใช้สอยเถิด
พ. โยมระลึกได้ สมณะพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้มีความละอาย มีความรังเกียจใคร่ต่อสิกขามีอยู่
คำกล่าวนั้นโยมหมายถึงหญ้าไม้และน้ำนั้น
อยู่ในป่าไม่มีใครหวงแหน พระคุณเจ้านั้นย่อมสำคัญเพื่อจะนำไม้
ที่เขาไม่ได้ให้ไปด้วยเลศนั้น
พระเจ้าแผ่นดินเช่นโยมจะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศซึ่งสมณะหรือ
พราหมณ์อย่างไรได้
นิมนต์กลับไปเถิด พระคุณเจ้ารอดตัวเพราะบรรพชาเพศแล้ว
แต่อย่าทำอย่างนั้นอีก
ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
คนทั้งหลายเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
เหล่านี้ไม่ละอาย
ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม
ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม
ติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้
แม้พระเจ้าแผ่นดินยังหลอกลวงได้
ไฉนจักไม่หลอกลวงคนอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ
ติเตียนบรรดาที่เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ
ติเตียน
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น
ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระธนิยะว่า เธอได้ถือเอาไม้หลวง
ที่เขาไม่ได้ให้ไป
จริงหรือ พระธนิยะทูลรับว่า จริง พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า
โมฆบุรุษ
การกระทำของเธอนั่นไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ฯลฯ
สมัยนั้น มีมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่ง บวชในหมู่ภิกษุ พระองค์จึงตรัสถามว่า
พระเจ้า
พิมพิสารจับโจรได้แล้ว
ประหารชีวิตบ้าง จองจำบ้าง เนรเทศบ้าง เพราะทรัพย์ประมาณเท่าใด
ภิกษุ
รูปนั้นกราบทูลว่า
เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง
เพราะของควรค่าหนึ่งบาทบ้าง เกินบาทหนึ่งบ้าง
พระพุทธเจ้าข้า
ในสมัยนั้นทรัพย์
5 มาสก ในกรุงราชคฤห์เป็นหนึ่งบาท ครั้นพระผู้มีพระภาค
ทรงติเตียนพระธนิยะโดยอเนกปริยายแล้ว
จึงตรัสโทษแห่งการเป็นคนเลี้ยงยาก
บำรุงยาก มักมาก
ไม่สันโดษ
ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแก่ความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย
มักน้อย
ความสันโดษ
ความขัดเกลา
ความจำกัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่เหมาะสม การปรารภความเพียร
โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น
ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย
อาศัยอำนาจประโยชน์
10 ประการ คือ ความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1
ฯลฯ พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระปฐมบัญญัติ
2.
ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย
พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว
ถึงประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร
เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นขโมย ในเพราะถือเอาทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ เห็นปานใด
ภิกษุถือเอาทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ก็นปาราชิก
หาสังวาสมิได้
เรื่อง พระฉัพพัคคีย์
สมัยนั้น พระฉัพพัคคียได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมแล้วนำมาแบ่งปันกัน ภิกษุทั้งหลายพากันพูดว่า
พวกท่านเป็นผู้ที่บุญมาก เพราะผ้าเกิดแก่พวกท่านมาก
ฉ. บุญพวกผมจักมีแต่ไหน พวกผมได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมา
ภิ. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เหตุใดพวกท่านจึงไปลักห่อผ้าของช่างย้อมมา
ฉ. จริงเช่นนั้น แต่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติเฉพาะในเขตบ้านไม่ได้บัญญัติไปถึงในป่า
ภิ. พระบัญญัตินั้นย่อมเป็นได้เหมือนกันทั้งนั้น การกระทำของพวกท่านไม่เหมาะ
ฯลฯ
ครั้นภิกษุเหล่านั้น
ติเตียน พระฉัพพัคคีย์โดยเอนกปริยายแล้ว ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ฯลฯ พวกเธอพึงยกสิกขานี้ขึ้นแสดงว่าดังนี้
พระอนุบัญญัติ
2
ก. ภิกษุใด
ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย
จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ฯลฯ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก
หาสังวาสมิได้
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ มีอธิบายว่า ทรัพย์อันใดอันเจ้าของไม่ได้ให้
ไม่ได้ละวาง
ยังรักษาปกครองอยู่
ยังถือกรรมสิทธิ์อยู่ว่าเป็นของเรา ยังมีผู้หวงแหน
บทว่าด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ได้แก่ จิตคิดขโมย คิดลัก
ฯลฯ
บทว่า ถือเอา เอาไป เอาลง ยังอิริยาบทให้กำเริบ
ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย
ที่ชื่อว่าเห็นปานใด คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี
เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี
ที่ชื่อว่า โจร มีอธิบายว่า ผู้ใดถือเอาสิ่งของอันเขาไม่ได้ให้
ได้ราคา 5 มาสกหรือเกินกว่าก็ดี
ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย
บทภาชนีย
มาติกา
ทรัพย์อยู่ในดิน ตั้งอยู่บนดิน ลอยอยู่ในอากาศ ตั้งอยู่ในที่แจ้ง
ตั้งอยู่ในน้ำ
เรือและทรัพย์ที่อยู่ในเรือ
ยานและทรัพย์ที่อยู่ในยาน ทรัพย์ที่ตนนำไป สวนและทรัพย์ที่อยู่ในสวน
ที่อยู่
ในวัด
นาและทรัพย์ที่อยู่ในนา พื้นที่และทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ อยู่ในบ้าน
ป่าและทรัพย์ที่อยู่ในป่า น้ำ ไม้
ชำระพัน
ต้นไม้ เจ้าป่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ที่เขาฝากไว้
ภาษี สัตว์มีชีวิต สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์สี่เท้า
สัตว์มีเท้ามาก
สัตว์สองเท้า ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก
การนัดหมาย การทำนิมิต ฯ
ภูมมัฏฐวิภาค
ทรัพย์ตั้งอยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ในแผ่นดิน ภิกษุมีไถยจิต
คิดจะลักทรัพย์
เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ตาม แสวงหาจอบหรือตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตาม
ตัดไม้หรือเถาวัลย์
ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น
คุ้ยโกยขึ้นซึ่งดินร่วน จับต้องหม้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้หม้อไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้หม้อเคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไป
ถูกต้องทรัพย์
ควรแก่ถึง
5 มาสก หรือเกินกว่า ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว จับที่สุดยกขึ้น
ดึงครูดออกไป
ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้พ้นปากหม้อโดยที่สุด แม้ชั่วเส้นผม
ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถย
จิตดื่มเนยใส
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ควรแก่ค่า 5 มาสก
หรือเกินกว่า ด้วยประโยคอันเดียว
ต้องอาบัติปาราชิก
ทำลายเสีย ทำให้หกล้น เทเสีย ทำให้บริโภคไม่ได้ ในที่นั้นเองต้องอาบัติทุกกฏ
กัลฏฐวิภาค
ทรัพย์ตั้งอยู่บนพื้นดิน ได้แก่ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้น
ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์
เที่ยวแสวงหาเพื่อน เดินไป ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
อากาสัฏฐวิภาค
ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ได้แก่ทรัพย์ที่ไปในอากาศ ภิกษุมีไถยจิต
ฯลฯ
เที่ยวแสวงหาเพื่อน
เดินไป หยุดอยู่ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว
ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก
เวหาสัฏฐวิภาค
ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ได้แก่ทรัพย์ที่แขวนไว้ในที่แจ้งแม้บนเชิงรองบาตร
ภิกษุมีไถยจิต
ฯลฯ
อุทกัฏฐวิภาค
ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ
ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
เที่ยวแสวงหาเพื่อน
เดินไป ดำลง โผล่ขึ้น ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน
ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต จับดอกอุบล เง่าบัว
ปลา หรือเต่า ที่เกิดในน้ำ มีราคา
5 มาสก หรือเกินกว่า ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน
อาบัติปาราชิก
นาวัฏฐวิภาค
เรือ ได้แก่ พาหนะสำหรับข้ามน้ำ ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ
ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ แก้เครื่องผูก แก้เครื่องผูกแล้ว
ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก
ยานัฏฐวิภาค
คาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม ภิกษุมีไถยจิต
ฯลฯ
ภารัฏฐวิภาค
ทรัพย์ที่ตนนำไป ได้แก่ ภาระบนศรีษะ ที่คอ
ที่สะเอว ที่หิ้วไป ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ภาระบนศรีษะ
อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวอาบัติถุลลัจจัย ลดลงสู่คอ อาบัติปาราชิก
จับต้องการะที่เอว อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ถือไปด้วยมือ
อาบัติปาราชิก
อาราปัฏฐวิภาค
สวน ทรัพย์ในสวน ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวน
โดยฐาน 4 คือ ฝังอยู่ในดิน 1 ตั้งอยู่บนดิน 1 ลอยอยู่ในอากาศ
1 แขวนอยู่ในที่แจ้ง 1 ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
จับต้องรากไม้
เปลือกไม้
ใบไม้ ผลไม้
ที่เกิดในสวนนั้น ได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า ต้องอาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อน อาบัติปาราชิก
ภิกษุตู่เอาที่สวน อาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยแก่เจ้าของอาบัติถุลลัจจัย
เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา
อาบัติปาราชิก ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ อาบัติปาราชิก
ถ้าแพ้เจ้าของอาบัติถุลลัจจัย
วิหารัฏฐวิภาค
ทรัพย์อยู่ในวัด ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัดโดยฐาน 4 ภิกษุมีไถยจิต
ฯลฯ
เขตตัฎฐวิภาค
บุพพัณชาติ หรือ อปรัณณชาติ เกิดในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า
นา
ทรัพย์ที่อยู่ในนา ภิกษุใดมีไถยจิต ฯลฯ ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก
ล้อมรั้ว หรือ ถมคันนาให้รุกล้ำ อาบัติทุกฏ เมื่ออีกประโยคหนึ่งจะสำเร็จ
อาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จ
อาบัติปาราชิก
วัตถุฏฐวิภาค
พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่สวน พื้นที่วัด ทรัพย์อยู่ในพื้นที่
ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
คามัฏฐวิภาค
ทรัพย์อยู่ในบ้าน ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
อรัญญัฏฐ
ป่า ได้แก่ ป่าที่มนุษย์หวงห้าม ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้เถาวัลย์ หญ้า ที่เกิดในป่านั้น ได้ราคา 5 มาสก
หรือมากกว่า ฯลฯ
อุทกวิภาค
น้ำ ได้แก่ น้ำที่อยู่ในภาชนะ หรือที่ขังอยู่ในสระโบกขรณี
หรือในบ่อ ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง อาบัติทุกกฏ
ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก หย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้อง
น้ำ ได้ราคา 5 มาสก หรือมากกว่า
อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ทำให้ไหลเข้าภาชนะของตน อาบัติปาราชิก
ภิกษุทำลายคันนา อาบัติทุกกฏ ทำลายคันนาแล้ว ทำน้ำให้ไหลออกไป ได้ราคา 5 มาสก
หรือ เกินกว่า อาบัติปาราชิก
ทำให้น้ำไหลเกิน 1 มาสก หรือหย่อนกว่า 5 มาสก อาบัตถุลลัจจัย
ทันตโปณวิภาค
ไม้ชำระพัน ได้แก่ ที่ตัดแล้วและยังไม่ได้ตัด ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
วนัปปติวิภาค
ต้นไม้ เจ้าป่า ได้แก่ ต้นไม้ที่คนทั้งหลายหวงห้าม เป็นไม้ที่ใชสอยได้
ภิกษุมีไถยจิตตัด อาบัติทุกกฏ
ทุกครั้งที่ฟัน เมื่อมีการฟันอีกครั้งหนึ่งจะสำเร็จ อาบัติถุลลัจจัย เมื่อการตัดฟันนั้นสำเร็จ
อาบัติปาราชิก
หรณวิภาค
ทรัพย์มีผู้นำไป ได้แก่ ทรัพย์ที่ผู้อื่นนำไป ภิกษุมีไถยจิต
ฯลฯ ภิกษุคิดว่าจักนำทรัพย์ พร้อมกับคนผู้นำทรัพย์ไป แล้วให้ย่างเท้าเก้าที่หนึ่งไป
อาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าก้าวที่สองไป อาบัติปาราชิก ภิกษุคิดว่าจักเก็บทรัพย์ที่ตก
แล้วนำทรัพย์นั้นให้ตก มีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่ตก อันได้ราคา 5 มาสก หรือ
เกินกว่า
อาบัติทุกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก
อุปนิธิวิภาค
ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ ทรัพย์ที่ผู้อื่นให้เก็บไว้ ภิกษุรับของฝาก
เพื่อเจ้าของกล่าวขอคืน ภิกษุกล่าวปฏิเสธว่าไม่ได้รับของไว้ อาบัติทุกกฏ
ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ อาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าไม่ให้แก่เรา
อาบัติปาราชิก ภิกษุฟ้องยังโรงศาล ฯลฯ
สุงกขาตวิภาค
ด่านภาษี ได้แก่ สถานที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งไว้
ภิกษุผ่านเข้าไปในด่านภาษีนั้น แล้วมีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสียภาษี
ซึ่งมีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวย่างเท้า
ก้าวที่หนึ่งล่วงด่านภาษีไป อาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่สอง
ล่วงด่านภาษีไป อาบัติปาราชิก ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี
อาบัติปาราชิก หลบเลี่ยงภาษี อาบัติทุกกฏ
ปาณวิภาค
สัตว์มีชีวิต หมายถึงมนุษย์ที่ยังมีลมหายใจ ภิกษุมีไถยจิต
ฯลฯ ภิกษุคิดว่าจักพาให้เดินไปแล้วก้าวเท้าที่หนึ่ง อาบัติถุลลัจจัย
ให้ก้าวเท้าที่สอง
อาบัติปาราชิก
อุปทวิภาค
สัตว์ไม่มีเท้า ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตย์ไม่มีเท้า มีราคา
5 มาสก หรือเกินกว่า ฯลฯ
ทวิปทวิภาค
สัตว์ 2 เท้า ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
จตุปทวิภาค
สัตว์ 4 เท้า ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ คิดว่าจักพาเดินไปแล้วก้าวที่
1, 2, 3 อาบัติถุลลัจจัย ก้าวที่ 4 อาบัติปาราชิก
พหุปทวิภาค
สัตว์มีเท้ามาก ภิกษุมีไถยจิต จัขต้องสัตว์นั้นมีราคา 5 มาสก
หรือ เกินกว่า ฯลฯ ภิกษุคิดว่า จักเดินนำไปแล้วย่างเท้าก้าวไป อาบัติถุลลัจจัย
ทุก ๆ ก้าว ที่ 4 อาบัติปาราชิก
โอจรกวิภาค
ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุสั่งกำหนดทรัพย์ว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้
อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้น ลักทรัพย์มาได้
ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง 2 รูป
โอณิรักขวิภาค
ภิกษุผู้รับของฝาก ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา 5 มาสก
หรือเกินกว่า ฯลฯ
สังธารวหารวิภาค
การชักชวนกันไปลัก
ได้แก่ ภิกษุหลายรูปชักชวนกัน แล้วรูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้
อาบัติปาราชิกทุกรูป
สังเกตกัมมวิภาค
การนัดหมาย ภิกษุทำการนัดหมายว่าท่านจงลักทรัพย์นั้น
ตามคำนัดหมายนั้น
ในเวลาเช้า
เย็น กลางคืน กลางวัน อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้นตามคำนัดหมายนั้น
อาบัติปาราชิกทั้งสองรูป ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้น
ได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ผู้นัดหมายไม่อาบัติ ผู้ลักอาบัติปาราชิก
นิมิตกัมมวิภาค
การทำนิมิต ภิกษุทำนิมิตนั้น อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป
ภิกษุลักทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือ
หลังนิมิตนั้น
ผู้ทำนิมิตนั้นไม่อาบัติ ผู้ลักอาบัติปาราชิก
อาณัติติกประโยค
ภิกษุสั่งภิกษุว่าท่านลงลักทรัพย์ชื่อนั้น อาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์นั้นแน่
แต่ลักทรัพย์อย่างอื่นมา
ภิกษุผู้สั่งไม่อาบัติ ภิกษุผู้ลักอาบัติปาราชิก ถ้าภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่น
แต่ลักทรัพย์นั้นมา
อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ถ้าภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่น จึงลักทรัพย์อย่างอื่นมา
ภิกษุผู้สั่งไม่อาบัติ ภิกษุผู้ลักอาบัติปาราชิก ภิกษุสั่งภิกษุว่า
ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อนี้มา ดังนี้อาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้รับคำสั่งบอกแก่ภิกษุนอกนี้ อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำภิกษุผู้สั่งเดิม
อาบัติถุลลัจจัย ภิกษุหลักลักทรัพย์นั้นมาได้ อาบัติปาราชิกทุกรูป
ภิกษุสั่งภิกษุว่าท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้มีชื่อย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อสิ่งนี้มา อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้นมาได้
ภิกษุผู้สั่งเดิมไม่อาบัติ ภิกษุผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก อาบัติปาราชิก
ถ้าภิกษุรับคำสั่งให้ลักทรัพย์ไปแล้วกลับมาบอกว่า ผมไม่อาจลักทรัพย์นั้นได้
ภิกษุผู้นั้นสั่งใหม่ว่า ท่านสามารถเมื่อใด
จงลักทรัพย์นั้นเมื่อนั้น
อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้นมาได้ อาบัติปาราชิกทั้ง 2
รูป ถ้าภิกษุผู้สั่งให้ลักทรัพย์
ครั้นสั่งไปแล้วเกิดความร้อนใจ
แต่ไม่พูดให้ได้ยินว่าอย่าลักเลย ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้นมาได้ อาบัติปาราชิกทั้งสองรูป
แต่ถ้าเกิดความร้อนใจ
แล้วพูดให้ได้ยินว่าอย่าลักเลย ภิกษุผู้ลักทรัพย์ตอบว่า ท่านสั่งผมแล้ว
แล้วลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่อาบัติ ภิกษุผู้ลักอาบัติปาราชิก
ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น
รับคำว่าดีละแล้วงดเสีย ไม่อาบัติทั้งสองรูป
อาการแห่งอวหาร
อาการ 5 อย่าง
ปาราชิกาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของ ไม่ได้ให้ด้วยอาการ
5 อย่างคือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน 1 มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน
1 ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 1 ไถยจิตปรากฏขึ้น
1 ภิกษุลูบคลำ อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก 1 ถุลลัจจัยาบัติพึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ
5 อย่าง คือ ฯลฯ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า 1
มาสก หรือหย่อนกว่า 5 มาสก 1 ไถยจิตปรากฏขึ้น 1
ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหว อาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน
อาบัติถุลลัจจัย 1 ทุกฏาบัตร พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ
5 อย่าง คือ ฯลฯ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา 1 มาสกหรือน้อยกว่า
ไถยจิตปรากฏขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหวให้เคลื่อนจากฐานอาบัติทุกกฏ
อาการ 6 อย่าง
ปาราชิกกาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ
6 อย่าง คือ
มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน
1 มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ 1 มิใช่ขอยืม 1
ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า
1
ไถยจิตเกิดขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก 1 ถุลลัจจัย พึงมีแก่ภิกษุ ฯลฯ
ทรัพย์ที่มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า 1 มาสก หรือหย่อนกว่า
1 ไถยจิตปรากฏขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหว
อาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐานอาบัติปาราชิก ทุกกฏอาบัติ ถึงมีแก่ภิกษุ
ฯลฯ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา 1 มาสก หรือหย่อนกว่า 1
ไถยจิตปรากฏขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหว ให้เคลื่อนจากฐาน
อาบัติทุกกฏ
อาการ 5 อย่าง
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้ด้วยอาการ 5 อย่าง
คือ ทรัพย์อันมิใช่ของผู้อื่นหวงแหน 1 มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน
1 ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 1 ไถยจิตปรากฏขึ้น
1 ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหว ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติทุกกฏ
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุ ฯลฯ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา 1 มาสก หรือหย่อนกว่า
1 ฯลฯ
วินีตวัตถุ
อุทานคาถ
รวม 144 เรื่อง
เรื่องช่างย้อม 5 เรื่อง
1. พระฉัพพัคคีย์ ลักห่อผ้าของช่างย้อมไป ฯลฯ พวกเขาต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดแล้ว
ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด
3. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตจับต้องผ้านั้น
ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
4. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้ไหวแล้ว
ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
5. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐาน
ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
ฯ
เรื่อง ผ้าห่มที่ตาก 4 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง พบผ้าห่มที่เขาตากไว้ มีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นแล้ว
ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตจับต้องแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตยังผ้านั้นให้ไหวแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐาน ฯลฯ
ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง กลางคืน 4 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วทำนิมิตด้วยหมายใจว่า
จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมาแล้ว ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์อื่นมาแล้ว
ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ จักลักทรัพย์ในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์อื่นแต่ลักทรัพย์นั้นมาแล้ว
ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เธอเข้าใจทรัพย์อื่นจึงลักทรัพย์อื่นมาแล้ว ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์ของตนมาแล้ว
ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่อง ทรัพย์ที่ภิกษุนำไปเอง 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งนำทรัพย์ผู้อื่นไป มีไถยจิตจับต้องภาระบนศรีษะแล้ว
ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิตยังภาระบนศีรษะให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
..... มีไถยจิตลดภาระบนศรีษะลงสู่คอ ..... อาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตจับต้องภาระที่คอแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
..... มีไถยจิตยังภาระที่คอให้ไหว ..... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ..... มีไถยจิตลดภาระที่คอลงสู่เอว
..... อาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ จับต้องภาระที่เอว มีความรังเกียจว่า
ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ ..... มีไถยจิตยังภาระที่เอวให้ไหว ..... อาบัติถุลลัจจัย
..... มีไถยจิต ลดภาระที่เอวลงถือด้วยมือ ..... ต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุรูปหนึ่ง วางภาระในมือลงบนพื้น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ หยิบทรัพย์นั้นขึ้นจากพื้นดินแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ตอบตามคำถามนำ 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้กลางแจ้งแล้วเข้าไปสู่วิหารภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า
จีวรนี้อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของออกมา ถามภิกษุนั้นว่าจีวรของผมใครลักไป
ภิกษุนั้นตอบว่า ผมลักไป พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่าเธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าตอบคำถามนำ ภ. ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง พาดจีวรไว้บนตั่ง ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ
เพราะตอบตามคำถามนำ
3. ภิกษุรูปหนึ่งพาดผ้านิสันทนะไว้บนตั่ง ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ ฯลฯ
ไม่เป็นอาบัติ
4. ภิกษุณี รูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้ที่รั้ว ภิกษุณีอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
เรื่อง ลม 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าสาฏกถูกลมบ้าหมูพัดหอบไปจึงเก็บไว้ ตั้งใจว่าจักให้เจ้าของ
เจ้าของโจทภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีไถยจิต
พ. ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิตไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ถือเอาผ้าโพกที่ถูกลมบ้าหมูหอบไปด้วยเกรงว่า
เจ้าของจะเห็นเสียก่อน ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า
พ. เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ศพที่ยังสด
ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้าแล้ว ถือเอาผ้าบังสุกุลที่ศพสดและในร่างศพนั้นมีเปรตสิงอยู่
เปรตกล่าวว่า ท่านอย่าได้ถือเอาผ้าสาฏกของข้าพเจ้าไป ภิกษุนั้นไม่เอื้อเฟื้อได้ถือเอาไป
ศพนั้นได้ลุกตามภิกษุนั้นไป เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปสู่วิหารปิดประตู
ศพนั้นได้ล้มลง ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อันผ้าบังสุกุลที่ศพสด
ภิกษุทั้งหลายไม่พึงถือเอา ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง สับเปลี่ยนสลาก
ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตสับเปลี่ยนสลาก แล้วรับจีวรซึ่งภิกษุจีวรภาชกะแจกอยู่ไป
ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง เรือนไฟ
พระอานนท์ สำคัญผ้าอันตรวาสกของภิกษุรูปหนึ่งในเรือนไฟ
ว่าเป็นของตนจึงเอาไปนุ่ง ภิกษุนั้นถามพระอานนท์ว่า ไฉนท่านจึงนุ่งอันตรวาสกของผมเล่า
พระอานนท์ตอบว่า ผมเข้าใจว่าเป็นของผม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุผู้มีความเข้าใจว่าของตนไม่ต้องอาบัติ ฯ
เรื่อง เนื้อเดนสัตว์ 5 เรื่อง
1. ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏพบเนื้อเดนราชสีห์ จึงให้อนุปสัมบันต้มแกงฉัน
ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้อเดนราชสีห์
2. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้อเดนเสื้อโคร่ง
3. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้อเดนเสือดาว
4. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้ออันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน
เรื่อง ส่วนไม่มีมูล 5 เรื่อง
1. ขณะที่ภัตตุทเทสก์กำลังแจกข้าวสุกของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า
ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก
แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
2. ภิกษุขัชชภาชกะกำลังแจกจ่ายของเคี้ยวของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง
ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
3. ภิกษุปุวภาชกะกำลังแจกขนมของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
4. ภิกษุอุจฉุภาชกะกำลังแจกอ้อยของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
5. ภิกษุผลภาชกะกำลังแจกผลมะพลับของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่อง ข้าวสุก
ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ร้านขายข้าว แล้วมีไถยจิตลักข้าวสุกไปเต็มบาตร
ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง เนื้อ
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปที่ร้านขายแกงเนื้อ มีไถยจิตลักเนื้อไปเต็มบาตร
ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ขนม
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในร้านขายขนม มีไถยจิตลักขนมไปเต็มบาตร ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง น้ำตาลกรวด
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในร้านขายน้ำตาลกรวด แล้วมีไถยจิตลักน้ำตาลกรวดไปเต็มบาตร
ฯลฯ เธอต้องปาราชิกแล้ว
เรื่อง ขนมต้ม
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในร้านขายขนมต้ม มีไถยจิตลักขนมต้มไปเต็มบาตร ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง บริขาร 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ว่าจักลักในกลางคืน
ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่
จึงลักบริขารนั้น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขารอื่น
ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น แต่ลักบริขารนั้น
ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น จึงลักบริขารอื่น
ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขารของตนว่า
ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง ถุง
ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นถุงวางอยู่บนตั่ง แล้วคิดว่าถ้าเราถือเอาไปจากตั่งนี้
จักเป็นปาราชิก
จึงยกถือเอาพร้อมทั้งตั่ง
ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ฟูก
ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตคิดลักฟูกของสงฆ์ ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ราวจีวร
ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักจีวรที่ราวจีวรไป ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ไม่ออกไป
ภิกษุรูปหนึ่ง ลักจีวรในวิหาร แล้วคิดว่าถ้าเราออกจากวิหารนี้ไปจักเป็นปาราชิก
จึงไม่ออกจากวิหาร พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า โมฆบุรุษนั้นจะพึงออกไปก็ตาม
ไม่ออกไปก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ถือวิสาสะฉันของเคี้ยว
ภิกษุสองรูปเป็นเพื่อกัน รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน รูปที่สองได้รับเอาของเคี้ยว
ของสงฆ์ที่ภิกษุภัตตุทเทสก์แจกอยู่อันเป็นส่วนของเพื่อน
แล้วถือวิสาสะฉันส่วนของเพื่อนนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งทราบแล้วได้โจทภิกษุรูปที่สองว่าไม่เป็นสมณะ
ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าถือวิสาสะ
พ. ไม่เป็นอาบัติ เพราะถือวิสาสะ
เรื่อง ฉันของเคี้ยวด้วยสำคัญว่าของตน 2 เรื่อง
1. ภิกษุหลายรูปกำลังทำจีวรกันอยู่ภิกษุต่างนำของเคี้ยวของสงฆ์ซึ่งภิกษุขัชชภาชกะ
แจกอยู่ที่เป็นส่วนของตนเก็บไว้
ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญส่วนของภิกษุอีกรูปหนึ่งว่าของตนจึงฉัน ฯลฯ
ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าของตน
2. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่งได้เอาบาตรของภิกษุอีกรูปหนึ่งไป
นำส่วนของตนมาเก็บไว้ ภิกษุเจ้าของบาตรสำคัญว่าของตนจึงฉัน ฯลฯ
ไม่เป็นอาบัติ ฯลฯ
เรื่อง ไม่ลัก 7 เรื่อง
1. พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงให้หล่น แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้นไป
พวกขโมยทิ้งห่อมะม่วงหนีไป ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่าเป็นของบังสุกุล
จึงพากันเก็บมะม่วงห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่าไม่เป็นสมณะ
พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า พวกเธอคิดอย่างไร
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
พ. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
2. - 7. พวกขโมยลักชมพู่ ลักขนุน สำมะลอ ลักขนุน ลักผลตาลสุก
ลักอ้อย ลักมะพลับ ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
เรื่อง ลัก 7 เรื่อง
1 สมัยนั้น พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงหล่นแล้วห่อถือไป
พวกเจ้าของติดตามพวกขโมย พวกขโมยจึงได้ทิ้งห่อมะม่วงหนีไป
ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็นแล้วมี ไถยจิตฉันเสียก่อน
ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. - 7. พวกขโมยลักชมพู่ ลักขนุน สำมะลอ ลักขนุน
ลักผลตาลสุก ลักอ้อย ลักมะพลับ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ลักของสงฆ์ 7 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักมะม่วงของสงฆ์ ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิก
2. - 7. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักชมพู่ของสงฆ์ ลักขนุนสำมะลอของสงฆ์
ลักขนุนของสงฆ์ ลักผลตาลสุกของสงฆ์ ลักอ้อยของสงฆ์
ลักมะพลับของสงฆ์ ฯลฯ อาบัติปาราชิก
เรื่อง ลักดอกไม้ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักดอกไม้ที่เขาเก็บไว้ ได้ราคา
5 มาสก ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักเก็บดอกไม้ ได้ราคา
5 มาสก ฯลฯ อาบัติปาราชิก
เรื่อง พูดตามคำบอก 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจะไปสู่บ้านได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า
ผมจะบอกสกุลอุปัฏฐาก
ของท่านตามที่ท่านบอก
ภิกษุนั้นไปถึงจึงให้เขานำผ้าสาฏกมาผืนหนึ่ง แล้วใช้เสียเอง ฯลฯ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
แต่ภิกษุทั้งหลายไม่พึงกล่าวว่า ผมบอกตามที่ท่านบอก รูปใดกล่าวต้องอาบัติทุกกฎ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นจึงให้เขานำผ้าสาฏกมาคู่หนึ่ง
แล้วใช้เสียเอง 1 ผืน ให้ภิกษุผู้บอก 1 ผืน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฎ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุรูปนั้นจึงให้เขานำเนยใส 1
อาฬหก น้ำอ้อยงบ 1 ดุล ข้าวสาร
1 โทณะ มาแล้วฉันเสียเอง ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง นำแก้วมณีล่วงด่านภาษี 3 เรื่อง
1. บุรุษผู้หนึ่งนำแก้วมณีซึ่งมีราคามาก เดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง
ครั้นบุรุษนั้น
เห็นด่านภาษีจึงหย่อนแก้วมณีลงในถุงย่ามของภิกษุนั้น
ผู้ไม่รู้ตัวเดินพ้นด่านภาษีไปแล้ว จึงถือนำไปเอง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
เธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ตัว พ. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัวไม่ต้องอาบัติ
2. บุรุษผู้หนึ่ง ฯลฯ ครั้นบุรุษเห็นด่านภาษี จึงทำลวงว่าเป็นไข้
แล้วได้ให้ห่อของตนแก่ภิกษุนั้น ครั้นพ้นด่านภาษีแล้วจึงกล่าวว่าขอจงนำห่อของของผมมา
ผมไม่ได้เป็นไข้ ภิกษุนั้นจึงถามว่า
ท่านทำเช่นนั้นเพื่ออะไร
เมื่อบุรุษนั้นแจ้งความแก่ภิกษุนั้นแล้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
เธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พ. ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางไกลไปกับพวกเกวียน บุรุษหนึ่งเกลี้ยกล่อมภิกษุนั้นด้วยอามิส
แล้วเห็นด่านภาษี จึงส่งแก้วมณีซึ่งมีราคามากให้ภิกษุนั้นโดยขอร้องว่า
ขอท่านจงช่วยนำแก้วมณีนี้
ผ่านด่านภาษีด้วย
ภิกษุนั้นนำแก้วมณีผ่านด่านภาษี ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ปล่อยหมู 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสงสาร ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วง
ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ
พ. ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วงไปเสียก่อนด้วยคิดว่า
พวกเจ้าของจะเห็น ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต
พ. เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ปล่อยเนื้อ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสงสารได้ปล่อยเนื้อที่ติดบ่วง ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ
พ. ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ปล่อยปลา 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสงสารได้ปล่อยปลาที่ติดลอบไป ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง กลิ้งทรัพย์ในยาน
ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นทรัพย์ในยานแล้วคิดว่า เราจักถือเอาไปจากยานนี้จักเป็นปาราชิก
จึงเขี่ยให้กลิ้งถือเอาไป ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ชิ้นเนื้อ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งได้ถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยวเฉี่ยวไป ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ
ฯลฯ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ไม้ 2 เรื่อง
1. คนทั้งหลายผูกไม้แพ แล้วให้ลอยไปตามกระแสในแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเครื่องผูกขาด
ไม้ได้ลอยกระจายไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่า เป็นของบังสุกุลจึงช่วยกันยกขนขึ้น
ฯลฯ ภิกษุผู้มีความว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ
2. คนทั้งหลายผูกแพไม้แล้ว ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายมีไถยจิตช่วยกันขนขึ้นเสียก่อนด้วยคิดว่า
พวกเจ้าของเห็น ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ผ้าบังสุกุล
คนเลี้ยงโคคนหนึ่ง พาดผ้าสาฏกไว้ที่ตนไม้ ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุล
จึงถือเอาไป ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ข้ามน้ำ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งกำลังข้ามน้ำ ผ้าสาฏกที่หลุดจากมือพวกช่างย้อม
ไปคล้องอยู่ที่เท้าภิกษุนั้น ๆ เก็บไว้ ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ
ฯลฯ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตยึดเอาไว้เสียก่อน
ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจักเห็น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ฉันทีละน้อย
ภิกษุรูปหนึ่งเห็นหม้อเนยใสแล้วฉันเข้าไปทีละน้อย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ชวนกันลักทรัพย์ 2 เรื่อง
1. ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไป ด้วยตั้งใจว่าจักลักทรัพย์
ภิกษุรูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก
ฯลฯ รูปใดลัก รูปนั้นเป็นปาราชิก ฯลฯ
2. ภิกษุหลายรูปชวนกันไปลักทรัพย์มาได้แล้วมาแบ่งกัน ภิกษุรูปหนึ่งได้ส่วนแบ่งไม่ครบ
5 มาสก จึงกล่าวว่าพวกเราไม่เป็นปาราชิก ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง กำมือ 4 เรื่อง
1. ในสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตคิดลักข้าวสารของชาวบ้าน
1 กำมือ ฯลฯ
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักถั่วเขียวของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ
ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ลักถั่วฝักยาวของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ
ต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ลักงาของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง เนื้อเดน 2 เรื่อง
1. พวกโจรฆ่าโคกินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้แล้วพากันไป
ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้ถือเอาไปฉัน ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. พวกโจร ฯลฯ ฆ่าหมู ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง หญ้า 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักหญ้าที่เขาเกี่ยวไว้ได้ราคา 5 มาสก ฯลฯ
ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตเกี่ยวหญ้า ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ให้แบ่งของสงฆ์ 7 เรื่อง
1. พระอาคันตุกะทั้งหลายยังกันและกันให้แจกมะม่วงของสงฆ์แล้วฉัน ฯลฯ
พ. พวกเธอคิดอย่างไร ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน
พ. คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ
2. - 7. พระอาคันตุกะทั้งหลาย ฯลฯ ให้แจกชมพู่ ขนุนสำมะลอ
ขนุน ผลตาลสุก อ้อย มะพลับของสงฆ์ แล้วฉัน
ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ไม่ใช่เจ้าของ 7 เรื่อง
1. พวกคนรักษามะม่วงได้ถวายมะม่วงแก่ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เพราะคนรักษาถวาย
2. - 7. พวกคนรักษาชมพู่ ขนุนสำมะลอ ขนุน ผลตาลสุก
อ้อย ผลมะพลับ ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ยืมไม้ของสงฆ์
ภิกษุรูปหนึ่งขอยืมไม้ของสงฆ์ไปค้ำฝาที่อยู่ของตน ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดขอยืม
พ. ไม่ต้องอาบัติ เพราะคิดยืม
เรื่อง ลักน้ำของสงฆ์
ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักน้ำของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ลักดินของสงฆ์
ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักดินของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง หญ้า 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตเผาหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพพระพุทธเจ้า คิดลัก
พ. เธอต้องอาบัติทุกกฎแล้ว
เรื่อง เสนาสนะของสงฆ์ 7 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักเตียงของสงฆ์ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าคิดลัก
พ. เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2.- 7. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักตั่ง ลักฟูก
ลักหมอน ลักบานประตู ลักม่านหน้าต่างลักไม้กลอน
ของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง มีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้
ภิกษุทั้งหลาย นำเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้สำหรับบริหารของอุบาสกคนหนึ่ง ไปใช้สอย
ณ ที่แห่งหนึ่ง ฯลฯ เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง อันภิกษุไม่พึงใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง
รูปใดใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง ของมีเจ้าของควรขอยืม
ภิกษุทั้งหลายมีความรังเกียจที่จะนำกระทั่งผ้าปูนั่งประชุมไปแม้ ณ โรงอุโบสถ
จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวก็ดี จีวรก็ดี แปดเปื้อนฝุ่น
จึงกราบทูล ฯลฯ เราอนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว
เรื่อง ภิกษุณีชาวเมืองจัมปา
อันเตวาสิกา ของภิกษุณีถุลลนันทา ไปสู่สกุล อุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทา
แล้วบอกว่า
แม้เจ้าปรารถนาจะดื่มยาคู
ตนสั่งให้เขาหุงหาให้แล้วนำไปฉันเสีย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์
เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่อง ภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์
ภิกษุณีอันเตวาสิกา ฯลฯ แม่เจ้าปรารถนาจะฉันขนมรวงผึ้ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตีย์
เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่อง พระอัชชุกะเมื่อเวสาลี
คหบดีอุปัฏฐากของท่านพระอัชชกะ มีเด็กชาย 2 คน คือบุตรชายคนหนึ่ง หลานชายคนหนึ่ง
คหบดีได้สั่งพระอัชชุกะว่า เด็ก 2 คนนี้ คนใดมีศรัทธาเลื่อมใส
จึงบอกสถานที่ซ่อนทรัพย์แก่คนนั้น ดังนี้แล้ว ได้ถึงแก่กรรม สมัยต่อมาหลานชายคหบดีนั้นเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
พระอัชชุกะจึงได้บอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้น
แก่หลายชาย
ๆ รวบรวมทรัพย์และเริ่มบำเพ็ญทานด้วยทรัพย์สมบัตินั้น ภายหลังบุตรชายคหบดีนั้นได้ถาม
พระอานนท์ว่า ใครเป็นทายาทของบิดาบุตรชายหรือหลานชาย พระอานนท์ตอบว่า
ธรรมดาบุตรชายเป็น
ทายาทของบิดา
บุตรชายคหบดีกล่าวว่า พระอัชชุกะได้บอกทรัพย์สมบัติของตนให้แก่คู่แข่งขันของตน
พระอานนท์จึงกล่าวว่า พระอัชชุกะไม่เป็นสมณะ พระอัชชุกะจึงขอให้พระอานนท์ให้การวินิจฉัยด้วย
ครั้งนั้นพระอุบาลีเป็นฝ่ายพระอัชชุกะจึงถามพระอานนท์ว่า ภิกษุอันใดเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่าให้บอกสถานที่
ฝังทรัพย์แก่บุคคลชื่อนี้แล้วบอกแก่บุคคลนั้น ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติด้วยหรือ
อ.ไม่ต้องอาบัติ โดยที่สุดแม้เพียง อาบัติทุกกฎ อุ.พระอัชชุกะไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง เมืองพาราณสี
สกุลอุปัฏฐากของพระปิสันทะวัจฉะ ถูกพวกโจรปล้น และเด็ก 2 คน ถูกพวกโจรนำตัวไป
ดังนั้น พระปิสันทะวัจฉะนำเด็ก 2 คนนั้นมาด้วยฤทธิ์แล้วให้อยู่ในปราสาท ชาวบ้านเห็นเด็ก
2 คนนั้นแล้วต่างพากัน เลื่อมใสในพระปิสันทวัจฉะเป็นอย่างยิ่ง ว่านี้เป็นฤทธานุภาพของพระปิสันทวัจฉะ
ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาว่า ไฉนพระปิสันทวัจฉะ จึงได้นำเด็กที่ถูกพวกโจรนำตัวไปแล้วคืนมาได้เล่า
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ๆ ตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์ของภิกษุผู้มีฤทธิ์
เรื่อง ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
ภิกษุ 2 รูป ชื่อปัณฑกะ 1 กปีละ 1 เป็นสหายกัน รูปหนึ่งอยู่ในหมู่บ้าน
อีกรูปหนึ่งอยู่ในเมืองโกสัมพี ขณะเมื่อภิกษุนั้น เดินทางจากหมู่บ้านไปเมืองโกสัมพี
ข้ามแม่น้ำในระหว่างทาง เปลวมันข้นที่หลุดจากมือของพวกคนฆ่าหมู ลอยติดอยู่ที่เท้า
ภิกษุนั้นเก็บไว้ด้วยตั้งใจ ว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ ๆ โจทภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ
สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่ง เห็นภิกษุนั้นข้ามแม่น้ำขึ้นมาแล้ว กล่าวว่านิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด
ภิกษุนั้นคิดว่า แม้โดยปกติเราก็ไม่เป็นสมณะแล้ว จึงเสพเมถุนธรรมในสตรีเลี้ยงโคนั้น
เมื่อไปถึงเมืองโกสัมพีแล้ว จึงแจ้งเรื่องนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ
จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค ๆ ตรัสว่า ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิกเพราะอทินนาทาน
แต่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุธรรม
เรื่อง สัทธิวิหารริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ
ภิกษุสัทธิวิหารริกของพระทัฬหิกะในเมืองสาคละ ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้วกล่าวว่าผมไม่เป็นสมณะจะลาสิกขาเพราะลักผ้าโพกของชาวร้าน
พระทัฬหิกะจึงให้นำผ้าโพกไปให้ชาวร้านตีราคา
ได้ราคาไม่ถึง 5 มาสก พระทัฬหิกะจึงชี้แจงว่า คุณไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นยินดียิ่งนัก
จบ
ทุติยปาราชิกสิกขาบท
| หน้าแรก | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | พระวินัยปิฎก | พระสุตตันตปิฎก |
บน |