|
| คำปฏิญาณของลูกเสือไทย | ข้อเตือนใจจากที่อื่นๆ | วรรณคดีไทยร้อยกรอง | โคลงพระราชพงศาวดาร | |
การเรียนหนังสือไทยสมัยก่อน
ระบบการศึกษาของไทย ได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เริ่มต้นด้วยการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อครั้งเป็นหลวงสารประเสริฐ
เรียบเรียงหนังสือแบบเรียนภาษาไทยขึ้นมาชุดหนึ่ง คือหนังสือมูลบทบรรพกิจ
วาหนิต์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์
เป็นแบบเรียนภาษาไทยว่าด้วยวิธีใช้ตัวอักษร พยัญชนะเสียงสูงต่ำ
การผันการประสมอักษร และตัวสะกดการันต์ เฉพาะมูลบทบรรพกิจ น่าจะมีเค้ามูลมาจากหนังสือจินดามณีอันว่าด้วยระเบียบภาษา
ซึ่งพระโหราธิบดีแต่งไว้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พร้อมทั้งได้แทรกเรื่องกาพย์พระไชยสุริยา ซึ่งสุนทรภู่ได้แต่งไว้ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าไว้เป็นตอน ๆ ไป กาพย์พระไชยสุริยาเป็นบทประพันธ์ที่ไพเราะและเป็นคติ
ในระยะต่อมากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงธรรมการ
ได้ประกาศใช้แบบหัดอ่านเบื้องต้น แบบเรียนเร็ว แต่ทุกเล่มก็ใช้หลักการเรียนการสอนจากหนังสือชุดนี้เป็นแม่บท
หลังจากที่ได้มีการนำระบบการเรียนแบบสหรัฐมาใช้ หลังปี พ.ศ. 2500 แล้วการหัดอ่านเขียนเบื้องต้นของเยาวชน
ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้ผู้ที่เคยเรียนหนังสือไทยเบื้องต้นมาแล้ว
และไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้
ผิดกับการเรียนหนังสือไทยแบบเดิมซึ่งเมื่อเรียนหนังสือไทยเบื้องต้นแตกแล้ว
จะสามารถอ่านเขียนหนังสือไทยได้ชั่วชีวิต
นอกจากนั้นการเรียนหนังสือไทยยังได้มีการนำคติสอนใจตามวิถีชีวิตไทย ในพื้นฐานแห่งพระพุทธศาสนามาสอดแทรกไว้ในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เด็กไทยเข้าใจวิถีชีวิตไทย และรักความเป็นไทย และมีความภูมิใจในมรดกของไทยอย่างลึกซึ้ง หนักแน่นไม่แคลนคลอนมาตั้งแต่ต้น
มูลบทบรรพกิจ
เป็นแบบเรียนหนังสือไทยในขั้นรากฐานเบื้องต้น ซึ่งเมื่อเรียนจบแล้วจะอ่านเขียนหนังสือไทยขั้นต้นได้อย่างดี
และนำไปสู่การเรียนรู้ในขั้นต่อไปได้ง่าย ดังนั้นมูลบทบรรพกิจจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญสูงสุด
หนังสือมูลบทบรรพกิจเริ่มด้วยการแสดงรูปสระ ตัวอักษร วรรณยุกต์
และเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ อักษรแบ่งออกเป็น 3 หมู่ คือ อักษรสูง
อักษรกลาง และอักษรต่ำ จากนั้นนำอักษรไปประสมเสียงตามสระเป็น
แม่ ก กา แล้วผันด้วยวรรณยุกต์ แจกด้วย แม่ กน แล้วผันด้วยวรรณยุกต์
แจกในแม่ กง แล้วผันด้วยวรรณยุกต์ แจกด้วยแม่ กก แม่ กด
แม่ กบ ทั้ง 3 แม่นี้ เป็นคำตาย ผันด้วย วรรณยุกต์ เอก
โท ไม่ได้ การมี ห นำ อักษรต่ำใน แม่ กก กด กบ แจกในแม่กม แล้วผันด้วยวรรณยุกต์ แจกด้วยแม่ เกย แล้วผันด้วยวรรณยุกต์
คำกลอนอ่านเทียบในแม่ก กา
(ใช้ตัวเขียนแบบเก่าเป็นบางคำ)
ยานี๑๑ ค
สะ ธุ สะ จะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา พ่อแม่แลครูบา
เทวะดาในราศี ค
ข้าเจ้าเอา
ก ข เข้ามาต่อ ก กา มี แก้ไขในเท่านี้
ดีมิดีอย่าตรีชา ค
จะร่ำคำต่อไป พอล่อใจ กุมารา ธรณีมีราชา
เจ้าภาราสาวะถี ค
ชื่อพระไชยสุริยา มีสุดามเหสี ชื่อว่าสุมาลี
อยู่บุรีไม่มีภัย ค
ข้าเฝ้า เหล่าเสนา มีกริยาอัชฌาสัย พ่อค้ามาแต่ไกล
ได้อาศัยในภารา ค
ไพร่ฟ้าประชาชี เชาบุรีก็ปรีดา ทำไร่เขาไถนา
ได้ข้าวปลาแลสาลี ค
อยู่มาหมู่ข้าเฝ้า ก็หาเยาวนารี ที่หน้าตาดีดี
ทำมโหรีที่เคหา ค
ค่ำเช้าเฝ้าสีซอ เข้าแต่หอล่อกามา หาได้ให้ภริยา
โลโภพาให้บ้าใจ ค
ไม่จำคำพระเจ้า เหไปเข้าภาษาไสย ถือดีมีข้าไท
ฉ้อแต่ไพร่ใส่ขื่อคา ค
คดีที่มีคู่ คือไก่หมูเจ้าสุภา ใครเอาข้าวปลามา
ให้สุภาก็ว่าดี ค
ที่แพ้แก้ชนะ ไม่ถือพระประเวณี ขี้ฉ้อก็ได้ดี
ไล่ด่าตีมีอาญา ค
ที่ซื่อถือพระเจ้า ว่าโง่เง่าเต่าปูปลา
ผู้เฒ่าเหล่าเมธา ว่าใบ้บ้าสาระยำ ค
ภิกษุสมณ เล่าก็ละพระสะธำม์ คาถาว่าลำนำ
ไปเร่ร่ำทำเฉโก ค
ไม่จำคำผู้ใหญ่ ศีรษะไม้ใจโยโส ที่ดีมีอักโข
ข้าขอโมทะนาไป ค
พาราสาวะถี ใครไม่มีปรานีใคร ดุดื้อถือแต่ใจ
ที่ใครได้ใส่เอาพอ ค
ผู้ที่มีฝีมือ ทำดุดื้อไม่ซื้อขอ ไล่คว้าผ้าที่คอ
อะไรล่อก็เอาไป ค
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา มิได้ว่าหมู่ข้าไทย์
ถือน้ำร่ำเข้าไป แต่น้ำใจไม่นำพา ค
หาได้ใครหาเอา ไพร่ฟ้าเศร้าเปล่าอุรา
ผู้ที่มีอาญา ไล่ตีด่าไม่ปรานี ค
ผีป่ามากระทำ มรณกรรมชาวบุรี น้ำป่าเข้าธานี
ก็ไม่มีที่อาศัย ค
ข้าเฝ้าเหล่าเสนา หนีไปหาภาราไกล ชีบาล่าลี้ไป
ไม่มีใครในธานี
พายัพ
อุดร
อิสาณ
___________________________________
ประจิม
ทิศ
บูรพ์
___________________________________
หรดี
ทักษิณ
อาคเณย์
ค
จบมูลบทเบื้อง
เป็นปฐมควรสถิตย์ เป็นแบบสั่งสอนศิษย์ ความที่รุกลับอ้น |
บรรพกิจ
ที่ต้น สายสืบ ไว้นา อัดอั้นออกขยาย |
ข้อเตือนใจในหนังสือแบบเรียนเร็ว
กิจวัตรประจำวันของนักเรียน
เราต้องตื่นขึ้นล้างหน้าเวลาเช้า | พันผมเฝ้าพึงชำระให้สะอาด |
เราจงทำหน้าที่กระวีกระวาด | ไม่ต้องคาดคั้นเตือนเรื่องเรือนชาน |
แล้วรีบไปให้ทันโรงเรียนเข้า | เลิกแล้วเรามุ่งหน้ากลับมาบ้าน |
ช่วยพ่อแม่เก็บงำและทำงาน | ว่างก็อ่านคัดเขียนเล่าเรียนเอย |
ทำเทียบเปรียบเอาว่า เราเป็นนาฬิกาเอง | เข็มบ่งชี้ตรงเผง และราบรื่นทุกคืนวัน |
ย่ำรุ่งสะดุ้งตื่น โดยแช่มชื่นลุกขึ้นพลัน | อาบน้ำชำระฟัน ขัดโสมมผมเผ้าหวี |
โมงเช้าเข้าแต่งตัว เครื่องเรียนทั่วทุกอย่างมี | เตรียมไปให้ทันที ที่พวกเราเข้าเรียนกัน |
ตอนบ่ายหมายสิบหน้า นาฬิกามุ่งมาพลัน | ถึงเหย้าเราขยัน หยิบงานทำโดยจำนงค์ |
ว่าด้วยช่วยแม่พ่อ สิบเจ็ด น พอแล้วลง | อาบน้ำค่ำแล้วจง ฟื้นความรู้ที่ครูสอน |
เล่าเรียนเขียนอ่านพอ ยี่สิบ น ก็เข้านอน |
สยามงามอุดม ดินดีสม เป็นนาสวน | เพื่อนรักเราชักชวน ร่วมช่วยกัน มุ่งหมั่นทำ |
วิชาต้องอาศัย เป็นหลักได้ ใช้ช่วยนำ | ให้รู้สู่ทางจำ ค้นคว้าไว้ ให้มากมาย |
ช่วยกันอย่างขันแข็ง ด้วยลำแข้ง ลงแรงกาย | ทำไปไม่เสียดาย แม้อาบเหงื่อ เพื่อแลกงาน |
ดั่งนี้มั่งมีแท้ร่มเย็นแน่ หาไหนปาน | โลกเขาคงเล่าขาน ถิ่นสยาม นี้งามเอย |
ในวัยเด็กเล็กอยู่จงรู้ว่า | เรียนวิชาชั้นต้นจนจบสิ้น |
แล้วเลือกเรียนวิชาเชิงหากิน | ให้ถูกถิ่นถูกเวลาถูกท่าที |
เมื่อโตไปได้ครองของทั้งสิ้น | ทั่วทุกสิ่งที่มีในถิ่นที่ |
รู้จักกินรู้จักใช้เก็บให้ดี | เมื่อแก่มีเจ็บไข้ได้ใช้เอย |
เราต้องปองฝึกฝนตนให้ตนเป็นคนดี | โดยข้อย่อ ๆ มีที่น่าจำควรคำนึง |
หนึ่งนั้นคือหมั่นนึกน้อมรู้สึกระลึกถึง | พ่อแม่แลเราพึงรักลึกซึ้งสุดวันตาย |
สองให้ใจโอนอ่อนหวังว่านอนสอนง่ายดาย | ฟังเชื่อผู้เชื้อสายเช่นยายย่าปู่ตาตน |
สามจำทำให้ผู้รักเอ็นดูทุกหมู่ชน | ชมเห็นว่าเป็นคนมีกิริยาวาจาดี |
สี่นี้มีใจหนักเยือกเย็นนักรู้จักมี | ยับยั้งรั้งไว้ที่ไม่ใจน้อยคอยแต่ฉุน |
ห้าให้มีใจเผื่อแผ่เอื้อเฟื้อและเจือจุน | กอบเกื้อเอื้ออุดหนุนเนื่องน้อมนำเหนี่ยวน้ำใจ |
หกหรือคือรอบคอบระมัดรอบระวังไว | ก่อนจะทำอะไรให้คิดดูจนรู้ดี |
เจ็ดนี้มีใจหวังในสิ่งดั่งตั้งใจมี | มุ่งไว้ไม่หน่ายหนีทำเต็มที่มิหวาดหวั่น |
แปดจะละหลบชั่วห่างจากตัวไม่พัวพัน | สิ่งเล่นเป็นพนันหลีกแม่นมั่นหมั่นเก็บออม |
เก้าให้ใส่ใจคือเราต้องซื่อชื่อจึงหอม | คนชอบนิยมยอมวางใจย่อมนอบน้อมเอย |
| คำปฏิญาณของลูกเสือไทย | ข้อเตือนใจจากที่อื่นๆ | วรรณคดีไทยร้อยกรอง | โคลงพระราชพงศาวดาร | |
|