|
| คำปฏิญาณของลูกเสือไทย | ข้อเตือนใจจากที่อื่นๆ | วรรณคดีไทยร้อยกรอง|โคลงพระราชพงศาวดาร| |
นิทราชาคริต (ความตอนต้น)
๒. เปรมจิตปราศจากเศร้า | สิ่งศัลย์ สรรพเทอญ |
ทั่วนครขอบขัณฑ์ | เขตด้าว |
เจริญสุขทุกคืนวัน | วายเทวษ |
ปล่งปลอดปรปักษ์ก้าว | เกี่ยงพ้นภัยกษัย |
๓. ไพบูลย์สมบัติถ้วน | ทวยชน ชื่นเทอญ |
ประกอบกิจเกิดนิตยผล | แผ่หล้า |
บำเทิงทั่วภูวมณ | ฑลเกษตร สยามเอย |
จงประสิทธิ์ประสงค์ข้า | คิดต้องคลองธรรม์ |
ร่าย
โคลง ๔
๖. ฮารูนอาลราษุจิดอ้าง | องค์นรินทร์ นามฤา |
กาหลิบครองแผ่นดิน | ดับร้อน |
วงศ์เนื่องแต่มุนินทร์ | มะหะหมัด |
ผดุงราษฎร์ศาสนาซ้อน | เชิดไว้จิรกาล |
๗. เปรียบปานบิตุเรศเลี้ยง | ดนัย นั่นแฮ |
กอบกิจการุณย์ไป | ทั่วผู้ |
สอดส่องประสบใคร | ดีชั่ว |
ลงโทษโปรดยกกู้ | ก่อให้สำราญ |
ร่าย
ฯลฯ
ร่าย
โคลง ๔
๕๘. แบบฉบับไก่ผู้ผ่าว | กรรหาย ชลเฮย |
บด่วนดื่มเดียวดาย | เรียกร้อง |
ภรรยาเพื่อนฝูงหลาย | ตัวต่อ พร้อมแฮ |
จึ่งเสพสลิลซ้อง | ดั่งนี้เราเชิญ |
๕๙. ฟังเพลินไพเราะแท้ | วาจา ท่านนา |
มรรยาทยิ่งอย่างหา | ยากล้ำ |
เป็นที่ถูกหฤทยา | เรายิ่ง รักแฮ |
เชิญท่านรินส่งซ้ำ | ส่วนให้เรากิน |
๖๐. รินแล้วส่งถ้วยท่าน | จงลอง ชิมเทอญ |
คงจะสบสมปอง | เอกแท้ |
กาหลิบรับถ้วยสนอง | คำตอบ |
อย่างท่านมีของแม้ | ชั่วแล้วมีไย |
๖๑. แม้ไฉนเรือนข้าจัก | เจรจา ได้ฤา |
ยลท่านประเวศมา | หยุดยั้ง |
โดยเปรมกระมลปรา | โมทย์ชื่น ชมแฮ |
จักจรดเศียรตั้ง | ต่อพื้นอัญชลี |
๖๒. ยินดีเพื่อด้วยท่าน | มาพัก |
มีโอษฐจะทายทัก | ท่านจ้อ |
จัดโต๊ะแต่งตั้งตัก | เตือนท่าน เสพนา |
เสมอจิตเราฤาท้อ | เทียบให้เล็งเห็น |
ตอนอาบูเมายา
๒๗๒. บารมีพระมากพ้น | รำพัน |
พระพิทักษ์ยุติธรรม์ | ถ่องแท้ |
บริสุทธิ์ดุจดวงตะวัน | ส่องโลก ไซร้แฮ |
ทวยราษฎร์รักบาทแม้ | ยิ่งด้วยบิตุรงค์ |
๒๗๓. ยืนยงจงรักเบื้อง | บาทมูล ท่านเอย |
ข้าบาทราชนิกูล | ใหญ่น้อย |
พระสนมสนิทพูน | พิศวาส ท่านนา |
ความเคียดเกียจคร้านก้อย | กึ่งนั้นฤามี |
๒๗๔. เจริญศรีชนม์ชีพยั้ง | ยืนนาน ยิ่งเทอญ |
พระพละปฏิภาณ | จุ่งแผ้ว |
ดำรงสิริราชฐาน | สมบัติ |
ทอนทุกข์สุขสวัสดิ์แคล้ว | คลาดพ้นพรรค์ภัย |
โคลง ๓
๒๗๕. อาบูใจเบิกบาน | ฟังขับขานเพราะพร้อง |
ยกยศยิ่งใหญ่ต้อง | จิตเพี้ยงของหวาน |
๒๗๖. เสียงบรรสานจับปี่ | เรื่อยระรี่รับร้อง |
กลมกล่อมซ้อมเสียงซ้อง | ซาบซึ้งซึมใจ ยิ่งนา |
ร่าย
ลิลิตตะเลงพ่าย (ความตอนต้น)
๒. บุญเจ้าจอมภพพื้น | แผ่นสยาม |
แสยงพระยศยินขาม | ขาดแกล้ว |
พระฤทธิ์ดังฤทธิ์ราม | รอนราพณ์ แลนา |
ราญอริราชแผ้ว | แผกแพ้ทุกภาย |
๓. ไพรินทรนาศเพี้ยง | พลมาร |
พระดั่งองค์อวตาร | แต่กี้ |
แสนเศิกห่อนหาญราญ | รอฤทธิ์ พระนา |
ดาล์ตระดกเดชลี้ | ประลาดหล้าแหล่งสถาน |
๔. เสร็จเสวยศวรรเยศอ้าง | ไอศูรย์ สรวงฤา |
เย็นพระยศปูนเดือน | เด่นฟ้า |
เกษมสุขสองสมบูรณ์ | บานทวีป |
สว่างทุกข์ทุกธเรศหล้า | แหล่งล้วนสรรเสริญ |
ลิลิตตะเลงพ่าย (บทอาขยาน)
โครง ๔
๗๙. มาเดียวเปลี่ยว อก อ้า | อายสู |
สถิตอยู่เอ้องค์ดู | ละห้อย |
พิศโพ้นพฤกษ์พบู | บานเบิก ใจนา |
พลางคะนึงนุชน้อย | แน่งเนื้อนวลสงวน |
๘๐. พระครวญพระร่ำไห้ | โหยหา |
พลางพระพิศพฤกษา | กิ่งเกี้ยว |
กลกรกนิษฐนา | รีรัตน์ เรียมฤา |
ยามตระกองกอดเกี้ยว | โอบอ้อมองค์เรียม |
๘๑. เฌอปรางเปรียบนาฏน้อง | นวลปราง |
รักดั่งรักนุชพาง | พี่ม้วย |
ช้องนางเฉกช้องนาง | คลายคลี่ ลงฤา |
โศกพี่โศกสมด้วย | ดั่งไม้นามมี |
๘๒. อบเชยอบชื่นชี้ | เฌอสม ญาฤา |
อบว่าอรอบรม | รื่นเร้า |
อบเชยพี่เชยชม | กลิ่นอบ เฌอนา |
อบดั่งอบองค์เจ้า | จักให้เรียมเชย |
๘๓. ขานางนึกคู่คู้ | ขาสมร |
พลางพี่โอบเอวอร | แอบเคล้า |
กระทุ่มดั่งทุ่มกร | ตีอก เรียมฤา |
เกดว่าเกศนุชเกล้า | กลิ่นกลั้วเสาวคนธ์ |
๘๔. เล็บมือนางนี้หนึ่ง | นขา นางฤา |
ต้องดั่งต้องบุษบา | นิ่มน้อง |
ชงโคคิดชงฆา | นุชนาฏ เหมือนฤา |
เรียมระเมียงเดื่อปล้อง | ดั่งปล้องศอสมร |
๘๕. ซ่อนกลิ่นกลิ่นแก้วซ่อน | นาสา เรียมฤา |
ตาดว่าตาดพัสตรา | หนุ่มเหน้า |
สลาลิงเล่ห์ซองสลา | นุชเทียบ ถวายนา |
สวาดดั่งเรียมสวาทเจ้า | จากแล้วหลงครวญ |
๘๖. สลัดไดใดสลัดน้อง | แหนงนอน ไพรฤา |
เพราะเพื่อมาราญรอน | เศิกไซร้ |
สละสละสมร | เสมอชื่อ ไม้นา |
นึกระกำนามไม้ | แม่นแม้นทรวงเรียม |
๘๗. ไม้โรกเหมือนโรคเร้า | รุมกาม |
ไฟว่าไฟราคลาม | ลวกร้อน |
นางแย้มหนึ่งแย้มยาม | เยาว์ยั่ว แย้มฤา |
ตูมดั่งตูมตีข้อน | อกอั้นกันแสง |
๘๘. สายหยุดยุดกลิ่นฟุ้ง | ยามสาย |
สายบ่หยุดเสน่หาย | ห่างเศร้า |
กี่คืนกี่วันวาย | วางเทวษ ราแม่ |
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า | หยุดได้ฉันใด |
๘๙. สุกรมกรมสุขไซร้ | ไป่มี |
กรมแต่ทุกขเทวษทวี | ห่อนเว้น |
นมสวรรค์นึกบัวศรี | เสาวภาคย์ พี่เอย |
ถวิลบ่เคยขาดเคล้น | คลาดน้องใครถนอม |
๙๐. โกสุมชุมช่อช้อย | อรชร |
เผยผกาเกสร | ยั่วแย้ม |
รวยรื่นรสคนธ์ขจร | จังหวัด ไพรนา |
กลิ่นตระการกลแก้ม | เกศแก้วกูสงวน |
โคลง ๔
๓๐๑. นฤบาลบพิตรเผ้า | ภูวนา ยกแฮ |
ผายสีหนาทกถา | ท่านพร้อง |
ไพเราะราชสุภา | ษิตสื่อ สารนา |
เสนอบ่มีข้อข้อง | ขุ่นแค้นคำไข |
๓๐๒. อ้าไทภูธเรศหล้า | แหล่งตะเลง โลกฤา |
เผยพระยศยินเยง | ย่านแกล้ว |
สิบทิศทั่วลือละเวง | หวั่นเดช ท่านนา |
ไป่เริ่มรอฤทธิแผ้ว | เผือดกล้าแกลนหนี |
๓๐๓. พระพี่พระผู้ผ่าน | ภพอุต ดมเอย |
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด | ร่มไม้ |
เชิญราชร่วมคชยุทธ์ | เผยอเกียรติ ไว้แฮ |
สืบกว่าสองเราไสร้ | สุดสิ้นฤามี |
๓๐๔. หัสดีรณเรศอ้าง | อวสาน นี้นา |
นับอนาคตกาล | ห่อนฟ้อง |
ขัตติยายุทธ์บรรหาร | คชคู่ กันแฮ |
คงแต่เผือพี่น้อง | ตราบฟ้าดินกษัย |
๓๐๕. ไว้เป็นมหรสพซ้อง | สุขศานติ์ |
สำหรับราชสำราญ | เริ่มรั้ง |
บำเทิงหฤทัยบาน | ประติยุทธ์ นั้นนา |
เสนอเนตรมนุษย์ตั้ง | แต่หล้าเลอสรวง |
๓๐๖. ปวงไท้เทเวศทั้ง | พรหมาน |
เชิญประชุมในสถาน | ที่นี้ |
ชมชื่นคชรำบาญ | ตูต่อ กันแฮ |
ใครเชี่ยวใครชาญชี้ | ชเยศอ้างอวยเฉลิม |
๓๐๗. หวังเริ่มคุณเกียรติก้อง | กลางรงค์ |
ยืนพระยศอยู่คง | คู่หล้า |
สงครามกษัตริย์ทรง | ภพแผ่น สองฤา |
สองราชรอนฤทธิ์ร้า | เรื่องรู้สรเสริญ |
๓๐๘. ดำเนินพจพากย์พร้อง | พรรณนา |
องค์อัครอุปราชา | ท่านแจ้ง |
กอบเกิดขัตติยมา | นะนึก หาญเฮย |
ขับคชเข้ายุทธ์แย้ง | ด่วนด้วยโดยถวิล |
๓๐๙. หัสดินปิ่นธเรศไท้ | โททรง |
คือสมิทธิมาตงค์ | หนึ่งอ้าง |
หนึ่งคือคิริเมขล์มง | คลอาสน์ มารเอย |
เศียรส่ายหงายงาคว้าง | ไขว่แคว้งแทงโถม |
๓๑๐. สองโจมสองจู่จ้วง | บำรู |
สองขัตติยสองขอชู | เชิดด้ำ |
กระลึงกระลอกดู | ไวว่อง นักนา |
ควาญขับคชแข่งค้ำ | เข่นเขี้ยวในสนาม |
๓๑๑. งามสองสุริยราชล้ำ | เลอพิศ นาพ่อ |
พ่างพัชรินทรไพจิตร | ศึกสร้าง |
ฤารามเริ่มรณฤทธิ์ | รบราพณ์ แลฤา |
ทุกเทศทุกทิศอ้าง | อื่นไท้ไป่เทียม |
๓๑๒. ขุนเสียมสามารถต้าน | ขุนตะเลง |
ขุนต่อขุนไป่เยง | หย่อนห้าว |
ยอหัตถ์เทิดลบองเลบง | อังกุส ไกวแฮ |
งามเร่งงามโทท้าว | ท่านสู้ศึกสาร |
๓๑๓. คชยานขัตติเยศเบื้อง | ออกถวัลย์ |
โถมประทะไป่ทัน | เหยียบยั้ง |
สารทรงราชรามัญ | ลงล่าง แลนา |
เสยส่ายท้ายทันต์ทั้ง | คู่ค้ำคางเขิน |
๓๑๔. ดำเนินหนุนถนัดได้ | เชิงชิด |
หน่อนเรนทรทิศ | ตกด้าว |
เสด็จแสดงวราฤทธิ์ | รำร่อน ขอแฮ |
ฟอนฟาดแสงของ้าว | อยู่เพี้ยงจักรผัน |
๓๑๕. เบื้องนั้นนฤนาถผู้ | สยามินทร์ |
เบื่ยงพระมาลาผิน | ห่อนพ้อง |
ศัตราวุธอรินทร์ | ฤาถูก องค์เอย |
เพราะพระหัตถ์หากป้อง | ปัดด้วยขอทรง |
๓๑๖. บัดมงคลพ่าห์ไท้ | ทวารัติ |
แว้งเหวี่ยงเบี่ยงเศียรสะบัด | ตกใต้ |
อุกคลุกพลุกเงยงัด | คอคช เศิกแฮ |
เบนบ่ายหงายแหงนให้ | ท่วงท้อทีถอย |
๓๑๗. พลอยพล้ำเพลียกถ้าท่าน | ในรณ |
บัดราชฟาดแสงพล | พ่ายฟ้อน |
พระเดชพระแสดงดล | เผด็จคู่ เข็ญแฮ |
ถนัดพระอังสาข้อน | ขาดด้าวโดยขวา |
๓๑๘. อุรารานร้าวแยก | ยลสยบ |
เอนพระองค์ลงทบ | ท่าวดิ้น |
เหนือคอคชซอนซบ | สังเวช |
วายชิวาตม์สุดสิ้น | สู้ฟ้าเสวยสวรรค์ |
เวสสันดรชาดก
กัณฑ์กุมาร (บทอาขยาน)
ตาต พ่อเอ่ย เจ้าชาลีศรีสุริยวงศ์เยาวเรศ
ปิยปุตฺต เจ้าก็เกิดในมกุฎเกศกรุงสีวีราษฎร์
ไยพ่อไม่องอาจย่อมย่อท้อทิ้งพระบิดา ให้พราหมณ์มันจ้วงจาบหยาบช้า
เจ้าเห็นชอบอยู่แล้วหรือหนาพ่อสายใจ เราก็เป็นขัตติยมไหมหาสมมุติวงศ์วิเศษสุทธิกษัตริย์
ไม่มีใครที่จะมาพ้อตัดติเตียนเลย พระลูกเอ่ย เจ้าไม่รู้หรือพระบิตุรงค์บรรจงรักพระโพธิญาณ
หวังจะยังสัตว์ให้ข้ามห้วงมหรรณพภพสงสารให้ถึงฟาก
เป็นเยี่ยงอย่างยอดยากที่จะข้ามได้ สำเภาลำใดของพาณิช ซึ่งจะตกแต่งต่อติดเป็นกงวาน
ประกอบประกับกระดานตอกตรึง ตะปูตะปลิงยิงตรึงกระชับชิด พืดเหล็กก็ตีติดตอกหมัน
โซมน้ำมันชันเคี่ยวแล้วเยียวยา กระดานดาดเป็นดาดฟ้าจังกอบกว้านสมอขัน
เสากระโดงยืนยันยึดด้วยพืดพวนผูกขึง รัดรึงตายติดกับเสารอกดูนี่เรี่ยวแรง
เสากระโดงสายระโยงระยางแย่งมั่นคง ปักทวนธงอยู่ริ้ว ๆ ธงตะขาบปลิวสะบัดปลาย
นายช่างจำลองจำหลักลายรายด้วยรูปสัตว์ ราชสีห์สิงห์อัดแอ่นอกกอดกระหนกกระหนาบคาบแก้วกุม
ครั้นได้ฤดูเดือนมรสุมแล้วก็แซ่ซ้อง บรรทุกสิ่งของลงต่าง ๆ ไว้ระวางทางวิดน้ำทำเป็นโชงโลง
อับเฉากันโคลงประจุเรียบ สำเภานี่ก็พาบเพียบเพียงราโท ครั้นได้ฤกษ์แล้วให้เลิกโห่ขึ้นสามลา
ยิงปืนบนนาวาเสียงผะผางผึงตึงตัง คนการยืนสะพรั่งอยู่พร้อมเพรียง
ศัพท์สำเนียงเสียงเฮโลเฮล่า เข้าฉุดคร่าสายสมอ ตีม้าล่อลั่นอยู่ฉ่าง
ๆ โบกธงอยู่คว้าง ๆ แล้วแกว่งกวัด พระพายชายพัดติดใบบน ล้าต้าต้นหนก็มุ่งมอง
ตั้งเข็มส่องกล้องสลัด โดยกำหนดขนัดคะเนหมาย นายท้ายก็ยักย้ายบ่ายเบี่ยงเฉลียงแล่นออกชเลลึกแลไม่เห็นฝั่ง
บังเกิดลมสลาตันตั้งตีเป็นลูกคลื่นอยู่ครื้นเครง สำเภาก็โคลงเคลงไปตามคลื่นตื่นเต้น
เสากระโดงหักกระเด็นกระดานแตก คลื่นใหญ่โยนกระทบกระแทกกระทั่งผะผังผาง
สำเภาก็อับปางลงในท่ามกลางชเลหลวง ฝูงมนุษย์ทั้งปวงไม่หลอเหลือล้วนเป็นเหยื่อแก่เต่าปลา
ด้วยเป็นโลกิยนาวาไม่จิรังเลยพระลูกเอ่ย
พ่อเห็นแต่หน้าเจ้าพระพี่น้องทั้งสองรา เจ้าจงมาเป็นมหาสำเภาทองธรรมชาติอันนายช่างชาญฉลาดจำลองทำ
ด้วยกงแก้วประกำตรึงด้วยเพชรแน่นหนา แก้วประพาฬแผ่เป็นดาดฟ้าฝาระบุระเบิดเปิดช่องน้ำ
แก้วไพฑูรย์กระทำเป็นราโทโมราประทับสลับสลัก กรอบลายรายดอกรักเนาวรัตน์
ฉลุฉลักเป็นรูปสัตว์ภาพเพชรนิลแนม แกมหงส์วิหคกระหนกคาบลดารัด
มังกรกัดกอดแก้วเกี้ยวเป็นก้านขดดูสดใส ครั้นสำเร็จลำสำเภาแล้วเมื่อใดได้พระพิชัยมงคล
พระบิดาจะทรงเครื่องต้นมงคลพิชัยสำหรับกษัตริย์ ดั่งจะเอาพระสมาบัติกระหวัดทรงเป็นสร้อยสังวาลอยู่สรรพเสร็จ
จะเอาพระขันตีต่างพระขรรค์เพชรอันคมกล้า
สุนทรจะย่างเยื้องลงสู่ที่นั่งท้ายเภตราสูงระหง แล้วไปด้วยทวนธงเศวตฉัตร
วายุวิเวกพัดอยู่เฉื่อยฉิว สำเภาทองก็จะล่องลิ่วไปตามลม สรรพสัตว์ก็จะชื่นชมโสมนัส
ถึงจะเกิดลมกาฬพานกระพือพัดคือโลโภ
ถึงจะโตสักแสนโตตั้งตีเป็นลูกคลื่นอยู่ครื้นโครมโถมกระแทก สำเภานี้ก็มิได้วอกแวกวาบหวั่นไหว
ก็จะแล่นระรี่เรื่อยเฉื่อยไปจนถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้วคือพระอมตมหานครนฤพาน
พระลูกเอ่ย เจ้าจะนิ่งนานอยู่ไยในสระศรี ขึ้นมาสินะพ่อมาแม่มา
มาช่วยพระบิดายกยอดปิยบุตรทานบารมี
แต่ในครั้งเดียวนี้เถิด
| คำปฏิญาณของลูกเสือไทย | ข้อเตือนใจจากที่อื่นๆ | วรรณคดีไทยร้อยกรอง|โคลงพระราชพงศาวดาร| |
|