| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา | |
บุคคลสำคัญของท้องถิ่น
พ่อขุนศรีจอมธรรม
เมื่อปี พ.ศ.๑๗๐๒ พ่อขุนลาวเงินได้สร้าง อาณาจักรโยนกเชียงแสนขึ้นใหม่ หลังจากที่ถูกกองทัพขุนเสือขวัญมาทำลายลง
พ่อขุนลาวเงิน มีราชบุตรสององค์ คือ ขุนชิน และขุนจอมธรรม ต่อมาได้ปกครองดินแดนภูกามยาว
หัวเมืองฝ่ายใต้ที่อุดมสมบูรณ์ เมืองนั้นมีซากเมืองดบราณอยู่เชิงภูหางด้วน
ตัวเมืองมีสัณฐานคล้ายน้ำเต้า ลักษณะเป็นชัยมงคล จึงให้นามเมืองที่พบนี้ว่า
สีหราช
เมืองสีหราชนี้ เข้าใจว่าเป็นเมืองแคว้นศรีเกษตร หรือแคว้นพะเยา
อาณาจักรพะเยา กล่าวถึงบุตรขุนลาวเงิน ชื่อ จอมธรรม ได้อพยพหลบภัยสงครามจากหิรัญนคร
เมื่อครั้งเสียเมืองแก่ขุนเสือขวัญฟ้า โดยติดตามพระเจ้าชัยศิริ ลงมาจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อมาถึงเมืองภูกามยาว เห็นว่าเป็นที่อุดมสมบูรณ์ จึงยับยั้งไม่อพยพติดตามพระเจ้าไชยสิริลงไปทางใต้
แล้วได้สร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่นั่น โดยสร้างเมืองทับไปลงที่เมืองร้างให้ชื่อว่า
ภูกามยาว (พะเยา)
ในปี พ.ศ.๑๗๑๑ พ่อขุนศรีจอมธรรม ปฐมกษัตริย์ครองราชย์ได้ ๒๑ ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้
๕๙ ปี
พระองค์มีราชบุตรสององค์ คือ ขุนเจือง และขุนจอง เป็นกษัตริย์อยู่ในทศพิธราชธรรม
ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมีความร่มเย็นเป็นสุข พระองค์ทรงสร้างและปรับปรุงกำแพงเมือง
ค่าย คู ประตู หอรบ แล้วเสร็จเมื่อปี พงศ.๑๗๑๗ เมืองต่าง ๆ ได้มาอยู่ใต้อำนาจ
ทำให้อาณาจักรภูกามยาว ในครั้งนั้นกว้างใหญ่ไพศาล หัวเมืองที่มาขึ้นอยู่ในอำนาจคือ
เมืองงาว เมืองกวาสะเอียบ เชียงม่วน เมืองสะเมืองออย สะลาว เมืองคอบ
เชียงคำ เมืองลำ เชียงแรง เมืองหงาว เมืองเทิง แซ่เหียง แซ่ลูล ปากบ่อง หนองขวาง
เมืองป่าเป้า เมืองวัง แซ่ซ้อน เมืองปาน แซ่ห่ม ทางทิศใต้จรดนครเขลางค์ และนครหริภุญไชย
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเชียงของ
ขุนเจือง
(พญาเจืองธรรมิกราช) เป็นโอรสคนโตของขุนจอมธรรม ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๑๖๔๒ โหรหลวงได้พยากรณ์ไว้ว่า
พระราชกุมาร จะได้เป็นจักรพรรดิราชปราบ ได้ถึงชมพูทวีป
ในปี พ.ศ.๑๖๕๘ ขุนเจืองได้ยกไพร่พลออกไปคล้องช้างในป่าเขตแขวงเมืองน่าน พระยาพละเทวะเจ้าอมืองน่านเห็นว่าขุนเจืองเป็นนักรบ
มับุญญาธิการ จึงได้ยกธิดาชื่อหพระนางจันทร์เทวีให้เป็นมเหสี ต่อมาขุนเจืองได้ยกไพร่พลไปคล้องช้างป่าในเขตแขวงเมืองแพร่
พระยาพรหมลงค์ เจ้าเมืองแพร่ก็ยกธิดาชื่อ พระนางแก้วกษัตริย์ให้เป็นมเหสี
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ชื่อเสียงของขุนเจือง เลื่องลือไปทั่วสารทิศ
ขุนเจืองได้ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๖๖๓ เมื่อวครองราชย์ได้ ๘ ปี ถึง ปี
พ.ศ.๑๖๗๑ ได้มีพวกแกว (ญวน) ยกกำลังมาตีหิรัญนครเงินยาง ซึ่งมีขุนชิงลงของพญาเจืองปกครองอยู่
พญาเจืองได้ยกกองทัพเมืองพะเยา ขึ้นไปช่วยตีกองทัพพวกแกวแตกกลับไป ด้วยความชอบครั้งนี้ขุนชิงจึงได้ยกพระนางอั้วคำคอนเมือง
ผู้เป็นธิดาให้เป็นมเหสีของพญาเจืองอีกคนหนึ่ง
พญาเจืองได้ปกครองเมืองพะเยาด้วยความสงบสุขจนมีพระชนมายุย่างเข้าวัยกลางคน
ทรงมีดำริว่า หัวเมืองแกว และพวกขอมข่าทั้งปวง มักจะยกกำลังมาชิงเอาบ้านเมือง
ตามชายแดนเสมอ เป็นที่เดือดร้อน จึงควรยกกำลังไปปราบปราม จึงได้มอบเมืองพะเยาให้โอรสชื่อ
ลาวเงินเรือง
ปกครองส่วนพระองค์ ได้ยกกองทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองล้านช้าง และหัวเมืองแกว
สามารถรวบรวมอาณาจักรล้านช้าง และอาณาจักรแกวทั้งหมด เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองพะเยา
เกียรติยศของพญาเจืองก็เป็นที่เลื่องลือ จนท้าวพญาทั้งหมด โดยมีพระยาฮ้อชื่อ
เจ้าร่มฟ้าเก๊าพิมาน
เป็นประธานมาชุมนุมกันที่ตำบลภูเทิดในเมืองแกว วพากันประกอบพิธีปราบดาภิเษก
พญาเจืองธรรมิกราช ให้เป็นพระยาจักราชในเมืองแกวในปี พ.ศ.๑๖๗๗ หลังจากนั้นได้ประกอบพิธีอภิเษกสมรสกับพระนางอู่แก้ว
ธิดาเจ้าเมืองแกว แล้วพญาเจือง ฯ ก็ได้ครองราชบ์เมืองแกว หลังจากครองราชเมืองแกวไวด้สี่ปี
จนถึงปี พ.ศ.๑๖๙๑ ก็ได้ราชาภิเษกโอรสคือลาวเงินเรือง ให้ไปครองเมืองนครเงินยาง
และขอให้พระเจ้ากรุงจีนพระราชทานยศ และตราตั้งให้แก่เจ้าลาวเงินเรือง ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันมิให้จีนยกยทัพมารุกรานล้านนาไทย
พญาเจือง ฯ ปกครองเมืองแกว ๑๔ ปี มีโอรสอันประสูติจากพระนางอู่แก้วสามคนคือ
ท้าวอ้ายผาเรือง ท้าวยี่คำหาง และท้าวสามชุมแสง เมื่อบรรดาโอรสเจริญวัยแล้ว
พญาเจือง ฯ จึงได้ยกราชสมบัติเมืองแกวให้ท้าวอ้ายผาเรืองเป็นผู้ปกครอง
ให้ท้าวยี่คำหางไปครองเมืองล้านช้าง
และให้ท้าวสามชุมแสงไปครองเมืองนันทบุรี
(เมืองน่าน) จากนั้นพญาเจือง ฯ ก็ยกกำลังออกปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ
อีกหลายหัวเมืองจนกระทั่งยกกำลังไปรบกับพวกแกวแมนตาตอกขอบฟ้าตายืน พญาเจือง
ฯ ต้องอาวุธ
ข้าศึก
สิ้นพระชนม์บนคอช้าง ไพร่พลนำพระศพกลับคืนมาล้านนาไทย พญาเจือง ฯ สิ้นพระชนม์
เมื่อพระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา
ขุนเจือง ฯ เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ มีหลายเชื้อชาติที่อ้างไว้ในตำนานของตนเพื่อให้เป็นกษัตริย์ของตน
มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวของขุนเจือง ฯ เป็นจำนวนมาก หนังสือโคลงเรื่องท้าวฮุ่งหรือขุนเจือง
แต่งด้วยฉันทลักษณ์ "โคลงสองฝั่งโขง"
เกือบ ๕,๐๐๐ บท นับว่าเป็นหนังสือที่มีความยาวมากที่สุดที่เคยมีมา บรรดากลุ่มชนสองฝั่งโขงเรียก
หนังสือเจือง
เป็นวรรณคดีที่เล่าเรื่องวีรบุรุษ
ด้วยภาษาโบราณ
นับว่าเก่าแก่กว่าวรรณคดีเรื่องใด ๆ ในอีสาน
ขุนเจือง ฯ เป็นผู้ขยายอาณาเขตเมืองพะเยา โดยมีอาณาเขตเหนือลาวทั้งหมดและบางส่วนของยูนาน
เป็นครั้งแรกที่ไทยมีอำนาจปกครองลาว ญวน รวมทั้งไทยใหญ่
พญางำเมือง
ตามตำนานล้านนากล่าวว่าเป็นเชื้อสายพ่อขุนจอมธรรม พ่อขุนเจือง และเป็นพระญาติกับพญามังราย
โดยมีต้นบรรพบุรุษคือ ลวจักราชเหมือนกัน
พญางำเมือง เป็นโอรสพ่อขุนมิ่งเมือง ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๑๗๘๑ เมื่ออายุได้
๑๔ พรรษา ได้ไปศึกษาในสำนักอิสิตนที่ภูเขาดอยด้วน ศึกษาอยู่สองปี เมื่ออายุได้
๑๖ พรรษา ได้ไปศึกษาที่สำนักสุกทันตฤกษ์ กรุงละโว้ เป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
แห่งกรุงสุโขทัย
ในปี พ.ศ.๑๘๐๑ พ่อขุนมิ่งเมืองสิ้นพระชนม์ พญางำเมืองขึ้นครองราชย์ต่อมา พญางำเมืองเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
และมีอภินิหาร เมื่อไปทางไหน "แดดก็บ่ฮ้อน ฝนก็บ่นฮำ จักให้บดก็บด จักให้แดดก็แดด"
จึงได้สมญานามว่า งำเมือง พระองค์ตั้งมั่นในศีลธรรม มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ไม่ชอบทำสงคราม ปกครองบ้านเมืองด้วยความเที่ยงธรรม เมื่อถูกพ่อขุนเม็งรายยกกองทัพมาตี
เมื่อปี พ.ศ.๑๘๐๕ พญางำเมืองยอมยกเมืองชายแดนคือ เมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน
เมืองเทิง และเมืองเชียงของ ให้เพื่อผูกไมตรี
พญางำเมือง เป็นพระสหายสนิทกับพ่อขุนรามคำแหง ได้เสด็จไปมาหาสู่กันเสมอ จนเส้นทางที่เสด็จผ่านไปมาเป็นร่องลึกเรียกต่อมาภายหลังว่า
แม่ร่องช้าง
พญางำเมือง พ่อขุนรามคำแหงและพญาเม็งราย ทั้งสามองค์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานต่อกัน
ณ ริมฝั่งแม่น้ำชมภู ที่มีชื่อภายหลังว่า แม่น้ำอิง
หลังจากนั้นเมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ก็ได้เชิญพญางำเมือง และพระร่วงร่วมพิจารณาสร้างเมือง
เมื่อสร้างเสร็จแล้วพญามังรายได้เวนคืนเมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน และเมืองเทิง
กลับคืนมาให้ และให้สตรีนางหนึ่ง
ต่อมาพญางำเมืองได้มอบให้พญาคำแหงราชบุตรปกครองบ้านเมือง แล้วพระองค์ได้ไปประทับพักผ่อนที่เมืองงาว
สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๑๘๔๑ พระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา
พระยายุธิษฐิระ
เป็นเจ้าชายเมืองสุโขทัย รุ่นราวคราวเดียวกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อยังเยาว์ได้ไปครองเมืองสองแคว
(พิษณุโลก) ในฐานะพระมหาอุปราชของกรุงศรีอยุธยา เป็นทั้งพระญาติสนิท และพระสหายตั้งแต่สมัยเด็กกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ต่อมาพระยายุธิษฐิระได้ไปสวามิภักดิ์ กับพระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่ล้านนา
และได้มากินเมืองพะเยา ได้ช่วยพระเจ้าติโลกราชในการชิงดินแดนสุโขทัยเดิม มีความดีความชอบจึงได้รับผลประโยชน์ในเขตเมืองงาว
เมืองน่าน และเมืองแพร่
พระยาประเทศอุดรทิศ
ในปี พ.ศ.๒๓๘๖ พระยานครน้อยอินทร์ เจ้าเมืองนครลำปาง กับพระยาอุปราชมหาวงศ์
เจ้าเมืองนครเชียงใหม่ พร้อมใจกันไปเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขอให้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายยุทธวงศ์ เป็นพระยาประเทศอุดรทิศเป็นเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา
ให้นายน้อยมหายศเป็นเจ้าอุปราชเมืองพะเยา ตั้งนายแก้วมานุตม์เป็นเจ้าราชวงศ์เมืองพะเยา
ตั้งนายขัติยะเป็นเจ้าหัวเมืองแก้วบุรีรัตน์ และตั้งนายน้อยอริยะเป็นพระยาราชบุตรเมืองพะเยา
นอกจากนั้น ยังได้โปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งพระชัยสงครามเป็นพระยาฤทธิภิญโญยศ
เป็นเจ้าผู้ครองเมืองงาว ตั้งขนานปัญญาเป็นเจ้าราชวงศ์เมืองงาว ตั้งขนานยศเป็นเจ้าเมืองแก้ว
เมืองงาว จากนั้นทรงจัดแบ่งเจ้านาย และประชาชนให้อพยพกลับจากเมืองเชียงใหม่ไปอยู่เมืองเชียงราย
แบ่งเจ้านาย และประชาชนที่อยู่ในนครลำปางมาก่อน กลับไปอยู่เมืองพะเยา และเมืองงาว
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |