| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา | |
รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
สลักจากหินทราย ประทับยืน มีสี่กร มีลักษณะเช่นเดียวกับศิลปะขอมแบบบายน ซึ่งพบที่ประตูผี
เมืองนครธม
เคียงทวารบาล
ทำด้วยหินทรายสีเทา ลักษณะคล้ายเคียงทวารศิลาที่โคปุระชั้นที่สาม ทางด้านทิศใต้ของปราสาทพระขรรค์
ที่เมืองนครธม และทวารบาลสำริดรูปแบบศิลปะบายน เก็บรักษาไว้ที่วัดมหาชัยมุณี
เมืองอมรปุระ ประเทศพม่า
พระพุทธรูปปางนาคปรก
สร้างขึ้นในศิลปะเขมรแบบบายน สกุลช่างไทย มีอายุอยู่ประมาณครึ่งแรกถึงกลางพุทธศตวรรษ
ที่ ๑๘
ประติมากรรมรูปปั้นต่าง ๆ
เช่น รูปบุคคล รูปสัตว์ พระพิมพ์และลวดลายพรรณพฤกษา
จากการพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากที่เนินทางพระอำเภอสามชุก ซึ่งจัดอยู่ในศิลปะขอมแบบบายน
หรืออิทธิพลศิลปะแบบลพบุรี ทำให้ทราบว่าศาสนสถานแห่งนี่ คงเป็นศาสนสถานภายในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
ที่ได้รับอิทธิพลในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ.๑๗๒๔ - ๑๗๖๓) และน่าจะร่วมสมัยกับศาสนสถานที่พบ
ในเขตเมืองโบราณบ้านไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสุพรรณบุรี
ที่มีการตั้งชุมชนสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย หรือก่อนพุทธศตวรรษที่
๑๙
สมัยอยุธยาตอนต้น
สุพรรณภูมิ
พัฒนาของเมืองในระยะเริ่มแรก ชื่อสุพรรณภูมิ ปรากฎเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในจารึกสุโขทัยหลักที่
๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ฯ (ด้านที่๔ บรรทัดที่ ๒๐ - ๒๔ ) บอกเรื่องราวของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
ฯ เมื่อประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมืองสุพรรณภูมินี้ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรง
ฯ ทรงเชื่อว่าเมืองเดียวกับเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นเล่าว่าเป็นเมืองของท้าวอู่ทอง
ก่อนที่จะอพยพไปส้างกรุงศรีอยูธยา เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓
ต่อมาได้พบศิลาจารึกหลักที่ ๔๘ เป็นศิลาจารึกลานทอง
พบที่วัดส่องคบ จังหวัดชัยนาท จารึกเมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๑ ตรงกับสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช
(พ.ศ.๑๙๓๘ - ๑๙๕๒) แห่งกรุงศรีอยุธยา มีข้อความระบุชื่อเมืองสุพรรณภูมิไว้สองครั้ง
แสดงว่าเมืองสุพรรณภูมิที่ปรากฎชื่อในจารึกพ่อขุนรามคำแหง ยังพัฒนาต่อเนื่องมาถึงสมัยอยูธยา
และน่าจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น
จากการขุดค้นทางโบราณดคีระหว่าง ปี พ.ศ.๒๕๐๗ - ๒๕๐๙ ณ บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง
พบว่าเป็นเมืองสมัยทวารวดี มีอายุอยู่ประมาณ พ.ศ.๑๒๐๐ - ๑๖๐๐ ดังนั้นเมืองอู่ทองกับสุพรรณภูมิจึงมิใช่เมืองเดียวกัน
เพราะช่วงเวลานี้เก่ากว่าสมัยอยุธยาเกือบ ๓๐๐ ปี ยาวนานเกินกว่าที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจะอพยพผู้คนมาสร้างกรุงศรีอยุธยา
เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓
ชื่อสุพรรณภูมิยังปรากฎในเอกสารเรื่องชินกาลมาลีปกรณ์
ซึ่งแต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระพระภิกษุชาวล้านนา เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๐
ข้อความในเอกสารที่กล่าวถึงนี้ เป็นเอกสารที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น
ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า เมืองสุพรรณภูมิ เป็นเมืองเดียวกับเมืองสุพรรณบุรีที่ขุนหลวงพะงั่ว
เคยครองอยู่ก่อนขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยา ส่วนสาเหตุที่พงศาวดารสมัยอยุธยาไม่ได้ระบุชื่อเมืองสุพรรณภูมิไว้
น่าจะเป็นเพราะพงศาวดารเหล่านั้นเขียนขึ้นหลังจากได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สุพรรณบุรีแล้ว
เอกสารที่เรียกว่าสุพรรณบุรี เป็นครั้งแรกคือ พงศาวดารฉบับวันวลิต
ที่เขียนโดยชาวฮอลันดา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๘๒ ส่วนเอกสารของไทยที่เรียกชื่อสุพรรณบุรีครั้งแรกคือ
พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ อักษรนิติ์
จากหลักฐานที่ได้จากภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารพบว่า เมืองสุพรรณบุรีมีร่องรอยของบริเวณผังเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนกันสองเมือง
คือ เมืองที่เก่ากว่า
เป็นเมืองขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑,๙๐๐ เมตร ยาว ๓,๐๐๐ เมตร ครอบคลุมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ
ซึ่งเป็นลักษณะของเมือง ที่มีแม่น้ำสุพรรณบุรีไหลผ่านกลางเมือง ส่วนเมืองที่สร้างทับซ้อนภายหลังปรากฎร่องรอยของคูเมือง
และกำแพงอยู่ชัดเจน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ลักษณะตั้งเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ขนาดกว้าง ๙๐๐ เมตร ยาว ๓,๐๐๐ เมตร แนวคูด้านยาวไปอยู่ในแนวเหนือใต้ แต่เฉียงไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย
มีป้อมปราการตั้งอยู่ในลักษณะทำป้อมลอยเป็นเกาะอยู่ในคูเมืองมีอยู่หกป้อม
อยู่ทางด้านทิศเหนือหนึ่งป้อม ทิศตะวันตกสามป้อมและทิศตะวันออกเฉียงเหนือหนึ่งป้อม
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกป้อมในลักษณะนี้ว่า หอโทน
ซึ่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อใช้รับศึกพม่า
ลักษณะป้อมกลางน้ำดังกล่าวนี้มีอยู่ที่เมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันตก เมืองพิจิตรเก่า
และเมืองกำแพงเพชร บรรดาเมืองเหล่านี้เป็นเมืองในสมัยอยุธยาตอนต้น
เมืองสุพรรณภูมิหรือเมืองสุพรรณบุรี ได้พัฒนามาเป็นบ้านเมืองมาแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ เมื่อเจ้านครอินทร์ซึ่งครองเมืองสุพรรณภูมิอยู่เดิมได้ครองราชย์กรุงศรีอยุธยาแล้ว
เมืองสุพรรณภูมิก็ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยูธยาในฐานะเมืองลูกหลวง
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ (พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑) ได้ยกเลิกระบบการปกครองเมืองลูกหลวงในส่วนภูมิภาคได้แบ่งการปกครองออกเป็นหัวเมืองชั้นเอก
ชั้นโท ชั้นตรี และชั้นจัตวา
ในพระไอยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง ได้กำหนดระดับชั้นของเมืองไว้สี่ชั้น เมืองสุพรรณภูมิจัดอยู่ในเมืองชั้นที่สี่
เป็นหัวเมืองชั้นจัตวา เมืองสุพรรณภูมิ ได้อยู่ในฐานะนี้สืบมาจนถึงสมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย
สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย
ในช่วงเวลาดังกล่าว เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองที่อยู่ในเส้นทางเดินทัพ เพื่อทำสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงหงสาวดี
กำแพงเมืองสุพรรณบุรี หลังจากสงครามเมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ เสร็จศึก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ได้โปรดให้รื้อกำแพงเมืองสุพรรณบุรี ด้วยทรงเห็นว่าหากข้าศึกตีเมืองสุพรรณบุรีได้ ก็จะใช้ประโยชน์ในการป้องกันตนเองจากกองทัพกรุงศรีอยุธยา จึงเห็นสมควรให้รื้อกำแพงเมืองหน้าด่านทั้งสามเมืองคือ สุพรรณบุรี ลพบุรี และนครนายกลงเสีย
สงครามยุทธหัตถี
หลังจากสมเด็จพระนเรศวร ทรงประกาศอิสรภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๗ ทางกรุงหงสาวดีได้ยกทัพมาโจมตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง
ซึ่งต้องใช้เส้นทางการเดินทัพผ่านเมืองสุพรรณบุรีเกือบทั้งสิ้น ทางกรุงศรีอยุธยาได้เคยใช้เมืองสุพรรณบุรีเป็นสนามรบ
ในสงครามยุทธหัตถีเกิดขึ้นในเขตแดนเมืองสุพรรณบุรี โดยสมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา
ณ ตำบลตระพังตรุ
สงครามคราวตีเมืองหงสาวดีและเมืองตองอู เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีและเมืองตองอู
พระยาสุพรรณบุรี เจ้าเมืองสุพรรณบุรีได้รวมไปในกองทัพด้วยในฐานะนายกอง และเมื่อเดินทัพกลับตองอู
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงแวะพักทัพที่เมืองสุพรรณบุรีเป็นเวลานาน
รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ พระสุพรรณบุรีเจ้าเมืองสุพรรณบุรี
ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นเกียกกาย และได้ทำการสำเร็จหลายประการ
รัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา
สมเด็จพระเพทราชาเป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี และเป็นต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ครองราชย์กรุงศรีอยุธยา
สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เมืองสุพรรณบุรีคงถูกทำลายและร้างผู้คนไประยะหนึ่งจึงมาฟื้นตัวเมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองสุพรรณบุรีจึงได้เริ่มกลับตั้งเป็นชุมชน
มีสภาพเป็นหมู่บ้านขนาดย่อม และค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ
วรรณคดีที่เกี่ยวข้อง
ในสมัยรัตนโกสินทร์มีอยู่สามเรื่องคือ เสภาเรื่องขุนช้างชุนแผน
โคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ และกลอนนิราศสุพรรณของเสมียนมี
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นวรรณคดีสำคัญที่มีตำนานมีความสัมพันธ์เนื่องกับเมืองสุพรรณบุรี
สุนทรภู่ได้กล่าวถึงถิ่นฐานตัวละครในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ไว้ในโคลงนิราศสุพรรณ
และสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรง ฯ ทรงนิพนธ์ไว้ในนิทานโบราณคดีเรื่อง ห้ามเจ้าไปสุพรรณ
มีความว่าเมืองสุพรรณบุรี เป็นเมืองเนื่องกับนิทานเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่ว่าขุนศรีวิชัยกับนางเทพทอง
พ่อแม่ขุนช้างอยู่ที่ตำบลท่าสิบเบี้ย
บ้านพันศรโยธากับนางศรีประจันต์ พ่อแม่นางนางพิมอยู่ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง
ขุนช้างไปครองบ้านหมื่นแผ้ว พ่อตาที่ตำบลรั้วใหญ่
ขุนช้าง พลายแก้วกับนางพิม เมื่อครั้งยังเป็นเด็กเคยเล่นด้วยกันที่สวนข้างวัดเขาใหญ่
เณรแก้วอยู่วัดป่าเลไลยก์
แล้วหนีไปอยู่วัดแค
บรรดาตำบลบ้าน และวัดเหล่านี้ยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้
จากโคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ได้กล่าวถึงกลุ่มชนในเมืองสุพรรณ ว่ามีทั้งไทย
จีน มอญ กะเหรี่ยง และทวาย มีอาชีพทำสวน ทำไร่ ทำการประมง หรืออาชีพที่สืบเนื่องจากการประมง
ชื่อบ้านมักสัมพันธ์กับอาชีพในท้องถิ่น เช่น บ้านบางปลาร้า บ้านโคกคราม บ้านสวนขิง
บ้านขนมจีน บ้านโคกหม้อ ฯลฯ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๘ มณฑลนครชัยศรีประกอบด้วย เมืองนครชัยศรี
เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร
เมืองสุพรรณบุรีในครั้งนั้น มี ๔ อำเภอ คือ อำเภอพิหารแดง (อำเภอท่าพี่เลี้ยง,อำเภอเมือง)
อำเภอบ้านทึง (อำเภอนางบวช) อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้นก็ได้ตั้งอำเภอเพิ่ม
จนปัจจุบันมี ๑๐ อำเภอ
- อำเภอเมือง ฯ
เดิมเป็นที่ตั้งเมืองสุพรรณบุรี เรียกว่าศาลแขวงสุพรรณบุรี เมื่อแรกตั้งเป็นอำเภอชื่ออำเภอวิหารแดง
แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอท่าพี่เลี้ยง และได้เปลี่ยนเป็นอำเภอเมือง เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๘๒
- อำเภอสามชุก
แรกตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๗ เดิมชื่ออำเภอนางบวช เพราะที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านนางบวช
ขุนพรมสุภา (บุญรอด) เป็นนายอำเภอคนแรกใช้บ้านพักเป็นที่ทำการอำเภอ ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะ
อำเภอฝ่ายเหนือในบริเวณหมู่บ้านเขาพระคือ อำเภอเดิมบาง จึงได้ย้ายที่ตั้งอำเภอมาตั้งที่บ้านสามเพ็ง
ซึ่งมีท่าเรือสำหรับชาวบ้านป่านำสินค้าของป่าบรรทุกเกวียนมาฃื้อขายแลกเปลี่ยนกัน
สามชุกเป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานของชาวกะเหรี่ยง และละวา และเป็นทตั้งของโรงน้ำตาลแห่งแรก
ในทางตะวันตกของภาคกลาง
- อำเภอสองพี่น้อง
เริ่มตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ ในระยะแรกที่ตั้งที่ทำการอำเภอใช้บ้านหลวงเทพบุรี
(เอี่ยม) ซึ่งเป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาหลวงเทพบุรีได้ยกที่ส่วนตัวที่บ้านปากคอก
ทางฝั่งตะวันตกของคลองสองพี่น้องให้ทางราชการสร้างที่ทำการอำเภอ ต่อมาเมื่อปี
พ.ศ.๑๕๐๗ ได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปอยู่ที่บ้านโพธิ์อ้น ปัจจุบันเรียกบ้านอำเภอเก่า
เมื่อแรกตั้งอำเภอพื้นที่อำเภอทางด้านทิศเหนือครอบครุมพื้นที่ที่เป็นอำเภออู่ทอง
บางส่วนต่อมาจึงได้แยกพื้นที่ออกไปจัดตั้งเป็นอำเภอจระเข้สามพัน
- อำเภอบางปลาม้า
ตั้งเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๐ ที่ทำการอำเภอใช้ที่พักของขุนรจนา หรือปลัดจอน
นายอำเภอคนแรก เป็นเรือนแพตั้งอยู่ที่ปากคลองบางปลาม้า และได้มีการย้ายที่ทำการอำเภอหลายครั้ง
คือที่ตรงข้ามวัดลาดหอย ที่บ้านวังตาเพชร และสุดท้ายไปตั้งที่ฝั่งตำบลโคกคราม
- อำเภออู่ทอง
แรกตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ เป็นอำเภอจระเข้สามพัน โดยแยกตำบลหัวข่อย (ดอนมะเกลือ)
สระยายโสม หนองบัว จระเข้สามพัน บ้านดอนยุ้งทะลาย กระจันทร์ มาจากอำเภอสองพี่น้อง
แยกตำบลบ้านโข้ง ดอนคา หนองโอ่ง จากอำเภอท่าพี่เลี้ยง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๕
ได้รับโอนหมู่บ้านหนองกระจิว กกม่วง จร้าใหม่ จากจังหวัดกาญจนบุรี
- อำเภอจระเข้สามพัน
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำจระเข้สามพัน ตำบลจระเข้สามพัน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภออู่ทอง
เพื่อให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ เนื่องจากอยู่ใกล้เมืองโบราณ ที่เรียกว่าเมืองท้าวอู่ทอง
และได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปอยู่ที่คูเมืองอู่ทอง
เดิมอำเภออู่ทอง เป็นเมืองกันดารการเดินทางไปติดต่อจังหวัดต้องเดินเท้าข้ามทุ่งนาหนึ่งวันเต็ม
และเดินทางไปติดต่อกรุงเทพ ฯ ใช้เวลาไปกลับสี่วันเต็ม
- อำเภอเดิมบางนางบวช
เมื่อแรกตั้งอำเภอได้โอนท้องที่จากอำเภอนางบวช (สามชุก) จำนวน ๑๒ ตำบล จากอำเภอเชี่ยน
(อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท) ๒ ตำบล และจากอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
๒ ตำบล แล้วยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๔ ชื่ออำเภอเดิมบาง ที่ทำการอำเภออยู่ที่บ้านท่ารวก
ตำบลเขาพระ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสามชุก อำเภอเดิมบางจึงนำคำว่า
นางบวชมาต่อท้าย แล้วย้ายที่ตั้งอำเภอไปอยู่ที่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน
ในเขตตำบลเขาพระ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ได้แบ่งเขตอำเภอเดิมบางนางบวชออกเป็นกิ่งอำเภอด่านช้าง และได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๔
- อำเภอศรีประจันต์
เมื่อแรกตั้งอำเภอได้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งจากอำเภอท่าพี่เลี้ยงตอนเหนือ (อำเภอเมือง)
และอำเภอนางบวชตอนใต้ (อำเภอสามชุก) มารวมกัน แล้วยกฐานะเป็นอำเภอศรีประจันต์
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ และต่อมาได้โอนตำบลดอนปรุ ตำบลศาลาทุ่งแฝก จากอำเภอวิเศษชัยชาญ
อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองมารวมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ ได้มีการเปลี่ยนชื่อตำบลและหมู่บ้านใหม่ ให้เหมาะสมกับท้องที่และประวัติศาสตร์
ได้เปลี่ยนตำบลที่มีองค์เจดีย์ยุทธหัตถี จากตำบลบ้านค่อย เป็นตำบลดอนเจดีย์
และเปลี่ยนชื่อตำบลขี้เหล็กเป็นตำบลหนองสาหร่าย
- อำเภอด่านช้าง
ได้แยกตำบลด่านช้าง ตำบลห้วยขมิ้น และตำบลองค์พระ แล้วยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอด่านช้าง
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ต่อมาได้โอนตำบลบ่อกรุมารวมเรียกตำบลหนองมะค่าโมง และยกฐานะเป็นอำเภอด่านช้าง
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔
- อำเภอดอนเจดีย์
ได้มีการแบ่งเขตอำเภอศรีประจันต์ มาเป็นกิ่งอำเภอดอนเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕
และยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอดอนเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้เสด็จมายังเจดีย์ยุทธหัตถี
ทรงริ่เริ่มการฟื้นฟูบูรณะ ได้กำหนดสงวนที่ดินบริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ไว้เป็นจำนวน
๓๗๖ ไร่ และได้ทรงกำหนดแบบก่อสร้างองค์พระสถูปเจดีย์เพื่อสร้างครอบองค์เดิม
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้เริ่มก่อสร้างพระบรมราชานุสรณ์ดอยเจดีย์ และแล้วเสร็จเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๐๒
- อำเภอหนองหญ้าไซ
ได้แบ่งเขตพื้นที่ออกจากอำเภอสามชุก และยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖
ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๓
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |