| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา | |
แหล่งน้ำ
จังหวัดนครปฐมตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่แคบเกี่ยวกับแม่น้ำสามสายคือ แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำนครชัยศรี หรือแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา แม้ว่าแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำแม่กลอง
จะไม่ได้ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดนครปฐมโดยตรง แต่ก็มีคลองมหาสวัสดิ์เชื่อมต่อแม่น้ำทั้งสองสายดังกล่าว
นครปฐมมีแหล่งน้ำที่เป็นแม่น้ำลำคลอง ห้วย ลำราง หนองและบึงอยู่เป็นจำนวนมาก
บรรดาชื่อหมู่บ้านและชื่อวัด เป็นชื่อเกี่ยวกับแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
อยู่เป็นจำนวนมาก
แม่น้ำนครชัยศรี เป็นสายน้ำธรรมชาติสายเดียวที่เป้นบ่อเกิดของการพัฒนาวิถีชิวิต
เศรษฐกิจ สังคม และอารยธรรมที่สำคัญที่สุดของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดนครปฐมจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
เป้นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งในที่ราบลุ่มภาคกลาง แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากคลองวัดมะขามเฒ่า
อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เมื่อไหลผ่านจังหวัดสุพรรณบุรีเรียกว่า แม่น้ำสุพรรณบุรี
เมื่อไหลผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า แม่น้ำนครชัยศรี
และเมื่อผ่านจังหวัดสมุทรสาครเรียกว่า แม่น้ำท่าจีน
มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ ๓๒๕ กิโลเมตร ในส่วนที่ไหลผ่านเขตจังหวัดนครปฐม เริ่มจากอำเภอบางเลน
อำเภอนครชัยศรี และอำเภอนครชันศรี และอำเภอสามพราน มีคลองที่สำคัญ ๆ แยกจากแม่น้ำนครชัยศรี
มีทั้งคลองธรรมชาติ และคลองที่ขุดขึ้น เช่น คลองบางเลน คลองบางปลา คลองพระพิมล
คลองบางหลวง คลองโยง คลองบางแก้ว คลองมหาสวัสดิ์ คลองจินดา คลองบางพระ คลองนกกระทุง
คลองหนองดินแดง และคลองเจดีย์บูชา เป็นต้น
แม่น้ำนครชัยศรีมีลักษณะคดเคี้ยวมาก ทำให้บางแห่งต้องขุดคลองลัด เพื่อย่นระยะการเดินทางทางเรือ
เช่น คลองลัดบริเวณวัดทรงคะนอง ลักษณะดังกล่าวจึงกลายเป็นชื่อสถานที่บริเวณนั้น
เช่น อ้อมน้อย
และอ้อมใหญ่ เป็นต้น
การขึ้นลงของระดับน้ำเป็นไปตามระดับน้ำทะเล ซึ่งมีผลทำให้พื้นที่ริมฝั่งน้ำนครชัยศรี
และคู คลอง ที่แยกจากแม่น้ำนครชัยศรีมีน้ำขึ้นลงไปด้วย ทำให้เกิดสภาพทางนิเวศวิทธยาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
ตามการขึ้นลงของน้ำ รวมทั้งการเดินทางสัญจรทางน้ำ ก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการขึ้นลงของน้ำ
ในฤดูแล้งแม้จะขาดฝน แต่ระดับน้ำในแม่น้ำก็ยังมีระดับสูง ไหลเข้าคลองแยกต่าง
ๆ ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ทุกฤดูกาล ชาวนาที่อยู่ริมน้ำ สามารถทำนาได้ปีละสองสามครั้ง
โดยการสูบน้ำจากคลองเข้านา ระดับน้ำในแม่น้ำไม่ต่ำกว่าระดับตลิ่งมากนัก ทั้งในช่วงน้ำขึ้น
และน้ำลง
แม่น้ำนครชัยศรีช่วงที่ไหลผ่านเขตจังหวัดนครปฐม มีคลองต่าง ๆ ไหลมารวมกันหลายสาย
ทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุด มีคลองต่าง ๆ ดังนี้
- คลองบางเลน
เป็นคลองธรรมชาติที่แยกจากคลองบางยาง
ในเขตอำเภอกำแพงแสน และไหลไปบรรจบแม่น้ำนครชัย ที่อำเภอบางเลน ในช่วงกลางมีคลองแยกที่ส่งน้ำไปยังพื้นที่เขตจังหวัดสุพรรณบุรีด้วย
- คลองบางปลา
เป็นคลองธรรมชาติที่รับจากแม่น้ำแม่กลองที่อ่าวท่าสาร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ลงมาสู่แม่น้ำนครชัยศรี ที่บริเวณตำบลบางปลา เมื่อคลองทอดผ่านหมู่บ้านใดนักเรียกชื่อตามหมู่บ้านนั้น
เช่น จากอ่าวท่าสารมาเป็นคลองท่าสาร
เมื่อมาถึงบ้านหมอสอเรียกว่า ลำหมอสอ ถึงบ้านห้วยปลากดเรียกว่า
ห้วยปลากด
ถึงบ้านรางเกตุเรียกว่า
รางตาบุญ
บ้านบ้านยางขาคีมเรียกว่า
ห้วยยาง
ผ่านบ้านยางเรียกว่า
คลองบ้านยาง
ผ่านแหลมกระเจาเรียกว่า
คลองแหลมกะเจา
ผ่านลาดสะแกและบ้านเกาะแรดเรียกว่า คลองลาดสะแก
คลองบางปลามีคลองลำรางสายต่าง ๆ และลำห้วยในพื้นที่มาบรรจบอีกหลายสาย เช่น
คลองกระดานทอง คลองน้ำเหมือง คลองหัวช้าง คลองวังน้ำเขียว คลองวังไทร คลองนางหมอง
คลองลำลูกบัว รางงูเหลือม ลำรางพิกุล ฯลฯ
- คลองบางภาษี
เป็นคลองธรรมชาติ แยกจากแม่น้ำนครชัศรีทางฝั่งขวา ในเขตตำบลนกกระทุง คลองนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ
เนื่องจากเป็นคลองที่ยาวติดต่อกันหลายตำบล เหนือขึ้นไปเรียกว่า คลองญี่ปุ่น
- คลองโยง
อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี ในเขตตำบลตากฟ้า ปากคลองอีกด้านของคลองทวีวัฒนา
ซึ่งเชื่อมต่อไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นคลองที่ใช้สัญจรระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา
กับแม่น้ำนครชัยศรี มาแต่โบราณเฉพาะฤดูกาล เพราะในฤดูแล้ง น้ำจะแห้งเรือเดินไม่ได้
เรือที่จำเป็นต้องผ่านในฤดูแล้ง ต้องใช้ควายโยงลากไปจึงได้ชื่อว่า คลองโยง
ต่อมาจึงมีการขุดคลองทำให้การเดินเรือทำได้สะดวก
- คลองมหาสวัสดิ์
อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองที่ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เชื่อมแม่น้ำนครชัยศรี กับคลองบางกอกน้อย ที่บริเวณวัดชัยพฤกษ์มาลา มีความยาว
๓๐ กิโลเมตร กว้าง ๑๐ วา ขนานไปกับทางรถไฟสายใต้
- คลองลัดงิ้วราย
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คลองลัดท่ามอญ
เป็นคลองลัดระหว่างบ้านงิ้วราย กับวัดไทยาวาส ยาว ๒ กิโลเมตร กว้าง ๘ เมตร
เป็นคลองที่ใช้สัญจรสู่วัดไร่ขิงได้รวดเร็วขึ้น
- คลองบางพระ
อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองธรรมชาติ ไหลผ่านหลายตำบล เชื่อมต่อแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำนครชัยศรี
เดิมปากคลองบางพระน่าจะไหลไปบรรจบแม่น้ำแม่กลอง ที่บริเวณท่าเรือ และเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญในสมัยโบราณ
แต่ปัจจุบันปากคลองถูกตัดขาด และเปิดให้รับน้ำจากคลองชลประทานที่ไหลมาจากเขื่อนวชิราลงกรณ์
คลองนี้เมื่อทอดผ่านบ้านใดก็จะได้ชื่อตามชื่อหมู่บ้านนั้น เช่น ผ่านบ้านห้วยหนองกร่างเรียกว่า
ห้วยหนองกร่าง
ผ่านบ้านทัพหลวงเรียกว่า คลองทัพหลวง
ผ่านบ้านม่วงตารสเรียกว่า คลองม่วงตารส
ผ่านบ้านลำท่าโพธิเรียกว่า คลองพะเนียงแตก
และเรียกว่า คลองบางพระ ในช่วงที่ไหลไปบรรจบแม่น้ำนครชัยศรี
คลองบางพระมีคลองในพื้นที่หลายสายไหลมาบรรจบได้แก่ คลองนนทรีย์ คลองคล้า คลองรางยาว
ห้วยยาส้ม ห้วยพลู และคลองลานแหลม คลองเหล่านี้ต่างเป็นคลองมรดกสำคัญที่ชุมชนต่าง
ๆ ได้ใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพ
- คลองพิสมัย
อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี ระหว่างตำบลบางหลวง กับอำเภอบางเลน เป็นคลองขุดยาวประมาณ
๔ กิโลเมตร พระองค์เจ้าพิสมัยทรงริเริ่มให้ขุด ใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร
- คลองเจดีย์บูชา
อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปากคลองอยู่เหนือตลาดท่านาเล็กน้อย ยาวประมาณ ๑๒ กิโลเมตร กว้าง ๕ - ๗ ลึก
๕ - ๘ ศอก จากนครชัยศรีถึงนครปฐม ขนานกับทางรถไฟสายใต้ คลองบางช่วงมีลำรางอยู่ก่อนแก้ว
มีคลองบางแก้วมาบรรจบช่วงใกล้ถึงองค์พระปฐมเจดีย์
- คลองบางแก้ว
เป็นคลองธรรมชาติ อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำนครชัยศรี มีสองสาขาคือ แยกซ้ายไปเชื่อมกับห้วยหลายสายจนถึงแม่น้ำแม่กลอง
มีลำรางสระอ้อ เป็นทางเชื่อม ต่อมจากนั้นจึงเป็นคลองบางระกำ และต่อกับลำห้วยต่าง
ๆ จนถึงแม่น้ำแม่กลอง ส่วนแยกขวาไปรวมกับคลองเจดีย์บูชา
คลองบางแก้วเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงสำรวจองค์พระปฐมเจดีย์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีวัดอยู่ริมคลองได้แก่ วัดธรรมศาลา วัดโคกพระเจดีย์ วัดบางแก้ว วัดไทร วัดท่าตำหนัก
วัดตุ๊กตา และวัดกลางบางแก้ว ส่วนใหญ่เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา
นอกจากนี้ยังมีห้วยจรเข้ คลองบางแขม และคลองหนองดินแดง เป็นส่วนหนึ่งของคลองบางแก้วด้วย
คลองบางแก้วที่บริเวณธรรมศาลา ได้แยกออกเป็นสองสาย สายหนึ่งไปบรรจบกับเจดีย์บูชา
อีกสายหนึ่งแยกขึ้นไปเป็นคลองบ้านภูมิ
ต่อไปเป็นห้วยจรเข้า ผ่านบ้านหนองขาหยั่งเรียกว่า คลองบางแขม
ผ่านบ้านหนองดินแดงเรียกว่า
คลองหนองดินแดง
ต่อขึ้นไปเป็นคลองบางตาล
และคลองยาง ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของเส้นแบ่งเขตจังหวัดนครปฐม
กับจังหวัดราชบุรี แล้วไปบรรจบแม่น้ำแม่กลองที่บ้านท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ช่วงถัดจากคลองบางแก้วสู่อำเภอสามพราน มีคลองอยู่หลายสายได้แก่ คลองขุนแก้ว
คลองนา คลองสามพราน คลองกระเบา คลองมะยม คลองยาง คลองแตง คลองสุคด ครองโรงคราม
คลองสามบาท คลองวัฒนา คลองบางกระทึก คลองบางซื่อ คลองบางเตย คลองวัด คลองบ้านไร่
คลองนางนม คลองยายหนู คลองบางช้าง คลองแค คลองบางกระสัน คลองอ้อมใหญ่ คลองสรรเพชญ์
คลองท่านา คลองบางม่วง คลองฉาง และคลองเขื่อนขันธ์ เป็นต้น
- คลองจินดา
เป็นคลองขุด ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขุดเชื่อมต่อกับคลองธรรมชาติที่มีอยู่ก่อนแล้ว
- คลองสายสั้นๆ
ในช่วงระหว่างอำเภอนครชัยศรี กับอำเภอบางเลน มีคลองสายสั้น ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
เช่น คลองท้องคุ้ง
อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำนครชัยศรี เป็นคลองธรรมชาติ ทอดผ่านบ้านบางปลา และบ้านท้องคุ้ง
คลองเข้
อยู่ทางฝั่งซ้ยแม่น้ำนครชัยศรี ทอดผ่านบ้านลำพญา คลองบางระกำ
ทอดผ่านบางระกำ คลองนนทร์ อยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำนครชัยศรี
ทอดผ่านบ้านนนทรีย์ คลองบางควาย
และคลองบางบอน
อยู่ฝั่งขวาแม่น้ำนครชัยศรี คลองบางแก้วฟ้า คลองเจ๊กก๊วย คลองปลาดุก คลองมอญ
คลองบางกระจัน คลองบางสะบ้า และคลองสำโรง อยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำนครชัยศรี เชื่อมกับคลองชัยขันธ์
คลองบางพลับ เชื่อระหว่างคลองโยง กับคลองมหาสวัสดิ์
- คลองลัดที่สำคัญอื่น ๆ
บริเวณอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ มีคลองลัดอีแท่น
เชื่อมระหว่างวัดหอมเกร็ด กับวัดทรงคะนอง คลองลัดท่าคา
ขุดลัดช่วงวัดท่าข้ามไปทะเล ที่หน้าวัดเชิงเลน นอกจากนี้ยังมีคลองวังไทร คลองรางทอง
คลองโพรงมะเดื่อ คลองดอนขมิ้น และคลองเล็ก
ห้วยและลำรางห้วย เป็นห้วยสายสั้น
ๆ ในพื้นที่ในฤดูฝนจะมีน้ำขัง และไหลไปรวมกับลำคลอง หรือลำราง ตามสภาพของพื้นที่
เช่น ห้วยขมิ้น ห้วยสามควายเผือก ห้วยลึก ในเขตอำเภอเมือง ๆ ห้วยตะโก ห้วยกรด
ในเขตอำเภอนครชัยศรี ห้วยพระในเขตอำเภอดอนตูม ห้วยม่วง ห้วยขวาง ห้วยรางกรด
และห้วยผักชี ในเขตอำเภอกำแพงแสน
- สำราง
เป็นทางน้ำอีกชนิดหนึ่ง มีสภาพคล้ายห้วย มีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตจังหวัดนครปฐม
ส่วนใหญ่จะไม่ต่อไปถึงแม่น้ำ ลำคลอง เว้นแต่ในฤดูฝน เช่น รางปลาหมอ รางยอ
รางทอง รางฝ้าย รางกระโดน รางมะเดื่อ รางน้ำเค็ม และรางจิก ในเขตอำเภอเมือง
ฯ รางวงพาด ในเขตอำเภอนครชัยศรี รางหนองเสือ และคอราง ในเขตอำเภอสามพราน รางพิกุล
มาบแค รางท่าโพธิ และรางอีเมย์ ในเขตอำเภอกำแพงแสน รางกำหยาด รางทอง รางน้ำใส
รางกระทุ้ม รางปลาหมอ และรางไทร ในเขตอำเภอบางเลน รางมุกและลำเหย ในเขตอำเภอดอนตูม
หนองบึง
หนองบึงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สระแก้ว และหนองอาเสี่ย
ในเขตอำเภอพระประโทน หนองดิดแดง และหนองเสือ ในเขตอำเภอหนองอดินแดน หนองความตาย
ในเขตตำบลสวนป่าน หนองหินและหนองจาก ในเขตตำบลลำพยา หนองขาหยั่ง ในเขตตำบลสนามจันทร์
หนองจอก ในเขตตำบลทุ่งน้อย หนองอ้อ ในเขตตำบลมามแค หนองกร่างหรือหนองบัว ในเขตตำบลสามควายเผือก
หนองจอก และหนองอีเตี้ย ในเขตตำบลบ่อพลับ หนองบัวลอย ในเขตตำบลสระกระเทียม
หนองไม้แดง และหนองกระโดน ในเขตตำบลบ้านยาง หนองแขม หนองสะเดา หนองหมา และหนองหิน
ในเขตตำบลโพรงมะเดื่อ หนองเหลือม หองปากโลง ในเขตตำบลปากโลง ในเขตอำเภอเมือง
ฯ
หนองแหลมบัว ในเขตตำบลแหลมบัว หนองโสน ในเขตตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี
หนองแค ในเขตตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล
หนองจอก ในเขตตำบลท่าตลาด หนองอีแบน หนองอีดำและบึงบางช้าง ในเขตตำบลคลองจินดา
หนองงูเหลือม หนองตาน้อย หนองตาช้าง หนองตาพล ในเขตตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน
ทะเลบก หนองพงนก หนองพงใหญ่ หนองระแหง และหนองมะเกลือ ในเขตตำบลทุ่งกระฟังโหม
หนองหมู หนองเทียม หนองสาเก หนองพกนก และหนองขะโมย ในเขตตำบลสระพัฒนา หนองเขมร
และหนองกระทุ่ม ในเขตตำบลทุ่งลูกนก หนองขาม หนองโสม หนองวัวแดง และหนองโพธิ
ในเขตตำบลขวาง อำเภอกำแพงแสน
หนองบัวล้มช้าง หนองชะโดและหนองบ่อ ในเขตตำบลหินมูล หนองบางม่วง ในเขตตำบลบางหลวง
หนองหรง ในเขตตำบลลำพญา หนองน้ำเปรี้ยว ในเขตตำบลดอนตูม หนองปรง และหนองเปรือ
ในเขตตำบลบัวปากท่า อำเภอบางเลน
หนองหนังในเขตตำบลสมง่าม หนองบอน ในเขตตำบลดอนพุทรา หนองกระพี้ ในเขตตำบลข้ามหลวง
อำเภอดอนตูม
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน | |