| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา | |
เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร อยู่ในพื้นที่ ตำบลสวนใหญ่
อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า
เป็นวัดที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อขบวนเกวียนสินค้ามาจอดพักอยู่
ณ บริเวณนี้
วัดนี้ได้ปล่อยให้ทรุดโทรมมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้มีการปฏิสังขรณ์ โดยสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อบูรณะ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ และพระราชทานนามว่า วัดเขมาภิรตาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้รื้อย้ายพระที่นั่งมูลมณเฑียร จากพระบรมมหาราชวัง ไปปลูกไว้ในวัดเขมา ฯ |
ตั้งอยู่ที่บ้านปากคลองบางพุด ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๑๘ พญาเจ่งเป็นผู้สร้าง เดิมชื่อวัดเกาะบางพุด ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ หลวงบรินัย คุชเสนี เห็นว่าเป็นวัดที่พญาเจ่ง ต้นตระกูลคชเสนีเป็นผู้สร้าง จึงได้ขอเปลี่ยนนามใหม่ เป็นวัดเกาะพญาเจ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ |
ตั้งอยู่ที่บ้านบางคูเวียง ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย สร้างเมื่อประมาณปี
พ.ศ. ๒๓๒๐ ขึ้นทะเบียนเป็นสร้างโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖
พระวิหาร มีลักษณะทรงสูง ด้านหน้าและด้านหลังเป็นมุขเด็จ หน้าบันและหร่ายสร้างด้วยไม้สัก สลักลวดลายดอกไม้ บัวหัวเสา ฐานชุกชี ซุ้มประตู และหน้าต่างเป็นลวดลายปูนปั้นปิดทองประดับกระจก ฐานพระวิหารแอ่นโค้งเป็นรูปสำเภาเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย หอไตร ตั้งอยู่กลางน้ำ หน้าบันแกะเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ และลายกระหนกเปลว ออกช่อเป็นรูปเทพนมล้อมรูปพระนารายณ์ บานประตูหน้าต่างเป็นลายรดน้ำ หอระฆัง เป็นแบบประเพณี ประดับลายจำหลักประณีตตลอดทั้งหลัง หลังคาซ้อนทรงสูงเพรียว ซ้อนหนึ่งชั้น ลดหนึ่งชั้น และมีเฉลี่ยงล้อมรอบหนึ่งชั้น ศิลปกรรมสมัยอยุธยา |
ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๕๐ เดิมชื่อวัดสามจีน
ต่อมาเจ้าพระยาโชฎึกราชเศรษฐีได้มาบูรณะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดโชตอการาม
พระวิหาร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีปรางค์ขนาดเล็กอยู่ที่มุมกำแพงทั้งสี่ด้าน พระวิหารก่ออิฐถือปูนขนาดสามห้อง ฝาผนังทั้งสี่ด้าน มีจิตรกรรมตั้งแต่พื้นจรดเพดาน บานประตูด้านหน้าเป็นไม้จำหลักรูปเซี่ยวกาง ด้านหลังเป็นภาพเขียนสี ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้ม ๒ ชั้น ลวดลายปูนปั้นประดับกระจก หน้าบันจำหลักไม้แบบนูนสูง ประดับกระจกสี ลวดลายกระหนกเครือเถา พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา ด้านหน้ามีพาไล หน้าบันด้านหน้าปูนปั้นเป็นฉากภูริทัตชาดก ประดับเครื่องถ้วยชามที่หน้าบันและซุ้มจระนำ เจดีย์ ย่อไม้ยี่สิบ ประดับกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ตั้งแต่องค์ระฆังขึ้นไป ยอดเป็นบัวกลุ่ม |
ตั้งอยู่พื้นที่ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง ฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร
ที่ตั้งวัดเดิมเป็นป้อมเก่าอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามบ้านตลาดขวัญ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างในบริเวณป้อมเก่า
ซึ่งเป็นนิวาสสถานเดิมของพระอัยกา พระอัยกี และเป็นที่ประสูติของพระราชชนนี
เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระองค์ได้ดปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
(ดิส บุนนาค) เป็นแม่กองสร้างวัด พระราชทานนามว่าวัดเฉลิมพระเกียรติ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระพฤกษ์
พระอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๐ การสร้างมาแล้วเสร็จในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้โปรดเกล้า ฯ ให้แห่พระบรมธาตุขึ้นบรรจุในพระเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๑ โปรดเกล้า
ฯ ให้แห่พระศิลาสามองค์ จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปประดิษฐานในพระอุโบสถในวันต่อมา
และโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระบรมออัฐิพระชนกชนนี ไปประดิษฐานในพระอุโบสถด้วย
พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมไทย - จีน หน้าบันทั้งทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสดจากจีนลายดอกพุดตาน ภายในเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นลายดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก ด้านในบานประตูหน้าต่างเขียนรูปดอกบัว นก และสัตว์น้ำ พระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา พระวิหารหลวง หรือพระวิหารพระศิลาขาว อยู่ทางด้านใต้ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระอุโบสถ มีกำแพงแก้วล้อมรอบต่อกัน พระประธานในพระวิหาร ชื่อพระศิลา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดหน้าตัก ๓๐ นิ้ว สูง๓๓ นิ้ว มีพระอัครสาวกอยู่ซ้ายขวา ศาลาการเปรียญหลวง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระอุโบสถ มีกำแพงแก้วล้อมรอบต่อจากพระอุโบสถ |
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน | |