ประชุมพงศาวดาร | |
หน้า ๔ | หน้าต่อไป ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ หอมรดกไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ |
ศิลาจารึก
ศิลาจารึกวัดจุฬามณี
จากหนังสือพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ทำให้ทราบชัดว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ
เสด็จขึ้นไปเสวยราชสมบัติอยู่เมืองพิศณุโลกคราวหนึ่ง
และได้ไปทรงผนวชที่วัดจุฬามณีเมืองพิศณุโลก ต่อมาเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร
เสด็จขึ้นไปตรวจราชการมหาดไทยที่เมืองพิศณุโลก ไปพบศิลาจารึกมีอยู่ที่วัดจุฬามณี
จารึกนี้เป็นพยานว่า
สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถได้ทรงผนวชที่เมืองพิศณุโลกแน่นอน
ความในศิลาจารึกเก็บความได้ดังนี้
จ.ศ.๘๒๖ (พ.ศ.๒๐๐๗) สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถบพิตรเป็นเจ้า
ให้สร้างอารามจุฬามณีที่จะเสด็จออกทรงมหาภิเนษกรม ขณะนั้น เอกราชทั้งสามเมืองคือ
พระยาล้านช้าง มหาราช พญาเชียงใหม่ และพญาหงสาวดี
แต่งเครื่องอัฐบริขารให้มาถวาย
จ.ศ.๘๒๗ (พ.ศ.๒๐๐๘) เดือนแปดขึ้นสิบสี่ค่ำ ครุเทพวาร
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถ ฯ เสด็จทรงพระผนวช
ท่านให้บวชพระสงฆ์ปริวัตรก่อนห้าพระองค์ พระสงฆ์บวชโดยเสด็จทั้งสี่คณะ ๒๓๔๘ พระองค์
แต่สมเด็จพระรามาธิบดี ฯ ทรงผนวชอยู่ได้แปดเดือนสิบห้าวัน ครั้นถึงเดือนห้า
สมเด็จพระเอารสท่าน แลพฤฒามาตย์ทั้งปวง ขออัญเชิญพระองค์ เสด็จลาผนวช
ช่วยครองราษฎรกรรมทั้งปวง ท่านก็เสด็จปริวัตรแล้วล่วงลงมายัง
กรุงพระมหานครศรีอยุธยา
พ.ศ.๒๒๒๒ ปีปลาย สิบเดือน ห้าวันรุ่งแล้วห้าโมง หลวงสิทธิมหาดเล็กรับพระราชโองการ
หมื่นราชสังฆการีรับหมายรับผ้าพระราชทาน ให้พระครูธรรมไตรโลกนารถราชมุนี ฯ อธิการ ณ
อาราม จุลามณีทาบรอยพระพุทธบาท มีพระราชโองการตรัสให้อนุญาตให้ไปประดิษฐานไว้
ณ อารามวัดจุลามณีเป็นที่นมัสการ จึงพระราชทานแผ่นศิลาควร (ถุทุณา) พระพุทธบาท
แผ่นศิลาแผ่นหนึ่งให้ลงจาฤกพระราชพงษาวดาร พระราชตำรา และกัลปนาข้าพระจุลามณี
วันประจุพระเกษาและเป็นข้าพระพุทธบาท จ.ศ.๑๒๔๓ (พ.ศ.๒๒๒๔)
รับพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ในมณฑป
ตำรานี้พิจารณาแล้ว และปิดตรามนุษย์ถือสมุดพระศรีสุเรนทรา ฯ
สมุหพระสุรัสวดีประจำอักษรไว้กลาง พระศรีสรรเพ็ชสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร ฯ
เสด็จอยู่ในพระที่นั่งศรีสุริยาศน์อมรินทราชมหาสถาน โดยอุตราภิมุข จึงพระพิมลธรรม ฯ
ถวายพระพรทูลพระกรุณาว่าเมืองพิศณุโลกแต่ก่อนนั้น
มีข้าพระเป็นกัลปนาพระราชทานอุทิศไว้สำหรับพระอาราม ฯลฯ
จารึกหลักศิลาศุโขทัย หลักที่ ๑
![]() |
พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้หญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชน หวัวซ้าย ขุนสามชนขบบมาหวัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฝ้าหน้าใส พ่อกูหนีญญ่ายพ่ายจแจ้ ๆ กูบ่หนี กูขี่ช้างบุกพลกูขบบเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคํแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน เมื่อชั่ว ๆ พ่อกู กูบํเรอแก่พ่อกู กูบํเรอแก่แม่กู กูได้ตววเนื้อตววปลา กูเอามาให้แก่พ่อกู กูได้หมากสํหมากหวาน อนนกูกินอร่อยกินดีกูเอามาให้แก่พ่อกู กูไปตีหนองง่องช้างได้กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมืองได้ช้างได้ปววได้เงือนได้ทอง ได้เอามาเขนแก่พ่อกู พ่อกูตายยงงพี่กู กูพร่ำบํเรอแก่พี่กูอย่างบํเรอแก่พ่อกู พี่กูจึงได้เมืองแก่กูทรงกล เมืองชววพ่อขุนรามคํแหง เมืองศุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีเข้า เมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจงงวว ไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจกกใคร่ค้าช้างค้า ใครจกกใคร่ค้าม้าค้า ใครจกกใคร่ค้าเงือนค้า ทองค้า พ่อเซื่อเรือค้ำ มนนช่างขอลูกเมียเยียเข้าไพร่ฝ้าข้าไทย ป่าหมากป่าพลู พ่อเซื่อมนนไว้แก่ลูกมนนสิ้น ไพร่ฝ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิผิดแผก แสกข้างกมนส่วนใดแท้แล้ จึงแล่งความแก่ข้าด้วยซื่อบเข้าผู้ลกกมกกผู้ซ่อน เหนเข้าท่านบ่ใคร่พีนเหนสินท่านบ่ใคร่เดือด คนใดซื้อขายมาหาพาเมือง มาคูข้อยเหนือเพื่อกู มนนบ่มีช้าง บ่มีม้า บ่มีปวว บ่มีเงือน บ่มีทองให้แก่มนน ของมนต้วงเปนบ้านเปนเมืองใด ข้าเลือกข้าเลือ หววพจหววปกดี บ่ฆ่าบ่ตี ในปากปตู มีกดีงอน อนนหนึ่ง แขวนไว้หบน ไพร่ฝ้าหน้าใส กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความเจบท้องข้องใจ มนนจกกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลนนุกดีงอนนแขวนไว้ พ่อขุนรามคํแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มนนด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองศุโขทัยนี้ จึงซํสร้างป่าหมากป่าพลู ทํ |
หลักศิลาเมืองศุโขทัย ที่ ๒
จารึกเป็นอักษรขอมโบราณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงแต่ง
(เว้น)
บน |